ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,340 รายการ
สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญเข้าร่วมกิจกรรมเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ภายใต้โครงการพัฒนาและส่งเสริมหอสมุดแห่งชาติเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ประจำปี 2567 รับฟังการบรรยายเรื่อง "กนิษฐาธิราชนิพนธ์: ยลรัตนะในพระราชนิพนธ์ กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี" วิทยากรโดย รศ.ดร.อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม 2567 เวลา 13.30 - 16.30 น. ณ อาคารดำรงราชานุภาพ ถนนหน้าพระธาตุ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ผู้สนใจยังสามารถติดตามชมการถ่ายทอดสดผ่าน Facebook Live : National Library of Thailand สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 08 6891 2548 (คุณเกษี)
ชื่อโบราณวัตถุ : ภาชนะดินเผาทรงเป็ดแบบศิลปะ : สมัยก่อนประวัติศาสตร์ชนิด : ดินเผาขนาด : สูง 19.5 เซนติเมตรกว้าง 19 เซนติเมตรอายุสมัย : วัฒนธรรมบ้านเชียงสมัยต้น 4,500 - 3,000 ปีมาแล้วลักษณะ : ภาชนะดินเผามีเชิง มีรูปทรงคล้ายเป็ด แต่ไม่มีศีรษะ มีการตกแต่ง ด้วยลายเชือกทาบ ขูดขีด ปั้นแปะ และรมควันให้เป็นสีดำสภาพ : ...ประวัติ : พระครูนันสมณาจารย์ (โผเรียนเป้า) เจ้าคณะใหญ่ อนันนิกาย วัดชัยภูมิการาม มอบให้เมื่อ 17 กรกฎาคม 2518 ได้มาจากบ้านเชียง อำเภอหนองหาน ตำบลบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานีสถานที่จัดแสดง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานีแสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/banchiang/360/model/29/ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/banchiang
กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “การแสดงหุ่นกระบอก กรมศิลปากร” วิทยากร นางอัมไพวรรณ เดชะชาติ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาการสังคีต สำนักการสังคีต, นายเลอเกียรติ มหาวินิจฉัยมนตรี ผู้อำนวยการกลุ่มดุริยางค์ไทย สำนักการสังคีต และนายหัสดินทร์ ปานประสิทธิ์ นาฏศิลปินอาวุโส สำนักการสังคีต ผู้ดำเนินรายการ นายธำมรงค์ บุญราช นักวิชาการละครและดนตรีชำนาญการ สำนักการสังคีต พิธีกร นางกมลชนก พรภาสกร นักวิชาการโสตทัศนศึกษา กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๗ เวลา ๑๑.๐๐ - ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร รายการ “ไขความรู้จากครูกรมศิลป์” มีรูปแบบเนื้อหาของรายการเกี่ยวกับประวัติความเป็นไทย เกร็ดประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญ ประเพณี วัฒนธรรม วีถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ผ่านการบอกเล่า ถ่ายทอดความรู้ แนวความคิด เนื้อหาวิชาการ จากประสบการณ์ของผู้บริหาร นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญกรมศิลปากร กำหนดถ่ายทอดสดผ่านเฟสบุ๊กไลฟ์ (facebook live) ทุกวันพฤหัสบดี เวลา ๑๑.๐๐ น. ตลอดปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๖๖ - กันยายน ๒๕๖๗
ภาชนะดินเผา
- ขนาด กว้าง ๑๒.๕ ซม. ยาว ๙.๒ ซม.
พบที่ถ้ำเขาสามเหลี่ยม ตำบลช่องสะเดา อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี พระครูกาญจโนปมคุณ (ลำใย ปิยวณโณ) มอบให้
แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/3d_object/?obj=36247
ที่มา: https://smartmuseum.finearts.go.th
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เผยรายการหนังสือจดหมายเหตุและหนังสือที่ระลึกงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗
นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ประธานคณะกรรมการฝ่ายจัดทำหนังสือจดหมายเหตุและหนังสือที่ระลึกงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการฝ่ายจัดทำหนังสือจดหมายเหตุและหนังสือที่ระลึกงานเฉลิมพระเกียรติฯดำเนินการจัดทำหนังสือจดหมายเหตุและหนังสือที่ระลึกการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ ฯ เนื่องในโอกาสมหามงคลนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการฯ ได้กำหนดจัดทำหนังสือจดหมายเหตุและหนังสือที่ระลึก จำนวนทั้งหมด ๖ เล่ม แบ่งเป็น หนังสือจดหมายเหตุ จำนวน ๑ เล่ม และหนังสือที่ระลึก จำนวน ๕ เล่ม ดังนี้
๑. หนังสือจดหมายเหตุการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ โดยสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม เป็นหนังสือที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานตามธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบทอดมาแต่โบราณ คือ จด-หมาย-เหตุการณ์ ไว้ให้ปรากฏเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของชาติ ซึ่งในครั้งนี้ ได้มีการรวบรวมกฤตภาคข่าวออนไลน์จากหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ และส่งนักจดหมายเหตุไปสังเกตการณ์การประชุม จดบันทึกการดำเนินงานของคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ รวบรวมเอกสารและภาพถ่ายกิจกรรมที่จัดขึ้นทั่วประเทศ จดบันทึกเหตุการณ์และถ่ายภาพพระราชพิธี รัฐพิธี หรือพิธีที่เกี่ยวเนื่อง เริ่มตั้งแต่การประชุมคณะกรรมการอำนวยการ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ จนเสร็จสิ้นระยะเวลาของโครงการกิจกรรม คือประมาณ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๗ จากนั้นจึงนำข้อมูลมาเรียบเรียงเป็นต้นฉบับตามลำดับเวลาของเหตุการณ์ ซึ่งจะต้องผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้ทรงคุณวุฒิ ผ่านการอนุญาตจากสำนักพระราชวัง แล้วจึงจัดพิมพ์เป็นหนังสือจดหมายเหตุ แจกจ่ายเผยแพร่ไปตามห้องสมุดหน่วยราชการและโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศ
๒. หนังสือ “ทศพิธ ทศมรัช” เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ โดยสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม เป็นหนังสือที่นำเสนอพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๑๐ ด้าน โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ และกวีที่เป็นศิลปินแห่งชาติ จำนวน ๑๐ คน ร่วมแต่งคำประพันธ์เป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย เป็นร้อยกรองทั้งเล่ม และมีภาพประกอบตามเนื้อหาพระราชกรณียกิจ เพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจและพระเกียรติคุณให้เป็นที่ประจักษ์ตามขนมวรรณคดีเฉลิมพระเกียรติแต่โบราณ
๓. หนังสือหกรอบนักษัตร ใต้ร่มฉัตรพระภูมินทร์: ประมวลข่าวจากหนังสือพิมพ์พุทธศักราช ๒๔๙๕ - ๒๕๖๗ โดยสำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม เป็นการรวบรวมข่าวเกี่ยวกับ พระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ พระมหากรุณาธิคุณ พระอัจฉริยภาพในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านการศึกษา การศาสนา การแพทย์และสาธารณสุข การทหาร การต่างประเทศ การกีฬา ด้านศิลปวัฒนธรรม รวมถึงโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บทความเฉลิมพระเกียรติและสิ่งอนุสรณ์ โดยรวบรวมจากต้นฉบับหนังสือพิมพ์ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๙๕ - ๒๕๖๗ ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ คัดกรองร้อยเรียงเรื่องราวให้ต่อเนื่องกันไปในแต่ละรอบนักษัตร แล้วจัดพิมพ์เป็นหนังสือเพื่อน้อมรำลึกถึงพระราชปณิธาน พระราชดำริ พระบรมราโชวาท พระราชกรณียกิจ พระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
๔. หนังสือที่ระลึกพิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ โดยสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นหนังสือที่รวบรวมข้อมูล เอกสารและภาพถ่ายที่เกี่ยวข้องกับพิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ จากทุกจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริม อนุรักษ์ สืบสาน และธำรงไว้ซึ่งพิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ ตามโบราณราชประเพณีที่สืบทอดมายาวนาน
๕. หนังสือที่ระลึกในการพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค โดยกองทัพเรือ เป็นหนังสือที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ทั้งด้านประวัตึความเป็นมา การจัดเตรียมขบวนพระพยุหยาตราทางชลมารค การจัดพระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน และคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
๖. หนังสือที่ระลึกรวบรวมผลการดำเนินงานของกรุงเทพมหานคร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ โดยกรุงเทพมหานคร เป็นหนังสือที่รวบรวมข่าวและข้อมูลเกี่ยวกับภารกิจพิเศษของกรุงเทพมหานคร เนื่องในโอกาสมหามงคลดังกล่าว สำหรับใช้ในการค้นคว้า อ้างอิง รวมถึงน้อมนำพระราชปณิธาน พระราชดำริ พระบรมราโชวาท พระราชกรณียกิจ โครงการเนื่องมาจากพระราชดำริ มาบำบัดทุกข์ บำรุงสุข และเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของประชาชน อีกทั้งเพื่อจัดเก็บเป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร
นางสาวสุดาวรรณ กล่าวอีกว่า สำหรับระยะเวลาในการจัดทำหนังสือที่ระลึกแต่ละรายการจะแล้วเสร็จภายหลังจากสิ้นสุดการดำเนินการในแต่ละกิจกรรม เมื่อจัดพิมพ์หนังสือเรียบร้อยแล้วจะมอบให้แก่ห้องสมุด หน่วยงานราชการ และสถาบันการศึกษา รวมทั้งจัดทำเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) เผยแพร่ทางออนไลน์ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้สะดวกยิ่งขึ้นอีกด้วย
ชื่อเรื่อง : จดหมายเหตุเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ พระพุทธศักราช 2469 ผู้แต่ง : กมล มโนชญากร ปีที่พิมพ์ : 2474 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โสภณพิพรรฒธนากร จดหมายเหตุ เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ เป็นเรื่องราวการเสด็จพระราชดำเนินของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งการเตรียมการก่อนเสด็จถึงพฤติการณ์เวลาเสด็จ ที่ทรงเสด็จทำพระราชกรณียกิจในพื้นที่ต่างๆในมณฑลฝ่ายเหนื
เมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๘ เวลา ๙.๐๐ น. ณ โรงละครแห่งชาติ พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง "ประวัติศาสตร์ชาติไทย" โดยมี รมว.วธ. เป็นผู้กล่าวรายงานการสัมมนา ซึ่งการสัมมนาครั้งนี้ยังได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้กล่าวปาฐกถา เรื่อง"สถาบันพระมหากษัตริย์ในประวัติศาสตร์ไทย" รวมทั้งนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิด้านประวัติศาสตร์ ร่วมเป็นวิทยากร และมีนักวิชาการทั้งภาครัฐ เอกชน ครู อาจารย์ นิสิต นักศึกษา ประชาชน สื่อมวลชน ผู้เข้าร่วมการสัมมนา จำนวน ๑๐๐๐ คน โดยในระหว่างการสัมมนา เวลา ๙.๐๐- ๑๖.๐๐ น.ยังได้มีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ช่อง ๑๑ อีกด้วย
เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2555 เวลา 08.00 น. คณะครูและนักเรียนโรงเรียนสงวนหญิง จังหวัดสุพรรณบุรี เข้าเยี่ยมชม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี โดยมี ครู 3 คน นักเรียน 30 คน ทัศนศึกษาดูงาน เพื่อเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์ของนักเรียนและภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดอุบลราชธานี
ถามมา-ตอบไป : ประเภทของการแสดงโขน
บทความจากนิตยสารศิลปากร ปีที่ ๕๔ ฉบับที่ ๒ เดือนมีนาคม - เมษายน ๒๕๕๔ คอลัมน์ถามมา-ตอบไป : ประเภทของการแสดงโขน โดยวันเพ็ญ พรเลิศวดี เนื่องจากมีผู้สนใจทีชอบชมการแสดงโขนของกรมศิลปากร มีข้อสงสัยว่าการแสดงโขนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีกี่ประเภท อะไรบ้าง ท่านจะได้ทราบคำตอบจากในบทความนี้