ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,340 รายการ

ชื่อเรื่อง                                อุณฺหิสวิชย (อุณณหิสสวิไช) สพ.บ.                                  334/1ญประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           20 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 58 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                          บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ  ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


เลขทะเบียน : นพ.บ.161/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  44 หน้า ; 4.5 x 57.5 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องชาด ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 97 (35-48) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (พระอภิธรรมสังคิณี-พระมหาปัฎ)  --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทศนา (เทศนาสังคิณี-มหาปัฎฐาน)  ชบ.บ.46/1-4  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


มงฺคลตฺถทีปนี (มงฺคลตฺถทีปนี เผด็จมงคลสูตร)  ชบ.บ.88ข/1-26  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.354/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 56 หน้า ; 5.5 x 33 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 135  (378-387) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : ตำราเวชศาสตร์--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ไทยภาษา : ไทยบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


        เหตุการณ์อุทกภัยครั้งนี้ถือว่าร้ายแรงที่สุดในรอบ 50 ปี พื้นที่หลายเขตในกรุงเทพมหานครเกิดน้ำท่วมขังนานร่วมเดือน บางจุดท่วมนานมากกว่า 1 เดือน  เกิดจากฝนตกอย่างต่อเนื่องนานหลายวันจนส่งผลให้แม่น้ำ ลำคลองริมตลิ่งล้นทะลัก ประกอบกับเขื่อนกักเก็บน้ำเริ่มอุ้มน้ำไว้ไม่ไหว มีการระบายน้ำออกอย่างต่อเนื่องลงแม่น้ำ 4 สาย คือ ปิง วัง ยม และน่าน ไหลเข้ามารวมกันที่แม่น้ำเจ้าพระยาจนเกิดมวลน้ำก้อนใหญ่ขึ้นการระบายน้ำติดขัด ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ จังหวัดนครสวรรค์ ชัยนาท อ่างทอง สิงห์บุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี และกรุงเทพมหานคร           ถนนสายสำคัญที่จะเข้าเมืองนั้นกลายเป็นคลอง เปลี่ยนจากท่ารถเป็นท่าเรือ ไม่ว่าจะเป็นถนนวิภาวดีรังสิต พหลโยธิน รามอินทรา บรมราชชนนี ตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี เพชรเกษม ฯลฯ ต่างจมบาดาล รถเล็กวิ่งผ่านไม่ได้ มีระดับน้ำสูง 20 เซนติเมตร ถึง 2 เมตร ในบางจุด มหาอุทกภัยในปี พ.ศ.2554 ถือว่าสาหัสเพราะน้ำล้นออกจากทางเดินปกติ การระบายน้ำจึงเป็นเรื่องยากกว่าน้ำจะถูกขับลงทะเลและไหลลงแม่น้ำซึ่งใช้เวลานาน นับตั้งแต่เดือนตุลาคมจนถึงเดือนธันวาคม 2554 และในปี 2564 นี้ สถานการณ์อุทกภัยจำนวน 20 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย นครราชสีมา ชัยภูมิ ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี อ่างทอง อุบลราชธานี พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร ขอนแก่น ร้อยเอ็ด ปราจีนบุรี สระแก้ว ชัยนาท สุพรรณบุรี อุทัยธานี ระยอง และเพชรบูรณ์ ยังคงได้รับความเดือดร้อนอย่างหนักจากอุทกภัยที่เกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่องเพราะอิทธิพลของพายุเตี้ยนหมู่         ผู้เรียบเรียง : นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย บรรณารักษ์ชำนาญการ #ข้อมูลอ้างอิง กี่คืน...กี่วันวาย บันทึกประวัติศาสตร์มหาอุทกภัย'54.  กรุงเทพฯ : มติชน, 2555. เลขหมู่ 363.3493 ก686 กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำ ประจำสัปดาห์ในช่วงฤดูฝนปี 2564 ระหว่างวันที่ 27 กันยายน – วันที่ 03 ตุลาคม พ.ศ. 2564.  [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://water.rid.go.th › flood › weekreportnew  (วันที่ 7 ตุลาคม 2564) BBC NEWS ไทย น้ำท่วม 2564.  [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-58706897   (วันที่ 7 ตุลาคม 2564)


ชื่อผู้แต่ง             - ชื่อเรื่อง              ประชุมปกรณัม ภาคที่ ๑ นิทานอิหร่านราชธรรมสิบสองเรื่อง ครั้งที่พิมพ์           - สถานที่พิมพ์        พระนคร สำนักพิมพ์          โรงพิมพ์ภักดีประดิษฐ ปีที่พิมพ์              ๒๕๐๐ จำนวนหน้า          ๑๕๐  หน้า หมายเหตุ            พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพ นางเสงี่ยม  เพ็ชรไชย                           นิทานพวกนี้เป็นนิทานแขก จะเรียกชื่อเรื่องหนังสือในภาษาแขกว่ากระไรหาทราบไม่ แต่ไทยเราเรียกกันมาว่า “เรื่องสิบสองเหลี่ยม” เข้าใจว่าได้ต้นฉบับเดิมเข้ามาแปลเป็นภาษาไทยครั้งแต่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ตัวนิทานเองสังเกตดูมักเป็นนิทานว่าด้วยครั้งพวกอิหร่านมีอำนาจปกครองทั้งประเทศเปอร์เซียแลประเทศอิรัค เป็นเรื่องนิทานทางอินเดียก็มีบ้าง พวกแขกชาวเปอร์เซียรวบรวมแต่งขึ้น สมเด็จพระนารายณ์ฯ ได้โปรดให้แปลออกเป็นภาษาไทยครั้งนั้น


ชื่อเรื่อง : คำอ่านศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2514 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง จำนวนหน้า : 36 หน้า สาระสังเขป : ศิลาจารึกสมัยสุโขทัย หลักที่ 1 จารึกพ่อขุนรามคำแหงนับเป็นเอกสารโบราณชิ้นสำคัญที่สุดของชาติชิ้นหนึ่ง เป็นหลักฐานบ่งบอกการปรากฏใช้ลายสือไทย เป็นครั้งแรกในพุทธศักราช 1835 การศึกษาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ทำให้ได้ความรู้เกี่ยวกับอารยธรรมด้านต่างๆ ของไทยสมัยสุโขทัย ยิ่งไปกว่านั้นรูปอักษรในจารึกพ่อขุนรามคำแหงยังเป็นแบบอักษรและอักขรวิธีที่เป็นเอกลักษณ์ของไทย ที่มีวิวัฒนาการเป็นลำดับมาตลอดระยะเวลาอันยาวนานกว่า 700 ปี


          วันจันทร์ที่ ๗ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๐๐ น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฝึกอบรมส่งเสริมความรู้ในการปฏิบัติงานด้านพิธีการของกรมศิลปากร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๕ โดยมีนางรักชนก โคจรานนท์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารกลาง กล่าวรายงาน ซึ่งการอบรบได้แบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมอบรมพร้อมฝึกปฏิบัติความรู้เกี่ยวกับงานพระราชพิธี รัฐพิธี ศาสนพิธีการ และมารยาทในศาสนพิธี เพื่อให้ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง ณ ห้องประชุมสำนักหอสมุดแห่งชาติ




          สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญชมนิทรรศการ “ตำนานสงกรานต์ สืบสานวัฒนธรรมไทยสี่ภาค” ผ่านการสัมผัสและเรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาทางวัฒนธรรมประเพณีสงกรานต์ หรือวันขึ้นปีใหม่ของชาวไทย ประเพณีเก่าแก่ที่สืบทอดกันมาแต่โบราณที่ยังคงความงดงาม อ่อนโยน เอื้ออาทร และเต็มไปด้วยบรรยากาศของความกตัญญู ความสนุกสนาน ความอบอุ่น และการให้เกียรติเคารพซึ่งกัน          ภายในนิทรรศการประกอบด้วย ตำนานสงกรานต์และประวัตินางสงกรานต์หรือเทวีทั้งเจ็ด การประกาศสงกรานต์ที่มีความเกี่ยวเนื่องต่อการดำเนินชีวิตของราษฎร การกำหนดพระราชพิธีต่าง ๆ ตลอดจนการเกิดจันทรุปราคา สุริยุปราคาในบางปี รวมถึงเกณฑ์น้ำฝนที่จะทำนา และวันเริ่มต้นทำนาปลูกข้าว อีกทั้งนำเสนอเรื่องราวการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีไทยสี่ภาคที่มีรูปแบบ พิธีกรรม จารีต เอกลักษณ์ และกิจกรรมที่แตกต่างกันไปตามคติความเชื่อและการดำเนินชีวิต การละเล่นครื้นเครงของไทยในเทศกาลสงกรานต์ใน แต่ละภูมิภาคที่เป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่น เช่น การเล่นสะบ้าของชาวมอญ การละเล่นรำตรุษ หรือเรือมตรด ของชาวอีสาน เป็นต้น รับชมและรับฟังเพลงไทยในเทศกาลสงกรานต์ ทั้งที่เป็นเพลงพื้นเมืองในภาคต่าง ๆ เพลงสุนทราภรณ์ และเพลงลูกทุ่ง ผ่านทรัพยากรสารสนเทศและสื่อมัลติมีเดีย นอกจากนี้ยังพาไปชมภาพ ถนนสายสงกรานต์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ตลอดจนชมการจัดแสดงตัวอย่างอาหารสงกรานต์ไทยสี่ภาค และคุณค่าความสำคัญของสงกรานต์ที่มีต่อครอบครัว ชุมชน และสังคมมาอย่างยาวนาน           ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการได้ทุกวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 9.00 – 16.30 น. วันเสาร์ - วันอาทิตย์ เวลา 09.00 – 16.30 น. (เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ตั้งแต่วันนี้ - 11 มิถุนายน 2565 ณ ห้องวชิรญาณ 2-3 อาคาร 2 ชั้น 1 สำนักหอสมุดแห่งชาติ จดหมายเหตุ รัชกาลที่ 3 ชื่อ ประกาศว่าด้วยเรื่องสงกรานต์ จ.ศ. 1192 (พ.ศ. 2373) เลขที่ 27 ชื่อปก สมุดมหาสงกรานต์ และจดหมายเหตุ รัชกาลที่ 3  ชื่อ ประกาศว่าด้วยเรื่องสงกรานต์ จ.ศ. 1190 (พ.ศ. 2371) เลขที่ 13 ชื่อปก สงกรานปีชวด 1190 (พ.ศ. 2371) ประกาศสงกรานต์ ปี รัตนโกสินทรศก 120บรรยากาศภายในห้องนิทรรศการ


แนะนำหนังสือให้อ่านเรื่อง "โลกนี้ไม่มีอะไรที่คุณขายไม่ได้" คะกะตะ, อะกิระ. โลกนี้ไม่มีอะไรที่คุณขายไม่ได้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ฮาวทู, 2563. 152 หน้า. 225 บาท. เนื้อหาในเล่มนี้มี 4 บทคือบทที่1 เรื่องสิ่งจำเป็นสำหรับนักขายคือความรักและความตั้งใจจริง บทที่2 คือเรื่อง มอบความรักอันสูงสุดและความเคารพให้กับลูกค้าฉบับมารยาท บทที่ 3 คือเรื่อง จะได้เซ็นสัญญาหรือไม่ ขึ้นอยู่กับวิธีพูด ฉบับวิธีพูด บทที่ 4 คือเรื่อง สาเหตุที่ขายได้ กับ สาเหตุที่ขายไม่ได้ ซึ่งเกิดจาก แนวคิดมนุษย์คือผู้อ่อนแอ ติดตามรายละเอียดในหนังสือเล่มนี้เพื่อความสำเร็จในการขาย 658.81 ค229ล (ห้องหนังสือทั่วไป)


ลายอรุณเทพบุตรเหนือประตูของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ภาพโดย chaipat kaewjaras         พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกของประเทศไทย เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๗๕ ทำให้วันที่ ๑๐ ธันวาคมของทุกปี ถือเป็นวันที่ระลึกวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ โดยมี “อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย” เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ที่ถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวถึงบ่อยครั้ง แม้ว่าประวัติการสร้างจะห่างกันถึง ๘ ปี แต่สถาปัตยกรรมแห่งนี้ ก็ได้มีการออกแบบสัญลักษณ์บางประการให้เชื่อมโยงกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองของไทย ว่าด้วยเรื่อง “อรุณเทพบุตร...บุรุษผู้มาก่อนองค์สูรยะ” พร้อมทั้งนำเสนอโบราณวัตถุที่เกี่ยวข้องกับประติมานวิทยาทางศาสนาฮินดู ที่ปรากฏบนอนุสรณ์สถานดังกล่าว     “อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย” หลักกิโลเมตรที่ ๐ ของทางหลวงสายประธานทั้ง ๔ สายแห่งนี้ เป็นผลงานการออกแบบของหม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล โดยมีศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง ซึ่งองค์ประกอบของอนุสาวรีย์ล้วนมีความหมายเชิงสัญลักษณ์ ไม่ว่าจะทางเป็นตัวเลขหรือทางประติมานวิทยา ดังจะเห็นได้จาก “ลายอรุณเทพบุตร” ที่ประดับบริเวณหน้าบันเหนือประตูทั้ง ๖ ด้าน ลักษณะเป็นเทพผู้มีพระวรกายครึ่งองค์ ทรงแพนหางนกยูง สอดรับกับเทวกำเนิดที่ระบุว่าเทพองค์นี้เกิดก่อนกำหนด ทำให้ไม่มีพระวรกายส่วนล่าง ประกอบกับพระนามที่แปลว่า “แดงเรื่อ” หรือ แสงตะวันเมื่อแรกขึ้น ก็สอดรับกับหน้าที่ของพระองค์ ผู้เป็นสารถีขับรถให้องค์พระสูรยะ ซึ่งในส่วนของพระสูรยะ นอกจากจะแสดงออกเป็นรูปบุคคลชายนั่งขัดสมาธิ มือทั้งสองถือดอกบัวยกขึ้นระดับหน้าอกแล้ว ยังอาจถูกตีความมาในรูปของ “ครุฑ” เทวพาหนะของพระวิษณุ ผู้เป็นหนึ่งในกลุ่มอาทิตยเทพ (พระสูรยะ พระวิษณุ และเทวีอุษา) ได้อีกด้วย ดังนั้น หากพิจารณาตามตำนานว่า“ครุฑ” คือน้องชายของอรุณเทพบุตรแล้ว ดังนั้น การที่อรุณเทพบุตร(เกิด)มาก่อนครุฑ จึงเปรียบได้ถึงอรุณเทพบุตรผู้เป็นสารถีนำรถของพระสูรยะนั่นเอง ภาพครุฑบนปกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ ๑๕ ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๓๔ คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ           อย่างไรก็ดี จากการศึกษาของศาสตราจารย์ชาตรี ประกิตนนทการ (อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร) พบว่าลายอรุณเทพบุตรไม่เคยถูกใช้เป็นลายประดับอาคารใดมาก่อน หากแต่สืบประวัติย้อนไปได้ว่า สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเคยเขียนรูปอรุณเทพบุตรในลักษณะท่าทางแบบเดียวกันอยู่ภาพหนึ่ง กระทั่งปรากฏครั้งแรกที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย รวมถึงปรากฏบริเวณหน้าบันพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ บางเขน ในเวลาต่อมา ดังนั้น การปรากฏตัวของอรุณเทพบุตรเหนือพานรัฐธรรมนูญในที่นี้ จึงอาจหมายถึง แสงสว่างที่แรกขึ้นและเริ่มส่องสว่างเข้าสู่เมืองไทยยุคใหม่ หรือหมายถึง “เวลาย่ำรุ่ง” ของวันที่ ๒๔ มิถุนายน ที่พระสูรยะ (ประชาธิปไตย) มาประดิษฐานที่บ้านเมืองนี้ ก็เป็นได้        เผยแพร่โดย : นายศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ / เทคนิคภาพ : นายอริย์ธัช นกงาม ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ


ชื่อเรื่อง                     วิจารณ์เรื่องตำนานเสภา และระเบียบการเล่นตำนานเสภาผู้แต่ง                       สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ผู้แต่งเพิ่ม                  สมเด็จกรมพระยาดำรงค์ราชานุภาพประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ศิลปกรรมและการบันเทิงเลขหมู่                      793.3209593 น254ววสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์พระจันทร์ปีที่พิมพ์                    2501ลักษณะวัสดุ               88 หน้าหัวเรื่อง                     ตำนานเสภาภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกวิจารณ์เรื่องตำนานเสภาเป็นลายพระหัตถ์ของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงวิจารณ์ต้นร่างเรื่องตำนานเสภา ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ตำนานเสภานี้ได้พิมพ์ไว้ในหนังสือเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ฉบับหอสมุดแห่งชาติจัดพิมพ์


ชื่อเรื่อง                               วิสุทฺธิมคฺค(วิสุทธิมคฺค) สพ.บ.                                 อย.บ.10/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           54 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 53 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทสวด                                           พระวินัย                                            คำสอน บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน ภาษามอญ เส้นจาร ฉบับทองทึบ ลานดิบ  ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก วัดประดู่ทรงธรรม จ.พระนครศรีอยุธยา


Messenger