ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,340 รายการ

         ภาชนะดินเผาสามขา          ภาชนะดินเผาสามขาเป็นภาชนะรูปแบบหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของวัฒนธรรมบ้านเก่า เนื่องจากมีรูปแบบพิเศษและยังแสดงถึงเทคนิคขั้นสูงในการผลิตภาชนะดินเผาด้วย นอกจากที่แหล่งโบราณคดีบ้านเก่าแล้วยังพบหลักฐานการผลิตภาชนะดินเผาสามขาแพร่กระจายอยู่ตามแหล่งโบราณคดีสมัยหินใหม่ในลุ่มน้ำแควน้อย – แควใหญ่ ลำตะเพิน และลุ่มน้ำท่าจีน เช่น แหล่งโบราณคดีหนองราชวัตร อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี แหล่งโบราณคดีบ้านหัวอุด ตำบลสนามคลี อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ทั้งยังพบแพร่กระจายลงมาทางภาคใต้ เช่น แหล่งโบราณคดีถ้ำเบื้องแบบ อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี แหล่งโบราณคดีถ้ำยายตุ๊ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร นอกจากนี้ยังพบหลักฐานว่าภาชนะสามขาในประเทศไทยมีความสัมพันธ์กับภาชนะสามขาจากแหล่งโบราณคดีสมัยหินใหม่ในประเทศจีนและมาเลเซียด้วย   แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/3d_object/?obj=34057   ที่มา: https://smartmuseum.finearts.go.th



           อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ชวนร่วมรับชมภาพยนตร์เรื่อง มันดาลา (Rivulet of Universe) โดยฝีมือของคนพิมาย รอบพิเศษ ในวันที่ 13 - 14 กันยายน 2567 นี้ ณ อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ตั้งแต่เวลา 17.00 - 22.30 น. โดยสามารถจองบัตรเข้าร่วมงานได้แล้วที่ https://shorturl.at/N3T9f จำกัดเพียงรอบละ 100 ที่ เท่านั้น!!! รวมทั้งยังสามารถร่วม “ชิม ช็อป ชิล” ในตลาดเมืองพิมาย ณ บริเวณด้านหน้าสถานีดับเพลิง เทศบาลตำบลพิมายได้อีกด้วย




ชื่อเรื่อง : การสร้างวัตถุมงคลท่านพ่อทอก ธมฺมรตุตโน วัดหนองชิ่ม อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ 2558 คำค้น : ท่านพ่อทอก ธมฺมรตุตโน, วัดหนองชิ่ม, วัตถุมงคล, พระเครื่อง รายละเอียด :  - ผู้แต่ง :  - แหล่งที่มา : หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี หน่วยงานที่รับผิดชอบ : วัดหนองชิ่ม อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี วันที่ : 2558 วันที่เผยแพร่ : 12 ตุลาคม 2567 ผู้ร่วมสร้างสรรค์ผลงาน : - ลิขสิทธิ์ :  - รูปแบบ : PDF. ภาษา : ภาษาไทย ประเภททรัพยากร : หนังสือท้องถิ่น (ห้องจันทบุรี) ตัวบ่งชี้ :  - รายละเอียดเนื้อหา : หนังสือกล่าวถึงการสร้างวัตถุมงคลท่านพ่อทอก ธมฺมรตุตโน วัดหนองชิ่ม อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี ประวัติท่านพ่อทอก ธมฺมรตุตโน ประวัติการสร้างวัตถุมงคล รายละเอียดการจัดสร้าง และรายนามพระคณาจารย์ที่เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษก เลขทะเบียน : น 58 บ. 71441 จบ. (ร) เลขหมู่ : 294.31218 ก523  


“4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ” ชวนย้อนเวลา ส่องวิถี ปลุกแสงสี พระนครศรีอยุธยา ในวันที่ 9 - 17 พฤศจิกายน 2567 ณ วัดไชยวัฒนาราม วัดราชบูรณะ วัดมหาธาตุ วัดพระราม และพระราชวังจันทรเกษม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา             วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน 2567 เวลา 13.30 น. นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานแถลงข่าวการจัดงาน “4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ” โดยมี นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร นายเกียรติปราโมทย์ ฉายศรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารกรมศิลปากร หน่วยงานภาครัฐและเอกชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมด้วยองค์กรภาคีและเครือข่ายทางวัฒนธรรมและสื่อมวลชน เข้าร่วมการแถลงข่าว ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร            ตามที่รัฐบาลได้จัดกิจกรรม Thailand Winter Festival เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวนั้น กระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงได้ขับเคลื่อนตามนโยบายรัฐบาล โดยเปิดให้เข้าชมโบราณสถานยามราตรี เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว เร่งผลักดันการท่องเที่ยวศักยภาพสูงให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่น่าเที่ยวตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี ซึ่งเป็นช่วงไฮซีซั่นของนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยใช้เสน่ห์วิถีไทย เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้สัมผัสความสวยงามของโบราณสถานในยามค่ำคืน ให้นักท่องเที่ยวได้มีโอกาสเยี่ยมชมบรรยากาศ “4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ” สร้างประสบการณ์ท่องเที่ยวรูปแบบใหม่            ภายใต้แนวคิด “ย้อนเวลา ส่องวิถี ปลุกแสงสี พระนครศรีอยุธยา” ชวนสัมผัสมนต์เสน่ห์วิถีไทยกรุงศรีอยุธยาช่วงต้นกรุงศรีฯ ในยุคที่รุ่งเรืองทั้งศิลปะ วัฒนธรรม และการค้าขาย วิถีชีวิตของผู้คนในยุคนั้นมีความสุข และเสน่ห์ไทยอย่างไร ผ่านกิจกรรมการแสดง การละเล่น พร้อมทั้งการประดับไฟ Lighting Art Installation และ Projection Maping โบราณสถานอันทรงคุณค่าให้ได้เห็นความงดงามยามค่ำคืน ในวันที่ 9 - 17 พฤศจิกายน 2567 ณ วัดไชยวัฒนาราม วัดราชบูรณะ วัดมหาธาตุ วัดพระราม และพระราชวังจันทรเกษม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบกับกิจกรรมไฮไลต์             - Lighting Art Installation – การประดับตกแต่งไฟ “4 วัด 1 วัง” ให้สวยงามยามค่ำคืน สัมผัสบรรยากาศที่มีมนต์เสน่ห์เมื่อครั้งต้นกรุงฯ ในวันที่ 9 - 17 พฤศจิกายน 2567 เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป             - Projection Mapping – พบกับการฉายภาพเรื่องราวด้วยแสงสีอันวิจิตรตระการตา ณ วัดพระราม และวัดไชยวัฒนาราม ในวันที่ 9 - 17 พฤศจิกายน 2567 เวลา 18.30 น. เป็นต้นไป             - การประกวดแมวไทยโบราณคืนถิ่นกรุงศรี – สืบสานตำนานแมวไทย ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2567              - พิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ – ณ วิหารหลวง วัดมหาธาตุ ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป             - การประกวดนางนพมาศ ประจำปี 2567 – ยลโฉมสาวงามนางนพมาศแห่งกรุงศรี ในวันลอยกระทง ณ วัดพระราม ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 เวลา 19.00 น. เป็นต้นไป             นอกจากนี้ ยังมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมและละเล่นไทยโบราณ เชิญชวนแต่งชุดไทยย้อนยุค พร้อมถ่ายภาพเป็นที่ระลึก ภายใต้บรรยากาศที่เต็มไปด้วยความสวยงามของสถานที่ทางประวัติศาสตร์ยามค่ำคืน พร้อมเชิญชวนชิมอิ่มอร่อยจากการออกบูธอาหารจากทุกภูมิภาคตลอดการจัดงาน              อย่าพลาดโอกาสสำคัญในครั้งนี้ มาร่วมเดินทางย้อนเวลากลับไปสู่ช่วงต้นกรุงศรีอยุธยา พร้อมทั้งดื่มด่ำกับบรรยากาศโบราณสถานยามค่ำคืน ได้ที่งาน “4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ” ในวันที่ 9 - 17 พฤศจิกายน 2567 ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เพจเฟซบุ๊ก อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา Ayutthaya Historical Park 



ชื่อเรื่อง : จามะเทวี ขัตติยนารีศรีหริภุญไชย ที่ระลึกในงานทอดกฐินวัดมงคลเวฬุวัน ผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : ม.ป.ป. สถานที่พิมพ์ : ลำพูน สำนักพิมพ์ : วัดมงคลเวฬุวัน      จามะเทวี ขัตติยนารีศรีหริภุญไชย จัดทำขึ้นเพื่อแจกจ่ายในงานทอดกฐิน พระนางจามเทวีเป็นบุคคลที่สำคัญที่มีความสำคัญแก่คนจังหวัดลำพูนอย่างมาก ผู้คนต่างให้ความเคารพและศรัทธา เนื้อหาด้านในจะกล่าวถึงการกำเนิดของพระนางจามเทวี เหตุการณ์ต่างๆที่พระนางทรงทำ พระนางจามเทวีเป็นธิดากษัตริย์เมืองละโว้ เสด็จจากเมืองละโว้ขึ้นมาเสวยราชย์ที่เมืองหริภุญไชย อีกทั้งพระนางยังสถาปนาพุทธศาสนา ทำให้พุทธศาสนานั้นแพร่หลายในเมืองหริภุญไชย รวมทั้งยังทำให้มีความเจริญและมีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์จนถึงปัจจุบัน



เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๙ นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานการประชุมติดตามการดำเนินงานของกรมศิลปากร โดยมีนายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร นายพีรพน พิสณุพงศ์ รองอธิบดีกรมศิลปากร นายสหภูมิ ภูมิธฤติรัฐ รองอธิบดีกรมศิลปากร และข้าราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมอาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร




พบเครื่องถ้วยชามลายน้ำทอง มีพระบรมฉายาลักษณ์ ร.5 ที่กาน้ำ และจาน ไม่ทราบว่ามีจริงหรือไม่ เนื่องจากไม่เคยเห็นในหนังสือ รวมทั้งภาพใน Internet ขอทราบรายละเอียดด้วยครับ


เมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๒ นางสาวบุสรา สังข์สมบูรณ์ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ ให้การต้อนรับและนำชมการดำเนินงานของหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ฯ ตรัง แก่คณะศึกษาดูงานโครงการจัดตั้งอาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษามรดกศิลปวัฒนธรรม (อสมศ.)​ จังหวัดตรัง และพัทลุง ของสำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม


Messenger