ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 39,654 รายการ




ชื่อเรื่อง                         นิสัยสินชัย (นิไนสินชัย)สพ.บ.                           397/3หมวดหมู่                       พุทธศาสนาภาษา                           บาลี-ไทยอีสานหัวเรื่อง                         พุทธศาสนา                                   ชาดก                                   เทศน์มหาชาติ                                   คาถาพันประเภทวัสดุ/มีเดีย           คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                   52 หน้า : กว้าง 4 ซม. ยาว 56.5 ซม. บทคัดย่อเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องรัก ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี




           สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ หัวเมืองที่ตั้งอยู่ในบริเวณแหลมมลายูนั้น ถูกแบ่งออกเป็น ๒ เขต คือ หัวเมืองบริเวณชายทะเลอ่าวสยาม (หัวเมืองปักษ์ใต้) ได้แก่ มณฑลชุมพร มณฑลนครศรีธรรมราช มณฑลปัตตานี และหัวเมืองบริเวณชายทะเลอ่าวเบงกอล (หัวเมืองทะเลตะวันตก) ได้แก่ มณฑลภูเก็ต นอกจากนี้ยังมีหัวเมืองมลายูประเทศราช ซึ่งได้แก่ เมืองไทรบุรี เมืองกลันตัน เมืองตรังกานู โดยหัวเมืองต่างๆ เหล่านี้เดินทางไปได้ยากมาก ยังมิได้ปรากฏว่าพระเจ้าแผ่นดินองค์ใดได้เสด็จประพาส จนกระทั่งสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ได้เสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๑ (ร.ศ. ๗๗)           ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้เสด็จประพาสเมืองแหลมมลายูครั้งแรกเมื่อคราวเสด็จประพาสสิงคโปร์และชวา พ.ศ. ๒๔๑๓ (ร.ศ. ๘๙) หลังจากนั้นก็ทรงเว้นว่างไปถึง ๑๗ ปี จนมาถึงปี พ.ศ. ๒๔๓๑ (ร.ศ. ๑๐๗) จึงได้เสด็จประพาสหัวเมืองแหลมมลายูอีกครั้งทั้งในดินแดนไทยและอังกฤษ ซึ่งเป็นการเสด็จตามมณฑลปักษ์ใต้ในพระราชอาณาเขตเป็นหลัก           ในปีพ.ศ. ๒๔๓๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเมืองปัตตานี โดยเสด็จพระราชดำเนินไปตามถนนสายอาเนาะรู ไปยังศาลเจ้าซูกง (ศาลเจ้าเล่วจูเกียหรือศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวในปัจจุบัน) ตามหลักฐานที่ระบุในจดหมายเหตุรายวันของสมเด็จพระบรมราชปิตุลาธิบดี เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ตอนหนึ่งว่า “เวลาสี่โมงเช้าเรือทอดสมอที่หน้าเมืองปัตตานี เจ้าเมืองกรมการเมืองตานีมาคอยรับเสด็จถึงเรือโดยเร็ว เสด็จไปประทับที่เรือเวสาตรี ทรงครึ่งยศทหาร เราก็แต่งครึ่งยศตามเสด็จไป ผู้ที่มาเยือนนั้น พระยาตานีตาย พระศรีบุรีรัฐพินิต ๑ พระพิพิธภักดี ๑ เมืองยิหริ่งพระยายิหริ่ง ๑ พระโยธานุประดิษฐ ๑ เมืองสายพระยาสาย ๑ พระวิเศษวังชา ๑ ประทางตราภัทราภรณ์ ผู้ช่วยทั้งสี่คนคนละดวง แล้วเสด็จกลับมาเรืออุบล วันนี้เป็นวันคล้ายวันประสูติสมเด็จแม่ ที่เรือเวสาตรีได้ยิงสลุต ๒๑ นัด สองโมงเศษเสด็จขึ้นเมืองตานี เมื่อถึงท่าเขาลงมาคอยรับเสด็จทั้งผู้ชายผู้หญิง ทรงพระดำเนินไปตามตลาดจนถึงพลับพลาซึ่งปลูกไว้รับเสด็จ ทำดี ดูเข้าใจไทยมาก การรับรองแข็งแรง ของถวายก็มาก ข้างในพวกผู้หญิงก็มาถวายของมาก มีฝนตกเล็กน้อย แล้วเสด็จมาทรงเรือพระที่นั่งมาประทับที่วัดของจีนจูหลาย กัปตันจีนสร้าง มีพระสงฆ์อยู่ ๑๔ รูป โบสถ์ทำอย่างจีน พระเข้าบ้านแขกไม่ได้ รับสั่งให้นิมนต์มาถวายเงิน สมเด็จแม่ก็ถวายด้วย แล้วประทานเงินกัปตันจีนไว้ห้าชั่ง ให้ทำศาลาการเปรียญ เป็นที่สำหรับเด็กเรียนหนังสือ ให้เป็นที่สำหรับเจ้าเมืองกรมการประชุมถือน้ำด้วย”          ต่อมาเมื่อคราวเสด็จเมืองหนองจิก วันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๒ ขณะที่ประทับอยู่ในเรือพระที่นั่งหน้าเมืองหนองจิกนั้น ทรงทราบว่าศาลาการเปรียญที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นที่วัดบางน้ำจืด เมื่อคราวเสด็จตรังกานูเกือบเสร็จแล้วจึงอัญเชิญพระราชหัตถเลขาฉบับที่ ๓ ซึ่งกล่าวถึงเหตุการณ์ดังนี้ “พระยาตานีมาคอยอยู่ ๔ วันแล้วพึ่งกลับไปพระยาหนองจิกให้ไปบอก ก็ขึ้นมาพร้อมกับพระศรีบุรีรัฐ พระพิพิธภักดี หลวงจีนคณานุรักษ์ ทราบว่าศาลาการเปรียญที่วัดตานี ซึ่งฉันสร้างไว้นั้น เกือบเสร็จแล้ว จึงคิดว่าเป็นโอกาสดีพอที่จะฉลองได้ จึงปล่อยให้พวกเมืองตานีกลับไปจัดการรับที่เมืองตานี”          วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๓๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ วัดบางน้ำจืด โดยเรือพระที่นั่งบูรทิศในการพระราชพิธีฉลองศาลาการเปรียญ ทรงมีพระราชหัตถเลขา ในการพระราชพิธีดังกล่าวถึงเหตุการณ์ในการฉลองศาลาการเปรียญและได้พระราชทานนามวัดว่า "วัดตานีนรสโมสร" และได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวง ชั้นตรีชนิดสามัญ นับเป็นอารามหลวงแห่งแรกของจังหวัดปัตตานี ตั้งแต่วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๙--------------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ยะลา https://www.facebook.com/751655098538170/posts/1332154277154913/ --------------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง : ห้องสมุดดิจิทัลวชิรณาญ (ออนไลน์). แหล่งที่มา http://vajirayana.org/.../%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0... ห้องสมุดดิจิทัลวชิรณาญ (ออนไลน์). แหล่งที่มา http://vijirayana.org/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8... มาฆีตานิง : ท่องไปในวงแหวนพหุวัฒนธรรมเมืองปัตตานี. สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (ออนไลน์). แหล่งที่http://xn--pattaniheritagecity-z70dtn.psu.ac.th/.../%E0.../ South deep outlook.com (ออนไลน์). แหล่งที่มา http://southdeepoutlook.com/.../detail_south_editorial/77/ จุฬาลงกรณ์ราชบรรณาลัย. สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ออนไลน์). แหล่งที่มา http://rama5.flexiplan.co.th/th/timeline/detail/4859




          โรงละครปรีดาลัย ได้ถือกำเนิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นโรงละครแบบตะวันตกที่โอ่อ่าและทันสมัยที่สุดในยุคนั้น ตั้งขึ้นในบริเวณวังวรวรรณ อยู่ด้านทิศเหนือของสะพานช้างข้างโรงสี อันเป็นที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ สร้างตามแบบอย่างโรงละครหรือโอเปร่าของตะวันตก มีการแบ่งที่นั่งเป็นส่วน ๆ ตรงกลางเป็นที่นั่งของเจ้านาย ชนชั้นสูง ผู้มีบรรดาศักดิ์ ด้านข้างเป็นที่นั่งสำหรับผู้ติดตาม บุคคลทั่วไป มีบาร์ขายเครื่องดื่มและอาหารว่าง จัดแสดงเฉพาะวันเสาร์และวันอาทิตย์          พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ (พระองค์เจ้าวรวรรณากร) เป็นพระราชโอรสในรัชกาลที่ ๔ ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเขียน ณวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๔ ทรงเป็นต้นราชสกุล วรวรรณ ทรงเริ่มรับราชการครั้งแรกในหอรัษฎากรพิพัฒน์ ตำแหน่งพนักงานการเงินแผ่นดิน ต่อมาทรงดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมพระคลังมหาสมบัติ และ พ.ศ. ๒๔๓๓ ทรงดำรงตำแหน่งรองเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ยังทรงเป็นสภานายกของหอพระสมุดวชิรญาณอีกด้วย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ เจ้านายผู้ทรงสนใจศิลปะการละคร ได้รับการปลูกฝังจากเจ้าจอมมารดาเขียน พระมารดา ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ พระองค์ได้ทรงนิพนธ์บทละครร้องมากมายนับร้อยเรื่อง ทรงพัฒนาปรับปรุงจากการแสดงละครไทยผสมรวมกับการแสดงแบบตะวันตก กลายเป็นละครร้องรูปแบบหนึ่งเกิดขึ้น เรียกว่า ละครปรีดาลัย ซึ่งผู้แสดงเป็นผู้หญิงล้วน ๆ เป็นละครร้องเพลงไทย มีบทเป็นพื้นใช้เจรจาแทรกตามเนื้อเรื่อง ซึ่งรัชกาลที่ ๕ ก็เคยเสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรละครเป็นการส่วนพระองค์หลายครั้ง และยังโปรดฯ ให้เล่นละครเพื่อต้อนรับราชทูตชาวตะวันตก ณ พระราชวังดุสิตอีกด้วย โรงละครแห่งนี้จึงเป็นโรงมหรสพของชาววังและ ชนชั้นสูงที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น เมื่อราว พ.ศ. ๒๔๕๔ พระองค์ได้หยิบยกตำนานรักของไทยเรื่อง อำแดงนาก มาทรงนิพนธ์เป็นบทละครร้องชื่อเรื่องว่า อีนากพระโขนง ละครร้องเรื่องนี้นับเป็นละครร้องเรื่องแรกที่ได้แสดงในโรงละครปรีดาลัย และได้กลายเป็นนิยายรักสยองขวัญสุดคลาสสิคที่ถูกนำมาสร้างในรูปแบบภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ และละครเวทีในยุคสมัยต่อมา โรงละครปรีดาลัยได้กลับมาเฟื่องฟูอีกยุคหนึ่งภายใต้การดูแลของพระนางเธอลักษมีลาวัณ พระธิดา ได้ทรงฟื้นฟูการละครฯ ของพระบิดาอีกครั้ง ได้ปรับเปลี่ยนการแสดงโดยใช้นักแสดงชายจริงหญิงแท้ และวงดนตรีสากลเข้ามา และทรงนิพนธ์บทละครบางเรื่องขึ้นด้วย จนกระทั่ง พระนางเธอลักษมีลาวัณเสด็จไปประทับ ณ ทวีปยุโรป ละครปรีดาลัยจึงได้ปิดตัวลงเมื่อราว พ.ศ. ๒๔๗๐ เมื่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ สิ้นพระชนม์ในสมัยรัชกาลที่ ๗ วังวรวรรณตกอยู่ในความดูแลของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ต่อมาขุนแพร่นครนฤเบศร์ (เหรียญ ตะละภัฏ) ได้ขอเช่าวังแห่งนี้จากสำนักงานทรัพย์สินฯ จัดตั้งเป็นโรงเรียนตะละภัฏศึกษา จนกระทั่งโรงเรียนแห่งนี้ได้ปิดกิจการลงใน พ.ศ. ๒๕๓๘ ปัจจุบันอาคารส่วนหนึ่งใช้เป็นสำนักงานสมหมาย ตะละภัฏ ทนายความ ของนายกัลลวัตร ตะละภัฏ ประธานชมรมแพร่งนรา อาคารแห่งนี้ครั้งหนึ่งได้เคยเป็นโรงละครปรีดาลัย แหล่งบันเทิงที่นิยมสูงสุดของชาววังตลอดจนบุคคลภายนอก อีกหนึ่งสถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่าที่ให้เราได้ชมความงดงามจนมาถึง ทุกวันนี้------------------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล : อุดมพร เข็มเฉลิม บรรณารักษ์ชำนาญการ กลุ่มบริการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุดแห่งชาติ------------------------------------------------------บรรณานุกรม ปรียา ม่านโคกสูง และคนอื่น ๆ, บรรณาธิการ. บางกอก เล่าเรื่อง (วัง). กรุงเทพฯ : สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร, ๒๕๕๕. เพลินพิศ กำราญ และเนียนศิริ ตาละลักษณ์. พระประวัติและผลงานของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ นราธิปประพันธ์พงศ์. กรุงเทพฯ : ศูนย์นราธิปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์, ๒๕๒๒. (มูลนิธิ “นราธิป ประพันธ์พงศ์ – วรวรรณ” จัดพิมพ์เนื่องในพระราชวโรกาส สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเปิดศูนย์นราธิปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๒๒). เอนก นาวิกมูล. เปิดตำนาน แม่นากพระโขนง. (พิมพ์ครั้งที่ ๓). กรุงเทพฯ : โนรา, ๒๕๔๙. พันธกานต์ ใบเทศ. “ ละครร้องกรมพระนราฯ: ขุมปัญญาทางการแสดงจากวังสู่บ้าน” วารสารศิลปกรรม ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ๒๓,๒ (กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๒๒). ๙๓ – ๑๐๒.


ชื่อเรื่อง                                มหาพุทธคุณกถา (มหาพุทธคุณ) สพ.บ.                                  345/1 : 1กประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           110 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 59 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา--บทสวดมนต์                                          บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


เลขทะเบียน : นพ.บ.164/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  62 หน้า ; 4.5 x 53.5 ซ.ม. : ล่องชาด-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับ, มีฉลากไม้ไผ่ชื่อชุด : มัดที่ 98 (49-66) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : นิสัยธาตุกุ้ง(นิไสธาตุกุ้ง) --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทศนา (เทศนาสังคิณี-มหาปัฎฐาน)  ชบ.บ.46/1-7ฆ  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


มงฺคลตฺถทีปนี (มงฺคลตฺถทีปนี เผด็จมงคลสูตร)  ชบ.บ.88ค/1-42  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.216/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  42 หน้า ; 5 x 56 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 111 (159-169) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : สังฮอมธาตุ --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


Messenger