ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,346 รายการ
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 51/3ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 20 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 58 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
"ลัดเลาะสำรวจเตาเผาภาชนะในวัฒนธรรมเขมรโบราณ ย่านอำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์"
จากการสำรวจแหล่งเตาเผาภาชนะ ในวัฒนธรรมเขมรโบราณ พื้นที่ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า แหล่งโบราณคดี ประเภท เตาเผาโบราณ จะมีลักษณะภูมิประเทศเป็นโนนดินขนาดใหญ่ รูปทรงกลม หรือรี
หลักฐานทางโบราณคดีที่มักพบจากแหล่งเตาเผาภาชนะ ในวัฒนธรรมเขมรโบราณ แน่นอนว่าหัวใจของแหล่งเตาเผาภาชนะโบราณ เราต้องพบ (1) ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อแกร่ง ตกเเต่งด้วยวิธีการเคลือบน้ำเคลือบสีน้ำตาล เเละเคลือบน้ำเคลือบสีเขียว ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของเตา ใช้อุณหภูมิประมาณ 1,200-1,300 ปีมาเเล้ว (2) กี๋เม็ด เเละ (3) ร่องรอยโครงสร้างเตาเผาที่มีลักษณะเป็นก้อนดินเผาไฟขนาดใหญ่ สันนิษฐานว่าเป็นผนังเตา ซึ่งจะแตกต่างจากแหล่งโบราณคดี ประเภท แหล่งถลุงเหล็ก เพราะไม่พบร่องรอยขี้แร่ (slag) ท่อลม (tuyère) หรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการถลุงเหล็ก
สำหรับ กี๋เม็ด มีลักษณะเป็นก้อนดินปั้นด้วยมือ มีรูปทรงกลม หรือเกือบกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-5 เซนติเมตร โดยยิ่งเตาเผามีขนาดใหญ่ เราจะยิ่งพบกี๋เม็ดเป็นจำนวนมาก จากร่องรอยกี๋เม็ดที่พบบนชิ้นส่วนภาชนะดินเผา พบว่า กี๋เม็ดจะถูกวางอยู่บริเวณก้นหรือขอบของภาชนะ เพื่อให้ภาชนะเกิดช่องว่าง เเละเมื่อเวลาเผาน้ำเคลือบเเต่ละใบ จะไม่ไหลเชื่อมติดกัน คนโบราณจึงได้ภาชนะที่มีความสมบูรณ์ ไม่ติดกันจนเป็นของเสีย
สำหรับผลิตภัณฑ์ภาชนะดินเผาจากแหล่งเตาบ้านกรวด ถูกพบกระจายหลายเมืองโบราณในดินเเดนไทย ที่ปรากฏร่องรอยวัฒนธรรมเขมรโบราณ อาทิ เมืองพิมาย เมืองสุโขทัย เมืองลพบุรี เมืองสุพรรณบุรี เมืองราชบุรี เมืองเพชรบุรี เเละศาสนสถานในวัฒนธรรมเขมรโบราณ ที่ถูกสร้างขึ้นเเละใช้งานในช่วงเวลาดังกล่าว
ที่ผ่านมากรมศิลปากรกำหนดอายุสมัยเตาผลิตภาชนะดินเผา ในวัฒนธรรมเขมรโบราณ ด้วยวิธีวิทยาศาสตร์ อยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-18 ทั้งนี้ การกำหนดอายุดังกล่าวยังเป็นข้อถกเถียง สืบเนื่องมาจากอุปกรณ์เเละเครื่องมือในอดีตที่ยังไม่ทันสมัยนัก การกำหนดอายุจึงเป็นอีกหนึ่งวัตถุประสงค์ที่ทำให้เกิดโครงการศึกษาทางโบราณคดีเพื่อจัดลำดับอายุสมัยแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาประเภทเนื้อแกร่ง ในประเทศไทย โดยกองโบราณคดี กรมศิลปากร ขึ้นในครั้งนี้
จากจำนวนแหล่งโบราณคดี ประเภท เตาเผาภาชนะ ในวัฒนธรรมโบราณ สะท้อนให้เห็นว่า พื้นที่อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-18 ซึ่งเป็นช่วงที่วัฒนธรรเขมรโบราณแผ่อิทธิพลเข้ามายังพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงของดินเเดนไทย คงเป็นพื้นที่ผลิตภาชนะดินเผาที่ตกแต่งด้วยวิธีการเคลือบน้ำเคลือบสีน้ำตาล และเคลือบน้ำเคลือบสีเขียว ในระดับอุตสาหกรรม ของวัฒนธรรมเขมรโบราณ
ถ้าทุกท่านอยากชมแหล่งเตาโบราณที่ขุดศึกษาทางโบราณคดี มีอาคารหลังคาคลุมเรียบร้อยแล้ว ก็ขอเชิญชวนมาชม แหล่งเตาโบราณนายเจียน และแหล่งเตาโบราณสวาย ที่อำเภอบ้านกรวด แดนดินถิ่นเตาโบราณในวัฒนธรรมเขมรโบราณ กันได้นะครับ
อ้างอิงข้อมูลจาก
หนังสือ
1) กรมศิลปากร. เครื่องถ้วยลพบุรีจากแหล่งเตาเผาบุรีรัมย์. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. 2532.
2) รัชนก โตสุพันธุ์ เเละสถาพร เที่ยงธรรม. โบราณคดีวิเคราะห์ 2 : เครื่องถ้วยบุรีรัมย์และเครื่องถ้วยสุโขทัย. กรุงเทพฯ: สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร. 2539.
สัมภาษณ์
1) นายสุรพล เทวัญรัมย์. รองฯประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอบ้านกรวด. สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2566
2) นางสาวอิสราวรรณ อยู่ป้อม นักโบราณคดีชำนาญการ กองโบราณคดี กรมศิลปากร. สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2566
"โบราณสถาน โบราณวัตถุ เป็นสมบัติของชาติ ต้องช่วยกันรักษาไว้"
เรียบเรียงนำเสนอโดย นายวรรณพงษ์ ปาละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ
ดำรง หรือ รงค์ วงศ์อุปราช เกิดเมื่อ พ.ศ. 2479 ที่จังหวัดเชียงราย เริ่มเรียนศิลปะที่โรงเรียนเพาะช่าง จากนั้นเข้าศึกษาต่อที่คณะจิตรกรรมและประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2505 ได้รับทุนการศึกษาจากบริติช เคานซิล ให้ไปศึกษาต่อที่ Slade School of Fine Arts กรุงลอนดอน ต่อมาในปี 2511 ได้รับทุนจอห์น ดี. ร็อกกี้เฟลเลอร์ ที่ 3 เพื่อไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโท สาขาวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย เมืองฟิลาเดลเฟีย สหรัฐอเมริกา และในปี 2512 ไปศึกษาเพิ่มเติมทางด้านประวัติศาสตร์ศิลปะที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เมืองนิวยอร์ก หลังจากสำเร็จการศึกษา ดำรงได้กลับมาเป็นอาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และร่วมก่อตั้งหมวดวิชาทัศนศิลป์ พ.ศ. 2519 ได้รับทุนจากเจแปนฟาวน์เดชั่นและเป็นศิลปินในพำนัก ณ เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. 2539 เกษียณอายุราชการในตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ดำรงเริ่มเป็นที่รู้จักในวงการศิลปะ จากการส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ครั้งที่ 7 – 15 (พ.ศ. 2499 – 2507) ตลอดระยะเวลาเกือบ 10 ปีที่ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวด ได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง 1 ครั้ง รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน 4 ครั้ง และรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง 3 ครั้ง ผลงานที่สร้างชื่อให้แก่ดำรงคือ ภาพ “หมู่บ้านชาวประมง” เขียนด้วยสีฝุ่นบนผ้า ได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง สาขาจิตรกรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 11 (พ.ศ. 2503)
ดำรงเป็นศิลปินที่สร้างสรรค์ผลงานอย่างต่อเนื่อง ผลงานในระยะแรกนำเสนอภาพวิถีชีวิตและทิวทัศน์ชนบทของไทยที่ถ่ายทอดด้วยแนวทางของศิลปะสมัยใหม่ ดำรงใช้สีฝุ่นและเฉดสีที่สมดุลในการสร้างสรรค์ผลงาน นอกจากนี้ ยังใช้เส้นสีดำคมชัดในการตัดขอบองค์ประกอบต่างๆ ในภาพ บรรยากาศของผลงานดูสงบ สะท้อนถึงความเรียบง่ายของวิถีชีวิตคนไทยในชนบท ผลงานในระยะแรกนับเป็นผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้กับดำรงเป็นอย่างมาก
ผลงานชิ้นสำคัญในกลุ่มนี้ ได้แก่ ภาพเขียนสีฝุ่นและสีน้ำมันที่ถ่ายทอดทิวทัศน์บ้านเรือนของชาวไร่ชาวนา และภาพวิถีชีวิตของชาวประมงหรือชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมคลอง ผลงาน “หมู่บ้านชาวประมง” ซึ่งจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ นับเป็นตัวอย่างหนึ่งของผลงานที่ควบคุมสีภายในภาพด้วยสีเหลืองและสีน้ำตาลเฉดต่างๆ อย่างสมดุล แต่งแต้มด้วยสีแดงและสีขาวบางส่วนเพื่อทำให้เกิดจุดนำสายตาและลดทอนความราบเรียบของผลงาน นอกจากภาพเขียนสีฝุ่นและสีน้ำมันแล้ว ดำรงยังสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบเดียวกันด้วยเทคนิคต่างๆ บนวัสดุอันหลากหลาย
ในสูจิบัตรการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 11 (พ.ศ. 2503) ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้บันทึกเกี่ยวกับดำรงและผลงานในระยะแรกไว้ว่า “...นายดำรง วงศ์อุปราช เป็นช่างเขียนหนุ่ม ซึ่งจะเป็นอื่นไปไม่ได้นอกจากความเป็นไทย... ดำรงเขียนภาพให้มีส่วนละเอียดได้อย่างถูกต้องเหมือนอย่างศิลปินโบราณทีเดียว... เรารู้สึกสบายใจและมีความใฝ่ฝันที่จะไปอยู่ในดินแดนเช่นนั้นกับบุคคลเหล่านั้น ขอย้ำว่าเราได้กล่าวถึงภาพเขียนเหล่านี้เมื่อปีที่แล้วว่า ช่างเขียนมิได้เขียนภาพคนแต่ถ้าว่าเรามีความรู้สึกประทับใจอย่างยิ่งในอันที่จะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับชาวชนบทที่ดี มีสุขภาพแข็งแรง เมื่อได้เห็นภาพของชนบทเช่นนั้น...”
ดำรงเป็นศิลปินที่มีประสบการณ์จากการเดินทางไปศึกษาค้นคว้าวิจัยทางด้านศิลปะในหลายประเทศ รูปแบบของผลงานจึงแปรเปลี่ยนไปตามประสบการณ์และความสนใจของศิลปินในแต่ละช่วงเวลา ราวปี 2504 ดำรงเริ่มเขียนภาพแนวคิวบิสม์มากขึ้น จนกระทั่งคลี่คลายจากรูปแบบเหมือนจริงที่นิยมเขียนในระยะแรกไปสู่แนวนามธรรมและเอ็กซ์เพรสชันนิสม์ในช่วงปลายทศวรรษเป็นต้นไป ผลงานในระยะนี้มีรูปทรงอิสระ แสดงออกด้วยฝีแปรงที่เคลื่อนไหวอย่างรุนแรง สีสันสดใส แตกต่างจากผลงานในระยะแรกอย่างชัดเจน ผลงานบางชิ้นยังแสดงให้เห็นถึงแรงบันดาลใจจากวิถีชีวิตและเรื่องราวในชนบทของไทย ผ่านวัตถุซึ่งถูกลดทอนรายละเอียดให้เหลือเพียงรูปทรงเรขาคณิต
ในระหว่างที่เป็นศิลปินในพำนัก ณ เมืองเกียวโต ดำรงเริ่มกลับมาสร้างสรรค์ผลงานด้วยรูปแบบเหมือนจริงกึ่งนามธรรมอีกครั้ง โดยได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปะและวัฒนธรรมพื้นบ้านของญี่ปุ่น โดยเฉพาะเสาโทริหรือซุ้มประตูสีแดงขนาดใหญ่ของวัดในศาสนาชินโต เมื่อกลับมาพำนักที่ประเทศไทย ดำรงได้สร้างสรรค์ผลงานชุดใหม่ด้วยแรงบันดาลใจจากวิถีความเป็นอยู่ในชนบทและทิวทัศน์บ้านเรือนของชาวนาไทยอีกครั้ง รูปแบบการเขียนภาพมีความคล้ายคลึงกับผลงานในระยะแรก แต่แสดงให้เห็นถึงภูมิทัศน์ชนบทที่สงบ เรียบง่าย ในมุมมองที่กว้างไกลและลึกซึ้งขึ้นกว่าเดิม โดยปราศจากรูปคน
ดำรงเป็นทั้งศิลปิน ครูสอนศิลปะ นักวิชาการ ควบคู่ไปกับการเป็นภัณฑารักษ์และบริหารจัดการหอศิลป์ ในปี 2542 ได้รับเกียรติยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ในฐานะศิลปินที่สร้างคุณูปการต่อวงการศิลปะไทยตลอดระยะเวลาเกือบ 50 ปี แม้ว่าจะเริ่มต้นชีวิตการเป็นศิลปินตั้งแต่วัยหนุ่ม ผ่านพ้นวันวานแห่งความรุ่งโรจน์ แต่ยังคงทำงานศิลปะจวบจนปีสุดท้ายของชีวิต ดำรง วงศ์อุปราช ถึงแก่กรรมในปี 2545 สิริอายุ 66 ปี
#ดำรงวงศ์อุปราช
#ศิลปกรรมสมัยรัชกาลที่๙
#ศิลปินแห่งนวสมัย #หอศิลป์แห่งชาติ
#หอศิลป์แห่งชาติถนนเจ้าฟ้า
ที่มา
1. หนังสือ “5 ทศวรรษศิลปกรรมแห่งชาติ 2492 – 2541” โดย หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
2. หนังสือ “ดำรง วงศ์อุปราช: ทัศนศิลป์แห่งชีวิต” โดย หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
ที่มาภาพ
1. www.monwic.com
เลขวัตถุ
ชื่อวัตถุ
ขนาด (ซม.)
ชนิด
สมัยหรือฝีมือช่าง
ประวัติการได้มา
ภาพวัตถุจัดแสดง
41/2553
(21/2549)
ชิ้นส่วนภาชนะดินเผา ลักษณะคล้ายครก เนื้อหนา ด้านในเรียบ ด้านนอกตกแต่งลายขูดขีด
ส.6.5
ปก.14
ดินเผา
ก่อนประวัติศาสตร์ ยุคเหล็ก อายุราว 1,500 ปี
ได้จากบ้านเขาเพิ่ม อำเภอบ้านนา จ.นครนายก เมื่อประมาณ พ.ศ. 2539
เลขทะเบียน : นพ.บ.478/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 34 หน้า ; 5 x 56 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 162 (195-204) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : มหามูลลนิพาน--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ศีรษะนางแมว
ศิลปะรัตนโกสินทร์ ประมาณ พ.ศ. ๒๔๓๐
สมบัติของเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) เจ้าจอมมารดามรกฎในรัชกาลที่ ๕ มอบให้เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๙
ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ณ พระที่นั่งทักษิณาภิมุข หมู่พระวิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ศีรษะนางแมว (หัวโขนนางวิฬาร์) ประดิษฐ์ด้วยโลหะทองแดง ประดับแก้ว โดยลักษณะของนางวิฬาร์ น่าจะตรงกับคุณลักษณะแมวสายพันธุ์โกญจาซึ่งมีขนสีดำละเอียด นัยน์ตาสีดอกบวบ
ศีรษะนางแมว ใช้สำหรับแสดงละครนอกเรื่อง ไชยเชษฐ์ นิทานพื้นบ้านที่มามาแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และมีผู้นำนิทานเรื่องนี้มาเล่นเป็นละครเพราะเรื่องราวที่สนุกสนาน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงนำนิทาน เรื่องไชยเชษฐ์ มาพระราชนิพนธ์เป็นบทละครนอก เดิมละครนอกเป็นละครที่ราษฎรเล่นกัน ผู้ชายแสดงเป็นตัวละครทั้งหมด พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องไชยเชษฐ์ เพื่อให้เป็นบทละครนอกของหลวง และโปรดให้ผู้หญิงที่เป็นละครหลวงแสดงอย่างละครนอก
หัวโขนนางวิฬาร์นี้ เดิมเป็นของเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง ผู้ก่อตั้งคณะละคร และโรงละคร “ปรินซ์เธียร์เตอร์” (Prince Theatre) กระทั่งถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๗ เครื่องละครส่วนหนึ่งตกเป็นมรดกของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม* ซึ่งเจ้าจอมมารดามรกฎ (ธิดา) ได้นำมาทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. ๒๔๓๙ ดังปรากฏใน “หนังสือราชการ ปี ๑๑๕ เรื่องศีศะละครที่ส่งไปไว้ในพิพิธภัณฑ์” ระบุรายการเครื่องละครทั้งสิ้น ๑๘ รายการ และหนึ่งในรายการเครื่องละครที่ส่งมาให้แก่ทางพิพิธภัณฑ์คือ “ศีรสะแมว ๑”
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชกระแสรับสั่งถึงเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค)** ลงวันที่ ๓ ตุลาคม ร.ศ. ๑๑๕ มีข้อความตอนหนึ่งว่า
“...ด้วยมรกฎ นำชฎาหน้าโขน กระบังหน้า เครื่องลครของเจ้าพระยามหินธรศักดิธำรงมาให้ สำหรับตั้งไว้ในโรงพิพิธภัณฑ์ตามความปรารถนาของพ่อเขา ซึ่งได้สั่งไว้ว่า ถ้าลูกชายเพ็ญ [หมายถึง พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒน์พงศ์] ไม่ได้เล่นลครต่อไปแล้ว อย่าให้ ฃายสิ่งของเหล่านี้แก่ผู้หนึ่งผู้ใด ให้นำมาถวายสำหรับตั้งไว้ในโรงพิพิธภัณฑ์...”
ทั้งนี้พระองค์ทรงมีความเห็นว่าควรตั้งไว้ในตู้กระจกอีกด้วย และเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลถึงพระราชกระแสเรื่องตั้งเครื่องละครไว้ในตู้กระจก ความว่า
“...ในส่วนที่ควรจะมีตู้กระจกนั้น ถ้าท่านผู้ให้ [หมายถึง เจ้าจอมมารดามรกฎ] ส่งมาแต่ชะฎาน่าโขน หรือกระบังน่าเปล่าแล้ว จะได้รับประดับตู้สำหรับมิวเซียมไว้ตู้หนึ่งต่างหาก...”
*พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๔๑ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ กับเจ้าจอมมารดามรกฎ (ธิดาของเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล))
** เสนาบดี กระทรวงธรรมการ
อ้างอิง
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ร.๕ บ.๑๑/๑๐. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ ๕ เบ็ดเตล็ด เรื่อง พิพิธภัณฑต่างๆ ในกรุงสยาม (๔ กุมภาพันธ์ ๑๑๑ - ๓ ตุลาคม ๑๑๗).
ไพโรจน์ ทองคำสุก. “แมว: วิฬาร์ในการแสดงละครนอกเรื่องไชยเชษฐ์.” ศิลปากร. ๕๒, ๑ (มกราคม-กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒): ๔-๑๗.
บริรักษ์จรรยาวัตร(สุณี ไชยวุฒ), หลวง, 2447-2513. คำบรรยาย เรื่อง จังหวัดสุโขทัย. พระนคร: สถานการพิมพ์ศรีวิกรมาทิตย์, 2503.
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงบูรณะซ่อมแซมพระราชวังเมืองลพบุรี และได้พระราชทานนามใหม่ว่า “พระนารายณ์ราชนิเวศน์” เนื่องด้วยวันที่ ๑๘ สิงหาคม ตรงกับวันสำคัญในรัชสมัยของพระองค์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ จึงขอนำเสนอองค์ความรู้เรื่อง “พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว : กษัตริย์นักดาราศาสตร์”
------------------------------
กระแสโลกตะวันตกในสมัยรัชการที่ ๓ ทำให้ชาวสยามตื่นตัวและให้ความสนใจในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น การแพทย์ การพิมพ์ ดาราศาสตร์ เคมี รวมถึงการต่อเรือกลไฟ สยามจึงต้องปรับตัวเพื่อให้เป็นที่ยอมรับในความเป็นสากล
.
หนึ่งในบุคคลสำคัญที่สร้างปรากฏการณ์ให้เป็นที่ยอมรับในสายตาชาวโลก คือ พระบาทสมเด็จ
พระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช รัชกาลที่ ๔ พระองค์มีความสนพระทัยในวิชาวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ตั้งแต่ยังทรงผนวช โดยศึกษาจากตำราต่าง ๆ และทรงศึกษากับมิชชันนารีชาวยุโรปและชาวอเมริกัน
.
พระองค์ทรงมีความรู้ในการใช้เครื่องมือดาราศาสตร์หลายชนิด เช่น กล้องโทรทัศน์ แผนที่ดาว
เครื่องเซ็กสแตนท์ (sextant) เครื่องควอแดรนท์ (quadrant) และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างหอชัชวาลเวียงชัยเป็นหอดูดาวขึ้นบนพระนครคีรี (เขาวัง) จังหวัดเพชรบุรี พระองค์ทรงใช้ประโยชน์จากเครื่องมือเหล่านี้ในการกำหนดพิกัดพื้นที่ละติจูดและลองจิจูด ทรงสังเกตปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ต่าง ๆ และได้ประกาศให้ประชาชนทราบอยู่เสมอ เช่น การเกิดอุปราคา การโคจรของดาวหาง การโคจรของดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์ และผีพุ่งใต้ (อุกกาบาต) เพื่อให้สังคมสยามหลุดพ้นจากความงมงายกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ นอกจากนี้ พระองค์ยังติดตามข่าวสารด้านดาราศาสตร์จากหนังสือต่างประเทศ เช่น การค้นพบดาวเนปจูน การปรากฏขึ้นของดาวหาง เป็นต้น
.
พระองค์ทรงใช้วิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐานในการพัฒนาประเทศ โดยโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งหอนาฬิกาหลวงและทรงกำหนดเวลามาตรฐานของประเทศด้วยการคำนวณทางดาราศาสตร์ อีกทั้งทรงคำนวณวันสำคัญต่าง ๆ ลงในประกาศมหาสงกรานต์ให้ประชาชนทราบล่วงหน้าทุกปี ในประกาศบางปีได้ระบุถึงวันที่จะเกิดอุปราคาประจำปีด้วย
.
ความชำนาญด้านดาราศาสตร์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นที่ยอมรับ โดยได้รับการประกาศเกียรติคุณจากราชสมาคมดาราศาสตร์แห่งอังกฤษ (Diploma of the Royal Astronomical Society) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๐ และในประกาศมหาสงกรานต์ แสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงชำนาญเรื่องการคำนวณการเกิดอุปราคามาแล้วตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๐๒-๒๔๐๓ ความชำนาญนี้ทำให้พระองค์สามารถคำนวณได้ว่าจะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงที่บ้านหว้ากอ ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในวันอังคาร เดือน ๑๐ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีมะโรง จุลศักราช ๑๒๓๐ ตรงกับวันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ โดยทรงคำนวณจากระบบเวลาของเส้นแวงที่ ๑๐๐ ตะวันออก ซึ่งเป็นระบบเวลามาตรฐานของไทย
.
การคำนวณดังกล่าว พระองค์ทรงมั่นพระทัยมาก จึงได้เชิญนักดาราศาสตร์สากลรวมทั้งชาวต่างชาติคนสำคัญโดยเฉพาะชาวอังกฤษและฝรั่งเศสเข้าร่วมสังเกตปรากฏการณ์ในครั้งนี้ น่าเชื่อว่าพระองค์คงมีพระราชประสงค์ที่จะให้ชาวสยามและชาวโลกได้รับรู้ว่าสยามเป็นราชอาณาจักรที่ทันสมัย ชาวต่างชาติกลุ่มนี้ได้กลับไปเขียนรายงานอันเป็นประโยชน์ทางวิชาการดาราศาสตร์และสร้างชื่อเสียงให้กับพระองค์ พร้อมทั้งสร้างเกียรติภูมิให้กับราชอาณาจักรสยาม
.
ปัจจุบัน ใน พ.ศ. ๒๕๒๕ รัฐบาลไทยได้ประกาศให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เป็น “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” และกำหนดให้วันที่ ๑๘ สิงหาคมของทุกปีเป็น “วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ” ต่อมาองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ประกาศยกย่องให้พระองค์เป็น “บุคคลสำคัญของโลก” ด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสื่อสารมวลชน เนื่องในโอกาสฉลองวันพระราชสมภพ ๒๐๐ พรรษา ในวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
------------------------------
อ้างอิง
.
ภูธร ภูมะธน. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว : จากความสนพระทัยในวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นพระมหากษัตริย์นักดาราศาสตร์. เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน), ๒๕๔๒.
------------------------------
คำอธิบายภาพ: ภาพเหตุการณ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่บ้านหว้ากอ ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พร้อมด้วยชาวต่างชาติ พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชบริพาร
ประเพณีทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระของเสฐียรโกเศศ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางชุ่ม บงการอุบัตน์กิจ (ชุ่ม บงกชเกิด) ณ เมรุวัดชัยพฤกษมาลา ตลิ่งชัน ธนบุรี ๒๗ เมษายน ๒๕๐๖
ผู้แต่ง : พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ), 2431-2512., กรมศิลปากร
ต้นฉบับอยู่ที่ : หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี (ห้องกรมศิลปากร)
โรงพิมพ์ : โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม
ปีที่พิมพ์ : 2506
รูปแบบ : PDF
ภาษา : ไทย
เลขทะเบียน : น. 30 ร. 6446
เลขหมู่ : 294.3138 อ197ปช
สาระสังเขป : หนังสือเรื่องนี้เป็นผลงานหนึ่งของเสฐียรโกเศศ กล่าวถึงประเพณีการทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระของคนไทย เนื้อหาประกอบด้วย ความเป็นมาของประเพณีการทำบุญเลี้ยงพระ วันมงคลและวันอวมงคล การตกแต่งสถานที่และการจัดอาสนสงฆ์ การตั้งที่สักการบูชา การจับด้ายสายสิญจน์ การวงด้ายสายสิญจน์ การสวดมนต์เย็น เรื่องพระปริตร และการเลี้ยงพระ
ชื่อเรื่อง วัดพระรูปเมืองสุพรรณ : คู่มือแหล่งเรียนรู้พิพิธภัณฑ์วัดพระรูป ผู้แต่ง สิโรตม์ ภินันท์รัชต์ธรผู้แต่งเพิ่มเติม อาสา คำภา, เทียมจิตร์ พ่วงสมจิตร์.ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN 978-616-488-355-0หมวดหมู่ ศาสนาเลขหมู่ 294.3135 ส732วสถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ปีที่พิมพ์ 2565ลักษณะวัสดุ 406 หน้า : ภาพประกอบ ; 21 ซม.หัวเรื่อง วัด – สุพรรณบุรี พิพิธภัณฑ์ -- แหล่งเรียนรู้ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก การจัดทำพิพิธภัณฑ์วัดพระรูปให้เป็นต้นแบบพิพิธภัณฑ์วัดสำหรับเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนาคต การจัดทำพิพิธภัณฑ์ตามหลักวิชาการ มีการแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ที่เหมาะสมกับท้องถิ่น
หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ ขอเชิญขวนน้อง ๆ หนู ๆ เข้าร่วมกิจกรรมภาพวาด : นิทานเล่มโปรด พบกับกิจกรรมเล่านิทาน กิจกรรมหนังสือที่หนูชอบ กิจกรรมวาดภาพนิทานเล่มโปรดตามจินตนาการ โดยภาพที่น้อง ๆ ได้วาดนั้นจะถูกคัดเลือกมาจัดเป็นนิทรรศการภาพวาด ณ หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ ต่อไป กิจกรรมนี้จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการอ่านการเรียนรู้ด้วยนิทาน และเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์รวมทั้งต่อยอดการอ่านให้กลายเป็นงานศิลปะตามจินตนาการ
กำหนดการจัดกิจกรรม ครั้งที่ 1 วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม 2567 เวลา 13.00 - 14.30 น. และ ครั้งที่ 2 วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม 2567 เวลา 13.00 - 14.30 น. ณ ห้องเด็กและเยาวชน หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ ทั้งนี้ กิจกรรมจะจัดเหมือนกันทั้ง 2 ครั้ง ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถเลือกวันเข้าร่วมได้ และร่วมกิจกรรมได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายทุกรายการ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3553 5343 ต่อ 17 หรือทางเฟสบุ๊ก เพจ : หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ
สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ขอเชิญร่วมฟังการเสวนาทางวิชาการ "สุดยอดการค้นพบใหม่" ในทศวรรษที่ผ่านมาของกรมศิลปากร เนื่องในงานสัปดาห์วันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๗ หัวข้อ "ข้อมูลใหม่จากวรรณกรรมอำพราง" ในวันศุกร์ที่ ๕ เมษายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๓๐ - ๑๕.๓๐ น. โดยมีนายบุญเตือน ศรีวรพจน์ ศิลปินแห่งชาติและผู้ทรงคุณวุฒิด้านอักษรศาสตร์ พร้อมด้วยนักอักษรศาสตร์กลุ่มภาษาและวรรณกรรม สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ร่วมเป็นวิทยากรนำเสนอข้อมูลใหม่ด้านวรรณคดีไทยจากการดำเนินงานในทศวรรษที่ผ่านมาของกรมศิลปากร ผู้สนใจสามารถรับชมการถ่ายทอดสดได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม