ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,340 รายการ
ส่งเสริมการอ่านผ่าน Facebook กับหอสมุดแห่งชาติชลบุรี
เรื่อง 5 สุดยอดสมุนไพรไทยตลาดโลกต้องการสูง
5 สุดยอดสมุนไพรไทยตลาดโลกต้องการสูง. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน, 2560.
ห้องหนังสือทั่วไป 1 เลขเรียกหนังสือ 615.321 ห556
ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่มาจากสมุนไพรได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เป็นผลมาจากความกังวลใจในปัญหาทางสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้จากการใช้สารเคมี จึงทำให้เกิดผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรขึ้นมากมายหลายประเภทอาทิ การบำรุงรักษาโรค การบริโภค และผลิตภัณฑ์เสริมความงาม ซึ่งสมุนไพรของประเทศไทย ติดอันดับความนิยมที่ทั่วโลกต้องการอย่างมาก รองลงมาจากสิงคโปร์และมาเลเซีย
5 สุดยอดสมุนไพรไทยตลาดโลกต้องการสูง เล่มนี้ ผู้เขียนพาเราไปพบกับ สมุนไพรไทย 5 ชนิดที่ได้รับความนิยมและได้รับการผลักดันเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม โดยความร่วมมือระหว่างกรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อันได้แก่ กระชายดำ ไพล ขมิ้นชัน กวาวเครือขาว และใบบัวบก ซึ่งล้วนเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในอดีตและปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้คนหันมาใส่ใจการบริโภคอาหารที่ปลอดสารเคมีมากขึ้น จึงทำให้สมุนไพรของประเทศไทยมีชื่อเสียงเพิ่มขึ้น ทั้งในแง่ที่ใช้เป็นยารักษาโรค เครื่องปรุงรสอาหาร รวมไปถึงผลิตภัณฑ์เสริมความงามต่างๆ สรรพคุณของสมุนไพรทั้ง 5 ชนิดที่ทำให้ได้รับความนิยม จำแนกได้ดังนี้ กระชายดำ ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ปรับสมดุลในร่างกาย ช่วยชะลอวัย และบำรุงกำลัง ไพล ช่วยแก้อาการปวดขาปวดเข่า จึงนิยมนำมาใช้เป็นส่วนผสมหลักของลูกประคบ รักษาอาการน้ำร้อนลวก แผลไฟไหม้ ขมิ้นชัน ช่วยให้เจริญอาหาร แก้อาการท้องอืด จุก เสียด แน่น อีกทั้งยังใช้สำหรับลดอาการปวด บวม ฟกช้ำ และสมานแผลสด ต่อมาคือ กวาวเครือขาว ได้รับการขนานนามให้เป็นราชินีแห่งสมุนไพร มีสรรพคุณช่วยบำรุงกำลังโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยสูงอายุ สำหรับสตรีจะช่วยบำรุงอวัยวะภายในที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์ ลำดับสุดท้าย คือ ใบบัวบก ช่วยเรื่องบำรุงผิวพรรณ บำรุงหัวใจ แก้เมื่อยล้าและอ่อนเพลีย ทั้งนี้การพัฒนาให้สมุนไพรไทยก้าวเข้าสู่ตลาดโลกนั้นยังคงดำเนินต่อไป ผ่านการค้นคว้าวิจัย และสร้างจุดเด่นให้กับสินค้าและบริการ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของตลาดและผู้บริโภคให้มากที่สุด ผู้สนใจสามารถหาอ่านได้ที่หอสมุดแห่งชาติชลบุรี (วันอังคาร – วันเสาร์ เวลา 09.00 - 17.00 น.)
องค์ความรู้ : การฝังศพสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่เมืองพิมาย
การฝังศพในสมัยก่อนประวัติศาสตร์มี ๒ แบบ คือ การฝังศพครั้งที่ ๑ เป็นการฝังศพภายหลังเสียชีวิตมักอยู่ในท่านอนหงายเหยียดยาว และการฝังศพครั้งที่ ๒ เป็นการขุดโครงกระดูกขึ้นมาบรรจุในภาชนะดินเผาและนำกลับไปฝังอีกครั้ง
การฝังศพสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในเมืองพิมาย พบหลักฐานหลายบริเวณ ดังนี้
๑.ปราสาทพิมาย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๗-๒๕๐๘ ระหว่างการบูรณะปราสาทได้ขุดพบโครงกระดูกมนุษย์จำนวน 3 โครง บริเวณใต้ฐานปราสาทประธานของปราสาทพิมายเบนจากฐานออกไปเล็กน้อย ที่ระดับความลึกประมาณ ๓ เมตร
๒.บ้านส่วย เนินดินก่อนประวัติศาสตร์ตั้งอยู่นอกเมืองพิมาย จุดสูงสุดของเนินอยู่ห่างจากคูเมือง-กำแพงเมืองพิมายไปทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ราว ๘๐ เมตร มีการขุดค้น ๒ ครั้ง ดังนี้
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๙ R.H.Parker ได้ขุดพบการฝังศพในภาชนะดินเผาจำนวน ๓ ใบ
ในปี พ.ศ. ๒๕๔๓ -๒๕๔๔ สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา (ปัจจุบัน) ได้ขุดค้นพบหลักฐานการฝังศพแบบนอนหงายเหยียดยาวจำนวน 4 โครง พบในชั้นดินต่อเนื่องกัน 3 สมัย ตั้งแต่ยุคเหล็กถึงต้นประวัติศาสตร์ อายุราว 1,400-1,800 ปีมาแล้ว
โครงกระดูกที่ ๑ พบเพียงลำตัวท่อนบน หันศีรษะไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณไหล่ซ้ายมีภาชนะดินเผาแบบพิมายดำ ๑ ใบ ตายเมื่ออายุราว ๒๕-๓๕ ปี พบในระดับความลึกประมาณ ๑๐๐-๑๓๐ ซม.
โครงกระดูกที่ ๒ พบเพียงลำตัวท่อนบน หันศีรษะไปทางทิศตะวันออก แขนซ้ายสวมกำไลสำริด ๑ วง ฟันกรามซี่ที่ ๑ ผิดปกติ คือ มีเคลือบฟันซ้อน ๒ ชั้นคล้ายโครงกระดูกที่ ๓ ตายเมื่ออายุราว ๑๕-๒๕ ปี พบในระดับความลึกประมาณ ๒๐๐-๒๐๖ ซม.
โครงกระดูกที่ ๓ พบเพียงกะโหลกศีรษะ กระดูกแขน กระดูกขา ฟันสึกมาก
โครงกระดูกที่ ๔ ฝังทับซ้อนโครงกระดูกที่ ๓ พบกะโหลกศีรษะ กระดูกแขน กระดูกขา ซี่โครง บริเวณกระดูกหน้าแข้งมีภาชนะแบบพิมายดำ ๓ ใบ ใต้ภาชนะมีชิ้นส่วนสำริดคล้ายห่วงเอวและชิ้นส่วนเครื่องมือเหล็ก ๒ ชิ้น หันศีรษะไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ พบในระดับความลึกประมาณ ๒๓๐-๒๕๐ ซม. ด้านขวาของโครงกระดูกที่ ๓ และโครงกระดูกที่ ๔ ห่างจากกระดูกปลายเท้าเล็กน้อยมีกลุ่มภาชนะแบบพิมายดำ จำนวน ๙ ใบ
๓. เมรุพรหมทัต จากการขุดค้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๑ บนถนนบูชายันต์ บริเวณเยื้องไปทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมรุพรหมทัต ในหลุมขุดค้น MH 7 ได้พบหลักฐานการฝังศพ สภาพโครงกระดูกไม่สมบูรณ์ พบเพียงกระดูกแขน ขา กระดูกสันหลัง เชิงกราน ร่วมกับกำไลหินอ่อน และภาชนะดินเผาเคลือบน้ำดินสีแดง จำนวน ๗ ใบ เป็นภาชนะดินเผาทรงพาน ทรงหม้อ ในชั้นวัฒนธรรมที่ 1 อายุประมาณ 1,500-2,500ปีมาแล้ว
๔. วัดใหม่ประตูชัย ริมกำแพงหัวมุมด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัด บนฟุตบาทข้างถนนหฤทัยรมย์ ได้พบโครงกระดูกมนุษย์ลักษณะนอนหงายเหยียดยาว จำนวน 1 โครง ในระดับความลึก 290 เซนติเมตรจากผิวถนน โครงกระดูกหันศีรษะไปทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ หันหน้าไปทางด้านซ้ายมีลักษณะพับคอลงมา แขนแนบลำตัว มือรวมอยู่ส่วนกลางของลำตัวซึ่งน่าจะเป็นการมัดมือ ข้อมือซ้ายสวมกำไลทรงกระบอกทำจากหินอ่อนจำนวน 3 วง มีกำไลลักษณะทรงกลมแบนมีหน้าตัดรูปตัว T จำนวน ๑ วงวางอยู่ข้างกำไลทั้ง 3 วง สวมสร้อยคอทำจากหินอ่อน ลักษณะเป็นแท่งทรงกระบอกยาวคล้ายตะกรุดจำนวน 11 แท่ง แท่งรูปทรงกระบอกสั้นจำนวน 13 แท่ง บริเวณช่วงลำตัวของโครงกระดูกมีชิ้นส่วนเหล็ก ซึ่งน่าจะเป็นสิ่งของที่อุทิศให้ผู้ตาย สันนิษฐานว่ามีอายุอยู่ในช่วงราว 1,500-2,500ปีมาแล้ว
บรรณานุกรม
รัชนี ทศรัตน์ และอำพัน กิจงาม. 2547.รายงานการขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านส่วย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา.กรมศิลปากร. โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.กรุงเทพฯ
ศุภชัย นวการพิศุทธิ์. ๒๕๖๓. รายงานการขุดศึกษาทางด้านโบราณคดีบริเวณพื้นที่เมืองพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา.โครงการท่อร้อยสายโทรศัพท์ใต้ดิน ตามโครงการปรับภูมิทัศน์ 10 เมืองเก่า.(เอกสารอัดสำเนา)
กิจการร่วมค้าอาซีฟาแอนด์วีอาร์เอส และห้างหุ้นส่วนจำกัดวัฒนธาราธรรม . 256๓ โครงการปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้าเป็นเคเบิลใต้ดินบริเวณรอบนอกพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์พิมายจังหวัดนครราชสีมา ตามโครงการเพิ่มความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้าระยะที่ 3 ในพื้นที่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้. (อัดสำเนา)
SARAH TALBOT, CHUTIMA JANTHED. Northeast Thailand before Angkor: Evidence from an Archaeological Excavation at the Prasat Hin Phimai. Asian Perspectives, Vol. 40. No.2. 2002. University of Hawai'Press.
เรียบเรียงโดย น.ส.วิลาสินี แช่มสะอาด นักโบราณคดีชำนาญการ
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 136/5 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 172/3เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 51/6ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 26 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 58 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ชุดภาพร่างจิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถาน ของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี
100 ปี ศิลปสู่สยาม สุนทรีศิลปแห่งนวสมัย
พระพุทธรัตนสถาน เป็นอาคารทรงไทยประเพณีที่ตั้งอยู่ในสวนศิวาลัย เขตพระราชฐานชั้นกลาง พระบรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นพระวิหารสำหรับประดิษฐาน ‘พระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย’ หรือ ‘พระแก้วขาว’ พระพุทธรูปที่สร้างด้วยแก้วผลึกสีขาว ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) โปรดให้อัญเชิญมาจากเมืองจำปาศักดิ์ ประเทศลาว เมื่อ พ.ศ. 2354 ภายในพระพุทธรัตนสถานเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังแบบไทยประเพณี เล่าประวัติของพระพุทธบุษยรัตน์ฯ และการอัญเชิญลงมายังกรุงเทพมหานคร สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 พระพุทธรัตนสถานได้รับความเสียหายจากการโจมตีทางอากาศ ทำให้ชายคา ฝาผนัง รวมทั้งงานจิตรกรรมระหว่างช่องหน้าต่างชำรุดเสียหาย พ.ศ. 2504 สำนักพระราชวังได้มอบหมายให้กรมศิลปากรเขียนภาพขึ้นใหม่ โดยมี ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้ออกแบบและควบคุมงานเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง
ศาสตราจารย์ศิลป์ ออกแบบภาพจิตรกรรมฝาผนังระหว่างช่องหน้าต่างด้วยมุมมองแบบใหม่ โดยใช้หลักทัศนียวิทยา (Perspective) ในการเขียนภาพให้เหมือนกันกับที่สายตาของมนุษย์มองเห็น แตกต่างจากงานจิตรกรรมฝาผนังด้านบนเหนือช่องหน้าต่างแบบไทยประเพณีที่เขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งเป็นมุมมองแบบอุดมคติ คล้ายกับนกที่มองลงมาจากท้องฟ้า (Bird’s eye view) ภาพจิตรกรรมที่ท่านออกแบบเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) ในช่วง พ.ศ. 2488 – 2499 รวมทั้งสิ้น 8 ช่อง ต่อมาในปี 2536 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำริให้เขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังระหว่างช่องหน้าต่างขึ้นใหม่เป็นแบบไทยประเพณี ให้สอดคล้องกับรูปแบบของภาพจิตรกรรมฝาผนังด้านบนเหนือช่องหน้าต่าง โดยเขียนเรื่องประวัติศาสตร์ของพระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ตั้งแต่รัชกาลที่ 4 – 9 แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2547
ชุดภาพร่างจิตรกรรมฝาผนัง พระพุทธรัตนสถาน ฝีมือศาสตราจารย์ศิลป์ ที่จัดแสดงอยู่ในนิทรรศการพิเศษ “100 ปี ศิลปสู่สยาม สุนทรียศิลปแห่งนวสมัย” จึงเป็นหนึ่งในผลงานสำคัญของท่านในด้านการทำนุบำรุงงานศิลปะของชาติไทย เนื่องจากเป็นต้นแบบและหลักฐานการมีอยู่ของภาพจิตรกรรมฝาผนังระหว่างช่องหน้าต่าง พระพุทธรัตนสถาน ที่เขียนขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2504 ซึ่งในปัจจุบันถูกแทนที่ด้วยงานจิตรกรรมที่เขียนขึ้นใหม่เมื่อ พ.ศ. 2547 ภาพร่างชุดนี้มีทั้งหมด 19 ภาพ แบ่งเป็น
1. ภาพลายเส้นปากกาลงสีน้ำ เรื่องพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อ พ.ศ. 2489 จำนวน 6 ภาพ
2. ภาพลายเส้นปากกาลงสีน้ำ เรื่องการบูรณปฏิสังขรณ์ พระพุทธรัตนสถาน เมื่อ พ.ศ. 2492 จำนวน 4 ภาพ
3. ภาพลายเส้นปากกาลงสีน้ำ เรื่องพระราชพิธีทรงผนวช พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อ พ.ศ. 2499 จำนวน 5 ภาพ
4. ภาพลายเส้นปากกา เรื่องพระราชกรณียกิจต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จำนวน 4 ภาพ
ชุดภาพร่างจิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถาน ของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี จัดแสดงอยู่ในนิทรรศการพิเศษ “100 ปี ศิลปสู่สยาม สุนทรียศิลปแห่งนวสมัย” ระหว่างวันที่ 18 มกราคม – 9 เมษายน 2566 ณ อาคารนิทรรศการ 4 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป เปิดให้เข้าชมวันพุธ – วันอาทิตย์ เวลา 9.00 – 16.00 น. (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์)
28 เมษายน 2565
วันคล้ายวันประสูติปีที่ 159
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) กับพระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย ทรงเป็นพระบรมวงศ์ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญในงานช่างและศิลปะหลากหลายแขนง ทรงควบคุมงานด้านจิตรกรรมและสถาปัตยกรรมของราชสำนักสยาม ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) จนเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย ทรงได้รับพระสมัญญานามว่า “สมเด็จครู” และ “นายช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม”
พ.ศ. 2450 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นผู้ออกแบบพระอุโบสถ กำแพงแก้ว และสะพานนาคหน้าพระอุโบสถวัดราชาธิวาส ซึ่งชำรุดทรุดโทรมเป็นอย่างมาก นอกจากจะทรงออกแบบงานสถาปัตยกรรมแล้ว ภายในพระอุโบสถยังปรากฏภาพจิตรกรรมฝาผนังเล่าเรื่องเวสสันดรชาดกครบทั้ง 13 กัณฑ์ ซึ่งพระองค์ทรงเป็นผู้ออกแบบ และโปรดให้ คาร์โล ริโกลี (Carlo Rigoli) จิตรกรชาวอิตาเลียน เป็นผู้ขยายแบบและลงสีด้วยเทคนิคเฟรสโก (การเขียนสีบนผนังปูนเปียก)
ผลงานที่ปรากฏอยู่ด้านล่าง เป็นภาพร่างต้นแบบจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถวัดราชาธิวาส จากคลังของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ที่สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเขียนด้วยสีฝุ่นบนแผ่นไม้ ภาพร่างดังกล่าวเป็นต้นแบบจิตรกรรมฝาผนังของพระอุโบสถด้านทิศเหนือ ผลงานชิ้นนี้นับเป็นต้นเค้าของการเขียนภาพจิตรกรรมเล่าเรื่องทางพุทธศาสนาที่ใช้หลักทัศนียวิทยา (Perspective) และการเขียนองค์ประกอบต่างๆ ทั้งคน สัตว์ และธรรมชาติอย่างสมจริง แตกต่างจากงานจิตรกรรมแบบไทยประเพณีที่เขียนภาพเป็น 2 มิติ และนิยมเขียนรูปคนแสดงท่าทางอย่างนาฏยลักษณ์ นอกจากขรัวอินโข่งที่เป็นผู้ริเริ่มการเขียนภาพจิตรกรรมไทยอย่างตะวันตกแล้ว ก็มีสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ที่ทรงนำเอาศิลปะตะวันตกซึ่งแพร่หลายในสยาม ณ ขณะนั้น มาประยุกต์ใช้กับงานช่างไทยได้อย่างกลมกลืน ลงตัว และมีเอกลักษณ์
ผลงาน: ภาพร่างต้นแบบจิตรกรรมฝาผนัง
ภายในพระอุโบสถวัดราชาธิวาส
ศิลปิน: สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
เทคนิค: สีฝุ่นบนแผ่นไม้
ขนาด: 70.5 x 100 ซม.
เลขวัตถุ
ชื่อวัตถุ
ขนาด (ซม.)
ชนิด
สมัยหรือฝีมือช่าง
ประวัติการได้มา
ภาพวัตถุจัดแสดง
38/2553
(15/2549)
ขวานหินขัด เหลือไม่เต็มใบ
ย.4.8 ก.3
หิน
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย อายุราว 2,500-2,000 ปีมาแล้ว
ได้จากบ้านเขาเพิ่ม อำเภอบ้านนา จ.นครนายก เมื่อประมาณ พ.ศ. 2539
เลขทะเบียน : นพ.บ.479/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 56 หน้า ; 4 x 55 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 162 (195-204) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : ฉลองน้ำส่าง--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
องค์ความจากหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ เรื่อง "ศิลปกรรมแห่งสายน้ำ : เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์"เรียบเรียงโดย นางสาวจิรัฐิติกาล จักรคำ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สาขาสารสนเทศศาสตร์และบรรณรักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ กระบวนพยุหยาตราชลมารค [พะ-ยุ-หะ-ยาด-ตรา-ชน-ละ-มาก] หมายถึง ริ้วกระบวนเรือที่จัดขึ้นในการที่พระเจ้าอยู่หัวในสมัยโบราณเสด็จพระราชดำเนินไปในการต่าง ๆ ทั้งเป็นการส่วนพระองค์และที่เป็นการพระราชพิธี ซึ่งได้ประกอบกันมาแต่โบราณตั้งแต่สมัยสุโขทัย กระบวนพยุหยาตราชลมารคนี้ได้จัดสืบทอดต่อมาทั้งในสมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรีและในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์จวบจนถึงปัจจุบัน การจัดกระบวนพยุหยาตราชลมารคนี้กล่าวได้ว่าได้วิวัฒนาการมาจากการจัดกระบวนทัพเรือ ในยามที่ว่างศึก เพื่อเป็นการฝึกซ้อมเรียกระดมกองทัพ โดยที่เรือเหล่านี้จะตกแต่งอย่างสวยงาม มีการประโคมดนตรีไปในกระบวนเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนานอีกด้วย (เรือพระราชพิธี, ๒๕๔๒)ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับเรือพระที่นั่งมาตั้งแต่รัชกาลพระมหาจักรพรรดิ คือ เรือพระที่นั่งศรีสุพรรณหงส์ รัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ. ๒๑๓๓ - ๒๑๔๘) มีเรือพระที่นั่งสุพรรษวิมานนาวา ซึ่งทรงใช้เพื่อเสด็จไปเมืองเพชรบุรีและสามร้อยยอด (กรมศิลปากร, ๒๕๕๘) ปัจจุบัน เรือพระราชพิธีนับเป็นมรดกวัฒนธรรมแห่งชาติจัดเก็บอยู่ในโรงเก็บเรือพระราชพิธี ปากคลองบางกอกน้อย ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ กรมศิลปากร ยกฐานะโรงเก็บเรือพระราชพิธีขึ้นเป็น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ซึ่งเรือพระราชพิธีที่จัดเก็บอยู่ในพิพิธภัณฑแห่งชาติฯ ขณะนี้มีด้วยกันรวม ๘ ลำ (เรือ วัฒนธรรมชาวน้ำลุ่มเจ้าพระยา, ๒๕๔๕) ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ที่ถือว่ามีความงดงามในเชิงศิลปกรรม และเป็นเรือพระที่นั่งที่สำคัญที่สุดลำหนึ่งของชาติไทยหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่