ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ



          กรมศิลปากรปรับโฉมใหม่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติแห่งแรกในประเทศไทย ที่รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับ “วัฒนธรรมบ้านเก่า” กลุ่มวัฒนธรรมสมัยหินใหม่ ทางภาคตะวันตกของประเทศไทย ที่เป็นจุดเริ่มต้นของงานโบราณคดีอย่างสากลเป็นครั้งแรกของประเทศไทย          กรมศิลปากรได้ดำเนินโครงการพัฒนาและ เพิ่มศักยภาพพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า เพื่อให้เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติศูนย์ศึกษาวัฒนธรรมบ้านเก่า รวมถึงองค์ความรู้ด้านโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่มีความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน และเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีมาตรฐาน ทั้งรูปแบบอาคารที่สะดุดตา โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากหลุมขุดค้นทางโบราณคดีเป็นทรงสี่เหลี่ยมสื่อถึงการพบโบราณวัตถุที่แทรกอยู่ในชั้นดิน ภูมิทัศน์ที่เปิดให้สัมผัสบรรยากาศภูมิประเทศเพื่อให้เข้าใจถึงการตั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัยบนพื้นที่แหล่งโบราณคดีจริง รวมไปถึงนิทรรศการภายในที่ตั้งใจให้เป็นพิพิธภัณฑ์ก่อนประวัติศาสตร์ที่สมบูรณ์ที่สุด          การจัดแสดงนิทรรศการมีเนื้อหาเน้นเกี่ยวกับวัฒนธรรมบ้านเก่าและแหล่งโบราณคดีอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง “วัฒนธรรมบ้านเก่า” หมายถึงกลุ่มวัฒนธรรมสมัยหินใหม่ทางภาคตะวันตกของประเทศไทย ที่ผู้คนตั้งถิ่นฐานถาวรอยู่ตามที่ราบ หรือเชิงเขาไม่ไกลจากลำน้ำ ดำรงชีวิตด้วยการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ และล่าสัตว์ รู้จักทำขวานหินขัดและมีภาชนะดินเผาที่หลากหลาย มีภาชนะรูปทรงเด่นคือหม้อสามขา ภาชนะทรงพาน ภาชนะมีคอและเชิงสูง และภาชนะทรงถาดก้นลึก กำหนดอายุราว ๓,๕๐๐ – ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว และมีความสัมพันธ์กับแหล่งโบราณคดีร่วมสมัยทางภาคใต้ของประเทศไทยและทางตอนเหนือของมาเลเซีย โดยมีการจัดแสดงการขุดค้นและหลักฐานทางโบราณคดีที่ได้จากการขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านเก่า เช่น โครงกระดูก เครื่องมือหินขัด เครื่องประดับ ภาชนะดินเผาที่เรียกว่า “หม้อสามขา” เอกลักษณ์ของวัฒนธรรมบ้านเก่า จัดแสดงเครื่องมือหินจำลอง จำนวน ๘ ชิ้นที่พบโดย ดร. เอช อาร์ ฟาน เฮเกเรน นักโบราณคดีชาวดัตช์ที่ถูกจับเป็นเชลยและถูกเกณฑ์มาสร้างทางรถไฟที่จังหวัดกาญจนบุรีในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้โบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยโดยเฉพาะที่บ้านเก่าได้รับความสนใจจากนักโบราณคดีทั้งนักโบราณคดีไทยและต่างประเทศเข้ามาขุดค้นอย่างต่อเนื่องและจริงจัง จนมีการตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า ในเวลาต่อมา ทั้งนี้ เครื่องมือหินทั้ง ๘ ชิ้นปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พีบอดี มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด กรมศิลปากรกำลังประสานเพื่อนำกลับมาจัดแสดงด้วย          นอกจากผู้ชมจะได้เข้าชมการจัดแสดงนิทรรศการภายในพิพิธภัณฑ์แล้ว ยังสามารถเยี่ยมชมหลุมขุดค้นทางโบราณคดีที่โรงเรียนวัดท่าโป๊ะ ซึ่งตั้งอยู่ข้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า โดยมีการขุดพบโครงกระดูกจำนวนมาก และกรมศิลปากรยังมีการขุดค้นและดำเนินงานทางโบราณคดีอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ พิพิธภัณฑ์บ้านเก่าเป็นพิพิธภัณฑ์ประจำแหล่งที่อยู่ในพื้นที่แหล่งโบราณคดีจริง ดังนั้นองค์ประกอบทุกอย่างจึงมีความสำคัญ กรมศิลปากรจึงปรับปรุงภูมิทัศน์เพื่อให้ผู้เข้าชมเข้าใจถึงลักษณะภูมิประเทศของบ้านเก่า เนื่องจากบ้านเก่าเป็นวัฒนธรรมยุคหินใหม่ที่อยู่ในสังคมเกษตรกรรมเริ่มเข้าตั้งถิ่นฐานในที่ราบเพื่อการเพาะปลูก ดังนั้นในพื้นที่ด้านหลังพิพิธภัณฑ์จะมีทางเดินชมธรรมชาติที่เห็นถึงแหล่งน้ำด้วย สำหรับแผนงานต่อไป กรมศิลปากรมีโครงการจัดตั้งศูนย์ศึกษาวัฒนธรรมบ้านเก่าขึ้น ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า เพื่อเป็นสถานที่ศึกษา วิจัย ของนักวิชาการด้านโบราณคดี ทำให้ความรู้ทางวิชาการโบราณคดีวัฒนธรรมบ้านเก่าดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และสามารถเชื่อมโยงความรู้ด้านงานโบราณคดีกับองค์ความรู้ด้านต่างๆ เข้าด้วยกันแบบสหวิชาการ และเมื่อรวมถึงอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ที่อยู่ใกล้กัน จะเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีได้เป็นอย่างดี


ชื่อเรื่อง                                สุนนฺทราชชาตก (สุนันทรราชชาดก) สพ.บ.                                  289/1กประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           38 หน้า กว้าง 4.5 ซ.ม. ยาว 57 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           ชาดก                                           ธรรมะ                                           พุทธประวัติ บทคัดย่อ/บันทึก         เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับชาดทึบ-ลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


ชื่อเรื่อง                                อุณฺหิสวิชย (อุณณหิสสวิไช) สพ.บ.                                  334/1ฐประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           22 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 54.5 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                          บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ  ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


        วัดวังเป็นวัดโบราณ และเป็นวัดประจำเมืองพัทลุงในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ภายในอุโบสถวัดวังประดิษฐานหมู่พระพุทธรูปลงรักปิดทอง และมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเขียนขึ้นราวสมัยรัชกาลที่ ๓-๔ เขียนเรื่องพุทธประวัติและเทพชุมนุมอย่างสวยงาม --------------- เรียบเรียง/ภาพถ่าย: นายสารัท ชลอสันติสกุล นักโบราณคดีชำนาญการ


เลขทะเบียน : นพ.บ.161/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  36 หน้า ; 4.5 x 57.5 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องชาด ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 97 (35-48) ผูก 3 (2565)หัวเรื่อง : สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (พระอภิธรรมสังคิณี-พระมหาปัฎ)  --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทศนา (เทศนาสังคิณี-มหาปัฎฐาน)  ชบ.บ.46/1-5ก  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


มงฺคลตฺถทีปนี (มงฺคลตฺถทีปนี เผด็จมงคลสูตร)  ชบ.บ.88ข/1-28  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.204/1กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  70 หน้า ; 5 x 59 ซ.ม. : ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 110 (148-158) ผูก 1ก (2565)หัวเรื่อง : วินยกิจฺจ(วินัยกิจ)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.355/ก/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4.5 x 59 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 136  (388-396) ผูก 2ก (2565)หัวเรื่อง : มหานิปาตวณฺณนา (ทศชาติ)ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฐกถา (นารทพรหม)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อผู้แต่ง             อิทธิเทพสรรค์  กฤดากร , หม่อมเจ้า ชื่อเรื่อง               เรื่องเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม ครั้งที่พิมพ์           - สถานที่พิมพ์         พระนคร สำนักพิมพ์           โรงพิมพ์ไทยเขษม ปีที่พิมพ์               ๒๔๙๙ จำนวนหน้า           ๑๐๖  หน้า หมายเหตุ             พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยาวิศุกรรมศิลปประสิทธิ์ (น้อย  ศิลป์)                            หนังสือเรื่องเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมนี้ หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์  กฤดากร ผู้ทรงความรู้เชี่ยวชาญเป็นพิเศษในวิชาสถาปัตยกรรม และเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศิลปากรสถาน ได้ทรงนิพนธ์ประทานแด่หนังสือพิมพ์ต่างๆ ในระหว่าปี พ.ศ. ๒๔๗๖ และ ๒๔๗๗


ชื่อเรื่อง : พระยากัลยาณไมตรี แปลจาก GLAD ADVENTURE ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2514 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : ก้าวหน้าการพิมพ์ จำนวนหน้า : 518 หน้าสาระสังเขป : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ องค์พระผู้ทรงกอบกู้เอกราชในทางศาลและเศรษฐกิจของประเทศสยามได้สำเร็จสมบูรณ์ ด้วยบุญญาอภินิหารของพระองค์บันดาลให้มีพระยากัลยาณไมตรี(FRANCIS B. SAYRE) เข้ามารับราชการสนองพระมาหกรุณาธิคุณในสมัยนั้น และได้รับโอกาสออกไปปฏิบัติพระราชภาระกิจอันยากยิ่งในการเจรจากับมหาประเทศตะวันตก จนกระทั่งมหาประเทศเหล่านั้นได้ยอมสละสิทธิอันไม่เป็นธรรมซึ่งตนมีอยู่เหนือเมืองไทยเสียโดยสิ้นเชิง ดร.ฟรานซิส บี. แซร์ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยากัลยาณไมตรี และได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยิ่งเป็นบำเหน็จความชอบ ก่อนจะกราบถวายบังคมลากลับไปปฏิบัติหน้าที่รับใช้บ้านเมืองของตนเอง






Messenger