ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,340 รายการ
นิตยสารรายสองเดือน กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
วัตถุประสงค์ : เพื่อเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม
ในสาระสำคัญต่าง ๆ และเพื่ออนุรักษ์สืบทอดมรดกวัฒนธรรมของชาติ
ชื่อเรื่อง : ตำราพิไชยสงคราม คำกลอน
พิมพ์ครั้งที่ : ๕
ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๐
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพ ฯ
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภาพระสุเมรุ
หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ร้อยเอก ขุนวรนิติ์นิสัย ( สอน นิธินันทน์ )
หนังสือเรื่องตำราพิไชยสงคราม คำกลอน แบ่งเป็น ๓ แผนก คือว่าด้วยเหตุแห่งการสงคราม แผนก ๑ ว่าด้วยอุบายสงครามแผนก ๑ ว่าด้วยยุทธศาสตร์และยุทธวิธีแผนก ๑ การถือนิมิตต์ฤกษ์ยามและเลขยันต์อาถรรพศาสตร์ก็จะมีมาบ้างแล้วแต่โบราณ แต่มาเชื่อถือกันแก่กล้าขึ้นในตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาตำราพิไชยสงคราม
ชื่อเรื่อง บทละครประวัติศาสตร์ เรื่อง เกียรติศักดิ์ไทยผู้แต่ง กรมศิลปากรประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ วรรณคดีเลขหมู่ 895.912 ธ262บวสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ ไทยวัฒนาพานิชปีที่พิมพ์ 2498ลักษณะวัสดุ 50 หน้า หัวเรื่อง บทละครไทยภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกจัดพิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจ นางวีณพรัตรา มีศุข
การดำเนินการค้ำยันโบราณสถานปราสาทหมื่นศรีน้อย อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์
โดยการเชื่อมเหล็กเป็นโครงสร้างกั้นรอบตัวปราสาท
ดำเนินการตั้งแต่วันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๗ ถึงวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗
นายนุกูล ดงสันเทียะ
นายช่างโยธาปฏิบัติงาน
ปราสาทบ้านน้อย เป็นอโรคยาศาลสร้างด้วยศิลาแลงและอิฐ ปัจจุบันเป็นอโรคยาศาลเพียงแห่งเดียวที่สำรวจพบในจังหวัดสระแก้ว สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (ค.ศ. ๑๑๘๑-๑๒๑๘) แผนผังของโบราณสถานประกอบด้วยปราสาทประธานและบรรณาลัยที่ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว มีโคปุระหรือซุ้มประตูทางด้านทิศตะวันออกเพียงด้านเดียว ภายในโคปุระแบ่งเป็นห้องทิศเหนือและห้องทิศใต้ ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของกำแพงแก้วเป็นที่ตั้งของบารายรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขอบบารายกรุด้วยศิลาแลงเป็นขั้นบันไดลาดลงไปที่ก้นสระ นอกจากนี้ยังพบบารายที่มีคันดินล้อมรอบบริเวณด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกของอโรคยาศาล โดยบารายด้านทิศเหนือกว้างประมาณ ๔๕ เมตร ยาวประมาณ ๖๐ เมตร บารายด้านทิศตะวันออกกว้างประมาณ ๑๑๐ เมตร ยาวประมาณ ๒๒๕ เมตร กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานปราสาทบ้านน้อย ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๑๕ ตอนพิเศษ ๓๘ ง วันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๔๑ เนื้อที่โบราณสถาน ๔๕ ไร่ ๙๕ ตารางวา ในปีพุทธศักราช ๒๕๖๓ กรมศิลปากร โดยสำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี ได้ดำเนินงานทางโบราณคดีบริเวณปราสาทบ้านน้อย โดยได้ทำการขุดค้น ขุดตรวจและขุดแต่งทั้งภายในและภายนอกกำแพงแก้ว รวมทั้ง บารายด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อทำการศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบสถาปัตยกรรมของโบราณสถาน สำหรับเป็นข้อมูลประกอบการออกแบบบูรณะเสริมความมั่นคงและปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณโบราณสถานเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ที่สำคัญของจังหวัดสระแก้วในอนาคต รูปที่ 1 ภาพถ่ายทางอากาศบริเวณปราสาทบ้านน้อย รูปที่ 2 ปราสาทประธาน ก่อนและหลังการขุดแต่ง รูปที่ 3 โคปุระด้านทิศตะวันออก ก่อนและหลังการขุดแต่ง รูปที่ 4 บรรณาลัย ก่อนและหลังการขุดแต่ง รูปที่ 5 บาราย ก่อนและหลังการขุดแต่ง -------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : นางเป็นภัสญ์ ศรีสุวิทธานนท์ นักโบราณคดีปฏิบัติการ สำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี
องค์ความรู้ : สถานเอกอัครราชทูตโปรตุเกสประจำประเทศไทย
สถานเอกอัครราชทูตโปรตุเกสประจำประเทศไทยตั้งอยู่ถนนเจริญกรุง ซอยกัปตันบุช เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร เป็นสถานเอกอัครราชทูตที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงเทพมหานคร ประวัติความเป็นมาเริ่มจากใน พ.ศ. ๒๓๖๓ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานที่ดินริมแม่น้ำเจ้าพระยาแด่สมเด็จพระราชินีมาเรียแห่งโปรตุเกสเพื่อใช้เป็นที่ตั้งของโรงสินค้า และเป็นที่พักของกงสุลโปรตุเกสคนแรก คือ คาร์ลูช มานุเอล ดา ซิลเวย์รา (Carlos Manuel da Silveira) อาคารหลังแรกสร้างด้วยไม้ไผ่ ใช้ไม้คาน ไม้ระแนง และฉาบด้วยปูนปลาสเตอร์ เป็นสถานที่กว้างขวาง ทาสีขาวสะอาดตา ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของราชอาณาจักรสยาม และมีชาวโปรตุเกสพำนักอาศัยตั้งถิ่นฐานอยู่โดยรอบ
ในเวลาต่อมาอาคารดังกล่าวเริ่มมีสภาพทรุดโทรม เมื่อนายอิสิโดรุ ฟรันซิชกุ กิมาเรยช์ (Izidoro Francisco Guimarães) ท่านผู้ว่าราชการแห่งมาเก๊าและรัฐมนตรีผู้ได้รับอำนาจโดยสมบูรณ์จากโปรตุเกสในประเทศจีน ญี่ปุ่นและสยาม เดินทางมาเยือนกรุงเทพฯ จึงได้ริเริ่มให้มีการบูรณะอาคารหลังดังกล่าวในพ.ศ. ๒๔๐๓ ซึ่งขณะนั้นนายอันตอนิอุ เฟรดึริกุ มอร์ (António Frederico Moor) ดำรงตำแหน่งกงสุลโปรตุเกสประจำราชอาณาจักรสยาม แต่งานบูรณะดังกล่าวต้องหยุดชะงักลงเมื่อกงสุลมอร์หมดวาระใน พ.ศ. ๒๔๑๐ จนกระทั่งนายอันตอนิอุ ฟึลิซิอานุ มาร์เคช ปึเรย์รา (António Feliciano Marques Pereira) กงสุลโปรตุเกสประจำราชอาณาจักรสยามคนใหม่เข้ามารับตำแหน่งในวันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๑๘ เขาได้ช่วยสนับสนุนให้การดำเนินงานก่อสร้างอาคารเสร็จสิ้นลงได้โดยได้รับความเห็นชอบจากผู้มีอำนาจสั่งการในมาเก๊า โดยมีนายลูอิฌ มารีอา ฌาวิเอร์ (Luiz Maria Xavier) ผู้มีเชื้อสายโปรตุเกส – ไทยและดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายกระทรวงการคลังผู้มีฐานะให้การสนับสนุนด้านการเงินในเบื้องต้น โดยมีการลงนามสัญญาก่อสร้างในวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๑๘ และใช้เวลาก่อสร้างส่วนต่าง ๆ ของสถานกงสุลเป็นเวลา ๕ เดือนจึงแล้วเสร็จ และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๑๘
สถานเอกอัครราชทูตโปรตุเกสหลังปัจจุบันเป็นอาคาร ๒ ชั้น ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบโคโลเนียล หลังคาทรงปั้นหยา บริเวณทางเข้ามีมุขหลังคาจั่วอยู่กึ่งกลางด้านหน้า อันแสดงถึงอิทธิพลของสถาปัตยกรรมแบบนีโอ ปัลลาเดียน (Neo-Palladian) หน้าจั่วประดับตราแผ่นดินของประเทศโปรตุเกส ซุ้มทางเข้าชั้นล่างและซุ้มหน้าต่างชั้นบนของมุขทางเข้าทำเป็นซุ้มโค้งครึ่งวงกลมต่อเนื่องกัน ๓ ซุ้ม แต่ละซุ้มคั่นด้วยเสาอิง ภายในอาคารชั้นล่างเป็นห้องโถงใหญ่ ชั้นบนมีระเบียงยาวตลอดทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ทางเข้าประดับกระเบื้องเซรามิกลายครามจากโปรตุเกส
อาคารหลังนี้ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่นประเภทเคหสถานและบ้านเรือนเอกชนจากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์เมื่อพ.ศ. ๒๕๒๗ และแม้จะมีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงพื้นที่หลายครั้ง แต่ตัวอาคารและภูมิทัศน์โดยรอบยังคงได้รับการอนุรักษ์ให้ใกล้เคียงกับของเดิมมากที่สุด รวมทั้งดัดแปลงให้เหมาะสมต่อการใช้งานได้อย่างลงตัวและทันสมัย ปัจจุบันอาคารหลังนี้ได้ใช้เป็นทำเนียบทูตโดยตัวอาคารยังคงไว้ซึ่งความงดงามและทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ริมแม่น้ำเจ้าพระยา อันสะท้อนเรื่องราวความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยและโปรตุเกสที่ดำรงมาอย่างยาวนานกว่า ๕๐๐ ปี
------------------------------------
เรียบเรียงโดย น.ส. รัตติกาล สร้อยทอง
นักอักษรศาสตร์ชำนาญการ กลุ่มแปลและเรียบเรียง
สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์
วัดใหญ่นครชุมน์ ตั้งอยู่ที่หมู่ ๖ ตําบลนครชุมน์ อําเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
ประวัติ วัดใหญ่นครชุมน์สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๒ โดยมีพระทองผาภูมิ เป็นผู้สนับสนุนในการก่อสร้าง อาคารสิ่งก่อสร้างที่เป็นของเก่าแก่คู่กับวัดมา คือ โบสถ์วิหาร เจดีย์บรรจุพระธาตุ และต้นโพธิ์ ๓ ต้น ซึ่งปลูกคู่วัดมาแต่เดิม เสนาสนะในบริเวณวัดได้รับการบูรณะมาแล้วหลายครั้ง ครั้งแรกและครั้งที่สองไม่ปรากฏหลักฐาน ครั้งที่สามเมื่อปีระกา เอกศก ๑๒๗๑ (พ.ศ. ๒๔๕๒) โดยพระบุญเป็นผู้ปฏิสังขรณ์ และต่อมาครั้งที่ ๔ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ พระอธิการประเทินเป็นผู้ดําเนินการ และครั้งท้ายสุดในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้งบจากรัฐบาลจํานวน ๒๐,๐๐๐ บาท ทําการซ่อมแซมกระเบื้องพระอุโบสถ
สิ่งสําคัญในวัดใหญ่นครชุมน์ มีดังนี้
วิหาร ชาวมอญเรียกเป็นภาษารามัญว่า “ปากี” ลักษณะเป็นอาคารไม้ทรงไทยสร้างอยู่บนฐาน ก่ออิฐถมดิน ๒ ชั้น ชั้นล่างขนาดกว้างยาวด้านละประมาณ ๔๐ เมตร สูง ๘๐ เซนติเมตร ฐานชั้นที่สองเป็นฐานอิฐก่อ ลักษณะของอิฐมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ขนาดกว้างยาวด้านละ ๒๒.๕ *๒๓.๔ เมตร สูง ๒.๘๐ เมตร ฐานก่ออิฐสี่เหลี่ยมนี้เดิมมีผู้จะสร้างเป็นพระสถูปเจดีย์มอญขนาดใหญ่แบบพระมุเตาขึ้นเพื่อให้เป็นประธานของวัด แต่การก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ จึงเหลือให้เห็นแค่ฐานพระสถูปอิฐรูปสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ต่อมามีการสร้างวิหารขึ้นบนฐานเป็นอาคารไม้ทรงไทย หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ช่อฟ้าใบระกาปูนปั้น หน้าบันปูนปั้นบนแผ่นไม้ ผนังอาคารโล่งทั้งสี่ด้าน ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูป มีป้ายไม้เขียนอักษรรามัญและไทยว่า
“พระอธิการเข่งได้บํารุงขึ้นครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๙” บริเวณมุมของฐานก่ออิฐ และวิหารมีเจดีย์มอญ ๔ มุม
ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์ ประทับบนบัลลังก์ที่พนักบัลลังก์ประดับกระจกสีนําเงิน องค์ที่สองเป็นพระพุทธรูปสําริดปางประทานพร ครองจีวรห่มเฉียงเป็นริ้ว ที่พระเศียรมีเครื่องประดับคล้ายพระพุทธรูปในศิลปะพม่า ด้านหน้ามีรูปปั้นอุบาสกชาวมอญ ๒ คน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นประติมากรรมเล่าเรื่อง พุทธประวัติ ตอนหลังจากที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ แล้วได้ประทานพระเกศาให้แก่พ่อค้า ๒ คน คือ ปาลิยะภัทรลิกะ เป็นพุทธประวัติตอนหนึ่งที่ชาวมอญ-พม่านิยมกันมาก โดยมีเรื่องเล่าว่าต่อมาพ่อค้าทั้งสองได้นํา พระเกศาธาตุนั้น ไปบรรจุไว้ในการสร้างพระเจดีย์ชเวดากอง ส่วนพระพุทธรูปองค์ที่สามเป็นพระพุทธรูปสําริดปางสมาธิ ครองจีวรห่มเฉียงเป็นริ้ว สมัยรัตนโกสินทร์ แบบศิลปคันธารราฐ
อุโบสถ ตั้งอยู่ภายในกําแพงแก้วสี่เหลี่ยมทึบเตี้ยบริเวณด้านหลังวิหาร ลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนหลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ช่อฟ้าใบระกาปูนปั้น หน้าบันก่อสูงจรดอกไก่อุโบสถตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมยกพื้นสูงฐานอุโบสถเป็นฐานบัวลูกแก้วอกไก่สูงจรดขอบหน้าต่าง
ด้านล่าง ผนังอุโบสถด้านหน้าและหลังมีลักษณะคล้ายกันคือ มีประตูทางเข้า ๒ ประตู ด้านบนมีปูนปั้นเป็นรูปซุ้มประดับเหนือกรอบประตูเป็นลวดลายใบไม้แบบฝรั่งทาสี ด้านข้างของกรอบผนังมีเสาหลอกเป็นเสาสี่เหลี่ยมส่วนบนของผนังเชื่อมต่อกับส่วนของหน้าบัน มีลวดลายแท่งสี่เหลี่ยมคล้ายเสาหลอกประดับ หน้าบันปูนปั้นนูนต่ําลวดลายดอกไม้ หงส์ ลายประแจจีน และลายเรขาคณิตแบบจีน โดยแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนล่างตรงกลางมีอักษรจารึกว่า “ปีระกาเอก์ศ๊ก ๑๒๗๑ พระบุญจัตรการปฏิสังขรณ์เบนครั้งที่ ๓” ในส่วนของลวดลายมีการตกแต่งด้วยเครื่องถ้วยลายคราม และเครื่องถ้วยเบญจรงค์ ผนังด้านข้างแบ่งส่วนของผนังออกเป็นช่องๆด้วยเสาหลอกติดผนังจํานวน ๕ช่อง ในแต่ละช่องจะมีซุ้มหน้าต่างอยู่ตรงกลาง ประดับลวดลายปูนปั้นระบายสีเป็นรูปคล้ายพระอาทิตย์เปล่งรัศมี และลายเรขาคณิตแบบฝรั่ง
ภายในอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น จํานวน ๑๔ องค์ปัจจุบันอุโบสถมีสภาพชํารุดมากแตกร้าวทั้งหลัง ไม่มีการใช้ประกอบศาสนกิจเพราะทางวัดสร้างอุโบสถหลังใหม่ขึ้นแทน
เจดีย์ราย พบจํานวนหลายองค์ ลักษณะเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนทรงระฆังและย่อมุมไม้สิบสองแบบมอญตั้งอยู่ด้านหน้าอุโบสถ ๑ องค์ ด้านหลังอุโบสถ ๒ องค์
เจดีย์ด้านหน้าอุโบสถ ลักษณะเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนทรงระฆังกลมสูง ๗.๒ เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง ๖.๕ เมตร ฐานเจดีย์เป็นฐานบัวลูกแก้วอกไก่รูปแปดเหลี่ยม องค์ระฆังกลมมีขนาดเล็กยาวมีลวดลายปูนปั้นตกแต่ง ส่วนยอดเป็นบัวกลุ่มและปลียอดขนาดใหญ่ ปลายสุดมีฉัตรโลหะปัก
เจดีย์ด้านหลังอุโบสถ ลักษณะเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนทรงระฆังกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง๔.๑๐ เมตร ตั้งอยู่บนฐานเขียงสี่เหลี่ยมฐานเจดีย์เป็นฐานบัวแปดเหลี่ยม องค์ระฆังกลมเรียบ ส่วนยอดเป็นปล้องไฉนและปลียอดขนาดใหญ่ ปลายสุดมีฉัตรโลหะปัก ส่วนอีกองค์เป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองฐานเจดีย์เป็นฐานหน้ากระดานซ้อนกัน ๓ ชั้นรองรับฐานสิงห์ ๓ ชั้น องค์ระฆังขนาดเล็กย่อมุม ส่วนยอดเป็นปลียอขนาดใหญ่
เรียบเรียง/ภาพ : นางจิรนันท์ คอนเซพซิออน นักโบราณคดีชํานาญการ
สำนักศิลปากรที่ ๑ ราชบุรี