ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,342 รายการ
เลขทะเบียน : นพ.บ.118/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 58 หน้า ; 4.7 x 57 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 66 (209-213) ผูก 4 (2564)หัวเรื่อง : สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (พระวิภงฺคปกรณา-พระสมนฺต มหาปฎฺฐาน)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ขอมภาษา : บาลี-ไทยบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อผู้แต่ง กรมการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม
ชื่อเรื่อง คติพจน์เกี่ยวกับวัฒนธรรมและคำอธิบายโดยสังเขป
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ ๑
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์การศาสนา
ปีที่พิมพ์ ๒๔๙๙
จำนวนหน้า ๑๔ หน้า
หมายเหตุ -
คติพจน์เกี่ยวกับวัฒนธรรม คติเตือนใจหรือสอนใจในทางวัฒนธรรม ส่งเสริมจิตใจให้เจริญงอกงามได้ทางหนึ่ง โดยมีความหวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน ความเข้าใจและประพฤติปฏิบัติตาม ส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติวัฒนธรรมที่ดีแก่ตนเองและประเทศชาติ
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.17/1-2
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง : ประชุมพงศาวดาร เล่ม 27 ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 45 (ต่อ) ชื่อผู้แต่ง : -ปีที่พิมพ์ : 2511สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ : องค์การค้าของคุรุสภาจำนวนหน้า : 340 หน้า สาระสังเขป : ประชุมพงศาวดารเป็นหนังสือที่รวบรวมเรื่องเก่าๆ ที่มีสาระและคำอธิบายของผู้มีความรู้ในวิชาดังกล่าวไว้โดยละเอียด โดยประชุมพงศาวดารเล่ม 27 ภาคที่ 45 เล่มนี้ เป็นการอธิบายเรื่องทูตไทยไปประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2400
โบสถ์หรือสิมวัดบ้านซิน ตำบลค้างพลู อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา ตั้งทางด้านทิศตะวันตกของโบสถ์หลังใหม่ เป็นวัดในชุมชนบ้านซิน หมู่ ๒ ลักษณะเป็นโบสถ์หรือสิมที่ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมล้านช้าง วัดตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของหมู่บ้าน ติดกับลำเชียงไกร วัดบ้านซิน เป็นวัดในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตามประวัติการก่อสร้างของวัดระบุว่าสร้างวัดเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๓๒๓ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๕ ภายในวัดยังเหลืออาคารที่เป็นโบราณสถานคือพระอุโบสถหรือสิมที่ข้อมูลของวัดกล่าวว่าสร้างขึ้นในราว ๓๐๐ ปีมาแล้ว ชาวบ้านได้ร่วมกันบูรณะซ่อมแซมกันเองในราว พ.ศ. ๒๕๑๔ สิมวัดบ้านซิน ลักษณะเป็นสิมโปร่ง (สิมโปร่งเป็นอาคารโปร่งโล่งขนาดกะทัดรัดประกอบด้วยเสาไม้ตั้งอยู่บนฐานยกพื้นรองรับหลังคาไม่มีผนัง ถ้าจะทำผนังก็มักจะทำแต่ด้านที่มีพระประธานและมักสร้างเล็กๆเพื่อให้พระสงฆ์ทำสังฆกรรมเพียงสี่ห้าองค์) เป็นสิมขนาด ๒ ห้อง (สามเสา) หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีขนาดประมาณ ๓ X ๖ เมตร มีชายคาต่อเป็นเพิงอยู่ทางด้านหน้า หลังคาชั้นเดียว สีหน้าหรือหน้าบันตีเป็นแผ่นไม้กระดานทั้งสองด้านไม่มีการตกแต่ง อาคารมีลักษณะเป็นฐานก่ออิฐ สูงจากพื้นประมาณ ๑.๕๐ เมตร มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ประตูทางเข้าอยู่ทางด้านทิศตะวันออก มีผนังเตี้ยๆสูงประมาณ ๕๐ เซนติเมตรทั้งสามด้าน ด้านตะวันออกเว้นเป็นช่องทางเข้าตรงกลางประมาณ ๕๐ เซนติเมตร ด้านข้างทางด้านท้ายอาคาร ทำผนังลาดค่อยๆสูงขึ้นไปจนถึงหัวเสา ผนังอาคารทางด้านหลังพระประธานก่อผนังสูงเต็มจนถึงหัวเสา ด้านท้ายอาคารก่อเป็นฐานพระเป็นแนวยาวตลอดผนังกว้างประมาณ ๕๐ เซนติเมตร ตรงกลางก่อเป็นแท่นพระขนาดประมาณ ๑X๑ เมตร แทรกอยู่ ใช้สำหรับตั้งพระประธาน ก่อด้วยอิฐฉาบปูนทาสีตกแต่ง ฐานพระก่อเป็นฐานบัวคว่ำบัวหงายแบบฐานเอวขันแบบเดียวกับฐานอาคาร มีเสาไม้หกต้นอยู่ที่ผนังด้านเหนือและใต้ ด้านละ ๓ ต้นฝังลงไปจนถึงฐานสิม อิฐที่ก่อปิดเสาที่ส่วนฐานหลุดออก หลังคาเป็นหลังคาเครื่องไม้ ชั้นเดียวมุงด้วยแผ่นสังกะสี ไม่มีเครื่องตกแต่งชั้นหลังคา พื้นที่ดินโดยรอบสิมได้รับการถมปรับขึ้นมาอีกประมาณ ๐.๕๐ เมตร จากระดับพื้นดินเดิม จนฐานเขียงหายไป จึงเริ่มปรากฎชั้นฐานที่ชั้นบัวคว่ำ บริเวณรอบโบสถ์พบแท่นก่ออิฐพังเป็นกองอิฐตั้งอยู่โดยรอบ จำนวน ๘ จุด มีจุดที่ค่อนข้างเห็นได้ชัดเจนอยู่ทางด้านหลังอาคารทำเป็นฐานใบเสมา ตัวใบเสมา ก่อด้ายอิฐฉาบปูนเป็นรูปดอกบัวทรงพุ่ม มีร่องรอยใบเสมาทำจากหินทรายสีแดงปักจมอยู่ที่พื้นด้านหน้าสิม การสำรวจพบว่าสิมมีสภาพชำรุดมาก ฐานสิมที่ก่ออิฐชำรุดจากการแยกบริเวณส่วนเสาทั้ง ๖ ต้น จนถึงบริเวณโคนเสา ส่วนฐานที่อยู่ด้านล่างปูนที่ฉาบไว้หลุดออกเกือบหมด และมีอิฐหลุดออกมา ปรากฏร่องรอยการซ่อมแซมโดยใช้ดินเหนียวผสมกับฟางละเอียดคลุกเคล้ากันมาพอกปิดไว้ และฉาบด้วย ปูนขาว สันนิษฐานว่าน่าจะซ่อมในปี พ.ศ.๒๕๑๔ ซึ่งการซ่อมในส่วนนี้บางส่วนก็พังแล้วเช่นกัน ผนังทางด้านทิศตะวันตกที่ก่อขึ้นมาสูงเสมอเสา ค่อนข้างชำรุดเสียหายมาก มีรอยแตกร้าวเป็นแนวยาว จากฐานจนถึงด้านบนของผนัง โครงสร้างหลังคาค่อนข้างดีอยู่ แต่ชำรุดจากปลวกและการเสื่อมสภาพของไม้ ส่วนประดับหลังคา หักหายไปหมดแล้ว จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบ อาคารสถาปัตยกรรมประเภทสิมโปร่ง เป็นสถาปัตยกรรมเฉพาะของวัฒนธรรมแบบล้านช้าง มักพบในพื้นที่ที่เป็นเขตวัฒนธรรมของกลุ่มคนในวัฒนธรรมล้านช้าง เช่นพื้นที่ในจังหวัดร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น เช่น สิมวัดราษี อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม สิมวัดไตรภูมิ บ้านผือฮี ตำบลดงแดง อำเภอจตุรพักตร์พิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด แสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนย้ายของกลุ่มคนที่ใช้วัฒนธรรมล้านช้างเข้าสู่ดินแดนจังหวัดนครราชสีมาซึ่งใช้รูปแบบวัฒนธรรมอยุธยา – รัตนโกสินทร์ จากภาคกลาง อย่างน้อยก็ในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๓ เป็นต้นมา จากสภาพของตัวโบราณสถานน่าจะมีอายุประมาณ ๑๕๐ – ๒๐๐ ปีมาแล้ว จากข้อมูลหมู่บ้านแต่เดิมบ้านซินเป็นหมู่บ้านที่มีชาวมอญและชาวลาวอพยพเข้ามาอยู่อาศัย ต่อมามีคนจากภายนอกเข้ามาจึงทำให้รูปแบบวัฒนธรรมดั่งเดิมหายไป ซึ่งก็สอดคล้องกับหลักฐานทางโบราณคดีที่พบ ---------------------------------------------------------ข้อมูลโดย : นายกิตติพงษ์ สนเล็ก นักโบราณคดีชำนาญการพิเศษ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา---------------------------------------------------------
ปรางค์กู่ หรือที่ภาษากูย เรียกว่า “เถียด เซาะโก” เป็นศาสนสถานเนื่องในศาสนาฮินดูประจำชุมชน ในวัฒนธรรมเขมรโบราณ จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบ สันนิษฐานว่าเป็นศาสนสถานในลัทธิไศวนิกาย ปรางค์กู่ ประกอบด้วยปราสาท 3 หลัง เรียงตัวตามแนวแกนทิศเหนือ-ใต้ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าเดียวกัน ฐานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเพิ่มมุมเฉพาะด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกเพื่อสอดรับกับบันไดทางขึ้น ปราสาททั้ง 3 หลัง ก่อสร้างด้วยศิลาแลง อิฐ และหินทราย มีคูน้ำล้อมรอบเป็นรูปตัวยู (U) เว้นทางเข้าเฉพาะด้านทิศตะวันออก บริเวณด้านหน้า ระยะทาง 200 เมตร เป็นสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด ขนาดกว้าง 270 เมตร ยาว 550 เมตร กำหนดอายุอยู่ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 16 - ค้นพุทธศตวรรษที่ 17 ทับหลัง จากปราสาทปรางค์กู่ เราพบทั้งสิ้น 3 ชิ้น โดยประดับอยู่บริเวณประตูทางเข้า ของปราสาททั้ง 3 หลัง ดังนี้ 1. ทับหลังปราสาทประธาน วัสดุหินทราย สลักภาพ "พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ" ประทับอยู่บนแท่นเหนือหน้ากาลแยกเขี้ยวคายท่อนพวงมาลัยออกไปทั้ง 2 ข้าง ท่อนพวงมาลัยสลักเป็นรูปกลีบบับผสมลายก้านขด ที่ปลายท่วนพวงมาลัยสลักเป็นลายใบไม้ม้วน เช่นเดียวกับใต้ท่อนพวงมาลัยซึ่งจำหลักภาพลายใบไม้ม้วนประกอบจนเต็มทับหลัง นายศิริ แหวนเงิน ปราชญ์ท้องถิ่นระบุว่า ก่อนการขุดศึกษาโบราณสถานในปี 2531 ตนยังพบศิวลึงค์และฐานโยนี ในทางประติมานวิทยา พระอินทร์ เป็นเทพเจ้าประจำทิศตะวันออก ความพิเศษของช้างเอราวัณที่พบ มีลักษณะเป็นช้างเศียรเดียว มีลักษณะคล้ายกับทับหลังที่พบจากปราสาทสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย ปราสาทตาเล็ง อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ และปราสาทบ้านพลวง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งมีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-17 ร่วมสมัยกับปรางค์กู่ 2. ทับหลังปราสาทด้านทิศเหนือ วัสดุหินทราย สลักภาพเล่าเรื่อง "รามายนะ ตอน พระราม พระลักษณ์ถูกศรนาคบาศ" โดยพระราม และพระลักษมณ์อยู่ในท่านอนถูกรัดด้วยนาคบาศ แวดล้อมด้วยเหล่าวานร โดยฝูงวานรดังกล่าวแสดงความเคลื่อนไหวและแสดงอาการเสียใจอย่างเห็นได้ชัด ตอนบนของภาพสลักภาพบุคคลหรือเทวาดาเหาะ ตรงกลางสลักรูปบุคคลถือคันธนู สันนิษฐานว่า เป็นอินทรชิต เนื่องจากในเรื่องอินทรชิตเป็นผู้ยิงศรนาคบาศใส่พระราม พระลักษมณ์ ปัจจุบันเก็บรักษา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย จังหวัดนครราชสีมา 3. ทับหลังปราสาทด้านทิศใต้ วัสดุหินทราย สลักภาพเป็นภาพ "พระวิษณุสี่กร (เป็นผู้รักษาโลก) ทรงถือ สังข์ จักร คทา และดอกบัว" ประทับยืนอยู่บนครุฑซึ่งเป็นพาหนะของพระองค์ ส่วนครุฑยืนอยู่บนหลังสิงห์ 2 ตัว ที่หันหลังหากัน สิงห์ทั้ง 2 ตัว เป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจ คายท่อนพวงมาลัยออกมา โดยใช้มือจับยึดท่อนพวงมาลัยไว้ ปลายท่อนพวงมาลัยนั้นจำหลักเป็นรูปมกรคายนาคออกมาให้เห็นในด้านข้าง 3 เศียร ตอนบนของภาพสลักเป็นรูปบุคคลร่ายรำ สันนิษฐานว่าเป็นเทวดา ฝั่งละ 3 องค์ มุมซ้ายและขวาสลักรูปบุคคลนั่งชันเข่าสันนิษฐานว่าเป็นบริวาร ปัจจุบันเก็บรักษา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย จังหวัดนครราชสีมา----------------------------------------------------------ข้อมูลโดย : นายวรรณพงษ์ ปาละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา---------------------------------------------------------แหล่งอ้างอิงข้อมูล -กรมศิลปากร. โครงการขุดแต่งโบราณวัตถุสถานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปี 2503-2504. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดศิวพร. 2510. -กองโบราณคดี กรมศิลปากร. รายงานการขุดแต่งและค้ำยันโบราณสาน ปรางค์กู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ. นครราชสีมา: หน่วยศิลปากรที่ 6 พิมาย. 2531. -ระบบภูมิสารสนเทศ แหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม เว็บไซต์ http://gis.finearts.go.th/fineart/
พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางสาคร รอบคอบ ณ เมรุวัดอรุณราชวราราม วันที่ ๑๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๖
กรมศิลปากรปรับโฉมใหม่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติแห่งแรกในประเทศไทย ที่รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับ “วัฒนธรรมบ้านเก่า” กลุ่มวัฒนธรรมสมัยหินใหม่ ทางภาคตะวันตกของประเทศไทย ที่เป็นจุดเริ่มต้นของงานโบราณคดีอย่างสากลเป็นครั้งแรกของประเทศไทย กรมศิลปากรได้ดำเนินโครงการพัฒนาและ เพิ่มศักยภาพพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า เพื่อให้เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติศูนย์ศึกษาวัฒนธรรมบ้านเก่า รวมถึงองค์ความรู้ด้านโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่มีความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน และเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีมาตรฐาน ทั้งรูปแบบอาคารที่สะดุดตา โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากหลุมขุดค้นทางโบราณคดีเป็นทรงสี่เหลี่ยมสื่อถึงการพบโบราณวัตถุที่แทรกอยู่ในชั้นดิน ภูมิทัศน์ที่เปิดให้สัมผัสบรรยากาศภูมิประเทศเพื่อให้เข้าใจถึงการตั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัยบนพื้นที่แหล่งโบราณคดีจริง รวมไปถึงนิทรรศการภายในที่ตั้งใจให้เป็นพิพิธภัณฑ์ก่อนประวัติศาสตร์ที่สมบูรณ์ที่สุด การจัดแสดงนิทรรศการมีเนื้อหาเน้นเกี่ยวกับวัฒนธรรมบ้านเก่าและแหล่งโบราณคดีอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง “วัฒนธรรมบ้านเก่า” หมายถึงกลุ่มวัฒนธรรมสมัยหินใหม่ทางภาคตะวันตกของประเทศไทย ที่ผู้คนตั้งถิ่นฐานถาวรอยู่ตามที่ราบ หรือเชิงเขาไม่ไกลจากลำน้ำ ดำรงชีวิตด้วยการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ และล่าสัตว์ รู้จักทำขวานหินขัดและมีภาชนะดินเผาที่หลากหลาย มีภาชนะรูปทรงเด่นคือหม้อสามขา ภาชนะทรงพาน ภาชนะมีคอและเชิงสูง และภาชนะทรงถาดก้นลึก กำหนดอายุราว ๓,๕๐๐ – ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว และมีความสัมพันธ์กับแหล่งโบราณคดีร่วมสมัยทางภาคใต้ของประเทศไทยและทางตอนเหนือของมาเลเซีย โดยมีการจัดแสดงการขุดค้นและหลักฐานทางโบราณคดีที่ได้จากการขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านเก่า เช่น โครงกระดูก เครื่องมือหินขัด เครื่องประดับ ภาชนะดินเผาที่เรียกว่า “หม้อสามขา” เอกลักษณ์ของวัฒนธรรมบ้านเก่า จัดแสดงเครื่องมือหินจำลอง จำนวน ๘ ชิ้นที่พบโดย ดร. เอช อาร์ ฟาน เฮเกเรน นักโบราณคดีชาวดัตช์ที่ถูกจับเป็นเชลยและถูกเกณฑ์มาสร้างทางรถไฟที่จังหวัดกาญจนบุรีในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้โบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยโดยเฉพาะที่บ้านเก่าได้รับความสนใจจากนักโบราณคดีทั้งนักโบราณคดีไทยและต่างประเทศเข้ามาขุดค้นอย่างต่อเนื่องและจริงจัง จนมีการตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า ในเวลาต่อมา ทั้งนี้ เครื่องมือหินทั้ง ๘ ชิ้นปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พีบอดี มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด กรมศิลปากรกำลังประสานเพื่อนำกลับมาจัดแสดงด้วย นอกจากผู้ชมจะได้เข้าชมการจัดแสดงนิทรรศการภายในพิพิธภัณฑ์แล้ว ยังสามารถเยี่ยมชมหลุมขุดค้นทางโบราณคดีที่โรงเรียนวัดท่าโป๊ะ ซึ่งตั้งอยู่ข้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า โดยมีการขุดพบโครงกระดูกจำนวนมาก และกรมศิลปากรยังมีการขุดค้นและดำเนินงานทางโบราณคดีอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ พิพิธภัณฑ์บ้านเก่าเป็นพิพิธภัณฑ์ประจำแหล่งที่อยู่ในพื้นที่แหล่งโบราณคดีจริง ดังนั้นองค์ประกอบทุกอย่างจึงมีความสำคัญ กรมศิลปากรจึงปรับปรุงภูมิทัศน์เพื่อให้ผู้เข้าชมเข้าใจถึงลักษณะภูมิประเทศของบ้านเก่า เนื่องจากบ้านเก่าเป็นวัฒนธรรมยุคหินใหม่ที่อยู่ในสังคมเกษตรกรรมเริ่มเข้าตั้งถิ่นฐานในที่ราบเพื่อการเพาะปลูก ดังนั้นในพื้นที่ด้านหลังพิพิธภัณฑ์จะมีทางเดินชมธรรมชาติที่เห็นถึงแหล่งน้ำด้วย สำหรับแผนงานต่อไป กรมศิลปากรมีโครงการจัดตั้งศูนย์ศึกษาวัฒนธรรมบ้านเก่าขึ้น ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า เพื่อเป็นสถานที่ศึกษา วิจัย ของนักวิชาการด้านโบราณคดี ทำให้ความรู้ทางวิชาการโบราณคดีวัฒนธรรมบ้านเก่าดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และสามารถเชื่อมโยงความรู้ด้านงานโบราณคดีกับองค์ความรู้ด้านต่างๆ เข้าด้วยกันแบบสหวิชาการ และเมื่อรวมถึงอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ที่อยู่ใกล้กัน จะเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีได้เป็นอย่างดี
ชื่อเรื่อง สุนนฺทราชชาตก (สุนันทรราชชาดก)
สพ.บ. 289/1กประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 38 หน้า กว้าง 4.5 ซ.ม. ยาว 57 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก ธรรมะ พุทธประวัติ
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับชาดทึบ-ลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง อุณฺหิสวิชย (อุณณหิสสวิไช)
สพ.บ. 334/1ฐประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 22 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 54.5 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี