ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ
ส่งเสริมการอ่านผ่าน Facebook กับหอสมุดแห่งชาติชลบุรี
เรื่อง ภัยเงียบจากคอมพิวเตอร์เรียนรู้ใช้อย่างไรไม่ให้ป่วย
มานพ ประภาษานนท์. ภัยเงียบจากคอมพิวเตอร์เรียนรู้ใช้อย่างไรไม่ให้ป่วย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์สุขภาพ, 2554.
ห้องหนังสือทั่วไป 1 เลขเรียกหนังสือ 615.82 ม443ภ
ปัจจุบันเรียกได้ว่าเป็นยุคของเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ชีวิตประจำวันของเราจึงต้องเกี่ยวพันกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์ สิ่งเหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดผลข้างเคียงเมื่อมีการใช้งานติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่น อาการทางสายตา อาการปวดตามกล้ามเนื้อ โดยที่ผู้ใช้มักจะมองข้ามไป จนท้ายที่สุดอาจลุกลามเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาได้ยากขึ้น
ภัยเงียบจากคอมพิวเตอร์เรียนรู้ใช้อย่างไรไม่ให้ป่วย เล่มนี้ ผู้เขียนพาเราไปพบกับ โรคทุกชนิดที่มาจากการใช้งานคอมพิวเตอร์ โดยเริ่มจากการหาสาเหตุและที่มาที่ไปของโรคเพื่อให้เกิดความเข้าใจและนำไปสู่การรักษาให้หายขาด โลกยุคคอมพิวเตอร์นำมาสู่โรคที่เกิดจากการใช้งานคอมพิวเตอร์ และอาการที่พบบ่อยที่สุด นั่นคือ อาการปวด ไม่ว่าจะเป็น ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อต่อ ปวดศีรษะ ปวดหลัง และอาการปวดตามที่ต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อเนื่องในระยะยาวได้ อาการปวดเป็นผลมาจากการที่กล้ามเนื้อถูกทำร้ายด้วยการใช้งานหนักเกินกำลังที่กล้ามเนื้อนั้นจะรับได้ หรืออีกกรณีหนึ่ง คือการใช้งานกล้ามเนื้อนานเกินไป ทำให้เกิดความอ่อนล้า อ่อนแรง เพราะฉะนั้นหากรู้สึกว่าเริ่มมีอาการปวดจึงไม่ควรทิ้งไว้เป็นเวลานานหรือทำให้เกิดความเคยชินกับอาการปวดนั้น ต้องหาวิธีป้องกันและรักษา ในเบื้องต้นคือทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ด้วยวิธีการนวด ประคบด้วยความร้อน เปลี่ยนอิริยาบถ หรือใช้ท่าบริหารร่างกาย ตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานยังทำให้ร่างกายเสียสมดุลส่งผลต่อภูมิคุ้มกันที่จะต่ำลงเรื่อยๆ เชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมก็จะเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น นำไปสู่โรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันบกพร่องซึ่งหลายคนอาจไม่เคยรู้ว่าก่อนว่ามีสาเหตุมาจากการใช้งานคอมพิวเตอร์ อาทิเช่น โรคภูมิแพ้ โรคความดัน โรคเครียด และอื่นๆ การรักษาโรคให้หายขาดนั้นทำได้หลายวิธี ทั้งการรักษาที่ปลายเหตุด้วยการพบแพทย์ การรักษาระดับกลางโดยเน้นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อเพื่อปรับโครงสร้างของร่างกายให้เข้าสู่ภาวะปกติ โดยอาศัยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น นักกายภาพบำบัด และสุดท้ายการรักษาที่ต้นเหตุ คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งานให้ถูกต้องตามหลักธรรมชาติ ผู้สนใจสามารถหาอ่านได้ที่หอสมุดแห่งชาติชลบุรี (วันอังคาร – วันเสาร์ เวลา 09.00 - 17.00 น.)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 136/2 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 172/2เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 51/4ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 26 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 58 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 9/7ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 30 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 53.8 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป มีประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวพันกันอย่างลึกซึ้งกับ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี แรกเริ่มเดิมทีสถานที่แห่งนี้เคยเป็นที่ตั้งพระตำหนักของเจ้านายฝ่ายวังหน้า ต่อมาในรัชกาลของพระองค์จึงทรงมีพระราชดำริให้รื้อถอนและก่อสร้างโรงงานผลิตเหรียญขึ้นบนที่ดินแห่งนี้ พระราชทานนามว่า “โรงกษาปณ์สิทธิการ” เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ พระองค์ได้เสด็จฯ มาทรงเปิดและเดินเครื่องจักรเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2445 โรงกษาปณ์แห่งนี้ใช้งานเรื่อยมาจนถึง พ.ศ. 2511 และถูกทิ้งร้างนับแต่นั้นเป็นต้นมา ในวาระครบรอบ 100 ปี การพิพิธภัณฑ์ไทย พ.ศ. 2517 กรมศิลปากรจึงได้เสนอขอใช้อาคารโรงกษาปณ์สิทธิการจากกรมธนารักษ์เพื่อปรับปรุงและจัดตั้งเป็น “หอศิลปแห่งชาติ”
เมื่อโรงกษาปณ์สิทธิการที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ได้ปรับปรุงและเปลี่ยนสถานะเป็นหอศิลป์/พิพิธภัณฑ์ทางด้านศิลปะสมัยใหม่ สถานที่แห่งนี้จึงกลายเป็นแหล่งรวบรวมผลงานศิลปะที่เป็นสมบัติของชาติ ห้องจิตรกรรมในราชสำนักภายในอาคารนิทรรศการถาวรเป็นห้องที่จัดแสดงพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ หนึ่งในนั้นคือพระบรมสาทิสลักษณ์ครึ่งพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เขียนโดย เอ็ดวาร์โด เยลลี (Edoardo Gelli) จิตรกรชาวอิตาเลียน ที่พำนักอยู่ในเมืองฟลอเรนซ์ ภาพเขียนชิ้นนี้มีความงดงาม โดดเด่น และสะท้อนให้เห็นถึงความพยายามในการนำพาสยามให้อยู่รอดในระเบียบโลกแบบใหม่ โดยมีสถาบันกษัตริย์เป็นศูนย์กลางอำนาจของราชอาณาจักร
เอ็ดวาร์โด เยลลี เกิดที่เมืองซาโวนา (Savona) ประเทศอิตาลี เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2395 เริ่มศึกษาการเขียนภาพที่สถาบันศิลปะลุคคา (Accademia di Lucca) ต่อมาได้เป็นลูกศิษย์ของ แอนโตนิโอ ซิเซริ (Antonio Ciseri) ที่เมืองฟลอเรนซ์ เยลลีเริ่มมีชื่อเสียงในด้านการเขียนภาพสีน้ำมัน ได้รับการว่าจ้างให้เขียนพระบรมสาทิสลักษณ์ของจักรพรรดิแห่งออสเตรียและกษัตริย์ยุโรปอีกหลายพระองค์ ต่อมาจึงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานสมาคมศิลปะแห่งเมืองฟลอเรนซ์ (Circols Artistico di Firenze) เยลลีถึงแก่กรรมที่เมืองฟลอเรนซ์ เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2476 ในการเสด็จประพาสยุโรปทั้ง 2 ครั้ง (พ.ศ. 2440 และ พ.ศ. 2450) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จฯ มายังสตูดิโอของเยลลีเพื่อประทับเป็นแบบให้เขียนภาพและเลือกซื้อผลงานของเขา
สำหรับพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป (ภาพที่ 1) เยลลีจัดวางตำแหน่งของพระพักตร์และพระวรกายให้ทำมุมเฉียงเล็กน้อย พระเนตรสงบนิ่ง เยือกเย็น แต่มีชีวิตชีวา มองตรงมายังผู้ชมภาพ พระศอยืดตรง พระอุระกว้าง ผึ่งผาย ดูสง่างาม สัดส่วนของพระเศียรดูเล็กกว่าปกติเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับพระวรกาย นับเป็นเรื่องปกติที่จิตรกรซึ่งช่ำชองในการเขียนภาพเหมือนบุคคลจะปรับเปลี่ยนรายละเอียดบางอย่างเพื่อนำเสนอและส่งเสริมภาพลักษณ์ของบุคคลต้นแบบให้ออกมาสมบูรณ์ตามที่จิตรกรหรือผู้ว่าจ้างต้องการ ในกรณีนี้ เยลลีได้ขับเน้นความสง่างามของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในฐานะพระมหากษัตริย์แห่งสยามผ่านพระบรมสาทิสลักษณ์ได้อย่างสมพระเกียรติ นอกจากนี้ การจัดแสงเงาและการให้สีของวัตถุที่แสงตกกระทบยังช่วยขับองค์ประกอบต่างๆ บนฉลองพระองค์ให้มีความโดดเด่น ชัดเจน และจับสายตาของผู้ชมภาพมากยิ่งขึ้น
ด้านขวาล่างของพระบรมสาทิสลักษณ์ปรากฏข้อความในภาษาอิตาเลียนที่แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า (ภาพที่ 2)
“ให้แก่เพื่อน
วิตตอริโอ เซจโจ้
อี. เยลลี เป็นที่ระลึก”
โดยตัวอักษร E (Edoardo) และ G (Gelli) ใบบรรทัดสุดท้ายเขียนซ้อนกัน ตามด้วยตัวอักษร elli แบบตัวเขียนภาษาอังกฤษ รวมเป็น E. Gelli หรือ Edoardo Gelli ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ในการลงชื่อบนภาพเขียนของเยลลี (ภาพที่ 3) ส่วนวิตตอริโอ เซจโจ้ (Vittorio Zeggio) คนนี้คือ กงสุลกิตติมศักดิ์แห่งราชอาณาจักรสยาม ผู้จัดการเรื่องการเสด็จประพาสอิตาลีของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2450 ขณะที่พระองค์ประทับอยู่ ณ บ้านของเซจโจ้ในเมืองฟลอเรนซ์ เซจโจ้ได้จัดการให้พระองค์ทรงพบปะกับจิตรกรและประติมากรชาวอิตาเลียนที่มีชื่อเสียงในขณะนั้นหลายคน นอกจากนี้ ยังทรงประทับเป็นแบบให้จิตรกรได้เขียนพระบรมสาทิสลักษณ์ระหว่างเสด็จฯ เยือนสตูดิโอด้วยความอดทน
หากพระมหากษัตริย์ทรงเป็นสมมุติเทพ พระบรมสาทิสลักษณ์ก็เป็นดั่งประกาศกของพระองค์ ภาพเหมือนบุคคลมิได้เป็นเพียงภาพแทนตัวหรือสิ่งที่แสดงรสนิยมส่วนพระองค์เท่านั้น แต่ยังเป็นเครื่องมือที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้ในการประกาศและสื่อสารนัยทางสังคมและการเมือง ตลอดรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 - 20 ต้องเผชิญกับการแผ่ขยายของลัทธิจักรวรรดินิยม โดยเฉพาะอังกฤษและฝรั่งเศส การเรียนรู้และปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมตะวันตกจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การแสดงออกให้ชาติตะวันตกเห็นว่าสยามยอมเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของระเบียบโลกแบบใหม่จึงเป็นสิ่งจำเป็น การว่าจ้างศิลปินชาวยุโรปให้เขียนพระบรมสาทิสลักษณ์ ปั้นหล่อพระบรมรูป และสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ ก็เป็นหนึ่งในกลไกที่ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ในฐานะที่ทรงเป็นศูนย์กลางอำนาจและสำนึกร่วมของราษฎรในราชอาณาจักรผ่านงานศิลปกรรม
ในอนาคตอันใกล้นี้ พระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฝีมือ เอ็ดวาร์โด เยลลี จะได้กลับมาจัดแสดง ณ ห้องจิตรกรรมในราชสำนักอีกครั้ง หลังจากที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ดำเนินการปรับปรุงอาคารนิทรรศการถาวรมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2564 หลังจากปิดปรับปรุง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ได้เริ่มอนุรักษ์ผลงานศิลปะที่จัดแสดงภายในอาคารนิทรรศการถาวร พระบรมสาทิสลักษณ์ชิ้นนี้ผ่านการอนุรักษ์อย่างพิถีพิถันโดย คุณขวัญจิต และคุณสุริยะ เลิศศิริ ซึ่งเผยให้เห็นสีสันที่แท้จริงและความงดงามของพระบรมสาทิสลักษณ์ในแบบที่เยลลีต้องการให้ผู้ชมภาพได้เห็น (ภาพที่ 4) หากการปรับปรุงอาคารนิทรรศการถาวรแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้เข้าชม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป จะแจ้งให้ทุกท่านทราบโดยเร็วที่สุด
อ้างอิงจาก
1. หนังสือ “จิตรกรรมและประติมากรรมแบบตะวันตกในราชสำนัก” โดย ศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ โปศยานนท์
2. หนังสือ “ชาวอิตาเลียนในราชสำนักไทย” โดย กระทรวงวัฒนธรรม
เลขวัตถุ
ชื่อวัตถุ
ขนาด (ซม.)
ชนิด
สมัยหรือฝีมือช่าง
ประวัติการได้มา
ภาพวัตถุจัดแสดง
40/2553
(16/2549)
ขวานหินขัด สีน้ำตาลอ่อน ด้านหนึ่งขัดเรียบ อีกด้านหนึ่งมีรอยกะเทาะ
ย.7.2 ก.3.4
หิน
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย อายุราว 2,500-2,000 ปีมาแล้ว
ได้จากบ้านเขาเพิ่ม อำเภอบ้านนา จ.นครนายก เมื่อประมาณ พ.ศ. 2539
เลขทะเบียน : นพ.บ.478/1กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 5 x 57 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 162 (195-204) ผูก 1ก (2566)หัวเรื่อง : มหามูลลนิพาน--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา, 2405-2486. คำแปลปาฐกถา เรื่องคติของฝรั่งเข้ามาเมืองไทยของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ. แพร่: โรงพิมพ์แพร่การช่าง, 2503.
ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ สลักดุนโลหะ ปิดทอง ลงยาสีและประดับคริสตัล กว้าง ๓๐ เซนติเมตร สูง ๖๐ เซนติเมตร กลุ่มงานช่างบุและช่างศิราภรณ์The Royal Emblem on the Auspicious Occasion of the Coronation of King Rama X Gilded and enameledsheet metal with repousse technique and crystal embellishment w.30 cm,h 60 cm Sheet Metal ant Headdress Groupข้อมูล: นิทรรศการเถลิงรัชช์หัตถศิลป์
"ทับหลังสลักภาพนารายณ์บรรทมสินธุ์"
ศิลปะ/อายุ : ศิลปะเขมรในประเทศไทย แบบบาปวน อายุราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๗
แหล่งที่พบ : ศาลสูง (ศาลพระกาฬ) จังหวัดลพบุรี
ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ณ พระที่นั่งพิมานมงกุฎ ชั้น ๒ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์
------------------------------
ทับหลังสลักภาพนารายณ์บรรทมสินธุ์ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ว่าด้วยเรื่องราวของพระวิษณุหรือพระนารายณ์ เทพเจ้าผู้ทำหน้าที่รักษาความสงบสุขของโลก ตามคัมภีร์ในศาสนาฮินดูกล่าวว่า การบรรทมของพระวิษณุเกิดขึ้นเมื่อโลกถูกทำลาย บรรดาเหล่าพรหมและฤษีได้ขอให้พระวิษณุสร้างโลกขึ้นใหม่ พระวิษณุจึงกระทำโยคนิทราระหว่างบรรทมเหนือพระยาอนันตนาคราชกลางเกษียรสมุทร และบังเกิดดอกบัวผุดขึ้นจากพระนาภี (สะดือ) ซึ่งมีพระพรหมประทับอยู่บนนั้น โดยพระพรหมจะทำหน้าที่สร้างโลกและสรรพสิ่งต่าง ๆ ขึ้นอีกครั้ง ภาพเล่าเรื่องตอนนี้นิยมสลักอยู่บนทับหลังหรือหน้าบันของปราสาทเขมร และมักจะอยู่ในตำแหน่งสำคัญของเทวสถาน
.
สำหรับรูปแบบของทับหลังแผ่นนี้ เป็นแผ่นหินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สลักภาพเล่าเรื่องขนาดใหญ่เต็มพื้นที่ โดยสลักรูปพระนารายณ์บรรทมตะแขงซ้ายเหนือพระยาอนันตนาคราช พระกรขวาประคองพระเศียร ส่วนประกรอื่น ๆ สภาพลบเลือนและแตกกะเทาะ จึงไม่เห็นสิ่งที่ถือในพระหัตถ์ ซึ่งปกติจะถือจักร สังข์ และคทา บริเวณพระนาภี (สะดือ) มีก้านดอกบัวผุดออกมา สภาพแตกกะเทาะเช่นกัน หากมีสภาพสมบูรณ์จะมีรูปพระพรหมประทับอยู่เหนือดอกบัว และบริเวณเบื้องพระบาทมีรูปพระชายา คือ พระลักษมี ประทับนั่งประคองพระชงฆ์ (แข้ง) และพระบาท
.
สภาพของทับหลังแผ่นนี้บางส่วนหักหาย ภาพสลักแตกกะเทาะและลบเลือน แต่จากรูปแบบศิลปกรรมสังเกตได้ว่าพระยาอนันตนาคราชยังไม่มีมกรมารองรับเหมือนศิลปะแบบนครวัด และทับหลังแผ่นนี้อาจเทียบได้กับทับหลังสลักภาพนารายณ์บรรทมสินธุ์ที่พบที่ปราสาทสระกำแพงใหญ่ ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ (พ.ศ. ๑๕๔๕-๑๕๙๓) ตรงกับศิลปะเขมรแบบบาปวน สอดคล้องกับจารึกพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ (จารึกศาลสูง) ที่พบร่วมกับทับหลังที่ศาลพระกาฬ
.
อย่างไรก็ตาม ทับหลังแผ่นนี้และจารึกดังกล่าวอาจถูกรวบรวมนำมาเก็บไว้ที่ศาลพระกาฬในภายหลังก็ได้แต่อย่างน้อยหลักฐานนี้แสดงให้เห็นว่าเมืองลพบุรีมีความสำคัญในสมัยบาปวนหรือในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ และแสดงถึงความต่อเนื่องของวัฒนธรรมเขมรในเมืองลพบุรีที่ปรากฏหลักฐานมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๕
------------------------------
อ้างอิง
.
ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ. ศิลปกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมเขมร (พุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘). โครงการพัฒนาการของงานศิลปกรรมเมืองลพบุรีตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 ถึงพุทธศตวรรษที่ 24. นครปฐม : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๕.
.
สมิทธิ ศิริภัทร์ และมยุรี วีรประเสริฐ. ทับหลัง : การศึกษาเปรียบเทียบทับหลังที่พบในประเทศไทยและประเทศกัมพูชา. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๓๓.
.
สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์, หม่อมราชวงศ์. ทับหลังในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๓๑.
.
อรุณศักดิ์ กิ่งมณี. ทิพยนิยายจากปราสาทหิน. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๕๕.
------------------------------
เรียบเรียง : นายกฤษฎา นิลพัฒน์ ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์
เนื่องในวันแม่แห่งชาติ ๑๒ สิงหาคม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ขอนำเสนอองค์ความรู้เรื่อง "ตุ๊กตาดินเผารูป "แม่" (?) และเด็ก "
------------------------------
ในอดีตการสร้างตุ๊กตามักทำเป็นรูปคนหรือสัตว์ สันนิษฐานว่ามีมาแล้วตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และปรากฏหลักฐานชัดเจนในสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖ หรือประมาณ ๑,๐๐๐-๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว ในสมัยนี้นิยมทำตุ๊กตาดินเผาขนาดเล็ก พบอยู่ทั่วไปตามเมืองโบราณหรือแหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดี เช่น เมืองโบราณซับจำปา อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี เมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เมืองโบราณจันเสน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ เป็นต้น โดยตุ๊กตาที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ ตุ๊กตารูปคนจูงลิง แต่มีตุ๊กตาที่น่าสนใจอีกกลุ่มหนึ่ง คือ
.
๑. ตุ๊กตารูปผู้หญิงอุ้มเด็กหรือผู้หญิงให้นมบุตร ลักษณะเป็นรูปผู้หญิงนั่ง ใบหน้ากลม ตาโปน จมูกใหญ่ ปากแบะ แบบพื้นเมือง หน้าอกใหญ่ และรูปร่างอ้วน แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ อยู่ในท่าอุ้มเด็กคล้ายกำลังให้นมบุตร ซึ่งแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์เช่นกัน ตุ๊กตารูปผู้หญิงอุ้มเด็กชิ้นนี้อาจเป็นรูปของแม่กับลูกหรือผู้อุปการะเด็ก หากตุ๊กตาชิ้นนี้ถูกสร้างขึ้นตามความเชื่อท้องถิ่น อาจเทียบได้กับรูปแม่ซื้อในคติความเชื่อของไทย ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนชีวิตและความผาสุกของเด็กทารกเมื่อแรกเกิด นอกจากนี้ บางท่านสันนิษฐานว่าอาจหมายถึงรูปนางหาริตี ซึ่งเป็นยักษิณีทำหน้าที่คุ้มครองเด็กตามคติในพุทธศาสนามหายาน
.
๒. ตุ๊กตารูปผู้หญิงกับเด็กหญิงถือชามหรือเด็กหญิงหลังค่อม ประกอบด้วย รูปผู้หญิงในอิริยาบถยืน ใบหน้ากลม ตาโปน จมูกใหญ่ ปากแบะ แบบพื้นเมือง เกล้าผมเป็นมวยอยู่ที่ท้ายทอย สวมต่างหูกลม นุ่งผ้ายาวกรอมเท้า เหน็บชายผ้าไว้ที่เอว มีชายผ้าพาดเฉียงด้านหน้า แขนขวาแนบลำตัว ไม่สวมเครื่องประดับ แขนซ้ายสวมกำไลจำนวนมาก มือซ้ายมีของถือยกมือขึ้นระดับอก อีกรูปหนึ่งเป็นรูปเด็กผู้หญิงยืนอยู่ขางซ้าย เกล้าผมและนุ่งผ้าแบบเดียวกัน แต่ไม่สวมเครื่องประดับ มือซ้ายยกขึ้นถือภาชนะคล้ายชาม และมีแผ่นหลังนูนคล้ายกับเด็กพิการหลังค่อม บางท่านสันนิษฐานว่าอาจเป็นรูปเด็กกำลังขอทานจากผู้หญิง แต่บางท่านสันนิษฐานว่าอาจเป็นรูปของแม่และเด็ก โดยการปั้นรูปเด็กหลังค่อมอาจใช้เป็นรูปแทนตัวบุคคลหรือตุ๊กตาสะเดาะเคราะห์เพื่อแก้เคล็ดเรื่องโรคภัยที่เกิดกับเด็ก
.
ตุ๊กตาดินเผาสมัยทวารวดีมีรูปแบบหลายหลาย แต่ละชิ้นอาจมีความหมายเฉพาะที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับการตีความของแต่ละท่าน แม้ปัจจุบันจะยังหาข้อสรุปไม่ได้ว่าตุ๊กตาดินเผาเหล่านี้ทำขึ้นเพื่ออะไร และแต่ละชิ้นมีความหมายอย่างไร อาจสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นของเล่นหรือใช้ประกอบพิธีกรรมความเชื่อในระดับท้องถิ่น เพราะตุ๊กตาเหล่านี้ไม่เกี่ยวข้องกับรูปเคารพในศาสนา แต่ปัจจุบันมีข้อสันนิษฐานที่ยอมรับกันทั่วไปว่า น่าจะทำขึ้นเพื่อใช้สำหรับการสะเดาะเคราะห์ หรือบางรูปอาจใช้สำหรับอุทิศถวายให้เป็นข้าทาสแก่ศาสนสถานหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่นเดียวกับวัตถุประสงค์การสร้างตุ๊กตาขนาดเล็กในปัจจุบันที่นอกจากจะใช้เป็นของเล่นแล้ว ยังถูกนำไปไว้ในศาลปู่ตาหรือศาลพระภูมิด้วย โดยตุ๊กตาในศาลเหล่านี้อาจถวายให้เป็นของเล่นของผีบรรพบุรุษ หรือถวายเพื่อเป็นข้าทาสของสิ่งศักดิ์สิทธิ์แทนที่จะใช้มนุษย์จริง ๆ
------------------------------
อ้างอิง
.
ผาสุข อินทราวุธ. ทวารวดี : การศึกษาเชิงวิเคราะห์จากหลักฐานทางโบราณคดี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อักษรสมัย, ๒๕๔๒.
.
เพ็ญพรรณ เต็มสุข. “ตุ๊กตาสมัยต่าง ๆ ที่พบในประเทศไทย.” ศิลปากร ๑๗, ๒ (กรกฎาคม ๒๕๑๖) : ๗๕-๘๔.
.
รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. มรดก ๑,๐๐๐ ปี เก่าที่สุดในสยาม. นนทบุรี : มิวเซียมเพรส, ๒๕๕๖.
.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมพุทธศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๔๗.
.
อนุสรณ์ คุณประกิจ. “การศึกษาคติและรูปแบบประติมากรรมดินเผาขนาดเล็กสมัยทวารวดีที่พบในบริเวณ ภาคกลางของประเทศไทย.” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๓๐.
------------------------------
ตุ๊กตาดินเผา
ศิลปะ/อายุ : ศิลปะทวารวดี อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖
ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ณ พระที่นั่งพิมานมงกุฎ ชั้น ๑ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์
------------------------------
เรียบเรียง : นายกฤษฎา นิลพัฒน์ ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์
#ตุ๊กตาดินเผา
#MuseumInsider
------------------------------
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์
เปิดให้บริการ วันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น.
ปิดให้บริการ วันจันทร์ - วันอังคาร
พระราชพิธีอภิเษกสมรส สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร
ผู้แต่ง : เพลินพิศ กำราญ
ต้นฉบับอยู่ที่ : หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี (ห้องกรมศิลปากร)
โรงพิมพ์ : กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์, กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2521
รูปแบบ : PDF
ภาษา : ไทย
เลขทะเบียน : น. 34 ร 110 46 จบ
เลขหมู่ : 394.4 พ925พ
สาระสังเขป : หนังสือรวบรวมเนื้อหาของพระราชพิธีอภิเษกสมรส สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2520 พร้อมประมวลภาพเหตุการณ์สำคัญของพระราชพิธีอภิเษกสมรส รวบรวมและเรียบเรียงเนื้อหาโดย นางสาวเพลินพิศ กำราญ นักอักษรศาสตร์ 4 งานวัฒนธรรมและจารีตประเพณี กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร
ชื่อเรื่อง วัดพระรูปเมืองสุพรรณ : รวมข้อเขียนว่าด้วย เรื่องเล่า คน ข้าวของ จากพิพิธภัณฑ์วัดสู่แหล่งเรียนรู้ผู้แต่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN 978-616-488-351-2หมวดหมู่ ศาสนาเลขหมู่ 294.31 ว416สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ปีที่พิมพ์ 2565ลักษณะวัสดุ 204 หน้า : ภาพประกอบ ; 21 ซม.หัวเรื่อง พิพิธภัณฑ์ – แหล่งเรียนรู้ รวมเรื่อง – วิจัย สุพรรณบุรีภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก วัดพระรูปเมืองสุพรรณ : รวมข้อเขียนว่าด้วย เรื่องเล่า คน ข้าวของ จากพิพิธภัณฑ์วัดสู่แหล่งเรียนรู้ เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินภารกิจด้านบริการวิชาการเพื่อสังคมของสถาบันไทยคดีศึกษา นำความรู้และประสบการณืจากการทำงานพัฒนาพิพิธภัณฑ์วัดประรูปให้เป็นต้นแบบของพิพิธภัณฑ์วัดและแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต