ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,259 รายการ
ชื่อเรื่อง คัมภีร์บุคคลบัญญัติ และอรรถกถาผู้แต่ง สมพร ศรีวราทิตย์, แปล.ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ พระพุทธศาสนาเลขหมู่ 294.318302 ส265คสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์อำพลพิทยาปีที่พิมพ์ 2512ลักษณะวัสดุ 300 หน้า หัวเรื่อง อรรถกถาภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกคัมภีร์บุคคลบัญญัติ และอรรถกถา เกิดขึ้นจากพยายามของพระอาจารย์สุมนต์ นฺนทิโก อาจารย์สอนพระอภิธรรม โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้การศึกษาพระอภิธรรมได้เจริญแพร่หลาย เพื่อประโยชน์แกนักศึกษาและอนุชน จะได้อาศัยศึกษาค้นคว้า ในการแปลบาลีมาสู่ภาไทย เฉพาะบาลีชั้นอรรกถา
นายขจร มุกมีค่า ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมาและคณะกรรมการดำเนินงาน เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการศึกษาออกแบบเพื่อปรับปรุงการจัดนิทรรศการของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมายวันที่ ๗-๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
ตริปุรานตกะมูรติ (Tripurāntakamūrti) พระศิวะ (Śivā) ปางทำลายเมืองอสูรทั้งสาม (Tripura) เมืองทั้งสามเป็นปราการอันมั่นคงของเหล่าอสูรสร้างโดยมายาสุร (Mayāsura) สถาปนิกผู้ยิ่งใหญ่ฝ่ายอสูร ให้กับบุตรทั้งสามของอสูรตารกะ (Tāraka) คือ ตารกาษะ (Tārakākṣa) วิทยุนมาลิ (Vidyunmāli) และกมลากษะ (Kamalākṣa) เมืองทั้งสามนี้ได้รับพรจากพระพรหม (Brahmā) ไม่อาจทำลายได้ เว้นแต่ศรดอกเดียวอันทำลายทั้งสามเมืองพร้อมกัน เมืองแรกมีกำแพงสร้างด้วยเหล็กตั้งอยู่บนพื้นโลก เมืองที่สองกำแพงสร้างด้วยเงินตั้งอยู่บนท้องฟ้า และเมืองที่สามกำแพงสร้างด้วยทองตั้งอยู่บนสวรรค์ เมืองทั้งสามเคลื่อนที่ตลอดเวลา ไม่เคยอยู่ในระนาบเดียวกัน ในรอบ 1,000 ปี จึงจะบรรจบกันครั้งหนึ่ง เมืองอสูรทั้งสามจึงเป็นเมืองที่รุ่งเรืองด้วยทรัพย์และอำนาจอันยิ่งใหญ่เหนือโลก ยากที่ผู้ใดจะทำลายลงได้ เมื่อได้รับพรแล้ว อสูรทั้งสามได้ก่อความเดือดร้อนแก่เล่าเทวดา (devas) และฤษี (Ṛṣi) ทั้งได้จับพระอินทร์ (Indra) และคณะเทพไปขังไว้ยังปราสาทเหล็ก เทพทั้งหลายจึงพากันไปอ้อนวอนพระศิวะให้ช่วยเหลือ เมื่อถึงวาระเมืองทั้งสามมาบรรจบกัน เทพเจ้าทั้งปวงจึงได้แบ่งกำลังให้แก่พระศิวะไปปราบอสูรทั้งสาม ทรงประทับบนราชรถอันเป็นนิรมิตของพระปฤถวี (Pṛithivī) เทพีแห่งพื้นปฐพี มีพระอาทิตย์ (Sun) และพระจันทร์ (Moon) เป็นวงล้อ พระพรหมทรงเป็นสารถี เขาพระสุเมรุ (Meru) เป็นคันธนู นาควาสุกรี (Vāsukī) เป็นสายธนู และพระวิษณุ (Viṣṇu) ทรงเป็นศรแห่งจักรวาล พระศิวะทรงแผลงศร ปลดปล่อยคณะเทวดาให้ออกจากที่คุมขัง และเผาทำลายเมืองทั้งสามจนสูญสิ้นไป พระศิวะปางตริปุรานตกะ มีหลายลักษณะ มักทำยืนอยู่บนรถเทียมม้า (อัศวะ-aśva) ในท่าอาลีฒาสนะ (ālīḍāsana) คือเหยียดพระชงฆ์ขวาและงอพระชงฆ์ซ้าย อันเป็นท่ายืนของผู้น้าวศร แสดงกฏกมุทรา (kaṭakamudrā) และกรรตรีมุทรา (kartarīmudrā) พระหัตถ์ขวาถือคันธนูและพระหัตถ์ซ้ายเหนี่ยวสายธนู และแสดงมุทราอื่น ๆ เช่น สูจิมุทรา (sūcimudrā) และ วิสมยะมุทรา (vismayamudrā) บางครั้งทำ 2 กร โดยปกติทำ 4 กร กรคู่บนถือขวาน (ปรศุ-paraśu) และกวาง (มฤค-mṛga) กรคู่ล่าง อาจถือคันธนู (ธนุส-dhanus) และลูกศร (śara) นอกจากนี้ ถืออาวุธอื่น ๆ เช่น จักร (cakra) คทา (gadā) กระดิง (ฆัณฏา-ghaṇṭā) ดาบ (ขัฑคะ- Khaḍga) โล่ (เขฏกะ-Kheṭa) สังข์ (śankha) สิ่ว (ฏังกะ-ṭaṅka) ตรีศูล (trīiśura) และวัชระ (vajra) รูปแบบอื่น ทรงยืนด้วยบาทข้างหนึ่งเหยียบอยู่เหนืออปัสมารบุรุษ (Apasmārapuruṣa) ภาพ 1. พระศิวะปางตริปุรานตกะ ศิลปะอินเดีย ศิลาสลัก มี 10 กร ถืออาวุธต่าง ๆ เช่น ตรีศูล, ขัฏวางคะ (ไม้เท้าทำด้วยกระดูกยอดกะโหลก) หอก ดาบ โล่ ฯ ยืนท่าอาลีฒาสนะ งอพระชงฆ์ซ้าย เหยียดพระชงฆ์ขวา พระบาทซ้ายเหยียบอยู่บนอปัสมารบุรุษ จาก Asian Art Museum ภาพ 2. พระศิวะปางตริปุรานตกะ ศิลปะอินเดีย หล่อโลหะ ยืนบนรถเทียมม้า 4 กร ถือขวาน กวาง คันธนูและลูกศร ภาพจาก Asian Art Museum ภาพ 3. พระศิวะปางตริปุรานตกะ ศิลปะอินเดียแบบโจฬะ หล่อโลหะ มี 4 กร ถือขวาน กวาง คันธนูและลูกศร (ไม่ปรากฏอยู่แล้ว) ภาพจาก The Metropolitan Museum of Art ------------------------------------------------ เรียบเรียงข้อมูล: นางเด่นดาว ศิลปานนท์ ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อ้างอิงจาก 1. Liebert, Gosta. Iconographic Dictionary of the Indian Religions Hinduism-Buddhism-Jainism. Leiden: E.J. Brill, 1976. 2. Stutley , Margaret. The illustrated dictionary of Hindu iconography. London : Routledae & Kegan Paul, 1985. 3. ผาสุข อินทราวุธ. รูปเคารพในศาสนาฮินดู. กรุงเทพฯ : ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2522
กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการ ไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “พูดจาภาษาช่าง งานสร้างอนุสาวรีย์” วิทยากรโดย นายภราดร เชิดชู หัวหน้ากลุ่มงานประติมากรรม สำนักช่างสิบหมู่ ดำเนินรายการโดย นางประภาพร ตราชูชาติ ผู้อำนวยการศูนย์ศิลปะและการช่างไทย สำนักช่างสิบหมู่ ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๒.๐๐ – ๑๒.๓๐ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
อานันทะตาณฑวะ เป็นนามประเภทหนึ่งของ นฤตตมูรติ (Nṛtamūrti) คือปางเต้นรำของพระศิวะในฐานะเจ้าแห่งการเต้นรำและศิลปะการละคร (นาฏราช-Śiva Naṭarāja) //รูปแบบการเต้นรำของพระศิวะ พบมากที่สุด 2 รูปแบบ คือ ลาสยะ (Lāsya) เป็นรูปแบบการเต้นรำที่นุ่มนวล แสดงออกถึงความความสุข ความสง่างาม เกี่ยวข้องกับการสร้างโลก และ ตาณฑวะ (Tāṇḍava) รูปแบบการเต้นรำที่ดุดัน มีท่วงท่าการเคลื่อนไหวที่แข็งแรงและรวดเร็ว เกี่ยวข้องกับการทำลายล้างโลก ทั้งสองรูปแบบเป็นการแสดงถึงธรรมชาติ 2 ด้านของพระศิวะ ผู้ทำลายล้าง เพื่อการสร้างสรรค์ใหม่ การเต้นรำของพระศิวะรูปแบบ ตาณฑวะ ได้รับการอธิบายว่า เป็นการเต้นรำที่มีพลัง เป็นที่มาของวัฏจักรแห่งจักรวาล คือ การสร้าง การดำงอยู่ และการเสื่อมทำลาย จำแนกเป็น อานันทตาณฑวะ (Ānandatāṇḍava) เป็นการแสดงออกด้วยความสุข และ รุทระตาณฑวะ (Rudratāṇḍava) แสดงให้เห็นถึงธรรมชาติที่รุนแรง ในฐานะผู้สร้างและผู้ทำลายจักรวาล แม้กระทั่งความตาย พระศิวะปางอานันทะตาณฑวะ แปลตามศัพท์ว่า “การเต้นรำแห่งความสุข” เรียกอีกว่า ภุชงคตราสิตะ (Bhujaṅgatrāsita) แปลว่า “งูตกใจกลัว” มีความเกี่ยวข้องโดยเฉพาะกับรูปประติมากรรมนาฏราชสกุลช่างโจละ (Cola school) ในอินเดียภาคใต้ พระศิวะปางนี้ มี ๔ กร ทรงเต้นรำ (นาฏยสถานะ-nāṭyasthāna) โดยพระชงฆ์ข้างขวาย่อเล็กน้อย ยืนเหยียบอยู่บนพื้น ส่วนพระชงฆ์ข้างซ้ายยกขึ้น พับไปทางพระชงฆ์ขวา (กุญจิตปาทะ-Kuñcitapāta) แสดงพลังในการเต้นรำ ล้อมรอบด้วยวงรัศมีรูปเปลวไฟ สัญลักษณ์แทนไฟจักรวาล ที่สร้างและทำลายทุกสิ่งที่ดำรงอยู่เป็นวัฏจักรของชีวิต (แสดงวงจรของจักรวาล การเกิดขึ้น การคงอยู่ การเสื่อมทำลาย และการฟื้นฟูขึ้นใหม่) พระพักตร์แสดงอาการแย้มพระโอษฐ์ สื่อถึงความสุขสงบ มี 3 เนตร เป็นแทนของพระอาทิตย์และพระจันทร์ และเนตรที่สามได้รับการตีความว่า หมายถึงตาภายใน หรือสัญลักษณ์แห่งความรู้ (ชญาน-Jñāna) พระเกศาเกล้า ทรงชฏามกุฏ (Jaṭāmakuṭa) แผ่กระจายออกที่เบื้องหลังพระเศียร ด้วยความรุนแรงและสนุกสนานของการเต้นรำ เบื้องขวาของพระเศียรมีรูปขนาดเล็กของพระคงคา (Gaṅgā) ครึ่งร่างของพระวรกายคล้ายกับน้ำไหล ตามความในเทวปกรณ์ ซึ่งกล่าวว่าพระศิวะทรงใช้พระเกศาชะลอพระคงคาที่เสด็จลงจากสวรรค์อย่างรวดเร็วให้สงบลงสำหรับการฟื้นฟูชีวิต พระเกศตกแต่งด้วยหัวกะโหลกมนุษย์ สัญลักษณ์ของความตาย ทัดเสี้ยวจันทร์ (Candra) และ ดอกธัตตูระ (Dhattūra-ดอกลำโพง อันเป็นพิษ ทำให้เกิดโรค ซึ่งใช้ในการบูชาพระศิวะ) เป็นเครื่องประดับ กรขวาบนแสดงฑมรุหัสตะ(Ḍamaruhasta) ถือกลองสองหน้าขนาดเล็ก (ฑมรุ-Ḍamaru) เป็นสัญลักษณ์ของจังหวะและกาลเวลา พระหัตถ์ซ้ายแสดงอรรธจันทรมุทรา (Ardhacandramudrā) ฝ่ามือหงายรูปเสี้ยวจันทร์ ถือไฟ (อัคนิ-Agni) เป็นเครื่องหมายของการสร้างสรรค์และการทำลายล้าง แสดงภาวะที่ขัดแย้งกันของชีวิต กรขวาล่างมีงูพันรอบพระกร พระหัตถ์แสดงอภยมุทรา (Abhayamudrā) เป็นสัญลักษณ์แห่งการปกป้องคุ้มครองผู้ศรัทธาให้ปราศจากความหวาดกลัวจากความชั่วร้ายและความไม่รู้ที่อยู่โดยรอบ พระหัตถ์ซ้ายล่างแสดงคชมุทรา (Gajamudrā) เหยียดพระกรข้ามผ่านพระอุระอย่างสง่างาม พระหัตถ์ชี้ลงยังพระบาทที่ยกลอยขึ้น แสดงภาวะการปกปิด พระบาทข้างขวาเหยียบอยู่บนอปัสมารปุรุษ (Apasmārapuruṣa) ภาษาทมิฬเรียกว่า มูยฬกะ (Mūyaḷaka) หรือ มูยฬกัน (Mūyaḷakan) มีรูปเป็นคนแคระ ในมือถืองู สัญลักษณ์ของความชั่วร้ายและอวิชา (ความไม่รู้) ซึ่งการเต้นรำอันศักดิ์สิทธิ์ของพระศิวะ ทำให้ได้รับชัยชนะ ----------------------------------------------ผู้เรียบเรียง: นางสาวเด่นดาว ศิลปานนท์ ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ----------------------------------------------อ้างอิง Liebert, Gosta. Iconographic Dictionary of the Indian Religions Hinduism-Buddhism-Jainism. Leiden: E.J. Brill, 1976. Stutley , Margaret. The illustrated dictionary of Hindu iconography. London : Routledae & Kegan Paul, 1985. https://en.wikipedia.org/wiki/Lasya https://en.wikipedia.org/wiki/Tandava https://en.wikipedia.org/wiki/Nataraja
รัว รืง มืง สะเร็น สัปดาห์นี้ขอนำเสนอองค์ความรู้เรื่อง
"ทุ่งกุลาร้องไห้ ดินแดนอดีตกาลที่น่ารู้"
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์
เปิดให้บริการ วันพุธ-วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น.
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ๐ ๔๔๕๑ ๓๒๗๒ , ๐ ๔๔๕๑ ๓๒๗๔
สำหรับชนชาติมอญซึ่งพบว่าเป็นกลุ่มประชากรส่วนใหญ่ มีรูปแบบการตั้งถิ่นฐานกระจุกตัวอยู่บริเวณริมสองฝั่งแม่น้ำแม่กลองตั้งแต่บ้านโป่งถึงบ้านโพธาราม ชาวมอญนั้นเป็นพุทธศาสนิกชนที่เคร่งครัดมาก จึงสร้างวัดขึ้นในชุมชนของตน ถึงแม้ว่าปัจจุบันนี้วัดมอญส่วนใหญ่จะเริ่มสวดภาษาไทยมากขึ้น แต่พระและชาวบ้านยังคงพูดภาษามอญได้ และมีการสืบสานประเพณีวัฒนธรรมมอญไว้ วัดในชุมชนมอญทั้งสองฝั่งแม่น้ำแม่กลอง มีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยา กรุงธนบุรี และรัตนโกสินทร์ โดยมีข้อสังเกตว่าวัดในช่วงรัตนโกสินทร์มีจำนวนมากสอดคล้องกับประวัติศาสตร์ในสมัยรัชกาลที่ ๒ ที่มีการอพยพของชาวมอญเข้ามามาก
วัดมอญเหล่านี้ สำนักศิลปากรที่ ๑ ราชบุรี โดยกลุ่มโบราณคดี ได้ดำเนินการสำรวจในช่วงระหว่างปีพ.ศ. ๒๕๓๙ - ปัจจุบัน พบว่าบางวัดยังคงอัตลักษณ์ของชนชาติมอญไว้อย่างเหนียวแน่นทั้งสถาปัตยกรรมและประเพณีต่างๆ ดังรายละเอียด ดังนี้
วัดบ้านโป่ง ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านโป่ง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ประวัติ วัดบ้านโป่งเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่ง สร้างขึ้นในต้นสมัยรัตนโกสินทร์โดยพระภิกษุชาวรามัญ นามว่า “ด่าง” ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๔ ในสมัยรัชกาลที่ ๕
ชื่อของวัดบ้านโป่ง มาจากเดิมบริเวณสถานที่ตั้งวัดเป็นป่าใหญ่อุดมสมบูรณ์มีพันธุ์ไม้นานาชนิดเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ และในบริเวณนี้มี “ดินโป่ง” หรือดินที่มีส่วนผสมของเกลือสินเธาว์อยู่ จึงเป็นแหล่งอาหารของสัตว์ต่างๆ ซึ่งจะลงมากินเป็นประจำ ต่อมาเมื่อมีชุมชนขึ้นจึงได้เรียกชื่อตามลักษณะของภูมิประเทศที่ตั้งว่า “บ้านโป่ง” และเรียกชื่อวัดตามชื่อหมู่บ้านว่า “วัดบ้านโป่ง”
อุโบสถหลังเก่า
อุโบสถหลังเก่า อาคารก่ออิฐถือปูนขนาดค่อนข้างเล็ก หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องดินเผา ช่อฟ้าเป็นรูปเศียรนาค ใบระกาเป็นเปลว กรอบหน้าบันเป็นสันตรงรูปสามเหลี่ยม หน้าบันด้านหน้าประดับปูนปั้นทาสีรูปพระพุทธรูปประทับนั่ง ด้านข้างมีตาลปัตรปักอยู่บนแจกันขนาดใหญ่ มีอักษรปูนปั้นคำว่า “อุโบสถ ทายกทั้งหลาย สรางปี ๑๒๙” ส่วนบนมีการตกแต่งด้วยถ้วยเบญจรงค์ ขอบนอกเป็นลายเขียนสีแบบศิลปะจีน
หน้าบันด้านหน้าประดับปูนปั้นทาสีรูปพระพุทธรูปประทับนั่ง
หน้าบันด้านหลังมีลวดลายปูนปั้นรูปมังกรดั้นเมฆ ส่วนบนมีเครื่องถ้วยเบญจรงค์ประดับ ขอบนอกเป็นลวดลายเขียนสีแบบศิลปะจีน มีชายคาปีกนกคลุมโดยรอบ ผนังอุโบสถก่ออิฐถือปูนตั้งอยู่บนฐานบัว ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ๖ องค์ ศิลปะรัตนโกสินทร์ ด้านนอกโดยรอบอุโบสถมีกำแพงแก้วก่ออิฐถือปูนเตี้ยๆ ภายนอกกำแพงแก้วอุโบสถทั้งด้านหลังและด้านข้าง เป็นที่ตั้งของเจดีย์บรรจุอัฐิก่ออิฐถือปูนทรงปรางค์ และทรงแบบเจดีย์มอญ
เจดีย์ห้ายอด
เจดีย์ห้ายอด ตามประวัติกล่าวว่า หลวงพ่อด่างได้นำพระธาตุจากเมืองร่างกุ้งติดตัวมาด้วย เพื่อเป็นอนุสรณ์และระลึกถึงมาตุภูมิเดิม เมื่อมาสร้างวัดบ้านโป่งจึงได้สร้างเจดีย์ขึ้นองค์หนึ่ง ลักษณะเป็นเจดีย์มอญก่ออิฐถือปูนตั้งอยู่บนฐานรูปสี่เหลี่ยมสูง เจดีย์ประธานทรงกลมมีขนาดค่อนข้างใหญ่ที่มุมทั้งสี่มีเจดีย์ทรงกลมขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายเจดีย์ประธานอยู่ทั้ง ๔ มุม ที่ด้านในแต่ละด้านก่อเป็นซุ้ม ด้านหน้าและด้านหลังมีบันไดทางขึ้น ด้านนอกโดยรอบมีกำแพงแก้วก่ออิฐถือปูนเตี้ยๆล้อมรอบ บริเวณมุมกำแพงแก้วตกแต่งด้วยเสาหัวเม็ด
เรียบเรียง : นางจิรนันท์ คอนเซพซิออน นักโบราณคดีชำนาญการ
ชื่อผู้แต่ง ขจร สุขพานิช
ชื่อเรื่อง เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ ๑
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย
ปีที่พิมพ์ ๒๔๙๗
จำนวนหน้า ๒๒๘ หน้า
หมายเหตุ -
หนังสือเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เล่มนี้ ได้จัดพิมพ์รวบรวมไว้หลายเรื่อง เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ดังนี้ พระพุทธไพรีพินาศ วิกฤตกาลเงียบเมื่อร้อยปีก่อน หมอบรัดเลและมิชชันนารีอเมริกัน เมื่อเซอร์ยอนเบาริงเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.147/15ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 46 หน้า ; 4 x 51 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 90 (377-391) ผูก 15 (2564)หัวเรื่อง : ธมฺมปปทวณฺณนา ธมฺมปทฎกถา ขุทฺทกนิกายฎฐกถา (ธรรมบท)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม