ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,387 รายการ

วันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๗นายขจร มุกมีค่า ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา(ประธานตรวจการจ้าง) พร้อมด้วยคณะกรรมการตรวจการจ้างตรวจรับงานบูรณะปราสาทพนมวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมางวดที่ ๒ และงวดที่ ๗ (งวดสุดท้าย)


หินลับ อายุสมัย : ก่อนประวัติศาสตร์ (๖,๕๐๐ – ๔,๗๐๐ ปีมาแล้ว) วัสดุ : หินทราย ประวัติ : พบจากหลุมขุดค้นถ้ำเบื้องแบบ หมู่ที่ 3 บ้านเบื้องแบบ ตำบลบ้านทำเนียบ อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อพ.ศ. ๒๕๒๕ โดยโครงการโบราณคดีเชี่ยวหลาน กองโบราณคดีกรมศิลปากร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลางรับมาเมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๒ ................................................................          หินลับเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับลับคมให้กับเครื่องมือหินขัดที่สึกกร่อนจากการใช้งานให้มีความคมขึ้นมาอีกครั้ง เช่นเดียวกับหินลับมีดในปัจจุบัน  จากการขุดค้นที่แหล่งโบราณคดีถ้ำเบื้องแบบซึ่งพบโบราณวัตถุชิ้นนี้ พบร่องรอยการใช้งานพื้นที่สองสมัย คือสมัยรัตนโกสินทร์ และสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งปรากฏหลักฐานที่น่าสนใจคือ โครงกระดูกมนุษย์ (ไม่ครบส่วน) กระดูกและฟันสัตว์ เปลือกหอย ภาชนะดินเผารูปทรงต่างๆ กระสุนดินเผา เครื่องมือหินรูปแบบต่างๆ หินลับ หินทุบเปลือกไม้ และกำไลหิน ................................................................ที่มาข้อมูล : กรมศิลปากร. โบราณสถานถ้ำเบื้องแบบ. สืบค้นข้อมูลเมื่อ ๙ เมษายน ๒๕๖๓. เข้าถึงข้อมูลจาก http://gis.finearts.go.th/fineart/ นงคราญ สุขสม. ประวัติศาสตร์โบราณคดีสุราษฎร์ธานี. กรุงเทพฯ : อาทิตย์ คอมมูนิเคชั่น, ๒๕๔๕.


วันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๖๓ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก กาญจนบุรี ได้จัดโครงการเครือข่ายมรดกทางศิลปวัฒนธรรม ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ กิจกรรม"เล่าเรื่องเมืองกาญจน์" โดยได้นำผู้เข้าร่วมโครงการไปทัศนศึกษาตามแหล่งเรียนรู้ดังต่อไปนี้๑. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเก่า โดยมี นางสาวสำเนา จาดทองคำ หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเก่า บรรยายถึงประวัติความเป็นมา และโบราณวัตถุที่นำมาจัดแสดง และนางสาวสุภมาศ ดวงสกุล นักโบราณคดีชำนาญการ บรรยายเรื่องการขุดค้นทางโบราณคดี พร้อมทั้งนำชมหลุมขุดค้นบริเวณใกล้เคียง ๒. อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ โดยมี นายพิชิต รงค์ฤทธิไกร พนักงานดูแลโบราณสถาน อธิบายถึงประวัติความเป็นมา พร้อมทั้งนำชมโบราณสถาน และหลุมขุดค้นทางโบราณคดี๓. โบราณสถานกำแพงเมืองกาญจนบุรีและโรงงานกระดาษไทยกาญจนบุรี โดยมี นายปรัชญา รุ่งแสงทอง นักโบราณคดีปฏิบัติการ อธิบายการเข้ามาบูรณะแนวกำแพงเมืองกาญจนบุรีของกรมศิลปากร และประวัติความเป็นมาของโรงงานกระดาษไทยกาญจนบุรี


ชื่อผู้แต่ง : -ชื่อเรื่อง : พระราชพิธีและพระราชกิจในการทรงผนวชครั้งที่พิมพ์  : พิมพ์ครั้งที่-สถานที่พิมพ์ : พระนครสำนักพิมพ์ : กระทรวงมหาดไทยปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๑          พระราชพิธีและพระราชกิจในการทรงผนวช ตุลาคม-พฤศจิกายน ๒๔๙๙ เป็นหนังสือที่พิมพ์ เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายสุทัศน์ สิริสวย ม.ว.ม,ป.ช,ท.จ ณ เมนวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๑๑ เนื้อหามีรายละเอียดเกี่ยวกับพระราชพิธีทรงผนวชพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมมนาบพิตร พระราชกรณียกิจ เมื่อพระองค์ทรงผนวช ตลอดจน พระราชพิธีลาผนวช



ผู้แต่ง : กรมศิลปากร ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 2 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ  สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2518 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ คุณแม่ทองอยู่ ศิลปเดช จ.ม.               พระราชประวัติสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เล่มนี้ แบ่งออกเป็น 2 ตอน ด้วยกัน ตอนแรกเป็นพระราชประวัติที่คัดมาจากหนังสืออภินิหารบรรพบุรุษ ส่วนตอนหลังเป็นพระราชประวัติบางตอนคัดมาจากสมุดไทยเรื่องพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเขียนด้วยอักษรดินสอขาว ทั้งสองตอนมีความละเอียดน่าศึกษาอย่างยิ่ง


     ชื่อเรื่อง : เซเปียนส์ ประวัติย่อมนุษยชาติ Sapiens      ผู้เขียน : ยูวัล โนอาห์ แฮรารี      สำนักพิมพ์ : ยิปซี      ปีพิมพ์ : 2561      เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ : 978-616-301-656-0      เลขเรียกหนังสือ : 599.9 ฮ865ซ      ประเภทหนังสือ : หนังสือทั่วไป      ห้องบริการ : ห้องหนังสือทั่วไป 1   สาระสังเขป : เซเปียนส์ ประวัติย่อมนุษยชาติ เป็นหนังสือแปลที่มีมากกว่า 50 ภาษา ติดรายชื่อหนังสือขายดีใน The New York Times Best Seller ซึ่งแปลเป็นภาษาอังกฤษในปี ค.ศ. 2014 หลังจากตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 2011 เป็นภาษาฮีบรูว์ และหลังจากตีพิมพ์ฉบับแปลเป็นครั้งแรกแล้วก็ตีพิมพ์ซ้ำแล้วซ้ำอีกอย่างต่อเนื่องจนขายไปมากกว่า 5 ล้านเล่ม โดยได้รับการจัดอันดับเป็นหนังสือดีเด่นที่สุดประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2015 และชนะรางวัล National Library of China's Wenjin Book Award ในฐานะหนังสือที่ดีเยี่ยมที่สุดในปี ค.ศ. 2014 จากผู้อ่านมากกว่า 100,000 คน ที่โหวตหนังสือเล่มนี้ในเว็บ Book Depository มีมากถึง 88% ที่ให้ 4-5 ดาว โดยเรื่องราวเป็นการอธิบายว่าอะไรที่ทำให้มนุษย์เราเป็นเผ่าพันธุ์ที่ประสบความสำเร็จบนโลกใบนี้ ทั้งที่ก่อนหน้า 70,000 ปีก่อนบรรพบุรุษของเราเป็นสัตว์ที่แทบไม่มีผลกระทบต่อสิ่งใดเลย อาศัยอยู่ในมุมมืดของทวีปแอฟริกา แต่ในช่วงเวลา 70,000 ปีหลังที่ผ่านมา Homo sapiens ได้กระจายไปทวีปอื่นๆ และครองโลกใบนี้ในที่สุด ซึ่งทางผู้เขียนได้นำเสนอเรื่องราวผ่านลำดับเวลาทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่การปฏิวัติการรับรู้ ประกอบด้วย สัตว์ที่ไม่สลักสำคัญ ต้นไม้แห่งความรู้ วันหนึ่งในชีวิตของอดัมและอีฟ น้ำท่วมใหญ่ / การปฏิวัติเกษตรกรรม ประกอบด้วย เรื่องหลอกลวงครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ การสร้างพีระมิด ข้อมูลล้นสมอง ประวัติศาสตร์ไร้ซึ่งความยุติธรรม / การรวมเป็นหนึ่งของมนุษยชาติ ประกอบด้วย ลูกศรแห่งประวัติศาสตร์ หอมกลิ่นเงินตรา วิสัยทัศน์แบบจักรวรรดิ หลักธรรมแห่งศาสนา ความลับของความสำเร็จ / การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย การค้นพบความไม่รู้ การสมรสระหว่างวิทยาศาสตร์กับจักรวรรดิ หลักการของนายทุน กงล้อแห่งอุตสาหกรรม การปฏิวัติอย่างถาวร แล้วพวกเขาก็อยู่กันอย่างมีความสุขนับจากนั้นมา จุดจบของโฮโมเซเปียนส์ / และสัตว์ที่กลายไปเป็นพระเจ้า ซึ่งผู้ที่ได้อ่านจะได้รับทราบถึงกำเนิดของเรา การเอาชนะเผ่าพันธุ์อื่น วิวัฒนาการในทางร่างกาย การล่าอาหาร การผันตัวเองมาเป็นสังคมเกษตรกรรม การก่อสร้างอาณาจักรและจักรวรรดิ ความคิดทางการเมือง รวมไปถึงการเมืองเรื่องเพศ การสร้างระบบเศรษฐกิจที่ผลักดันให้มนุษย์ค้นพบดินแดนใหม่ๆ กำเนิดวิธีคิดแบบตลาดเสรี ความเฟื่องฟูของยุโรป รวมไปถึงวิวัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ที่ทำให้มนุษย์อยู่รอดและรุ่งเรืองเฟื่องฟูมาได้จนถึงทุกวันนี้ ทั้งหมดที่กล่าวมาน่าจะเป็นเหตุผลที่จะทำให้ใครก็ตามที่สนใจใคร่รู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของมนุษย์อย่างเราควรที่จะได้อ่านสักครั้งในชีวิตนี้




หลักฐานศาสนาพราหมณ์-ฮินดูในภาคใต้ของประเทศไทย ตอนที่ ๑๒ หลักฐานไวษณพนิกายที่พบในฝั่งอ่าวไทย : พระวิษณุ อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๐-๑๑           ๑. พระวิษณุ วัดศาลาทึง ถือเป็นประติมากรรมพระวิษณุที่เก่าที่สุดในประเทศไทย และอาจเป็นประติมากรรมพระวิษณุที่เก่าที่สุดในเอเชียอาคเนย์ วัสดุ หิน อายุ ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๐ ศิลปะ อินเดีย พบที่ วัดศาลาทึง จังหวัดสุราษฏร์ธานี ปัจจุบันจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร           - ลักษณะ : เป็นประติมากรรมยืนตรงแบบสมภังค์ ทรงกิรีฏมกุฎแบบหมวกทรงกระบอกสูงสลักลวดลายพรรณพฤกษา ทรงกุณฑลขนาดใหญ่ กรองศอ พาหุรัด และทองพระกร พระหัตถ์ขวาหน้าแสดงอภยมุทรา พระหัตถ์ซ้ายหน้าทรงสังข์ที่พระโสณี พระหัตถ์ขวาหลังทรงคทา พระหัตถ์ซ้ายหลังหักหาย สันนิษฐานว่าพระหัตถ์ซ้ายที่หักหายน่าจะทรงจักร ก้อนดิน หรือดอกบัว ทรงโธตียาวเป็นริ้ว คาดผ้ากฏิสูตรรูปวงโค้งขมวดปมไว้ที่พระโสณีทั้งสองข้าง และคาดทับด้วยผ้าพันรอบพระโสณีแบบตรง            - วัดศาลาทึง (วัดชยาราม) ตั้งอยู่ที่ ต.ตลาด อ.ไชยา จ.สุราษฏร์ธานี เล่ากันว่าทางทิศตะวันออกของพระอุโบสถมีวิหารพราหมณ์ ชาวบ้านเรียกว่า “ในรายณ์” มาจากนามพระนารายณ์หรือพระวิษณุที่พบที่นี่ วัดศาลาทึง พบประติมากรรมในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู (พระวิษณุ) ลัทธิเสาระ (พระสุริยะ) และศาสนาพุทธ (พระโพธิสัตว์อวโลติเตศวร)            ๒. พระวิษณุ หอพระนารายณ์ วัสดุ หิน อายุ ประมาณครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ ๑๐ ศิลปะ อินเดีย พบที่ หอพระนารายณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ปัจจุบันจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช            - ลักษณะ : เป็นประติมากรรมยืนตรงแบบสมภังค์ ทรงกิรีฏมกุฎ มีศิรจักรอยู่ด้านหลังของพระเศียร พระหัตถ์ขวาหน้าหักหายสันนิษฐานว่าทรงถือดอกบัวตูมในระดับพระโสณี พระหัตถ์ซ้ายหน้าทรงถือสังข์ไว้ที่พระโสณี พระหัตถ์หลังทั้งสองข้างหักหาย ทรงกรองศอ พาหุรัด มีสายยัชโญปวีตคาดพระอังสาซ้าย ทรงโธตียาวเป็นริ้ว คาดผ้าห้อยเป็นรูปวงโค้งอยู่ด้านหน้าพระเพลา           - หอพระนารายณ์ ตั้งอยู่ริมถนนราชดำเนิน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๓ หน้า ๑๕๓๐ วันที่ ๒๗ กันยายน ๒๔๗๙ หอพระนารายณ์อยู่ตรงข้ามกับหอพระอิศวร เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมก่ออิฐถือปูน โครงหลังคาเป็นไม้มุงกระเบื้องดินเผา ด้านหน้าเป็นรูปจั่วไม่ประดับลวดลาย หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ด้านหลังปิดทึบ มีหน้าต่างด้านละ ๓ ช่อง จากการขุดค้นทางโบราณคดี ปี พ.ศ.๒๕๕๒ ในโครงการค้นคว้าวิจัยโบราณคดีแห่งคาบสมุทรสยามโดย ดร.วัณณสาส์น นุ่นสุข จำนวน ๒ หลุม ในชั้นดินล่างสุดพบเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หมิง อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒           ๓. พระวิษณุ วัดพระเพรง วัสดุ หิน อายุ ประมาณครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ ๑๑ ศิลปะ อินเดีย พบที่ หอพระนารายณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ปัจจุบันจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช - ลักษณะ : เป็นประติมากรรมยืนตรงแบบสมภังค์ ทรงกิรีฏมกุฎ แบบหมวกทรงกระบอกสูงสลักลวดลายพรรณพฤกษา ทรงกุณฑล พระหัตถ์ขวาหน้าทรงถือดอกบัวตูม พระหัตถ์ซ้ายหน้าทรงถือสังข์อยู่ข้างพระโสณี พระหัตถ์ด้านหลังทั้งสองข้างหักหาย ทรงโธตียาวเป็นริ้ว มีผ้าคาดพระโสณีห้อยอยู่ด้านหน้าพระเพลาเป็นรูปครึ่งวงกลม           - วัดพระเพรง ตั้งอยู่ที่ ต.นาสาร อ.พระพรหม จ.นครศรีธรรมราช ลักษณะโบราณสถานเป็นเนินดินรูปวงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ ๒๐ เมตร พบเศษอิฐกระจัดกระจาย ด้านตะวันตกเฉียงใต้ของเนินห่างจากวัดพระเพรง ราว ๔๐๐ เมตร มีการปรับพื้นที่เพื่อจัดสรรที่ดิน จึงได้พบหลักฐานทางโบราณคดี คือ ประติมากรรมในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู (พระวิษณุ) และศาสนาพุทธ (พระโพธิสัตว์ อวโลกิเตศวร)           ๔. พระวิษณุ วัดตาเถร (ร้าง) วัสดุ หิน อายุ ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๐-๑๑ ศิลปะ อินเดีย พบที่ วัดตาเถร (ร้าง) จังหวัดนครศรีธรรมราช ปัจจุบันจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช (ดร.วัณณสาส์น นุ่นสุข ให้ยืมจัดแสดง) - ลักษณะ : เป็นประติมากรรมยืนตรงแบบสมภังค์ พระเศียรหักหาย พระหัตถ์ขวาหน้าหักหาย พระหัตถ์ขวาหลังหักหาย พระหัตถ์ซ้ายหน้าทรงถือสังข์อยู่ข้างพระโสณี พระหัตถ์ซ้ายหลังถือคทาขนาดใหญ่ มีสายยัชโญปวีตเป็นเส้นค่อนข้างหนาคาดพระอังสาซ้ายยาวลงไปจนเกือบถึงชายผ้า ทรงโธตียาวลงมาถึงข้อพระบาท มีผ้าคาดพระโสณีห้อยอยู่ด้านหน้าพระเพลาเป็นรูปครึ่งวงกลม           - วัดตาเถร (ร้าง) ตั้งอยู่ที่ หมู่ ๖ ต.โพธิ์ทอง อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของโบราณสถานโมคคลาน ประมาณ ๒ กิโลเมตร ชาวบ้านเล่าว่า ในปี พ.ศ.๒๕๔๓ ได้ซื้อดินสำหรับปรับพื้นที่เพื่อสร้างบ้าน จากบ่อดินวัดตาเถร (ร้าง) ขณะปรับเกลี่ยหน้าดินได้พบเศษอิฐเป็นจำนวนมาก และได้พบรูปเคารพในลักษณะพระเศียรหักหาย จึงเดินทางไปยังบ่อดินเพื่อค้นหาส่วนพระเศียรแต่ไม่พบ สำหรับสภาพพื้นที่วัดตาเถร (ร้าง) ในปัจจุบันได้ถูกทำลายด้วยการขุดหน้าดินไปขาย ---------------------------------------------------ค้นคว้า/เรียบเรียง : นางสาวสุขกมล วงศ์สวรรค์ ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช ---------------------------------------------------อ้างอิง : - นงคราญ สุขสม. ประวัติศาสตร์และโบราณคดีสุราษฏร์ธานี. กรุงเทพฯ : สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๑๑ นครศรีธรรมราช, ๒๕๔๕. - พิริยะ ไกรฤกษ์, “พระวิษณุ : ประติมากรรมที่พบในภาคใต้,” สารานุกรมวัฒนธรรม ภาคใต้ พ.ศ.๒๕๒๙ เล่ม ๖.กรุงเทพฯ: สถาบันทักษิณคดีศึกษา, ๒๕๒๙. - โบราณสถานและแหล่งโบราณคดี ในพื้นที่สำนักศิลปากรที่ ๑๔ นครศรีธรรมราช เล่ม ๓ : นครศรีธรรมราช. งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉิน หรือจำเป็น ปีงบประมาณ ๒๕๕๔.


          หลังจากที่ได้ดำเนินงานโบราณคดีเพื่อศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมของปราสาทเขาโล้นแล้ว กรมศิลปากร โดยสำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรีและสำนักสถาปัตยกรรม ได้ดำเนินการอนุรักษ์โบราณสถานในปีพุทธศักราช ๒๕๖๒           ขั้นตอนการอนุรักษ์โบราณสถานเริ่มจากการถอดรื้ออิฐที่เสื่อมสภาพออก ทำการแทนที่ด้วยอิฐใหม่ ที่เผาให้มีความแกร่งใกล้เคียงกับอิฐเดิม โดยใช้อิฐใหม่ในการก่อโครงสร้างภายในของโบราณสถาน และพยายามใช้อิฐเก่าก่อปิดบริเวณผิวนอกของโบราณสถานเพื่อแสดงความเป็นของแท้ดั้งเดิมและทำให้ มีความกลมกลืนกับอิฐดั้งเดิม อิฐที่นำมาใช้ต้องทำการขัดแต่งผิวจนเรียบเพื่อทำให้รอยต่อของอิฐแต่ละก้อนแนบสนิท ใกล้เคียงกับวิธีการก่ออิฐดั้งเดิมของสถาปัตยกรรมเขมร หลังจากนั้นกะเทาะหรือขูดผิวอิฐให้เป็นร่องเล็กน้อย เพื่อเพิ่มพื้นที่ยึดเกาะของปูนสอ ซึ่งมีส่วนผสมของปูนขาวหมัก ทรายละเอียด กากน้ำตาลและ กาวหนังควาย           ในการอนุรักษ์โบราณสถานได้ทำการก่ออิฐซ่อมแซมเพื่อเสริมความมั่นคงแข็งแรงโดยรักษารูปแบบสถาปัตยกรรมดั้งเดิม ทั้งนี้ในบริเวณซุ้มประตูด้านทิศตะวันออกของปราสาทประธานซึ่งพังทลายลงจากการ รื้อถอนทับหลังและเสาประตูออกไป ในการอนุรักษ์ได้ทำการเสริมวงกบประตูและเสาประดับกรอบประตู หินทราย ร่วมกับหินวงกบประตูชิ้นบนที่พบบริเวณปราสาท เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับติดตั้งทับหลังในอนาคต โดยหากมีการติดตั้งทับหลังแล้ว สามารถก่ออิฐเสริมบริเวณเสาซุ้มและหน้าบันให้มีลักษณะดังเดิม ๑. ภาพสันนิษฐานของปราสาท 3 หลังบนฐานไพที ๒. การถอดรื้ออิฐเก่า ๓. การก่ออิฐด้วยวิธีดั้งเดิม ๔. การเตรียมหินทรายเพื่อเสริมในตำแหน่งวงกบประตูและเสาประดับกรอบประตู ๕. ปราสาท 3 หลังบนฐานไพที หลังการอนุรักษ์ ๖. ปราสาทประธาน หลังการอนุรักษ์๗. บรรณาลัย หลังการอนุรักษ์ ๘. โคปุระทิศตะวันออก หลังการอนุรักษ์ ๙. โคปุระทิศใต้ หลังการอนุรักษ์ ๑๐. โคปุระทิศตะวันตก หลังการอนุรักษ์ ๑๑. กำแพงแก้ว หลังการอนุรักษ์ ๑๒. การเสริมหินวงกบประตูและเสาประดับกรอบประตูหินทรายเพื่อรองรับทับหลัง---------------------------------------------------ผู้เขียน : นายสิขรินทร์ ศรีสุวิทธานนท์ (นักโบราณคดีชำนาญการ)สำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี


เลขทะเบียน : นพ.บ.123/14ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  52 หน้า ; 4.4 x 54 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 70 (232-242) ผูก 14 (2564)หัวเรื่อง : มงฺคลตฺถทีปปี (มงคลทีปนีอรรถกถา)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



       องค์ความรู้จากแนวความคิดการออกแบบอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี        สืบเนื่องมาจากแนวความคิดของสถาปนิกผู้ออกแบบอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี ที่มีแนวคิดจะให้สถาปัตยกรรมสอดคล้องกับแนวทางการจัดแสดงนิทรรศการ ที่มีวัตถุประสงค์หลักคือการรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับข้าว การทำนา วิถีชีวิต ประเพณีและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการทำนา จึงมีแนวคิดเรื่องของที่อยู่อาศัยของชาวนาไทยภาคกลางเป็นหลักแนวคิดการออกแบบ             เรือนไทยนั้นได้พัฒนาขึ้นมาจากบ้านเรือนของคนในสังคมเกษตรกรรมดั้งเดิม จึงต้องอาศัยพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่เป็นพื้นที่ราบลุ่มเป็นแหล่งประกอบอาชีพหลัก ซึ่งอาชีพเกษตรกรรมดั้งเดิมของคนไทยคืออาชีพชาวนา จึงจะเห็นได้ว่าบ้านเรือนทั่วไปนั้นมักจะปลูกสร้างอยู่ตามลุ่มแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ การสร้างที่อยู่อาศัยจึงนิยมยกพื้นบนเสาสูง ทั้งนี้ เมื่อถึงฤดูน้ำหลากหรือน้ำท่วมถึงได้ง่าย ระดับของพื้นบ้านยังเป็นที่อยู่อาศัยได้ตามปกติ อีกทั้งยังเพื่อประโยชน์ในการใช้สอยพื้นที่ใต้ถุนสูงของบ้าน โดยเฉพาะการเก็บเครื่องมือการเกษตร หรือสัตว์เลี้ยง และยังเป็นพื้นที่เอนกประสงค์อื่น ๆ รวมถึงสำหรับพักผ่อนสำหรับครอบครัวอีกด้วย  เรือนไทยนั้นแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ตามรูปแบบลักษณะโครงสร้างอาคาร วัสดุก่อสร้าง รวมถึงขนาดพื้นที่การก่อสร้างบ้าน ซึ่งแบ่งออกเป็น เรือนเครื่องผูก (เรือนที่สร้างด้วยไม้ไผ่) และเรือนเครื่องสับ (เรือนที่สร้างด้วยไม้จริง)            ในที่นี้ขอกล่าวถึงลักษณะของเรือนไทยภาคกลาง ประเภทเรือนเครื่องสับ ซึ่งนิยมปลูกตามริมแม่น้ำลำคลอง หรือพื้นที่ราบลุ่มที่มีน้ำท่วมถึงได้ง่าย จึงสร้างเป็นเรือนใต้ถุนสูง ยกพื้นเรือนให้พ้นน้ำ หลังคาจั่วลาดชัน กันแดดและฝนได้ดี มีชานบ้านและระเบียงสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ  มีเรือนครัวเป็นที่ปรุงอาหาร ซึ่งมักแยกออกจากตัวเรือนใหญ่ มีเรือนนอน สำหรับเป็นห้องนอน มีระเบียง หอนั่ง หอนก เป็นส่วนประกอบ และมีบันไดทางขึ้นด้านหน้าบ้าน เฉพาะเรือนเครื่องสับหรือเรือนไม้จริง              เรือนไทยภาคกลางนั้น อาจสร้างเป็นเรือนเดี่ยว หรือสร้างหลายหลังร่วมกันเป็นเรือนหมู่ เมื่อครอบครัวขยายใหญ่ มีจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นลักษณะของครอบครัวดั้งเดิมของคนไทยในอดีต จึงสร้างเป็นเรือนหมู่ เช่นสร้างเรือนนอนเพิ่มขึ้น มีชานเชื่อมถึงกัน        ตัวอย่างบ้านเรือนไทยในจังหวัดสุพรรณบุรี (ในอำเภอเมือง) เช่น บ้านยะมะรัชโช เป็นบ้านไม้ทรงไทยเรือนหมู่ อยู่ริมน้ำ ตั้งอยู่ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี      นางสาวภัทรา เชาว์ปรัชญากุล ภัณฑารักษ์ชำนาญการ เรียบเรียงข้อมูล 29 เมษายน 2563      ที่มาข้อมูล รวบรวมและเรียบเรียงจาก  - โครงการจัดทำองค์ความรู้ด้านการสำรวจสถาปัตยกรรมเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถาน (อาคารเรือนทรงไทย) โดยกลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน สำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา กรมศิลปากร - บ้านไทยภาคกลาง ศาสตราจารย์ พลเรือตรี สมภพ ภิรมย์ - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 13 เรื่องที่ 1 เรือนไทย/เรือนไทยภาคกลาง - สืบค้น online www.royin.go.th (สำนักงานราชบัณฑิตยสภา) “เรือน”


ตำรายาแผนโบราณ ชบ.ส. ๓๒ เจ้าอาวาสวัดพลับ  ต.พนัสนิคม อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี มอบให้หอสมุด ๒๑ ก.ค. ๒๕๓๕ เอกสารโบราณ (สมุดไทย)