ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ
วันพุธที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๗ เวลา ๐๗.๐๐ น.นายขจร มุกมีค่า ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมาและหัวหน้ากลุ่ม/ฝ่าย สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมาเข้าร่วมกิจกรรมเสวนาสภากาแฟรับรุ่งอรุณ ประจำเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๗พร้อมกล่าวแนะนำตัวเนื่องจากเข้ารับตำแหน่งใหม่ณ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
จากการเข้ามาของพ่อค้าและนักบวชชาวอินเดียในดินแดนสุวรรณภูมิและภาคใต้ของไทยส่งผลให้ลัทธิความเชื่อของชาวอินเดียได้เข้ามาเผยแผ่และปรากฏหลักฐานในหลายพื้นที่ โดยหลักฐานศาสนาพราหมณ์-ฮินดูไวษณพนิกายน่าจะเข้าสู่ภาคใต้ตั้งแต่ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๐ และรุ่งเรื่องอยู่บนคาบสมุทรภาคใต้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓ โดยหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๓ไปแล้วไวษณพนิกายเริ่มเสื่อมลงและหมดความนิยมไปหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๖ สำหรับไศวนิกายน่าจะเข้าสู่คาบสมุทรภาคใต้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๐-๑๑ โดยอาจแบ่ง ๒ ระลอก คือ ระลอกแรกจากอินเดียภาคเหนือในสมัยราชวงศ์คุปตะ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๓ นิยมสร้างประติมากรรมรูปศิวลึงค์แทนองค์พระศิวะ ส่วนระลอกที่ ๒ มาจากอินเดียภาคใต้ในสมัยราชวงศ์โจฬะ ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๖ แต่ผ่านมาทางชวาภาคกลาง และนิยมสร้างรูปพระศิวะมากกว่าการสร้างศิวลึงค์ ฝั่งทะเลตะวันออก (อ่าวไทย) พบหลักฐานศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ทั้งไวณพนิกายและไศวนิกาย ดังนี้ - ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๐-๑๑ พบพระวิษณุที่แหล่งโบราณคดีวัดศาลาทึง จ.สุราษฏร์ธานี และพบศิวลึงค์ที่โบสถ์พราหมณ์ จ.นครศรีธรรมราช เป็นต้น - พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓ พบศิวลึงค์ที่แหล่งโบราณคดีท่าศาลา-สิชล จ.นครศรีธรรมราช และที่แหล่งโบราณคดียะรัง จ.ปัตตานี พบเอกมุขลึงค์ที่แหล่งโบราณคดีท่าชนะ จ.สุราษฏร์ธานี พบพระวิษณุที่แหล่งโบราณคดีเขาศรีวิชัย จ.สุราษฏร์ธานี พระวิษณุที่แหล่งโบราณคดีเวียงสระ จ.สุราษฏร์ธานี รวมทั้งพบพระคเณศซึ่งอาจได้รับการบูชาในลัทธิคาณปัตยะควบคู่กันด้วย - พุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๖ พบพระศิวมหาเทพ และพระอคัสตยะ ที่แหล่งโบราณคดีใน จ.สงขลา พบพระวฏุกไภรวะ และพระวิษณุ ที่แหล่งโบราณคดีเวียงสระ จ.สุราษฏร์ธานี โดยประติมากรรมพระวิษณุเริ่มพบเบาบางลงและหมดความนิยมลงไป สำหรับพระคเณศนั้นยังพบต่อเนื่องเรื่อยมา และเป็นที่น่าสังเกตว่าพื้นที่ฝั่งทะเลตะวันออก (อ่าวไทย) มีการพบประติมากรรมพระสุริยะใน จ.สุราษฏร์ธานีอีกด้วย สำหรับฝั่งทะเลตะวันตก (อันดามัน) พบหลักฐานทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่มีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖ ทั้งลัทธิไวษณพนิกาย ไศวนิกาย และอาจรวมถึงลัทธิคาณปัตยะด้วยเช่นกัน หลักฐานเหล่านี้พบกระจายอยู่ในชุมชนโบราณตะกั่วป่า จ.พังงา ที่แหล่งโบราณคดีเขาพระเหนอ ต.บางนายสี อ.ตะกั่วป่า แหล่งโบราณคดีเหมืองทอง-เกาะคอเขา (ทุ่งตึก) ต.เกาะคอเขา อ.ตะกั่วป่า และแหล่งโบราณเขาพระนารายณ์ (เขาเวียง) ต.เหล อ.กะปง หลักฐานที่พบมากที่สุดคือ ประติมากรรมพระวิษณุ รวมทั้งพบหลักฐานอื่นๆ ที่อาจเกี่ยวข้องกับกลุ่มคนและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เช่น จารึกเขาพระนารายณ์ (จารึกหลักที่ ๒๖) และเหรียญโบราณที่มีจารึกชื่อเทพในศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู เป็นต้น ------------------------------------------------ค้นคว้า/เรียบเรียงข้อมูล : น.ส.สุขกมล วงศ์สวรรค์ ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ ------------------------------------------------อ้างอิง :- ผาสุข อินทราวุธ, รูปเคารพในศาสนาฮินดู (นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์, ๒๕๒๒ - รองศาตราจารย์ ดร.ผาสุข อินทราวุธ, “ความสัมพันธ์ทางด้านศาสนาและความเชื่อของเมืองสงขลากับหัวเมืองต่างๆ และดินแดนภายนอก, การสัมมนาทางวิชาการเรื่องสงขลาศึกษา : ประวัติศาสตร์และโบราณคดีเมืองสงขลา ๒๗-๒๙ สิงหาคม ๒๕๓๔ ณ สถาบันทักษิณคดีศึกษา จังหวังขลา .สงขลา : สถาบันทักษิณศึกษา, ๒๕๓๕.
วัดป่าไผ่ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๔ ตำบลคลองตาคต อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
ประวัติ เป็นชุมชนชาวมอญที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ต่อมามีการขยายตัวของชุมชน ทำให้วัดที่สร้างขึ้นในระยะแรก คือ วัดคงคาราม ไม่เพียงพอกับประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและไม่สะดวกสำหรับชาวรามัญที่อยู่ในท้องถิ่นห่างไกลออกไปจึงได้ร่วมกันสร้างวัดขึ้นตามหมู่บ้านใหญ่ๆ ภายใต้ความช่วยเหลือของพระครูรามัญญาธิบดี เจ้าอาวาสวัดคงคาราม
วัดป่าไผ่ เป็นวัดมอญในรุ่นที่ ๓ สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ เป็นวัดสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ขึ้นตรงกับวัดคงคาราม ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำแม่กลอง
สิ่งสำคัญภายในวัดป่าไผ่ มีดังนี้
หอไตร
หอไตร อาคารไม้มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบอาคารเรือนยอดทรงปราสาท หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ซ้อนกันเป็นชั้นๆจำนวน ๕ ชั้น มีชายคาปีกนกคลุมโดยรอบทั้งสี่ด้าน โดยมีเสานางเรียงรองรับชายคาด้านละ ๓ เสา การประดับตกแต่งหลังคาในแต่ละชั้นบริเวณมุมสันตะเข้จะประดับด้วยประติมากรรมปูนปั้นขนาดเล็กโดย ชั้นแรกที่อยู่ด้านล่างสุดตกแต่งด้วยปูนปั้นรูปพญานาค ชั้นที่สองประดับด้วยปูนปั้นรูปครุฑ ชั้นที่สามประดับด้วยปูนปั้นรูปยักษ์ ชั้นที่สี่ประดับด้วยรูปเทวดาซ้อนกัน ๒ องค์ และชั้นที่ห้าประดับด้วยรูปเทวดาซ้อนกัน ๓ องค์ ส่วนยอดบนสุดเป็นไม้แกะสลัก รูปคล้ายเจดีย์สี่เหลี่ยมจำลองขนาดเล็ก และชายคาในแต่ละชั้น มีการตกแต่งด้วยไม้ฉลุลายอย่างงดงาม
ภาพจิตรกรรมบนเพดานไม้
ในส่วนตัวอาคารของหอไตรนั้นเดิมยกพื้นสูงและมีชั้นบนอีก ๒ ชั้น ปัจจุบันได้มีการต่อเติม ชั้นล่างสุดซึ่งเดิมเป็นยกพื้น โดยการก่ออิฐกำแพงเป็นห้องสำหรับเก็บข้าวของเครื่องใช้ของวัด ส่วนชั้นบนนั้นเป็นห้องโถงโล่ง มีฝาไม้กั้นเพียงครึ่งเดียวทั้งสามด้าน อีกด้านหนึ่งเปิดออกเชื่อมกับกุฏิสงฆ์ที่สร้างขึ้นใหม่ ชั้นที่สองยกขึ้นเป็นห้องสำหรับเก็บพระไตรปิฏก ตั้งอยู่ในส่วนกลางของชั้นแรก มีบันไดนาคขึ้นทางด้านทิศตะวันตกผนังของชั้นที่สองเป็นฝาไม้ทึบทาสีขาว มีประตูทางเข้า ๑ ประตูเชื่อมต่อกับบันไดนาค ที่ผนังด้านข้างประตูตอนบนมีภาพจิตรกรรมพุทธประวัติตอนมหาปรินิพพาน ผนังทางด้านเหนือมีช่องหน้า ต่าง ๑ บาน บานประตูเขียนภาพเซี่ยวกางด้านนอกและทวารบาลด้านใน บานหน้าต่างด้านในเขียนภาพทวารบาล ผนังไม้ด้านในเรียบ หัวเสามีลวดลายตกแต่ง บนเพดานไม้เขียนภาพจิตรกรรมเป็นภาพ “ยันตรีนิสิงเห” ซึ่งเป็นยันต์ที่ใช้ปกป้องบ้านเรือนจากภูตผีและสิ่งชั่วร้ายต่างๆ โดยแบ่งภาพออกเป็นกรอบสี่เหลี่ยมและสามเหลี่ยมเล็กๆ ภายในกรอบจะมีภาพปราสาทและเทพต่างๆ สถิตอยู่ ภาพจิตรกรรมเหล่านี้มีอิทธิพลของศิลปะมอญหรือพม่าปรากฏอยู่ตามเครื่องแต่งกายของรูปบุคคล
ลักษณะรูปแบบสถาปัตยกรรมของหอไตรวัดป่าไผ่นี้ มีรูปแบบคล้ายคลึงกับสถาปัตยกรรมทางภาคเหนือ ซึ่งได้รับอิทธิพลของสถาปัตยกรรมแบบพม่าผสมผสานกับสถาปัตยกรรมล้านนา นับว่าเป็นหอไตรแห่งแรกที่พบในบริเวณลุ่มน้ำแม่กลองที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะซึ่งช่างชาวรามัญได้สร้างขึ้น
อุโบสถ
อุโบสถ ปัจจุบันได้รับการซ่อมแซมใหม่ แต่ยังสามารถศึกษารูปแบบศิลปะของอุโบสถหลังเดิมได้ ลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องลดชั้น ๓ ชั้น ด้านหน้าและด้านหลังมีมุขลดด้านละ ๑ ห้อง มีเสาปูนสี่เหลี่ยมรองรับโครงหลังคา คันทวยเป็นรูปหงส์ทาสี ผนังก่ออิฐถือปูนด้านหน้ามีประตูทางเข้า ๒ ประตู ซุ้มประตูปูนปั้นเหนือซุ้มประตูมีลวดลายปูนปั้นของหน้าบันอุโบสถหลังเก่า เป็นรูปต้นดอกไม้อยู่ในกระถางประดับด้วยเครื่องถ้วยลายครามและเครื่องถ้วยเบญจรงค์ ผนังด้านหลังมีประตูทางเข้า ๒ ประตู เหนือซุ้มประตูมีลวดลายปูนปั้นรูปดอกไม้อยู่ในกระถางและรูปนกกระยางประดับด้วยเครื่องถ้วยเบญจรงค์อยู่ภายในกรอบสามเหลี่ยม ซึ่งเป็นหน้าบันของอุโบสถหลังเดิมสร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ ๔-๕ ต่อมามีการซ่อมแซมส่วนหลังคาใหม่แต่ยังคงลวดลายของเดิมไว้ วิหาร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กซึ่งสร้างอยู่บนฐาน (วิหาร) สมัยอยุธยา ภายในวิหาร ประดิษฐาน พระประธาน ปูนปั้นขนาดเล็กประทับนั่ง ขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ห่มจีวรเฉียงแนบลำตัว พระพักตร์แบบท้องถิ่น พระขนงโก่ง พระเกศาเป็นขมวดขนาดเล็ก พระรัศมีเป็นแท่งยาวรูปสามเหลี่ยมเรียวขึ้นด้านบน ด้านหน้ามีอักษร “นะ” ศิลปะรัตนโกสินทร์ตอนต้น
พระประธานในวิหาร
ด้านหน้าของฐานพระประธาน มีพระพุทธรูปสำริด ลักษณะพระวรกายอวบอ้วนขมวดพระเกศาเป็นปม พระรัศมีเป็นเปลว พระพักตร์อิ่มเอิบ ครองจีวรห่มเฉียงเป็นลายดอกพิกุล แสดงปางสมาธิ และแสดงปางมารวิชัย อย่างละ ๑ องค์ ศิลปะรัตนโกสินทร์ ( รัชกาลที่ ๓ )
เรียบเรียง : นางจิรนันท์ คอนเซพซิออน
นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๑ ราชบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.147/12ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 48 หน้า ; 4 x 51 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 90 (377-391) ผูก 12 (2564)หัวเรื่อง : ธมฺมปปทวณฺณนา ธมฺมปทฎกถา ขุทฺทกนิกายฎฐกถา (ธรรมบท)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.127/1กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 22 หน้า ; 4.5 x 50.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 73 (257-266) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : อานิสงส์ 8 หมื่นสี่พันขันธ์ (ฉลอง 8 หมื่น)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.16/1-5
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)