ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ

   “แห้ว” พืชเศรษฐกิจคู่เมืองสุพรรณ แต่คำว่า แห้ว อาจทำให้บางคนเรียกแทนการอกหักรักคุด   จึงทำให้พืชชนิดนี้เป็นที่ไม่นิยมของคนบางกลุ่มที่ติดกับความเชื่อที่ว่าเป็นชื่อของสิ่งที่มีความหมายไม่ดี ถึงขั้นมีการเรียกคำแทนใหม่ว่า “สมหวัง” แต่ความจริงแล้ว แห้วเป็นพืชที่มีประโยชน์มากมายและรสชาติอร่อย    ผู้เรียบเรียง : นางภควรรณ คุณากรวงศ์  บรรณารักษ์ชำนาญการ #ข้อมูลอ้างอิง “นาแห้วสุพรรณบุรี” [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://www.suphan.biz/waternut.htm. (วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๔) มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร.  “แห้ว” [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.saranukromthai.or.th (วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๔)  ไมตรี ระงับพิศม์.(๒๕๒๖). เศรษฐกิจการผลิตแห้วจีนในจังหวัดสุพรรณบุรี.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) (วท.ม.) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สำนักงานพาณิชย์จังหวัดสุพรรณบุรี.  ข้อมูลการผลิตและการตลาดแห้วจีน จังหวัดสุพรรณบุรี.  สุพรรณบุรี : สำนักงานพาณิชย์ จังหวัดสุพรรณบุรี. ๒๕๓๗. “แห้ว กับประวัติที่คุณไม่เคยรู้มาก่อน พร้อมชวนมากินแห้วที่ไม่แห้วอย่างที่คิด” [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://kaset.today (วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๔)


ชื่อผู้แต่ง              ธีรญาณมุนี , สมเด็จพระ ชื่อเรื่อง                แคน สมเด็จพระธีรญาณมุนี ครั้งที่พิมพ์           พิมพ์ครั้งที่ ๒ สถานที่พิมพ์         กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์           วัชรินทร์การพิมพ์ ปีที่พิมพ์               ๒๕๒๐ จำนวนหน้า           ๑๑๘  หน้า หมายเหตุ             จัดพิมพ์ในงานบำเพ็ญกุศลอายุครบ ๘๐ ปี สมเด็จพระธีรญาณมุนี ปุณณกมหาเถร                               เมื่อกล่าวถึงเครื่องเป่าชนิดหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า แคน ว่าเป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งอันเป็นสัญลักษณ์ของคนไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เสียงเป่าแคนใครๆก็เคยฟัง ว่าเป็นเสียงนิ่มนวลฟังไพเราะเย็นใจไม่เป็นเสียงโฉ่งฉ่างตึงตังเหมือนดังเครื่องดนตรีอื่นลางชนิด เพียงแต่ทราบเท่านี้ก็นเป็นความรู้ว่าแคนคืออะไร ผู้ที่สนใจต่อเพื่อเป็นความรู้และเข้าใจต่อไปว่าแคนนั้นเขาทำกันอย่างไร ทำกันที่ไหน ทำไมจึงเป็นเครื่องดนตรีที่นิยมกันทั่วไปในภาคนั้น และมีเรื่องราวตำนานกันมาแต่เมื่อไหร่


ชื่อเรื่อง : การปกครองของไทย ชื่อผู้แต่ง : -ปีที่พิมพ์ : 2514 สถานที่พิมพ์ : พระนครสำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี จำนวนหน้า : 368 หน้า สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปกครองของประเทศไทย เริ่มจาก บทความทั่วไป การปกครองสมันโบราณจนถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ การปกครองตามระบอบประชาธิปไตย สถาบันการปกครองในระบอบประชาธิปไตย พรรคการเมืองกับการเลือกตั้ง การบริหารราชการแผ่นดิน และการปกครองท้องถิ่น


ชื่อเรื่อง                     เปิดประตูเมืองนนทบุรีผู้แต่ง                       -ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                   ภูมิศาสตร์และการท่องเที่ยวเลขหมู่                      915.9312 ป759สถานที่พิมพ์               ม.ป.ท.     สำนักพิมพ์                 ม.ป.พ.ปีที่พิมพ์                    ม.ป.ป.ลักษณะวัสดุ               60 หน้า : ภาพประกอบ ; 29 ซม.หัวเรื่อง                     นนทบุรี—การเมืองการปกครอง                              นนทบุรี—ความเป็นอยู่และประเพณี                              นนทบุรี—ภูมิประเทศและการท่องเที่ยวภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก          หนังสือเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจได้รับประโยชน์และรู้จักเมืองนนท์ เมืองประวัติศาสตร์ของชาติ และเมืองนนท์ยังเป็นเมืองที่มีทัศนียภาพร่มรื่น ชวนสัมผัส ผลไม้พืชผักมีรสชาติชวนรับประทาน ยังมีศิลปวัฒนธรรมประเพณีและหัตถกรรมพื้นบ้านที่มีคุณค่า




แนะนำหนังสือน่าอ่าน เรื่อง พระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระปิยมหาราชินีกับเมืองจันทบุรี พระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระปิยมหาราชินีกับเมืองจันทบุรี. กรุงเทพฯ: ศิลป์สยามบรรจุภัณฑ์การพิมพ์ , 2550. 175 หน้า. ภาพประกอบ. หนังสือเล่มนี้ได้กล่าวถึงพระราชประวัติของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์พระบรมราชเทวี กับจังหวัดจันทบุรี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเรื่องราวการเสด็จประพาสเมืองจันทบุรีเมื่อจุลศักราช ๑๒๓๘ ความเป็นมาของอนุสรณ์สถานแห่งรักอมตะ ณ น้ำตกพลิ้ว จังหวัดจันทบุรี และที่สำคัญคือสำเนาพระราชหัตเลขาระยะทางเสด็จประพาสจันทบุรี ที่แสดงให้เห็นถึงพระมหากรุณาธิคุณสุดคณานับที่พระองค์ทรงมีต่อชาวจันทบุรี ท 923.1593 พ341 (ห้องจันทบุรี)


  “มโหระทึก” เป็นเครื่องประโคมตระกูลฆ้อง-ระฆัง ทำจากโลหะผสมระหว่างทองแดง ดีบุกและตะกั่ว บ้างเรียก “กลองทอง(แดง)” “ฆ้องบั้ง” หรือ “ฆ้องกบ” พบได้ตั้งแต่เหนือสุดทางมณฑลยูนนาน (ประเทศจีน) ถึงบริเวณหมู่เกาะประเทศอินโดนีเซีย เป็นเครื่องมือโลหะที่คนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ใช้ตีในพิธีกรรมสำคัญ ถือเป็นวัฒนธรรมที่มีร่วมกันของคนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยพบมากทางตอนเหนือของประเทศเวียดนามบริเวณแหล่งโบราณคดีดองซอน จังหวัดธานหัว ซึ่งนักวิชาการสันนิษฐานว่าได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและรูปแบบจากจีนสมัยราชวงศ์จิวและราชวงศ์ฮั่นเมื่อกว่า ๒,๗๐๐ ปีมาแล้ว       ส่วนการหล่อมโหระทึกแต่ละใบ จำเป็นต้องใช้วัตถุดิบจำนวนมาก เช่น ไม้ไผ่ ดินเหนียว แกลบ ขี้วัว ขี้ผึ้ง สายชนวน แร่โลหะ รวมถึงเทคโนโลยีที่ซับซ้อน ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการขึ้นรูป ทำแม่พิมพ์ขี้ผึ้ง การใช้ไฟหรือการควบคุมความร้อนที่เหมาะสม ลายที่ปรากฏบนมโหระทึกส่วนใหญ่เป็นลวดลายเรขาคณิต ภาพเล่าเรื่องวิถีชีวิตของคนยุคนั้น ซึ่งลายหนึ่งที่ทุกท่านน่าจะคุ้นตา คือ ลายแฉก สันนิษฐานได้ว่าคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์อาจมีความเชื่อเรื่องการนับถือดวงอาทิตย์เป็นดั่งพระเจ้า ทั้งนี้ คติการบูชาดวงอาทิตย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์น่าจะมีความเชื่อสืบมาถึง “วัฒนธรรมทวารวดี” ผสมผสานกับความเชื่อจากอินเดีย จนปรากฏรูปดวงอาทิตย์บนเหรียญกษาปณ์ ซึ่งในนิทรรศการพิเศษได้จัดแสดงต่อเนื่องกับมโหระทึก เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยปัจจุบันมีการค้นพบมโหระทึกสมัยก่อนประวัติศาสตร์ทั่วทุกภูมิภาคของไทยแล้ว จำนวนมากกว่า ๔๐ ใบ นอกจากนี้ “มโหระทึก” ยังคงถูกใช้ในพระราชพิธีสำคัญของราชสำนักสืบมาจนปัจจุบัน         ภาพมโหระทึก คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ “อารยธรรมวิวัฒน์ ลพบุรีศรีรามเทพนคร” พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร      เทคนิคภาพโดย อริย์ธัช นกงาม ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ เผยแพร่โดย ศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร


เรื่อง "ปัญจรูป"การผลิตสื่อเพื่อสื่อความหมายทางวัฒนธรรมครั้งที่ ๑จัดทำโดย  นางสาวธิติพร สายฝั้นนิสิตฝึกงาน ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา


ชื่อเรื่อง                     เรื่องเล่นสาดน้ำวันสงกรานต์ และเทศกาลลอยกระทงผู้แต่ง                       เสฐียร  โกเศศประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ขนมธรรมเนียม ประเพณี คติชนวิทยา เลขหมู่                      394.2 ส893รชสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์พระจันทร์ปีที่พิมพ์                    2508ลักษณะวัสดุ               82 หน้าหัวเรื่อง                     สงกรานต์                              ลอยกระทงภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกเรื่องเล่นสาดน้ำวันสงกรานต์กล่าวถึงการเข้าฤดูร้อนวันสงกรานต์ และเทศกาลลอยกระทงกล่าวถึงประเพณีลอยกระทงในพื้นที่ต่างๆ ประเทศต่างๆ


          วันนี้ (วันศุกร์ที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๕) เวลา ๑๐.๐๐ น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในการแถลงข่าวโครงการอนุรักษ์เอกสารโบราณวัดไก่เตี้ย กิจกรรมกรมศิลป์ร่วมมือคณะสงฆ์ร่วมใจ อนุรักษ์ สืบสาน อ่านแปล ใบลาน โดยมีภาคีเครือข่ายอนุรักษ์เอกสารโบราณเข้าร่วมงาน ณ วัดไก่เตี้ย เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร            กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้ดำเนินโครงการสำรวจเอกสารโบราณมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๑๘ จนถึงปัจจุบัน โดยได้ดำเนินการอนุรักษ์เอกสารโบราณทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมทั้งสร้างเครือข่ายจิตอาสาปฏิบัติงานอนุรักษ์เอกสารโบราณกับชุมชนในการพัฒนาเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัดซึ่งเป็นแหล่งเอกสารโบราณที่สำคัญ และพระสังฆาธิการ ซึ่งล้วนมีส่วนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการดูแลมรดกภูมิปัญญาให้สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นโครงการอนุรักษ์เอกสารโบราณวัดไก่เตี้ย ได้ดำเนินการสำรวจ อนุรักษ์ ลงทะเบียน และจัดเก็บ           เอกสารโบราณต่าง ๆ ในวัดให้เป็นระบบ รวมทั้งสร้างเครือข่ายภาคีอนุรักษ์เอกสารโบราณระหว่างกรมศิลปากรกับคณะสงฆ์ และชุมชน ได้มีส่วนร่วมและสร้างการรับรู้อย่างทั่วถึง นำข้อมูลองค์ความรู้ในเอกสารโบราณอันเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนมาเผยแพร่และพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ต่อไป โดยกิจกรรมในโครงการฯ ได้แก่ “กิจกรรมสำรวจ อนุรักษ์ ลงทะเบียน และจัดเก็บเอกสารโบราณ” และ “กิจกรรมกรมศิลป์ร่วมมือคณะสงฆ์ร่วมใจ อนุรักษ์ สืบสาน อ่านแปล ใบลาน” เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ถึง ๑ สิงหาคม ๒๕๖๕ ประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง ได้รับข้อมูลองค์ความรู้ใหม่และสร้างการรับรู้ เกิดภาคีเครือข่ายการทำงานระหว่างองค์กร ดังนี้           ๑. ดำเนินการสำรวจ อนุรักษ์ ลงทะเบียน และห่อ มัด จัดเก็บคัมภีร์ใบลานวัดไก่เตี้ย อักษรขอม อักษรไทย ภาษาบาลี ภาษาบาลี-ไทย และภาษาไทย จำนวน ๔๑ มัด ๑๒๖ เลขที่ รวมทั้งสิ้น จำนวน ๖๕๓ ผูก (รายการ)           ๒. สำรวจพบคัมภีร์ใบลานสมัยอยุธยาและสมัยรัตนโกสินทร์ ที่ระบุปีที่สร้างอย่างน้อย ๓ คัมภีร์  ดังนี้                ๒.๑ คัมภีร์ใบลาน เลขที่ วกต.๒๗/ค/๑ เรื่อง วิธูรชาดก สร้างขึ้นในปี พ.ศ.๒๑๖๓ สมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม อักษรขอม ภาษาบาลี ฉบับล่องชาดข้างลาย ปัจจุบันอายุ ๔๐๒ ปี                ๒.๒ คัมภีร์ใบลาน เลขที่ วกต.๔๗/๑ เรื่อง กุสลวินิจฺฉยกถา สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๒๓๒ สมัยสมเด็จพระเพทราชา อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย ฉบับทองทึบ ปัจจุบันอายุ ๓๓๓ ปี                ๒.๓ คัมภีร์ใบลาน เลขที่ วกต.๙๗/๑ เรื่อง ภิกฺขุปาติโมกฺข สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๓๔๓ สมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช อักษรขอม ภาษาบาลี ฉบับล่องชาด ปัจจุบันอายุ ๒๒๒ ปี           ๓. จัดทำบัญชีทะเบียนคัมภีร์ใบลานวัดไก่เตี้ย เพื่อเป็นเอกสารอ้างอิงทางวิชาการ พร้อมคำชี้แจงการดำเนินการโครงการอนุรักษ์เอกสารโบราณวัดไก่เตี้ย            ๔. สร้างการรับรู้แก่ประชาชนให้มีส่วนร่วมและตระหนักรู้คุณค่าและความสำคัญของเอกสารโบราณ โดยบูรณาการภาคีเครือข่ายระหว่างกรมศิลปากรและคณะสงฆ์จากวัดต่าง ๆ ในเขตใกล้เคียงวัดไก่เตี้ย ร่วมกิจกรรมกรมศิลป์ร่วมมือคณะสงฆ์ร่วมใจ อนุรักษ์ สืบสาน อ่านแปล ใบลาน จำนวน ๕ รูป รวมทั้งภาคประชาชน สมาชิกชุมชนวัดไก่เตี้ย ร่วมทำกิจกรรมเครือข่ายจิตอาสาปฏิบัติงานคัมภีร์ใบลาน จำนวน ๒๐ คน รวมภาคีเครือข่ายอนุรักษ์เอกสารโบราณ ทั้งสิ้น ๒๕ รูป/คน            เอกสารโบราณบันทึกสรรพวิชาการต่าง ๆ ในอดีตไว้เป็นจำนวนมาก จึงเป็นหลักฐานทางวิชาการที่สำคัญอย่างยิ่ง นับว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าที่จะต่อยอดต้นทุนทางปัญญาในการศึกษาอันเป็นพื้นฐานในการพัฒนาประเทศอย่างมั่งคั่งยั่งยืน การดำเนินโครงการดังกล่าวสอดรับนโยบายกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ในการธำรงรักษาศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกรมศิลปากรกับคณะสงฆ์      ในการดูแลสมบัติล้ำค่าเหล่านั้นให้คงอยู่และเป็นประโยชน์ โดยคณะสงฆ์มีส่วนร่วมในการคัดถ่ายถอด อ่าน แปล และเผยแพร่ในรูปแบบที่คนทั่วไปสามารถเข้าใจนำไปปฏิบัติได้ เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับวัดอื่น ๆ ควรค่าแก่การ   ยกย่องเป็นวัดต้นแบบในการอนุรักษ์เอกสารโบราณและเชิดชูเกียรติเพื่อเป็นการส่งเสริมเครือข่ายภาคีอนุรักษ์เอกสารโบราณต่อไป 


บุณยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ และเรไร นัยวัฒน์.  ทุ่งตึกเมืองท่าการค้าโบราณ.  ภูเก็ต : สำนักศิลปากรที่ 15 ภูเก็ต กรมศิลปากร, 2550.          ทุ่งตึกเป็นเมืองท่าการค้าที่อยู่ในเส้นทางขนถ่ายสินค้าข้ามคาบสมุทรไปมาระหว่างฝั่งทะเลอันดามันกับฝั่งทะเลอ่าวไทย เป็นเส้นทางข้ามคาบสมุทรตะกั่วป่า-อ่าวบ้านดอน ที่เจริญรุ่งเรืองในสมัยศรีวิชัย ซึ่งเมืองท่าหรือสถานีการค้าแห่งนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางการค้าทางทะเลของโลกที่เรียกว่า "เส้นทางสายไหมทางทะเล" เนื่องจากได้เชื่อมโยงการค้าจากยุโรปตะวันตก ผ่านทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลแดง ไปยังอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจีนตอนใต้ หนังสือทุ่งตึกเมืองท่าการค้าโบราณ นี้ จึงแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของดินแดนภาคใต้ โดยเฉพาะระบบการค้าในสมัยศรีวิชัยที่มีแหล่งโบราณคดีทุ่งตึกเป็นสื่อสะท้อนเห็นภาพความเคลื่อนไหวของผู้คน และแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ในการติดต่อของผู้คนไปยังดินแดนที่เป็นแหล่งอารยธรรมสำคัญๆ ของโลกในอดีตได้อย่างหลากหลาย


          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง จัดนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย ประจำปี ๒๕๖๕ เรื่อง “ชวนอ่านเรื่องเมืองถลาง” หลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ของเมืองถลางในช่วงกรุงธนบุรีถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เปิดให้เข้าชมตั้งแต่เดือนกันยายน ๒๕๖๕ เป็นต้นไป          นิทรรศการนี้จัดแสดงเนื้อหาเกี่ยวกับการค้าของเมืองถลาง และสำเนาจดหมายการติดต่อกันระหว่างเจ้าเมืองและขุนนางเมืองถลางและเมืองใกล้เคียง กับพระยาราชกปิตันผู้สำเร็จราชการเกาะปีนัง หรือกัปตันฟรานซิสไล้ท์ กัปตันเรือสังกัดบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ ที่มีบทบาทสำคัญต่อการค้าในพื้นที่ทะเลอันดามัน และเป็นผู้บุกเบิกการตั้งอาณานิคมบนเกาะปีนัง ในช่วงกรุงธนบุรีถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ จดหมายได้รับการรวบรวมโดยนายวิลเลียม มาร์สเดน (William Marsden) ผู้เชี่ยวชาญด้านตะวันออก และได้ถูกส่งให้วิทยาลัยบูรพคดีศึกษาและการศึกษาแอฟริกา (SOAS) มหาวิทยาลัยลอนดอน ใน ค.ศ.๑๙๑๖           ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าชมนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “ชวนอ่านเรื่องเมืองถลาง” ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง จังหวัดภูเก็ต เปิดทุกวันพุธ - อาทิตย์ ปิดวันจันทร์ - อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๗๖๓๗ ๙๘๙๕


          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ขอเชิญชมนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๕ เรื่อง  “จารึกศาลสูง : บันทึก ๑,๐๐๐ ปี เมืองลพบุรี"  ณ หมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี ตั้งแต่วันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๖๕ – ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๕            “จารึกศาลสูง : บันทึก ๑,๐๐๐ ปี เมืองลพบุรี” นิทรรศการพิเศษในวาระครบรอบ ๑,๐๐๐ ปี ศักราชที่บันทึกเรื่องราวไว้บนจารึกศาลสูง ซึ่งถือเป็นจารึกหลักสำคัญที่พบ ณ ศาลสูง หรือ ศาลพระกาฬ โบราณสถานคู่บ้านของชาวลพบุรี  โดยจารึกมีเนื้อความที่สะท้อนภาพวิถีชีวิตและความเชื่อของผู้คนเมื่อ ๑,๐๐๐ ปีที่แล้ว พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ จึงจัดนิทรรศการพิเศษเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านภาษาศาสตร์ ประวัติ และโบราณคดีให้กับผู้ที่สนใจได้รับรู้และตระหนักถึงมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าของเมืองลพบุรี             ปัจจุบันจารึกศาลสูงหลักนี้จัดแสดงอยู่ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  ในโอกาสพิเศษครั้งนี้จึงได้ทำการจำลองจารึกศาลสูงขนาดเท่าจริง โดยใช้เทคโนโลยีการสแกนแบบ ๓ มิติ และพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ ๓ มิติ  โดยได้รับความร่วมมือจากศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรม กรมศิลปากร ในการดำเนินการจำลองจารึกศาลสูง เพื่อนำมาจัดแสดงในนิทรรศการ            นอกจากองค์ความรู้เกี่ยวกับจารึกศาลสูงในด้านต่าง ๆ แล้ว ยังมีกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวและผู้สนใจได้ทดลองทำสำเนาจารึกศาลสูงอีกด้วย ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถติดตามกำหนดการของกิจกรรมได้ทางเพจเฟสบุ๊ก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ : King Narai National Museumศาสตร์            สำหรับผู้ที่สนใจกิจกรรมการเสวนาวิชาการ เรื่อง “จารึกศาลสูง : บันทึก ๑,๐๐๐ ปี เมืองลพบุรี” ซึ่งได้จัดขึ้นไปแล้วเมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๖๕ สามารถรับชมย้อนหลังได้ตามที่ลิงก์ :  https://fb.watch/f_eoSIiKMN/


          กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “เล่าขานตำนานวังหน้า : จากอดีตสู่ปัจจุบัน” วิทยากรโดย นางสาวเด่นดาว ศิลปานนท์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และนายยุทธนาวรากร แสงอร่าม ภัณฑารักษ์ชำนาญการ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ดำเนินรายการโดย นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๓ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๖๕ ตั้งแต่เวลา ๑๐.๐๐ – ๑๐.๔๕ น.            ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร และชมย้อนหลังได้ทาง Youtube Live : กรมศิลปากร


ชื่อเรื่อง                               สุตฺตสงฅหอฏธกถา(สุตฺตสงฺตห) สพ.บ.                                 อย.บ.8/8ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           54 หน้า กว้าง 5.5 ซม. ยาว 54 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทสวด                                           พระวินัย                                            คำสอน บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน ภาษามอญ เส้นจาร ฉบับทองทึบ ลานดิบ  ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก วัดประดู่ทรงธรรม จ.พระนครศรีอยุธยา


Messenger