ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 36,755 รายการ


องค์ความรู้ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “น้ำตกเขาสอยดาว” น้ำตกเขาสอยดาว ขื่อก็บอกอยู่แล้วว่าต้องมีความสูงมากจึงจะสอยดาวได้ น้ำตกแห่งนี้มีจำนวนชั้นน้ำตกมากที่สุด นับความสูงแล้วจะมีความสูงมากที่สุดในจำนวนน้ำตกทุกแห่งของจันทบุรี น้ำตกเขาสอยดาว อยู่ในเทือกเขาสอยดาวเหนือ เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว ตำบลทรายขาว อำเภอสอยดาว ห่างจากตัวเมืองจันทบุรีไปตามเส้นทางถนนสายจันทบุรี – สระแก้ว 70 กิโลเมตร แยกเข้าทางซ้ายมือระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 62-63 เข้าไปอีก 3 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยาน เป็นจุดเริ่มต้นในการเดินขึ้นไปชมน้ำตก จากที่ทำการอุทยาน เดินเท้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร จะถึงริมลำธารน้ำตก สองข้างทางเต็มไปด้วยดอกไม้ป่าส่งกลิ่นหอมตลอดทาง บางตอนต้องปีนป่ายไปตามโขดและผาหิน ตัวน้ำตกเขาสอยดาวมี 16 ชั้น ต้องเดินตามทางที่เขาจัดไว้ให้ ชั้นที่สวยที่สุด คือ ชั้นที่ 9 และ 10 เป็นน้ำตกที่ไหลมาจากหน้าผามหึมา แล้วทิ้งสายลงมางดงามเบื้องล่างที่เรียกว่า วังพญางิ้วดำ จนได้ฉายาว่า “น้ำตกสอยดาว เป็นน้ำตกที่สวยที่สุดของภาคตะวันออก” นักท่องเที่ยวที่ประสงค์จะค้างแรมสามารถกางเต็นท์ได้ แต่ไม่มีบ้านพักรับรอง ส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวจะมาเดินชมน้ำตกชั้นล่างๆ นั่งกินส้มตำ เดินดูนกดูไม้ หรือปูเสื่อนอนเล่นกัน การท่องเที่ยวในพื้นที่นี้จะต้องเข้าไปศึกษาธรรมชาติ เพราะที่นี่เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ที่เหมาะมากคือการดูผีเสื้อตามลำธารที่มีหลากหลายพันธุ์สวยๆงามๆ อ้างอิง : ที่ระลึกในพิธีเปิดหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี : อัมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊พ. 2533. มัทธิว เจ. (2542, เมษายน). “เที่ยวป่าจันท์.” Trips Magazine. ปีที่ 3 ฉบับที่ 30 : หน้า 85. ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี





องค์ความรู้ สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี เรื่อง หอไตรหนองขุหลุ ผู้เรียบเรียง : นางสาวนิตยา ลาภมาก นักศึกษาฝึกประสบการณ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม



 ท้าววสวัตตีมาร และเหล่าบริวาร จิตรกรรมฝาผนังเล่าเรื่องพุทธประวัติ ตอน"มารผจญ" ผนังด้านหลังองค์พระประธาน ภายในอุโบสถ วัดบางขนุน ต.บางขนุน อ.บางกรวย จ.นนทบุรี


***บรรณานุกรม***  บุญรับพินิจชนคดี ม.ร.ว. ราชสกุลวงศ์ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมราชวงศ์บุญรับ พินิจชนคดีณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 30 มีนาคม พุทธศักราช2525 กรุงเทพฯ  โรงพิมพ์จันหว่า 2463



     ปูนปั้น ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๐ พระราชประสิทธิคุณ อดีตเจ้าอาวาสวัดราชธานี องเมืองสุโขทัย จ.สุโขทัย มอบให้     เกียรติมุขหรือหน้ากาลเป้นลวดลายปูนปั้นที่ใช้ประดับซุ้มจระนำของโบราณสถาน โดยมักจะประดับอยู่ที่ยอดซุ้ม สะท้อนถึงลวดลายที่นิยมสร้างสรรค์ในศิลปะสุโขทัย รวมทั้งสะท้อนถึงคติ ความเชื่อที่ปรากฎในงานศิลปกรรมสมัยสุโขทัย มีลักษณะเป็นรูปหน้ายักษ์ปนสิงห์หรือใบหน้าอสูรที่มีลักษณะดุร้าย คิ้วขนมวด นัยน์ตากลมโตถลน จมูใหญ่ ปากกว้างเห็นฟันบนและมีเขี้ยว ไม่มีริมฝีปากล่าง ไม่มีลำตัว มีแขนออกมาจากด้านข้างของศีรษะสวมเครื่องประดับศีรษะลักษณะเป็นกระบังหน้า      ตามคติในศาสนาฮินดู เกียรติมุขหรือหน้ากาล หมายถึง "เวลา" ผู้ซึ่งกลืนกินสรรพสิ่งทั้งมวล จึงเป็นผู้ครอบครองเหนือทุกสิ่งทุกอย่าง กาลหรือหน้ากาล มีความหมายเดียวกับเวลา เป็นชื่อของพระยม ผู้พิพากษาคนตายในอาถรรพเวทของสาสนาฮินดู ต่อมาจึงมีความเชื่อว่าการสร้างหน้ากาลไว้เหนือประตูทางเข้าศาสนสถานจะเป็นเสมือนสิ่งคุ้มครองปกปักรักษามิให้สิ่งชั่วร้ายเข้ามาสู่ศาสนสถานนั้นๆ



๑  ธันวาคม  ๒๕๕๘  กิจกรรมส่งเสริมศีลธรรมและปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๘ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๘ ทำความดีด้วยการสวดมนต์ นั่งสมาธิ เจริญจิตภาวนาและปฏิบัติธรรม เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ทรงเป็นพุทธมามกะที่ถึงพร้อมด้วยปริยัติ ปฏิบัติและปฏิเวธ และทรงแสดงเป็นแบบอย่างให้เห็นถึงการเป็นชาวพุทธที่ดี นำโดยนายรุ่งชัย ใบกว้าง รองผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร นายสุนทร รัตนากร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร นางธาดา สังข์ทอง หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร หัวหน้าส่วนราชการ ประชาชน นักเรียน นักศึกษา พร้อมกันร่วมปฏิบัติธรรม  ณ  วัดพระแก้ว อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร


วัสดุ ดินเผา อายุสมัย สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สังคมเกษตรกรรม (ประมาณ 2,500-1,800ปีมาแล้ว) สถานที่พบ พบที่แหล่งโบราณคดีบ้านสำโรง อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด พบได้ทั่วไปในแหล่งโบราณคดีในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ ศาสตราจารย์ชาร์ลไฮแอม แห่งมหาวิทยาลัยโอทาโก ประเทศนิวซีแลนด์ ได้ขุดพบครั้งแรกที่แหล่งโบราณคดีโนนเดื่อ ดอนตาพัน บ่อพันขัน อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อ พ.ศ.2520 ลักษณะเด่น ภาชนะเนื้อสีขาว หรือสีส้ม ความหนาเฉลี่ยโดยประมาณ 0.3-0.5 เซนติเมตร ตกแต่งด้วยลายเชือกทาบ จากนั้นลบลายให้เรียบแล้วทาน้ำดินทับในแนวขวาง ซึ่งน้ำดินที่นิยมจะมีสีส้ม น้ำตาล ดำ และแดง เนื้อดิน เมื่อเผาสุกแล้วเนื้อดินจะมีสีขาว (ดินเกาลิน) เป็นแบบเนื้อดินธรรมดา (earthen ware) เนื้อดินผสมดินเชื้อ (grog) การปั้นภาชนะขนาดเล็กจะปั้นบางมาก การตกแต่ง นิยมตกแต่งผิวภาชนะด้วยลายเชือกทาบ โดยทาบด้วยเชือกเส้นเล็กๆ อย่างเป็นระเบียบ และทำให้เรียบ แล้วทาด้วยน้ำดินเป็นแถบ น้ำดินที่ใช้ทำมีสีแดง สีน้ำตาล สีดำ


วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๓ เวลา ๐๙.๐๐ น. นักเรียนชั้นอนุบาล ๒ - ๓ โรงเรียนบ้านตรมไพร ตำบลตรมไพร อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ นักเรียนจำนวน ๕๙ คน คุณครูจำนวน ๒ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมีนางสาวอาภาภรณ์ เปล่งปลั่งศรี นักวิชาการวัฒนธรรม ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม