ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 39,654 รายการ

กรมศิลปากรชี้แจงประเด็นข่าวกุฏิพระโบราณ ที่วัดสิงห์ จังหวัดปทุมธานี พังทลายเสียหาย สาเหตุจากช่างที่กรมศิลปากรจ้างมาซ่อมแซมบูรณปฏิสังขรณ์ เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ กรมศิลปากรแถลงข่าวชี้แจงประเด็นกุฏิพระโบราณที่วัดสิงห์ จังหวัดปทุมธานี พังทลายเสียหาย โดยนายเอนก สีหามาตย์ รองอธิบดีกรมศิลปากร นายประทีป เพ็งตะโก ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี นายช่างโยธาและวิศกรควบคุมงาน เป็นผู้แถลงข่าว ณ ห้องประชุมกรมศิลปากร ตามที่รายการเรื่องเล่าเสาร์ – อาทิตย์ ประจำวันอาทิตย์ที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๕ รายการ เรื่องเล่าเช้านี้ ประจำวันจันทร์ที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง ๓ และหนังสือพิมพ์ข่าวสด หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันจันทร์ที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ ได้เสนอข่าวเกี่ยวกับกุฏิพระโบราณ ที่วัดสิงห์ ตำบลสามโคก อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี พังทลายเสียหายทั้งหมด สาเหตุจากช่างที่กรมศิลปากรจ้างมาซ่อมแซมบูรณปฏิสังขรณ์ นั้น   กรมศิลปากร โดยสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ขอชี้แจงเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวดังนี้ ๑. วัดสิงห์ ตำบลสามโคก อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นวัดเก่าแก่ซึ่งยังปรากฏเจดีย์ โบสถ์ วิหารเก่าแก่ ควรค่าแก่การศึกษาด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี พระพุทธรูปสำคัญของวัดคือ หลวงพ่อโต พระพุทธรูปลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย สมัยกรุงศรีอยุธยา พระพุทธไสยาสน์ (หลวงพ่อเพชร) นอกจากนี้ยังมีโกศบรรจุอัฐิหลวงพ่อพญากราย ซึ่งเป็นพระมอญธุดงค์มาจำพรรษา ที่วัดสิงห์ บนกุฏิของวัดมีพิพิธภัณฑ์ เก็บรักษาของเก่า ได้แก่ ตุ่มสามโคก แท่นบรรทมของพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อครั้งเสด็จประพาสเมืองสามโคก ใบลานอักษรมอญ ตู้พระธรรม และพระพุทธรูป ด้านหน้าวัดสิงห์มีการขุดค้นพบโบราณสถานเตาโอ่งอ่าง ซึ่งถือ เป็นหลักฐานของการตั้งชุมชนมอญในสมัยแรกในบริเวณนี้นับแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดขอบเขตโบราณสถาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๕ เล่มที่ ๑๐๙ ตอนที่ ๑๐๙   ๒. กรมศิลปากร สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ได้รับการจัดสรรงบประมาณโครงการฟื้นฟูบูรณะโบราณสถานที่ประสบอุทกภัย โครงการบูรณะโบราณสถานวัดสิงห์ จำนวน ๑๒,๐๒๐,๐๐๐ บาท โดยแบ่งเป็น ๒ โครงการ - โครงการงานบูรณะโบราณสถาน จำนวนเงิน ๔,๔๕๐,๐๐๐ บาท - โครงการงานปรับยกระดับ (ปรับดีด) วงเงินสัญญาจ้าง ๗,๕๓๙,๐๐๐ บาท ดำเนินการว่าจ้างบริษัทกันต์กนิษฐ์ ก่อสร้าง จำกัด เป็นผู้ดำเนินงาน ตามสัญญาจ้างเลขที่ ๑๒/๒๕๕๕ เริ่มสัญญาวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ สิ้นสุดวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๕ โดยมีนายเฉลิมศักดิ์ ทองมา นายช่างโยธาชำนาญงาน สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี เป็นผู้ควบคุมงาน   ๓. เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เวลา ๒๑.๓๐ น. นายเฉลิมศักดิ์ ทองมา ได้รับแจ้งจากตัวแทนบริษัทกันต์กนิษฐ์ ก่อสร้าง จำกัด ในเวลาประมาณ ๑๖.๓๐ น. ขณะที่คนงานอยู่ในช่วงพัก ไม่มีใครอยู่ภายในบริเวณอาคารกุฏิโบราณ ได้ยินเสียงพร้อมทั้งปูนฉาบของตัวอาคารกะเทาะหลุดร่วงลงมา แล้วมุมอาคารด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ เกิดการทรุดตัวลง ทำให้กระเบื้องหลังคาและโครงสร้างหลังคาทั้งหมด ทรุดลงมากองอยู่บริเวณพื้นไม้ชั้นสองของอาคาร ทำให้น้ำหนักบรรทุกของพื้นมากขึ้นกว่าเดิม หลังจากนั้นผนังด้านทิศใต้ ก็ได้พังทลายตามลงมาเนื่องจากรับหนักของหลังคาที่ทรุดลงมาไม่ไหว   ๔. เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เวลา ๙.๐๐ น.ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี (นายประทีป เพ็งตะโก) นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ วิศวกรชำนาญการพิเศษ นายจมร ปรปักษ์ประลัย สถาปนิกชำนาญการ นายเฉลิมศักดิ์ ทองมา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสามโคก และคณะกรรมการวัดสิงห์ ได้ร่วมกันลงพื้นที่ตรวจสอบความเสียหายและหาสาเหตุของการพังทลาย ได้ข้อสรุปดังนี้ ๔.๑ การที่อาคารเกิดการทรุดตัว เนื่องจากพื้นดินรับฐานรากอาคารอยู่ในที่ต่ำชุ่มน้ำตลอดทั้งปี ทำให้อ่อนตัวรับน้ำหนักอาคารไม่ไหวทำให้ผนังอาคารทรุดตัวลงมาประมาณ ๑ ใน ๔ ส่วน ๔.๒ ผนังอาคารมีร่องรอยแตกร้าวจำนวนมาก พบร่องรอยนี้จากการสำรวจเพื่อจัดทำรูปแบบรายการการอนุรักษ์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๐ - ๒๕๕๔ ๔.๓ ปูนสอเสื่อมสภาพจากการถูกน้ำแช่ขังและใช้งานอาคารมาเป็นเวลานาน ทำให้การยึดตัวของอิฐและปูนสอไม่ดี เป็นสาเหตุให้ตัวอาคารทรุดลงมา ๔.๔ สภาพอาคารที่ปูนฉาบผนังนอกหลุดร่อน ทำให้น้ำซึมผ่านเข้าไปในผนังทำให้ ปูนสอชุ่มน้ำ ทำให้แรงยึดเกาะระหว่างอิฐต่ำ ๔.๕ ขณะที่อาคารทรุดตัวอยู่ระหว่างการขุดเพื่อตรวจสอบฐานของอาคารส่วนที่ จมดินเพื่อเตรียมการกำหนดระยะที่ทำการตัดผนังเพื่อเสริมคานถ่ายแรง ยังไม่ได้ทำการตัดผนัง จึงยังมิได้มีการรบกวนโครงสร้างของอาคารโบราณ แต่ตัวอาคารก็เกิดการทรุดตัวลงมาเสียก่อน   หลังจากทำการตรวจสอบพื้นที่แล้ว สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ได้สั่งการให้บริษัทผู้รับจ้างทำการค้ำยันผนังส่วนที่เหลือโดยให้ดำเนินการตามคำแนะนำของวิศวกร และทำการจัดเก็บวัสดุส่วนที่สามารถนำมาก่อสร้างเพื่อคืนสภาพอาคารไปจัดเก็บในที่ให้เรียบร้อย รวมทั้งได้เร่งรัดให้ผู้รับจ้างดำเนินการบูรณะกุฏิให้คืนสภาพโดยเร็ว โดยให้บริษัทผู้รับจ้างร่วมกับสถาปนิก วิศวกร และผู้เกี่ยวข้อง ปรับปรุงรูปแบบรายการ และวิธีปรับดีดให้สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพปัจจุบันของกุฏิ และให้ดำเนินการบูรณะกุฏิให้กลับคืนสภาพเดิม โดยให้เป็นไปตามรูปแบบรายการบูรณะที่ได้รับอนุญาต


         เนื้อหาประกอบด้วย ประวัติความเป็นมาของหจช.อุบลราชธานี หน้าที่และขอบเขตความรับผิดชอบ ความรู้เกี่ยวกับจดหมายเหตุ กฏหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับงานจดหมายเหตุ ขั้นตอนการทำลายหนังสือ ราชการ ตัวอย่างหนังสือนำส่งเอกสารซึ่งต้องใช้ทุกหน่วยงาน และตารางกำหนดอายุการเก็บเอกสาร



สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา จัดการประชุมสัมมนาถวายความรู้แด่พระสังฆาธิและฆราวาสผู้สนับสนุนวัด โครงการดูแลรักษาทรัพย์สินทางศิลปวัฒนธรรมของชาติของพระสังฆาธิการ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๒ วันที่ ๓๐-๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๒ ณ ห้องประชุมวัดเจียงอีศรีมงคลวราราม ตำบลเมืองใต้ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ


   สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี เป็นพระอัครมเหสีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ที่ทรงมีพระราชปฏิพัทธ์อย่างยิ่ง ได้ประสบอุปัทวเหตุเสด็จทิวงคต พร้อมพระราชธิดา คือสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์ โสภางคทัศนิยลักษณ์ อรรควรราชกุมารี ด้วยสาเหตุเรือล่ม ขณะล่องไปพระราชวังบางปะอิน เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๒๓           สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ เป็นพระราชธิดา องค์ที่ ๕๐ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระปิยมาวดีศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าจอมมารดาเปี่ยม) ประสูติในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันเสาร์ที่ ๓๐ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๐๓ เมื่อทิวงคตพระชนมายุย่าง ๒๑ พรรษา ยังดำรงพระอิสริยยศเป็นพระนางเธอฯ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี เมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๒๓ เป็นการสถาปนาพระอิสริยยศพระมเหสีขึ้นเป็นสมเด็จพระนางเจ้าพระองค์แรกในรัชกาล ในกาลต่อมา ผู้คนมักขานพระนามว่า “พระนางเรือล่ม”           พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีความวิปโยคอย่างใหญ่หลวง เมื่อสูญเสียพระมเหสีอันเป็นที่รักยิ่ง ทรงสร้างสิ่งอนุสรณ์ไว้ ณ สถานที่ต่างๆ หลายแห่ง ได้แก่ ที่น้ำตกพริ้ว จังหวัดจันทบุรี  ที่พระราชวังบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นอกจากนั้น ทรงพระอนุสรณ์คำนึงว่า  เมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าฯ ยังดำรงพระชนม์อยู่ได้เคยกราบบังคมทูลปรารภว่า สตรีไทยนั้นไร้ที่ศึกษาอบรม จะมีอยู่ก็แต่เพียงในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งสตรีชาวบ้านมิอาจเข้าไปอบรมได้ ถ้ามีสถานที่ศึกษาอบรมสำหรับสตรี ฐานะของกุลสตรีไทยจะดีขึ้น ด้วยเหตุนี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สร้างสถานศึกษาอบรมกุลสตรีขึ้นเป็นอนุสรณ์แด่สมเด็จพระปิยมเหสีอีกสิ่งหนึ่ง เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ ๓ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๒๓ (ขณะนั้นวันขึ้นปีใหม่ คือ วันที่ ๑ เมษายน) พระราชทานนามในส่วนลึกของพระราชหฤทัยว่า “สุนันทาลัย” ปัจจุบัน คือ โรงเรียนราชินีปากคลองตลาด               เมื่อสร้างอาคารเรียน หอประชุม เรียบร้อยแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สั่งซื้อ “อัจกลับ” จากยุโรป ส่วนที่ครอบแก้วด้านหนึ่งจารึกวึา “สุนันทาลัย” อีกด้านหนึ่งเป็นอักษรพระนาม “ส.” ภายใต้มงกุฎขัตติยราชนารี  พระราชทานติดไว้ในอาคารเรียนสุนันทาลัย เพื่อทรงอุทิศส่วนพระราชกุศลอันเป็นเนื้อนาบุญ ทั้งยังทรงมีความมุ่งหมายที่จะให้ พระนามาภิไธยสมเด็จพระปิยมเหสีปรากฏอยู่เป็นนิรันดร์            ปัจจุบัน อัจกลับ “สุนันทาลัย” จำนวน ๑๒ ดวงโคม แขวนอยู่เป็นศรีสง่าประดับ เพดานท้องพระโรงพระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัยมไหสูรย์พิมาน ในพระบรมมหาราชวัง ฉายแสงส่องประกายเจิดจรัสอย่างงดงาม     ----------------------------------------------------------------------   * อัจกลับ อ่านว่า อัด-จะ-กลับ หมายถึง โคมอย่างหนึ่งทำด้วยทองเหลือง บางทีมีระย้าห้อยด้วย ใช้ในสมัยโบราณ   ที่มา : จุลสารการจัดการองค์ความรู้  สำนักพระราชวัง  ปีที่  ๑  ฉบับที่  ๔  มกราคม - กุมภาพันธ์  ๒๕๕๑.



 มีเนื้อหาแบ่งออกเป็น 3 ตอน ตอนที่ 1 เรื่องพงศาวดาริอันเป็นมูลเหตุแห่งจดหมายหลวงอุดมสมบัติ กล่าวถึงเหตุการณ์เมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่าเมื่อ พ.ศ. 2310 และเกิดเหตุจลาจลวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ตอนที่ 2 เป็นจดหมายหลวงอุดมสมบัติเขียนจดหมายกราบเรียนพระยาศรีพิพัฒน์ (ทัด) กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เมืองไทรบุรียกกำลังมาตีเมืองสงขลาในปีะ พ.ศ. 2381 ตอนที่ 3 พงศาวดารเมืองนครศรีธรรมราชของหลวงอนุสรสิทธิกรรม (บัว ณ นคร) กล่าวถึงเหตุการณ์ตั้งแต่หลวงสิทธินายเวรมหาดเล็ก (หนู) พระปลัดเมืองนครผู้รักษาราชการเมือง ตั้งตัวขึ้นเป็นเจ้านคร และได้ยกกำลังไปตีหัวเมืองต่างๆ ตั้งเป็นชุมนุมเจ้านคร ส่วนท้ายเล่มกล่าวถึงประวัติพระยานคร (น้อย) และจดหมายบอกข่าวราชการจากกรุงเทพฯ ถึงเจ้าพระยานคร (น้อย)...



***บรรณานุกรม***  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ร้อยตรีชลยุทธเอกพจน์ ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร วันที่8 พฤษภาคม พุทธศักราช 2514 พระนคร  โรงพิมพ์สามมิตร 51 2514



***บรรณานุกรม*** หนังสือหายาก นายเรือเอก หนู แจ่มผล.  สงครามโลก:  การยุทธที่ยุตลันดฺ  วันที่ ๓๑ พฤศภาคม ค.ศ.๑๙๑๖.  พระนคร : โรงพิมพ์กรมอุทกศาสตร์, ๒๔๗๘.


ผู้แต่ง                            กระทรวงศึกษาธิการหมวดหมู่                        การศึกษาเลขหมู่                           372.19 ศ615คสถานที่พิมพ์                    พระนครสำนักพิมพ์                      โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าวปีที่พิมพ์                         2498ภาษา                            ไทยหัวเรื่อง                         การเรียนการสอน                                   ประถมศึกษา -- การศึกษาและการสอนประเภทวัสดุ/มีเดีย             หนังสือหายากลักษณะวัสดุ                    67 หน้า : ภาพประกอบ ; 28 ซม.บทคัดย่อ                         กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการได้คัดเลือกภาพแขวนผนัง จำนวน 50 ภาพ พร้อมด้วยคำอธิบายวิธีใช้ สำหรับหนังสือ "ไปโรงเรียน" เพื่อใช้เป็นคู่มือครูและอุปกรณ์การเรียนการสอน


รายงานการเดินทางไปราชการ ณ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว   ๑. ชื่อโครงการ โครงการมหกรรมการแสดงด้านนาฏดุริยางคศิลป์และดนตรีแบบบูรณาการ                    ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙ การจัดงานเผยแพร่แลกเปลี่ยนนาฏศิลป์ – ดนตรีกับสาธารณรัฐ                    ประชาธิปไตยประชาชนลาว ณ หอวัฒนธรรมแห่งชาติลาว นครเวียงจันทน์        ๒. วัตถุประสงค์     ๒.๑ เพื่อเข้าร่วมงานเผยแพร่แลกเปลี่ยนนาฏศิลป์ – ดนตรีกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว     ๒.๒ เพื่อศึกษาดูงานด้านสังคมและวัฒนธรรม ณ นครเวียงจันทน์  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว     ๒.๓ เพื่อหารือกับอธิบดีกรมมรดก เกี่ยวกับการจัดทำบันทึกความเข้าใจเพื่อจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วย          การดำเนินการแลกเปลี่ยนวิทยาการทางโบราณคดี โบราณสถาน วัฒนธรรม และพิพิธภัณฑสถาน          ระหว่างประเทศไทย – สปป. ลาว     ๓. กำหนดการ   ระหว่างวันที่ ๑๔ – ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙ ๔. สถานที่    ๔.๑ หอวัฒนธรรมแห่งชาติลาว นครเวียงจันทน์           ๔.๒ สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ได้แก่ พิพิธภัณฑ์หอพระแก้ว พิพิธภัณฑ์วัดสีสะเกด         วัดศรีเมือง พระธาตุหลวง วัดองค์ตื้อ    ๔.๓ โรงเรียนศิลปะแห่งชาติลาว    ๔.๔ กรมมรดก กระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว สปป. ลาว ๕. หน่วยงานผู้จัด  สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ๖. หน่วยงานสนับสนุน   - ๗. กิจกรรม      ๗.๑ เข้าร่วมงานเผยแพร่แลกเปลี่ยนนาฏศิลป์ – ดนตรีกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว     ๗.๒ ศึกษาดูงานด้านสังคมและวัฒนธรรม ณ นครเวียงจันทน์  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว     ๗.๓ หารือกับอธิบดีกรมมรดก เกี่ยวกับการจัดทำบันทึกความเข้าใจเพื่อจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วย          การดำเนินการแลกเปลี่ยนวิทยาการทางโบราณคดี โบราณสถาน วัฒนธรรม และพิพิธภัณฑสถาน          ระหว่างประเทศไทย – สปป. ลาว     ๘. คณะผู้แทนไทย            ๘.๑ นายอนันต์ ชูโชติ               อธิบดีกรมศิลปากร          ๘.๒ นางสาวรสนันท์  สรรสะอาด   นักวิชาการเผยแพร่ชำนาญการ          ๘.๓ นางสาวดวงใจ  พิชิตณรงค์ชัย ภัณฑารักษ์ชำนาญการ          ๘.๔ นางสาวสิริอร  อ่อนทรัพย์     นักวิเทศสัมพันธ์ชำนาญการ   ๙. สรุปสาระของกิจกรรม วันแรก (ส.๑๔ พ.ค. ๒๕๕๙)           กรุงเทพฯ – เวียงจันทน์ เวลา ๐๙.๓๐ น.                        คณะพร้อมกันที่สนามบินสุวรรณภูมิ  เคาน์เตอร์การบินไทย                                                แถว A เวลา ๑๑.๒๐ น.                        ออกเดินทางจากกรุงเทพฯ โดยสายการบินไทยเที่ยวบินที่ TG 570 เวลา ๑๒.๓๐ น.                        - เดินทางถึงสนามบินนานาชาติวัดไต นครเวียงจันทน์ สปป. ลาว                                           - รับประทานอาหารกลางวัน ณ ร้านครัวลาว                                          - ออกเดินทางไปยังโรงแรมที่พัก Sabaidee@Lao Hotel                                                Pangkham Road, Sisaket Village, Chanthabouly Dist,             Vientiane, Laos   Tel : (856 21) 265 141-2, 265 152 Fax: (856 21) 265 143   Email: rsvn@sabaideeatlaohotel.com เวลา ๑๗.๐๐ น.                         เดินทางไปยังสถานที่จัดงานเลี้ยงรับรองอาหารค่ำ    ณ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ เวียงจันทน์ วันที่สอง (อ.๑๕ พ.ค. ๒๕๕๙)          เวียงจันทน์ เวลา ๐๗.๐๐ น.                        รับประทานอาหารเช้า เวลา ๐๘.๓๐ น.                        ศึกษาสถานที่สำคัญทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ในเวียงจันทน์                                               ณ พิพิธภัณฑ์หอพระแก้ว พิพิธภัณฑ์วัดสีสะเกด วัดศรีเมือง                                               พระธาตุหลวง วัดองค์ตื้อ เวลา ๑๑.๐๐ น.                        เข้าชมการฝึกซ้อมการแสดงนาฏศิลป์- ดนตรี ณ หอวัฒนธรรมแห่งชาติลาว เวลา ๑๒.๐๐                           รับประทานอาหารกลางวัน      เวลา ๑๗.๐๐ น.                       เดินทางไปยังหอวัฒนธรรมแห่งชาติลาวเพื่อเข้าร่วมงานเลี้ยงรับรอง เวลา ๑๙.๓๐ น.                       เข้าร่วมงานการแสดงนาฏศิลป์ดนตรีไทย ณ หอวัฒนธรรมแห่งชาติลาว เวลา ๒๑.๓๐ น.                        เดินทางกลับโรงแรมที่พัก วันที่สาม (จ.๑๖ พ.ค. ๒๕๕๙)         เวียงจันทน์ – กรุงเทพฯ เวลา ๐๗.๐๐ น.                        รับประทานอาหารเช้า เวลา ๑๐.๐๐ น.                        เดินทางไปยังโรงเรียนศิลปะแห่งชาติลาว เพื่อชมการสาธิตการแสดงและ                                                  การบรรเลงระหว่างไทย – ลาว เวลา ๑๒.๐๐ น.                          รับประทานอาหารกลางวัน เวลา ๑๔.๐๐ น.                        เข้าพบหารือกับอธิบดีกรมมรดก เกี่ยวกับการจัดทำบันทึกความเข้าใจเพื่อจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการดำเนินการแลกเปลี่ยนวิทยาการทางโบราณคดี โบราณสถาน วัฒนธรรม และพิพิธภัณฑสถานระหว่างประเทศไทย – สปป.ลาว   รายละเอียดการหารือมีดังนี้ ๑. ผู้แทนจากกรมมรดก กระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว สปป. ลาว ประกอบด้วย               ๑.๑ ดร. บุนเที่ยง สิริปะพัน อธิบดีกรมมรดก               ๑.๒ นายสำราน หลวงอภัย  รองอธิบดีกรมมรดก (ดูแลงานด้านฝ่ายบริหารและบุคลากร)               ๑.๓ ดร.ทองลิด  หลวงโคตร ผู้อำนวยการกองโบราณคดี               ๑.๔ นายสุรินทร เพชรชมพู  หัวหน้าแผนกคุ้มครองพิพิธภัณฑสถาน ๒. นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการเข้าเยี่ยมคารวะและหารือกับกรมมรดกว่าสืบเนื่องจากกรมศิลปากร ได้ดำเนินโครงการมหกรรมการแสดงด้านนาฏดุริยางคศิลป์และดนตรีแบบบูรณาการ โดยการจัดงานเผยแพร่แลกเปลี่ยนนาฏศิลป์ – ดนตรีกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว          ณ  หอวัฒนธรรมแห่งชาติลาว นครเวียงจันทน์ ในวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙ โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้วัฒนธรรมเป็นสื่อกลางในการกระชับความสัมพันธ์กับประเทศสมาชิกอาเซียน ผ่านการแสดงนาฏศิลป์ - ดนตรี และเป็นการเสริมสร้างพันธมิตรทางวัฒนธรรม และร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ ๖๕ ปีความสัมพันธ์ไทย-ลาว และ ๔๐ ปี แห่งการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยการแสดงของคณะนาฏศิลป์จากกรมศิลปากรนั้น มีผู้เข้าชมเป็นจำนวนมาก และในวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙ คณะนาฏศิลป์กรมศิลปากร ได้ร่วมแลกเปลี่ยนการสาธิตการแสดงกับโรงเรียนศิลปะแห่งชาติลาว ในการนี้ อธิบดีกรมศิลปากรจึงขอใช้โอกาสอันดีที่ได้เดินทางเยือนสปป. ลาว เข้าเยี่ยมคารวะอธิบดีกรมมรดก และหารือเกี่ยวกับการดำเนินงานในการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรม ด้วยกรมศิลปากร ประเทศไทย และกรมมรดก สปป.ลาว มีหน้าที่การทำงานที่คล้ายคลึงกัน         ในการศึกษาค้นคว้าวิจัยทางวิทยาการโบราณคดี โบราณสถาน และพิพิธภัณฑ์ ซึ่งทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ที่สามารถเชื่อมโยงกันได้อย่างใกล้ชิด และทั้งสองหน่วยงานมีนักวิชาการที่มีองค์ความรู้และประสบการณ์การทำงานในด้านดังกล่าว หากทั้งสองฝ่ายได้มีการจัดทำความตกลงร่วมกันก็จะสามารถทำให้ความร่วมมือเป็นรูปธรรมและนำไปสู่การส่งเสริมความเข้าใจซึ่งกันและกัน โดยผ่านมิติและบริบทของการดำเนินงานศึกษาวิจัยร่วมกัน ซึ่งที่ผ่านมากรมศิลปากรและกรมมรดกได้ร่วมกันพิจารณาจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการแลกเปลี่ยนวิทยาการทางโบราณคดี โบราณสถาน วัฒนธรรมและพิพิธภัณฑสถาน และได้รับทราบว่าขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการนำเสนอต่อรัฐบาลของ สปป. ลาว กรมศิลปากรหวังว่าบันทึกความเข้าใจฯ ดังกล่าวจะผ่านความเห็นชอบจากฝ่ายลาว เพื่อจะได้จัดให้มีการลงนามร่วมกันในเร็ววันนี้ ซึ่งกรมศิลปากรจะขอเรียนเชิญอธิบดีกรมมรดก และคณะเดินทางเยือนประเทศไทย เพื่อลงนามความตกลงร่วมกัน  และเมื่อมีการลงนามร่วมกันเป็นที่แล้วเสร็จ นักวิชาการของทั้งสองฝ่ายจะได้ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการฯ ซึ่งกิจกรรมตามแผนงานจะเป็นการแลกเปลี่ยนการศึกษาวิจัยในพื้นที่ของทั้งสองประเทศ และการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถเพื่อปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ การดำเนินความร่วมมือระหว่างไทย – ลาว เป็นไปตามนโยบายของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีไทย ที่มุ่งเน้นให้พัฒนาการทำงานกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อจักได้ก้าวไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน             ๓. ดร. บุนเที่ยง สิริปะพัน อธิบดีกรมมรดก แสดงความขอบคุณอธิบดีกรมศิลปากรที่ได้ให้เกียรติมาเยี่ยมเยือนกรมมรดกด้วยตนเอง กรมมรดก สปป. ลาว แบ่งการทำงานออกเป็น ๔ แผนก ได้แก่  -  แผนกคุ้มครองโบราณวัตถุ      -  แผนกคุ้มครองพิพิธภัณฑสถาน                    -  แผนกคุ้มครองมรดกสถาน (historical monument)                          -  แผนกคุ้มครองมรดกนามธรรม (intangible cultural heritage) แผนกต่างๆ มีหน้าที่รับผิดชอบงานด้านวิชาการที่เกี่ยวข้องกับมรดกวัฒนธรรม ผลงานที่โดดเด่นของกรมมรดกคือการดำเนินงานร่วมกับองค์กรยูเนสโก ในการปกป้องคุ้มครอง แหล่งมรดกโลกหลวงพระบาง และวัดพู จำปาสัก รวมไปถึงมรดกโลกทางธรรมชาติ คือ ทุ่งไหหิน ที่เมืองเชียง ปัจจุบันนี้ทางแผนกวัฒนธรรม แขวงบ่อแก้ว และ กระทรวงแถลงข่าวและวัฒนธรรม ได้มีมาตรการอนุรักษ์และประกาศให้ เมืองเก่าสุวรรณโคมคำ เป็นปูชนียสถานแห่งชาติ เป็นสถานที่อนุรักษ์และหวงห้าม เป็นอุทยานแห่งการศึกษาหาความรู้ แหล่งท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจของนักค้นคว้า นักศึกษา นักอนุรักษ์นิยม และรักษาวัฒนธรรมอันหลากหลาย                ในปี ๒๕๕๙ นี้ นายทองสิง ทำมะวง นายกรัฐมนตรีของ สปป. ลาว ดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน งานด้านวัฒนธรรมจะเน้นในเรื่อง Promotion, Preservation and Protection               ในส่วนของความร่วมมือด้านวัฒนธรรมมีความคิดเห็นเช่นเดียวกับประเทศไทย ที่ควรเน้นความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านก่อน เพราะมีประเพณี วัฒนธรรม ที่คล้ายคลึงกัน มากกว่าที่จะไปมีความร่วมมือกับฝรั่งต่างชาติอย่างชาวยุโรป ซึ่งมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันและที่ตั้งของประเทศก็อยู่ห่างไกลกัน และมีความยินดีที่จะจัดทำบันทึกความเข้าใจร่วมกับประเทศไทย เพื่อให้งานด้านอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมเป็นรูปธรรม               ดร.ทองลิด หลวงโคตร ผู้อำนวยการกองโบราณคดี  แจ้งให้ทราบว่ากรมมรดกได้เคยนำเสนอกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อขอความเห็นชอบให้มีการจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการแลกเปลี่ยนวิทยาการทางโบราณคดี โบราณสถาน วัฒนธรรมและพิพิธภัณฑสถาน กับประเทศไทย และได้เตรียมคณะจะเดินทางไปลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ ที่ประเทศไทยแล้ว แต่เนื่องจากตรงกับวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๘ ซึ่งเป็นวันชาติของ สปป. ลาว จึงทำให้ต้องเลื่อนกำหนดการเดินทางออกไปก่อน อีกทั้งยังมีการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลของ สปป. ลาว ชุดใหม่ ดังนั้น กรมมรดกจึงทำให้ต้องดำเนินการนำเสนอเรื่องดังกล่าวไปยังกระทรวงการต่างประเทศอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในเบื้องต้นได้รับทราบว่ากระทรวงการต่างประเทศน่าจะให้ความเห็นชอบ หากกรมมรดกได้รับแจ้งอย่างเป็นทางการจากกระทรวงการต่างประเทศ จะประสานให้ฝ่ายไทยทราบในโอกาสแรก              ดร. บุนเที่ยง สิริปะพัน อธิบดีกรมมรดก ได้กล่าวเพิ่มเติมว่าในปัจจุบันนี้กรมมรดกยังคงขาดแคลนบุคลากรในการทำงาน และงบประมาณสนับสนุนในการดำเนินงาน การดำเนินความร่วมมือกับต่างประเทศในลักษณะการแลกเปลี่ยนความร่วมมือจำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งประเด็นนี้ทางฝ่ายลาวยังต้องมีการพิจารณากันต่อไป   ๑๐. ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม        ๑๐.๑ การจัดการแสดงนาฏศิลป์และดนตรีในต่างประเทศ จำเป็นจะต้องได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจากหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในประเทศนั้นๆ  สำหรับการจัดการแสดงฯ ที่ สปป. ลาว ในครั้งนี้ กรมศิลปากรได้ประสานการทำงานกับสถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์  หอวัฒนธรรมแห่งชาติลาว นครเวียงจันทน์  และโรงเรียนศิลปะแห่งชาติลาว ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจนทำให้การจัดการแสดงราบรื่นและประสบผลสำเร็จอย่างงดงาม        ๑๐.๒ จากการศึกษาสถานที่สำคัญทางวัฒนธรรมของ สปป. ลาว ทำให้เห็นว่าโบราณสถานส่วนใหญ่จะเป็นวัด ซึ่งยังคงมีประชาชนเข้าใช้ประกอบศาสนกิจอยู่เป็นประจำ จึงทำให้ต้องดูแลรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสถานที่อยู่ตลอดเวลา เพื่อความสวยงามและความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปเยี่ยมชม        ๑๐.๓ จากการหารือกับกรมมรดก เกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมกับ สปป. ลาว นั้น ฝ่ายไทยควรจัดเตรียมงบประมาณให้มีความพร้อมเนื่องจากฝ่ายลาวยังเป็นประเทศที่ยังคงต้องการความช่วยเหลือทั้งด้านงบประมาณเครื่องมือและอุปกรณ์ทางเทคโนโลยี รวมทั้งบุคลากรค่อนข้างมาก   นางสาวสิริอร  อ่อนทรัพย์  นักวิเทศสัมพันธ์ชำนาญการ  


เลขทะเบียน : นพ.บ.1/4กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  46 หน้า  ; 4.5 x 57 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากบอกชื่อคัมภีร์ 1 แผ่น ชื่อชุด : มัดที่ 1 (1-10) ผูก 8หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



Messenger