ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,342 รายการ
เลขทะเบียน : นพ.บ.353/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 18 หน้า ; 6 x 49.5 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 135 (378-387) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : มาลัยหมื่น (มไลหมื่น)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
“ บอนสี ” ที่ได้รับสมญานามมาแต่อดีตว่าเป็น “ราชินีแห่งไม้ใบ” ด้วยลวดลายและสีสันของใบที่มีลักษณะที่แปลกและแตกต่างกันไปดูไม่เบื่อ นี่คือเหตุผลที่ทำให้บอนสีกลายเป็นไม้ใบยอดฮิตกันในขณะนี้ จนมีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ
บอนสี (Caladium,Fancy Leaves Caladium)
เป็นไม้ประดับประเภทไม้ใบ ลักษณะคล้าย เผือก บอนน้ำ ว่านนางกวัก
คูน กระดาด แต่บอนสีต่างจากพืชเหล่านี้ตรงที่ใบ จะมีสีสันสดใส งดงาม และเป็นประกาย
บอนสีเป็นพืชที่มีหัวอยู่ใต้ดิน ควรปลูกในที่ที่มีความชื้นและมีแสงแดดรำไร ไม่ควรให้ขาดน้ำ ดินที่ใช้ควรเป็นดินร่วนหรือดินที่มีอินทรียวัตถุผสม จะปลูกลงดินหรือในตู้พลาสติกก็ได้ขึ้นอยู่กับว่าจะปลูกเพื่อความสวยงามหรือปลูกเพื่อจำหน่าย
ผู้เรียบเรียง : นางสาวทิพย์สุดา อาจดี เจ้าพนักงานห้องสมุดปฏิบัติงาน
#ข้อมูลอ้างอิง
กาญจนัฐ สีสด. บอนสีเพื่อการส่งออก. กรุงเทพฯ : บรรณกิจ ๑๙๙๑, ๒๕๔๗.
เลขหมู่ 635.93464 ก424บ
อรวรรณ วิชัยลักษณ์. บอนสี. ม.ป.ท. : สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร, ๒๕๔๘.
เลขหมู่ 635.93464 อ372บ
ชื่อผู้แต่ง หลวงอรรถวาทีธรรมประวรรต (วิเชียร จันทร์หอม)
ชื่อเรื่อง โหราศาสตร์นิเทศ
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ ธนบุรี
สำนักพิมพ์ อมรการพิมพ์
ปีที่พิมพ์ ๒๕๐๗
จำนวนหน้า ๒๘๒ หน้า
หมายเหตุ -
โหราศาสตร์ เป็นวิชาชนิดหนึ่ง ซึ่งอุบัติขึ้นพร้อมกับการย่างเข้าสู่อารยธรรมของมนุษย์ชาติ เริ่มแต่เมื่อคนเรารู้จักสร้างสำนักอาศัยเป็นถิ่นฐาน รวบรวมกันขึ้นเป็นหมู่เหล่าจนถึงเป็นบ้านเป็นเมืองและในยุคเดียวกันนั้นมีปาเจรจารย์ซึ่งเริ่มคิดถึงเรื่องวันเวลาและใช้ดวงตาต่างกล้องโทรทัศน์ พินิจพิเคราะห์ท้องฟ้าอันมีดาราอยู่อเนกอนันต์จนทราบถึงการโคจรแห่งดาวเคราะห์ทั้งหลาย
ชื่อผู้แต่ง ปีย์ มาลากุล, หม่อมหลวง
ชื่อเรื่อง ประเพณีไทย
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ ๒
สถานที่พิมพ์ ม.ป.ท.
สำนักพิมพ์ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล บุญส่งการพิมพ์
ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๕
จำนวนหน้า ๗๔ หน้า
หมายเหตุ พิมพ์เป็นบรรณาการเนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๑๕
หนังสือเล่มนี้ มีเนื้อหาเกี่ยวกับประเพณีไทย ประกอบด้วย กิริยามารยาท, การเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท, การแต่งกายของสุภาพสตรี, การเข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายสิ่งของ, การเข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานสิ่งของ, ระเบียบการใช้ถ้อยคำ และคำราชาศัพท์
ชื่อเรื่อง : ประวัติการสัมพันธ์ ระหว่างชาติไทยกับชาติจีน ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2509 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ไทยสว่าง จำนวนหน้า : 260 หน้า สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้โดยความมุ่งหมายในวัตถุประสงค์ให้ท่านทั้งหลายทั้งปวงทราบความจริงว่า ชาติไทยและชาติจีนนอกจากเป็นเพื่อนบ้านเรือนเครียงกันแล้ว ยังได้มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดสนิทสนมเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขโลหิตเดียวกันมาแต่ดึกดำบรรพ์ มีเรื่องราวสมัยก่อนประวัติศาสตร์ การสืบค้นหาหลักฐานแห่งสมัยดึกดำบรรพ์ สมัยประวัติศาสตร์จีน
ชื่อเรื่อง นสพ. เล่ม 2 (มค-มีค 2505 ฉ.247-263)ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือพิมพ์สำนักพิมพ์ คนสุพรรณปีที่พิมพ์ 2505ลักษณะวัสดุ 146 หน้า.ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก
สูจิบัตรประกอบการเสวนา "เครื่องปั้นดินเผาจากแหล่งเตาบุรีรัมย์ที่ดีที่สุดในประเทศไทย"
เมื่อวันเสาร์ที่ 2 เมษายน 2565 เวลา 15.00 - 16.00 น.
ณ อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
องค์ความรู้ สำหรับกิจกรรมส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “28 เมษายน วันราชาภิเษกสมรส รัชกาลที่ 9”
ย้อนหลังไปเมื่อพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ที่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ จากนั้นพระองค์ได้เสด็จไปศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ระหว่างที่ประทับอยู่เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ได้รับบาดเจ็บที่พระเนตร เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2491 ทรงได้รับการถวายการรักษาที่โรงพยาบาลในเมืองโลซานน์ มีหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ที่ ทรงพบก่อนหน้านั้นถวายการพยาบาลอยู่ด้วย
ต่อมาได้ทรงหมั้นกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาในพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ (ขณะนั้นคือ พันเอก หม่อมเจ้านักขัตรมงคล เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงลอนดอน) กับ หม่อมหลวงบัว กิติยากร (สนิทวงศ์) เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 ณ เมืองโลซานน์
และเมื่อเสด็จพระราชดำเนินนิวัติพระนคร ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 ณ พระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ในวังสระปทุม ทั้งยังทรงให้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทยอีกด้วย ในฐานะที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ในระบบอบประชาธิปไตย
ทรงลงพระปรมาภิไธยในสมุดทะเบียนสมรสเป็นพระองค์แรก และหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ได้ลงนามในสมุดเป็นบุคคลที่สองในฐานะคู่สมรส ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ขณะนั้นเจ้าสาวยังมีอายุเพียง 17 ปีเศษ ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จึงต้องได้รับความยินยอมจากบิดา มารดา หรือผู้ปกครองก่อนตามกฎหมาย ดังนั้นหม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร พระบิดาของเจ้าสาวจึงต้องลงพระนาม แสดงความยินยอมและรับรู้ในการจดทะเบียนสมรสครั้งนี้ด้วย
ต่อมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้อาลักษณ์อ่านประกาศสถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ พระอัครมเหสี เป็นสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาจักรีบรมราชวงศ์แก่สมเด็จพระราชินีในโอกาสนี้ด้วย
นับแต่นั้นเป็นต้นมา พระราชปณิธานและพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ที่มีต่ออาณาประชาราษฎร์ ก็ได้ถ่ายทอดมายังสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และทรงงานร่วมกันต่อเนื่องมามิได้ขาด
อ้างอิง : บุญเติม แสงดิษฐ. วันสำคัญ : พัชรการพิมพ์. 2541. สโมสรไลออนส์ เมืองเอก กรุงเทพฯ. เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี : โรงพิมพ์กรุงเทพฯ (1984). 2539.
ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้
นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี
ด้วยวันที่ ๑๒ ตุลาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนาหอสมุดแห่งชาติ ดังนั้น ในวาระครบ ๑๑๖ ปี เพจคลังกลางฯ จึงขอเชิญชวนทุกท่านเรียนรู้ประวัติ พร้อมทั้งทำความรู้จักโบราณวัตถุยุคบุกเบิกที่เกี่ยวข้องกับหอสมุดแห่งชาติ คือ ตู้พระธรรม ซึ่งเดิมเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ปัจจุบันถูกนำมาเก็บรักษาที่คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โดยเบื้องต้น หอสมุดแห่งชาติเกิดขึ้นจากการรวมหอสมุดทั้ง ๓ แห่ง แล้วสถาปนาขึ้นเป็นหอพระสมุดสำหรับพระนคร ในสมัยรัชกาลที่ ๕ กระทั่งหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง รัฐบาลได้โอนหอพระสมุดให้อยู่ในความดูแลของกรมศิลปากร จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น หอสมุดแห่งชาติ ในปัจจุบัน
“กรมพระดำรงอย่าทิ้งหอพระสมุดนะ” พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีต่อสมเด็จฯ กรมพระดำรงราชานุภาพ (พระยศขณะนั้น) ในคราวโปรดเกล้าฯ ให้ทรงว่าการหอพระสมุดฯ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเก็บรวบรวมบรรดา “ตู้ทองลายรดน้ำ” ที่ถูกทิ้งไว้ตามวัดมาใช้ใส่หนังสือในหอพระสมุดฯ ตู้พระธรรมที่ถูกเก็บรักษาโดยหอสมุดแห่งชาติในปัจจุบันจึงถือเป็นผลจากการดูแลเก็บรักษาในคราวนั้น ด้วยตู้เหล่านี้เป็นโบราณวัตถุที่ทรงคุณค่าด้านศิลปกรรม ซึ่งถูกปรับเปลี่ยนหน้าที่จากเดิมถูกทิ้งไว้อยู่ตามวัดวาอาราม เป็นตู้สำหรับเก็บรักษาหนังสือ สมุดไทย ตลอดจนตำราสำคัญของชาติ
นอกจากนี้ ยังมีการอนุรักษ์ตู้พระธรรมเหล่านั้นให้ทรงคุณค่า พร้อมทั้งยังนำมาใช้การได้ ดังที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายไว้ในพระนิพนธ์ เรื่อง ตำนานหอพระสมุด ระบุว่า “... อนึ่ง ตู้ไทยของโบราณมักปิดทองแลเขียนลายแต่ ๓ ด้าน ด้านหลังเปนแต่ลงรักฤาทาสี การที่จะใช้ใส่หนังสือในหอพระสมุดฯ ได้คิดแก้ติดบานกระจกเปิดข้างด้านหลังให้แลเห็นสมุดในตู้นั้นได้ แลไม่ต้องจับทางข้างบานตู้ให้ลายหมอง ...” มีตัวอย่างเป็นตู้ชิ้นสำคัญ เป็นตู้ขาหมู ลายม่านทอง เครื่องกี๋จีน ด้านหลังเป็นกระจก เก็บรักษาอยู่ที่คลังกลางฯ ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ มีประวัติระบุว่า “สร้างประดิษฐ์ไว้ในหอไตรวัดราชโอรสมีอยู่ ๓ ใบ ถูกฝนและปลวกผุทั้งหนังสือหมด คงใช้ได้ ๑ ใบ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สภานายกหอพระสมุดสำหรับพระนคร มีรับสั่งให้ย้ายมารักษาไว้ ณ หอพระมณเฑียรธรรมสำหรับเก็บพระไตรปิฎกหอพระพุทธศาสนาต่อไป” ซึ่งลายม่านนี้ ยังสอดคล้องกับความนิยมเขียนม่านประดับในงานจิตรกรรมสมัยรัชกาลที่ ๓ - รัชกาลที่ ๔ ด้วย
ระยะเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้หน้าที่ของตู้พระธรรมรวมถึงวิธีการเก็บรวบรวมและอนุรักษ์เอกสารแปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ปัจจุบันจึงมีการจัดแสดงตู้พระธรรมในตึกถาวรวัตถุเพื่อเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้และส่งเสริมให้เห็นคุณค่าของงานช่างไทยในอดีต ดังนั้น ตู้พระธรรมหรือตู้ที่ใช้เก็บหนังสือสมุดไทย จึงถือเป็นวัตถุชิ้นสำคัญและมีบทบาทต่อพิพิธภัณฑ์ด้วยเช่นกัน ส่งท้ายบทความวันนี้ หากท่านใดอยากชมตู้พระธรรม ศึกษาลวดลายต่าง ๆ สามารถเข้าชมนิทรรศการตู้ลายทอง ณ อาคารถาวรวัตถุ (ตึกแดง) ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
เผยแพร่โดย ศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ และอาทิมา ชาโนภาษ ผู้ช่วยภัณฑารักษ์
ภาพโดย กิตติยา เชื้อทอง นายช่างภาพปฏิบัติงาน
เทคนิคภาพโดย ณัฐดนัย อรุณมาศ ผู้ช่วยภัณฑารักษ์
กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร
ชื่อเรื่อง ลักษณะการปกครองประเทศสยามแต่โบราณ และการปกครองสมัยโบราณผู้แต่ง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพผู้แต่งเพิ่ม พลตรี หลวงวิจิตรวาทการประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ สังคมศาสตร์เลขหมู่ 320.9593 ด495สปสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิวพรปีที่พิมพ์ 2507ลักษณะวัสดุ 88 หน้าหัวเรื่อง การปกครองภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกเรื่องลักษณะการปกครองประเทศสยามแต่โบราณ ผู้ทรงนิพนธ์ทรงบรรยายเหตุการณ์อันเป็นตำนานของชาติ และเรื่องการปกครองสมัยโบราณ พลตรีหลวงวิจิตร วาทการได้เขียนสำหรับเป็นแนวทางค้นคว้าหาความรู้
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี ขอเชิญสักการะ พระคเณศ ๑,๔๐๐ ปี เนื่องในเทศกาล "วันคเณศจตุรถี" ตั้งแต่วันที่ ๓๑ สิงหาคม - ๙ กันยายน ๒๕๖๕ วันคเณศจตุรถี เป็นเทศกาลเฉลิมฉลองวันประสูติของพระคเณศ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นวันที่พระคเณศจะทรงเสด็จลงมายังโลกมนุษย์ เพื่ออวยพรแก่ผู้เลื่อมใสที่ทำพิธีบูชาพระองค์ สำหรับพระคเณศแห่งเมืองศรีมโหสถนี้ พบที่โบราณสถานหมายเลข ๒๒ กลางเมืองศรีโหสถ อายุกว่า ๑,๔๐๐ ปี พระคเณศ เป็นเทพเจ้าซึ่งเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมนับถือมากในศาสนาฮินดูในฐานะเทพแห่งอุปสรรค ที่ชาวฮินดูเมื่อจะประกอบพิธีทางศาสนา จะต้องบูชาพระคเณศก่อน พระคเณศ จึงกลายเป็นเทพแห่งความรู้และความเฉลียวฉลาด เทพอักษรศาสตร์และวรรณคดี และเทพแห่งศิลปวิทยา เปิดให้เข้าชม วันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. หยุดวันจันทร์ วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. ๐๓๗ ๒๑๑ ๕๘๖
สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ ร่วมกับอาสาสมัครนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวนรวม ๒๐ คน ร่วมดำเนินการขุดแต่งทางโบราณคดีและคัดแยกอิฐบริเวณเจดีย์วัดศรีสุพรรณ โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๕ เป็นต้นไป การดำเนินงานทางโบราณคดีร่วมกับอาสาสมัคร เป็นการสร้างแรงจูงใจในการมีส่วนร่วมในการรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติให้คงอยู่สืบไป และยังเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานทางโบราณคดีด้วยการลงมือปฏิบัติจริง คาดว่าหลังจากนี้จะมีสถาบันการศึกษาอื่น ๆ แสดงความประสงค์เข้าร่วมเป็นอาสาสมัครเพิ่มขึ้น
ชื่อเรื่อง วินยวินิจฺฉยสงฺตห(วินิจฺฉย)
สพ.บ. อย.บ.9/8ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 58 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 54.5 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา บทสวด พระวินัย คำสอน
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน ภาษามอญ เส้นจาร ฉบับทองทึบ ลานดิบ ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก วัดประดู่ทรงธรรม จ.พระนครศรีอยุธยา
ส่งเสริมการอ่านผ่าน Facebook กับหอสมุดแห่งชาติชลบุรี แนะนำหนังสือหมวดหมู่ปรัชญา หนังสือปรัชญาสาธารณะ
ส่งเสริมการอ่านผ่าน Facebook กับหอสมุดแห่งชาติชลบุรี
แนะนำหนังสือหมวดหมู่ปรัชญา โดย นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพสาขาวิชาศาสนาและปรัชญา คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ความขัดแย้งและการแบ่งสี แบ่งฝั่งแบ่งฝ่ายของคนไทยในปี พ.ศ. 2558 และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ใครหลาย ๆ คนเริ่มรู้สึกกังวลกับการพูดคุยกับเพื่อนร่วมชาติ เนื่องจากเรื่องของการเมืองนั้น ได้กลับกลายเป็นเรื่องอ่อนไหวไปเสียแล้ว มีหลายคนที่ไม่ยอมเปิดใจรับฟังความเห็นที่แตกต่าง โดยความคิดทางการเมืองในสถานการณ์ถูกแบ่งออกเป็นสองฟากใหญ่ ๆ อันมีผู้สนับสนุนมากพอกัน
ฝ่ายหนึ่งเชิดชูศีลธรรมแบบ "เสรีประชาธิปไตย" สากล เน้นเรื่องสิทธิของปัจเจกบุคคลเป็นสำคัญ ส่วนอีกฝ่ายเน้นเชิดชู "ศีลธรรมแบบพุทธ" กล่าวคือ เน้นคุณธรรมและจริยธรรมเป็นสำคัญกว่าสิ่งใด โดยการแบ่งฟากฝั่งนี้ พอจะเปรียบได้กับการถกเถียงกันระหว่างปรัชญาสองสำนัก อันได้แก่ "เสรีนิยม" (liberalism) กับ "ชุมชนนิยม" (communitarianism) ซึ่งเป็นเนื้อหาหลักในหนังสือเล่มนี้ที่ดูเผิน ๆ เหมือนปรัชญาสองสำนักนี้จะเป็น “ขั้วตรงข้าม” ที่ไม่อาจอยู่ร่วมโลกกันได้ ทว่าอาจารย์ไมเคิล แซนเดล ปรมาจารย์ปรัชญาการเมืองชาวอเมริกัน จะพาเราไปสำรวจประวัติศาสตร์ของความคิดที่หล่นหาย ผ่านคำตัดสินของศาลฎีกาอเมริกันในคดีที่เป็นประเด็นสังคมร้อนฉ่า งานของนักเสรีนิยมตกสมัย ทัศนะของนักชุมชนนิยมชั้นนำ จนถึงคำปราศรัยหาเสียงของบรรดานักการเมือง
ทั้งนี้เพื่อพยายามชี้ให้เห็นว่าปรัชญาสองสำนักนี้อาจพบ "จุดร่วม" กันได้ หากแม้นนักเสรีนิยมจะเลิกยืนกรานว่าสิทธิอยู่เหนือความดีในทุกกรณี และนักชุมชนนิยมจะเลิกวางข้อถกเถียงเรื่องสิทธิไว้บนคุณค่าของชุมชนเพียงอย่างเดียว จุดร่วมนี้เองที่อาจารย์หวังว่าจะแผ้วถางทางสู่การเมืองที่เน้นเรื่องความเป็นพลเมือง ชุมชน และสำนึกพลเมืองมากขึ้น รับมือกับคำถามว่าด้วย “ชีวิตที่ดี” อย่างตรงไปตรงมายิ่งกว่าเดิม
ตัวอย่างบทความที่น่าสนใจ : บทที่ 15 เกียรติกับความคับข้องใจ
การเมืองของคนโบราณเน้นเรื่องคุณธรรมและเกียรติ ทว่าคนสมัยใหม่ให้ความสำคัญกับความเป็นธรรมและสิทธิ สุภาษิตข้อนี้มีความจริงอยู่บางส่วน แต่ก็ส่วนเดียวเท่านั้น เพราะหากมองอย่างผิวเผิน การถกเถียงทางการเมืองของเราพูดเรื่องเกียรติกันน้อยมาก เกียรติดูจะเป็นความกังวลตกยุคที่เหมาะกับโลกที่ครอบงำโดยสถานะแห่งความเป็นอัศวินและการดวลตัวต่อตัว อย่างไรก็ตาม ยังมีสิ่งที่อยู่ไม่ไกลนักจากพื้นผิว กล่าวคือ การถกเถียงที่ร้อนแรงที่สุดของเราเกี่ยวกับความเป็นธรรมและสิทธินั้น สะท้อนความขัดแย้งฝังลึกเกี่ยวกับฐานคิดที่เหมาะสมในเรื่องการยอมรับจากสังคม (social esteem)
ข้อพิพาทเรื่องการจัดสรรเกียรติยังเป็นพื้นฐานของประเด็นร้อนอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับความเป็นธรรมและสิทธิด้วย ลองพิจารณาตัวอย่างจากข้อถกเถียงเรื่องโควตาชนกลุ่มน้อย อันเป็นนโยบายรับเข้าศึกษาของมหาวิทยาลัย ในกรณีนี้ บางคนก็พยายามคลี่คลายประเด็นด้วยการยกข้อโต้แย้งทั่วไปที่ต่อต้านการเลือกปฏิบัติเช่นกัน ฝ่ายผู้สนับสนุนโควต้าเถียงว่า เราจำเป็นต้องบรรเทาผลลัพธ์ของการเลือกปฏิบัติในอดีต ส่วนฝ่ายคัดด้านยืนกรานว่าการคัดเลือกเด็กโดยคำนึงถึงเชื้อชาติเท่ากับเป็นการเลือกปฏิบัติในมุมกลับ เป็นอีกครั้งที่ข้อโต้แย้งเรื่องการไม่เลือกปฏิบัติมีคำถามสำคัญที่ต้องตอบ นโยบายการรับเข้าล้วนแต่เลือกปฏิบัติไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ประเด็นที่แท้จริงคือ การเลือกปฏิบัติแบบไหนที่เหมาะสมกับเป้าหมายของมหาวิทยาลัย คำถามนี้นำมาซึ่งความขัดแย้ง ไม่ใช่เพราะมันตัดสินว่าเราจะกระจายโอกาสทางการศึกษาอย่างไรเท่านั้น แต่เพราะมันกำหนดว่าคุณความดีข้อใดบ้างที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้ว่าคู่ควรกับเกียรติ ถ้าหากเป้าหมายหนึ่งเดียวของมหาวิทยาลัยคือการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการและคุณความดีของปัญญาความรู้ มหาวิทยาลัยก็ควรจะรับแต่นักเรียนที่มีแนวโน้มว่าจะช่วยบรรลุเป้าหมายนี้ที่สุด แต่ถ้าการปลูกฝังความเป็นผู้นำสำหรับสังคมพหุนิยมเป็นพันธกิจหนึ่งของมหาวิทยาลัยด้วย มหาวิทยาลัยก็ควรมองหานักเรียนที่มีแนวโน้มจะเลื่อนเป้าหมายเชิงความเป็นพลเมืองพอๆ กับเป้าหมายด้านความรู้