ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ
โบสถ์หรือสิมวัดบ้านซิน ตำบลค้างพลู อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา ตั้งทางด้านทิศตะวันตกของโบสถ์หลังใหม่ เป็นวัดในชุมชนบ้านซิน หมู่ ๒ ลักษณะเป็นโบสถ์หรือสิมที่ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมล้านช้าง วัดตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของหมู่บ้าน ติดกับลำเชียงไกร วัดบ้านซิน เป็นวัดในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตามประวัติการก่อสร้างของวัดระบุว่าสร้างวัดเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๓๒๓ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๕ ภายในวัดยังเหลืออาคารที่เป็นโบราณสถานคือพระอุโบสถหรือสิมที่ข้อมูลของวัดกล่าวว่าสร้างขึ้นในราว ๓๐๐ ปีมาแล้ว ชาวบ้านได้ร่วมกันบูรณะซ่อมแซมกันเองในราว พ.ศ. ๒๕๑๔ สิมวัดบ้านซิน ลักษณะเป็นสิมโปร่ง (สิมโปร่งเป็นอาคารโปร่งโล่งขนาดกะทัดรัดประกอบด้วยเสาไม้ตั้งอยู่บนฐานยกพื้นรองรับหลังคาไม่มีผนัง ถ้าจะทำผนังก็มักจะทำแต่ด้านที่มีพระประธานและมักสร้างเล็กๆเพื่อให้พระสงฆ์ทำสังฆกรรมเพียงสี่ห้าองค์) เป็นสิมขนาด ๒ ห้อง (สามเสา) หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีขนาดประมาณ ๓ X ๖ เมตร มีชายคาต่อเป็นเพิงอยู่ทางด้านหน้า หลังคาชั้นเดียว สีหน้าหรือหน้าบันตีเป็นแผ่นไม้กระดานทั้งสองด้านไม่มีการตกแต่ง อาคารมีลักษณะเป็นฐานก่ออิฐ สูงจากพื้นประมาณ ๑.๕๐ เมตร มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ประตูทางเข้าอยู่ทางด้านทิศตะวันออก มีผนังเตี้ยๆสูงประมาณ ๕๐ เซนติเมตรทั้งสามด้าน ด้านตะวันออกเว้นเป็นช่องทางเข้าตรงกลางประมาณ ๕๐ เซนติเมตร ด้านข้างทางด้านท้ายอาคาร ทำผนังลาดค่อยๆสูงขึ้นไปจนถึงหัวเสา ผนังอาคารทางด้านหลังพระประธานก่อผนังสูงเต็มจนถึงหัวเสา ด้านท้ายอาคารก่อเป็นฐานพระเป็นแนวยาวตลอดผนังกว้างประมาณ ๕๐ เซนติเมตร ตรงกลางก่อเป็นแท่นพระขนาดประมาณ ๑X๑ เมตร แทรกอยู่ ใช้สำหรับตั้งพระประธาน ก่อด้วยอิฐฉาบปูนทาสีตกแต่ง ฐานพระก่อเป็นฐานบัวคว่ำบัวหงายแบบฐานเอวขันแบบเดียวกับฐานอาคาร มีเสาไม้หกต้นอยู่ที่ผนังด้านเหนือและใต้ ด้านละ ๓ ต้นฝังลงไปจนถึงฐานสิม อิฐที่ก่อปิดเสาที่ส่วนฐานหลุดออก หลังคาเป็นหลังคาเครื่องไม้ ชั้นเดียวมุงด้วยแผ่นสังกะสี ไม่มีเครื่องตกแต่งชั้นหลังคา พื้นที่ดินโดยรอบสิมได้รับการถมปรับขึ้นมาอีกประมาณ ๐.๕๐ เมตร จากระดับพื้นดินเดิม จนฐานเขียงหายไป จึงเริ่มปรากฎชั้นฐานที่ชั้นบัวคว่ำ บริเวณรอบโบสถ์พบแท่นก่ออิฐพังเป็นกองอิฐตั้งอยู่โดยรอบ จำนวน ๘ จุด มีจุดที่ค่อนข้างเห็นได้ชัดเจนอยู่ทางด้านหลังอาคารทำเป็นฐานใบเสมา ตัวใบเสมา ก่อด้ายอิฐฉาบปูนเป็นรูปดอกบัวทรงพุ่ม มีร่องรอยใบเสมาทำจากหินทรายสีแดงปักจมอยู่ที่พื้นด้านหน้าสิม การสำรวจพบว่าสิมมีสภาพชำรุดมาก ฐานสิมที่ก่ออิฐชำรุดจากการแยกบริเวณส่วนเสาทั้ง ๖ ต้น จนถึงบริเวณโคนเสา ส่วนฐานที่อยู่ด้านล่างปูนที่ฉาบไว้หลุดออกเกือบหมด และมีอิฐหลุดออกมา ปรากฏร่องรอยการซ่อมแซมโดยใช้ดินเหนียวผสมกับฟางละเอียดคลุกเคล้ากันมาพอกปิดไว้ และฉาบด้วย ปูนขาว สันนิษฐานว่าน่าจะซ่อมในปี พ.ศ.๒๕๑๔ ซึ่งการซ่อมในส่วนนี้บางส่วนก็พังแล้วเช่นกัน ผนังทางด้านทิศตะวันตกที่ก่อขึ้นมาสูงเสมอเสา ค่อนข้างชำรุดเสียหายมาก มีรอยแตกร้าวเป็นแนวยาว จากฐานจนถึงด้านบนของผนัง โครงสร้างหลังคาค่อนข้างดีอยู่ แต่ชำรุดจากปลวกและการเสื่อมสภาพของไม้ ส่วนประดับหลังคา หักหายไปหมดแล้ว จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบ อาคารสถาปัตยกรรมประเภทสิมโปร่ง เป็นสถาปัตยกรรมเฉพาะของวัฒนธรรมแบบล้านช้าง มักพบในพื้นที่ที่เป็นเขตวัฒนธรรมของกลุ่มคนในวัฒนธรรมล้านช้าง เช่นพื้นที่ในจังหวัดร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น เช่น สิมวัดราษี อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม สิมวัดไตรภูมิ บ้านผือฮี ตำบลดงแดง อำเภอจตุรพักตร์พิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด แสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนย้ายของกลุ่มคนที่ใช้วัฒนธรรมล้านช้างเข้าสู่ดินแดนจังหวัดนครราชสีมาซึ่งใช้รูปแบบวัฒนธรรมอยุธยา – รัตนโกสินทร์ จากภาคกลาง อย่างน้อยก็ในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๓ เป็นต้นมา จากสภาพของตัวโบราณสถานน่าจะมีอายุประมาณ ๑๕๐ – ๒๐๐ ปีมาแล้ว จากข้อมูลหมู่บ้านแต่เดิมบ้านซินเป็นหมู่บ้านที่มีชาวมอญและชาวลาวอพยพเข้ามาอยู่อาศัย ต่อมามีคนจากภายนอกเข้ามาจึงทำให้รูปแบบวัฒนธรรมดั่งเดิมหายไป ซึ่งก็สอดคล้องกับหลักฐานทางโบราณคดีที่พบ ---------------------------------------------------------ข้อมูลโดย : นายกิตติพงษ์ สนเล็ก นักโบราณคดีชำนาญการพิเศษ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา---------------------------------------------------------
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพกับพระนครคีรี คราวที่พระองค์ได้รับพระราชกระแสรับสั่งให้เสด็จฯ มาเมืองเพชรบุรีเพื่อเตรียมการในการรับเสด็จฯ ดยุคโยฮันอัลเบิร์ต ผู้สำเร็จราชการบรันซวิก และดัชเชสอลิสซาเบธ รอตซาลา พระชายาที่จะเสด็จฯ ประพาสเมืองเพชรบุรี และพระนครคีรี ความตอนหนึ่งในราชกิจจานุเบกษาความว่า
“…เสด็จขึ้นรถไฟไปประพาศเมืองเพ็ชร์บุรี ถึงเมืองเพ็ชร์บุรี เวลา ๔ โมง พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพเสด็จล่วงน่ามาคอยรับเจ้าเสด็จโดยรถยนตร์ไปเสด็จขึ้นเก้าอี้หาม ขึ้นพักบนพระที่นั่งเพ็ชรภูมิ์ไพโรจน์บนพระนครคีรี…”
นอกจากนี้ ยังมีลายพระหัตถ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้ทรงกล่าวถึงเหตุการณ์ในครั้งนี้ความว่า
“... เมื่อตอนปลาย รัชชกาลที่ ๕ สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงโปรดฯ ให้หม่อมฉันซ่อมพระนครคิรีรับดุ๊กโยฮันอันเบรท ได้ซ่อมถึงพระที่นั่งเวไชยันต์วิเชียรปราสาทด้วย...”
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ยังโปรดให้พระธิดาตามเสด็จไปในคราวนี้ ได้แก่หม่อมเจ้าจงจิตรถนอม ดิศกุล พระธิดาองค์ใหญ่และหม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล โดยหม่อมเจ้าจงจิตรถนอมได้ทรงเล่าถึงเหตุการณ์ในครั้งนี้ว่า
“...เสด็จพ่อล่วงหน้าไปคอยรับเจ้าที่เมืองเพชรบุรี มีข้าพเจ้าแลหญิงพูนพิศมัย พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร สมเด็จพระบรมราชินีนาถทรงจัดข้าหลวงส่งไปด้วย ๔ คน นายนากเป็นผู้ใหญ่ควบคุมไป เพื่อทำหน้าที่จัดห้องบรรทมดุ๊กแลดัสเชสส์ ส่วนพระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากรทรงดูแลอาหารฝรั่งเลี้ยงเจ้า ข้าพเจ้าต้องดูแลจัดดอกไม้โต๊ะ แลทำดอกไม้เป็นบุหงาถวายดัสเชสส์ทุกวันๆ ระหว่างที่อยู่เมืองเพชรบุรี ข้าพเจ้าได้อาศรัยคุณข้าหลวงของสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ๔ คนช่วยในการจัดทำดอกไม้ ข้าพเจ้ามีช่างดอกๆไม้ไปด้วย ๒ คน ที่เคยอยู่เป็นข้าหลวงของสมเด็จพระปิตุจฉา คือนางนารถแลนางลูกตาล ต้องขึ้นไปอยู่บนเขาวังที่สันถาคาร สถาน ดุ๊กแลดัสเชสส์ประทับที่พระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์ การรับรองเป็นหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย ต้องจัดตั้งโรงครัวบนเขาวังเวลาจะขึ้นลงทีต้องมีพวกเด็กชาคอยหามกันทุกๆ วัน ตอนนี้ข้าพเจ้าต้องพบกับดุ๊กแลดัสเชสส์ทุกวันเวลาเสยกลางคืนเสด็จพ่อทรงจัดสมุหเทศา เจ้าเมืองในมณฑลราชบุรีผลัดกันมาร่วมโต๊ะเสวยพร้อมกับดุ๊กแลดัสเชสส์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสมรรัตนสิริเชษฐ์ได้ทรงจัดดอกไม้แบบโบราณ เช่น ระย้า ๒ ชั้น แลชั้นเดียวส่งจากกรุงเทพฯ ไปแขวนบนพระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์...”
ภาพ : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, หม่อมเจ้าจงจิตรถนอม ดิศกุล, หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล, ดยุคโยฮันอัลเบิร์ต, ดัชเชสอลิสซาเบธ รอตซาลา และคณะ ประทับบริเวณหน้าพระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์ พระนครคีรี
ชื่อเรื่อง จนฺทฆาตชาตก(จันทฆาต)
สพ.บ. 402/6ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 50 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 56 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก เทศน์มหาชาติ คาถาพัน
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับชาดทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
พิพม์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ร้อยตรีชลยุทธ เอกพจน์ ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร วันที่ ๘ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๑๔
เมื่อครั้งที่แล้วเราได้คุยกันถึงเรื่องทองแดงที่เราพบจากแหล่งเรือจมบางกะไชย 2 เบื้องต้นกันแล้วนะครับ สำหรับวันนี้ เราจะมาเล่าให้ฟังว่าเหตุใดทำไมเราจึงอยากรู้จักทองแดงเหล่านี้ให้ลึกลงไปอีกขั้นนึงครับ
อย่างแรกเลยเราอยากรู้ว่าเนื้อทองแดงที่เป็นสินค้าเหล้านี้มีลักษณะพิเศษไหม? มีส่วนประกอบอะไรบ้าง? ทองแดงเป็นทองแดงที่บริสุทธิ์แค่ไหน?
โดยหลังจากการวิเคราะห์ทางกายภาพด้วยการวัดขนาด จัดจำแนกทองแดงเหล่านี้ด้วยรูปร่างลักษณะของทองแดงแล้ว เราได้เลือกใช้การวิเคราะห์เชิงลึกและนำมาทดลองประยุกต์ใช้กับทองแดงของเราเพื่อแยกประเภท เนื้อทองแดงเบื้องต้น(ที่ตาไม่สามารถแยกได้) อีกครั้งหนึ่ง
วิธีที่ว่านั้นคือการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของทองแดงด้วยเครื่องเอกซเรย์ฟลูออเรสเซนส์แบบเคลื่อนที่ได้ (Portable X-Ray Fluorescence , PXRF, HHXRF) ซึ่งเครื่องวิเราะห์องค์ประกอบนี้เป็นเครื่องที่กองโบราณคดีใต้น้ำมีไว้ใช้เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของโบราณวัตถุ
โดยหลักการทำงานเบื้องต้นของเครื่องนี้คือ เครื่องจะทำการส่งรังสี X-Ray ไปที่วัตถุจนอะตอมเกิดการแตกตัว จะเกิดปรากฏการเรื่องแสง ซึ่งเรียกว่า Fluorescence โดยอาศัยหลักการที่อิเล็กตรอนในวงโคจรของอะตอมของธาตุแต่ละธาตุถูกกระตุ้น โดยรังสี x-ray เมื่ออะตอมถูกกระตุ้น อะตอมจะมีการเปลี่ยนระดับชั้นที่มีพลังงานสูงไปยังชั้นที่มีพลังงานต่ำกว่า ในระหว่างที่มีการเปลี่ยนแปลงระดับชั้น จะมีการคายพลังงานออกมา โดยพลังงานที่คายออกจะมีลักษณะจำเพาะ ของแต่ละธาตุ เครื่องจะทำการวัดความยาวคลื่นดังกล่าวแล้วแปลผลออกมาเป็นธาตุให้เราได้รับรู้ว่ามีธาตุแต่ละชนิดในปริมาณเท่าไหร่? โดยนักโบราณคดีได้นำวิธีนี้มาใช้ในการศึกษาโบราณวัตถุต่างๆอย่างกว้างขวาง
โดยจากการวิเคราะห์ทองแดงของกองโบราณคดีใต้น้ำ ได้ข้อสรุปเบื้องต้นดังนี้
1.ทองแดงจากแหล่งเรือจมบางกะไชยนั้นในทุกรูปแบบ มีทองแดงเป็นองค์ประกอบหลักปริมาณไม่น้อยกว่า 93% ซึ่งถือว่ามีทองแดงในปริมาณที่มาก
2.ผู้ผลิตนั้นตั้งใจเติมตะกั่วเข้าไปในเนื้องทองแดงเพื่อให้ทองแดงนั้นไหลง่ายเวลาหล่อขึ้นรูปทองแดง
3.ต่อเนื่องจากการเติมตะกั่ว ทองแดงรูปแบบทรงชามซ้อนชั้นกับแบบแผ่นนั้นพบว่ามีปริมาณตะกั่วมากกว่าแบบอื่นซึ่งสันนิษฐานว่าผู้ผลิตต้องการให้ทองแดงนั้นเหลวมากกว่าปกติเพื่อง่ายต่อการขึ้นรูปในแบบที่ต้องการ เนื่องจากการหล่อทองแดงรูปแบบการซ้อนชั้นนั้นต้องอาศัยการกดเพื่อให้น้ำทองแดงนั้นไหลไปเรียงตัวเป็นชั้นๆได้ (ประเด็นนี้จะมาเล่าให้ฟังต่อไปในตอนหน้าครับ)
4.พบธาตุ ซัลเฟอร์(S) และ เหล็ก(Fe) ผมอยู่ในเนื้องทองแดงทุกก้อน สันนิษฐานว่าเป็นมลทินที่ติดมาจากก้อนแร่ที่ใช้ในการถลุง ซึ่งแสดงถึงการที่ทองแดงที่ไม่ค่อยบริสุทธิ์ รวมถึงการถลุงที่ค่อนข้างหยาบ(การถลุงโบราณไม่สามารถดึงเอามลทินออกจากแร่ได้ทั้งหมด)
5.พบธาตุ ซิลิกา(Si) และ ฟอสฟอรัส((P) ปะปนอยู่ในเนื้องทองแดงบางส่วน ซึ่งน่าจะปะปนเป็นมลทินที่ติดมาจากก้อนแร่เช่นกัน ซึ่งแสดงถึงและเป็นเครื่องยืนยันถึงการที่ทองแดงที่ไม่ค่อยบริสุทธิ์ รวมถึงการถลุงที่ค่อนข้างหยาบ(การถลุงโบราณไม่สามารถดึงเอามลทินออกจากแร่ได้ทั้งหมด)
6.พบธาตุ ดีบุก(Sn) สังกะสี(Zn) และเงิน(Ag) อยู่ในปริมาณไม่มาก ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ 2 กรณี คืออาจเป็นมลทินที่ติดมาจากก้อนแร่ หรือ อาจเกิดจากการนำเอาโลหะเก่ามาผลิตซ้ำเป็นก้อนทองแดง
ชื่อเรื่อง สิริมหามายา (สีมหามายา)
สพ.บ. 288/4ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 54 หน้า กว้าง 4.2 ซ.ม. ยาว 55.4 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา สิริมหามายา
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง อุณฺหิสวิชย (อุณณหิสสวิไช)
สพ.บ. 334/1ฉประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 20 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 58 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.183/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4.5 x 59.5 ซ.ม. : ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 105 (110-116) ผูก 2 (2565)หัวเรื่อง : ธมฺมจกฺกปฺปวตฺตนสุตฺตฎีกา(ฎีกาธัมมจักร) --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
มงฺคลตฺถทีปนี (มงฺคลตฺถทีปนี เผด็จมงคลสูตร)
ชบ.บ.88ข/1-23
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
เลขทะเบียน : นพ.บ.352/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 60 หน้า ; 4.5 x 50.5 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 135 (378-387) ผูก 4 (2565)หัวเรื่อง : มหานิปาตวณณนา เวสฺสนฺตรชาตก )ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฐกถา (ทานขันธ์)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม