ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,346 รายการ

ชื่อโบราณวัตถุ : ภาชนะดินเผาแบบศิลปะ : สมัยก่อนประวัติศาสตร์ชนิด : ดินเผาขนาด : สูง 18.5 เซนติเมตร ปากกว้าง 12.5 เซนติเมตรอายุสมัย : วัฒนธรรมบ้านเชียงสมัยต้น 4,500 - 3,000 ปีมาแล้วลักษณะ : ภาชนะดินเผามีเชิง มีการตกแต่งด้วยลายเชือกทาบ ขูดขีด ปั้นแปะ และรมควันให้เป็นสีดำ มีการเจาะรูบริเวณเชิงภาชนะสภาพ : ...ประวัติ : ...สถานที่จัดแสดง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานีแสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่  http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/banchiang/360/model/06/ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/banchiang



         เครื่องมือหินกะเทาะ แบบขุดสับ          - อายุสมัย ก่อนประวัติศาสตร์          - ชนิด หิน          - ขนาด ยาว ๑๑.๓ ซม. กว้าง ๗.๒ ซม.          รศ.วีรพันธุ์ มาลัยพันธุ์ ภาควิชาโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร สำรวจเก็บจากพื้นดินที่บ้านท่ามะนาว ตำบลช่องสะเดา อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันที่ ๑๗-๑๘ กันยายน ๒๕๓๑ มอบให้เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๓๑   แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/3d_object/?obj=40611   ที่มา: https://smartmuseum.finearts.go.th




ชื่อเรื่อง :  รายละเอียดการรับเสด็จฯ สมเด็จพระเจ้ากรุงนอรเว ในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศไทย วันที่ ๑๕-๒๓ มกราคม ๒๕๐๘ผู้แต่ง : ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ : ๒๕๐๘สถานที่พิมพ์ :  พระนคร สำนักพิมพ์ :  โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรีจำนวนหน้า : ๑๒๒ หน้าเนื้อหา : หนังสือรายละเอียดการรับเสด็จฯ สมเด็จพระเจ้ากรุงนอรเว ในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศไทย วันที่ ๑๕-๒๓ มกราคม ๒๕๐๘ ประกอบด้วยเนื้อหาภาษาไทยและภาคผนวกภาษาอังกฤษ อันมีรายละเอียดที่สำคัญดังนี้ รายชื่อบุคคลในคณะตามเสด็จฯ ของสมเด็จพระเจ้ากรุงนอรเว / ที่ประทับ / รายละเอียดการรับเสด็จ ฯ สมเด็จพระเจ้ากรุงนอรเว ณ สถานที่ต่างๆ ในประเทศไทย / รายละเอียดการเสด็จ ฯ เฝ้า สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ ณ วังศุโขทัย – การเสด็จ ฯ เฝ้าสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ณ วังสระปทุม / รายละเอียดการเสด็จ ฯ สถานที่อื่นๆ ณ กรุงเทพมหานคร และจังหวัดเชียงใหม่ จนกระทั่งสมเด็จพระเจ้ากรุงนอรเว เสด็จฯ กลับจากเชียงใหม่  เลขทะเบียนหนังสือหายาก : ๘๓๘เลขทะเบียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ : E-book_๒๕๖๗_๐๐๓๘หมายเหตุ : โครงการจัดเก็บและอนุรักษ์หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗



ชื่อเรื่อง : กองทัพกู้ชาติของพระเจ้าตากสินและเมืองจันทบุรี คำค้น : สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช, กรุงธนบุรี, ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจังหวัดจันทบุรี รายละเอียด :  - ผู้แต่ง : ธวัช ปุณโณทก แหล่งที่มา : หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี หน่วยงานที่รับผิดชอบ : หลักพิมพ์ วันที่ : 2547 วันที่เผยแพร่ : 12 ตุลาคม 2567 ผู้ร่วมสร้างสรรค์ผลงาน : - ลิขสิทธิ์ : - รูปแบบ : PDF. ภาษา : ภาษาไทย ประเภททรัพยากร : หนังสือท้องถิ่น (ห้องจันทบุรี) ตัวบ่งชี้ : 974-92305-2-3 รายละเอียดเนื้อหา : หนังสือกล่าวถึงประวัติศาสตร์ในช่วงที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชรวบรวมไพร่พลที่หัวเมืองภาคตะวันออกและจัดตั้งเป็นกองทัพเพื่อไปกู้ชาติยังค่ายโพธิ์สามต้นและปราบก๊กเจ้าพิมาย เลขทะเบียน : น 48 บ. 59262 จบ. (ร) เลขหมู่ : 959.303 ธ392ก


ปรมตฺถโชติกา นาม ชุทฺทกนิกายฏฺฐกถา สุตฺตนิปาด วณฺณานา (ทุติโย ภาโค).  กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พาณิชศุภพล, 2468.



พิพิธิภัณฑสถานแห่งชาติเสมือนจริง ถลาง : http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/thalang        เมื่อประมาณปี พ.ศ.2525 กลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็ต ส่วนราชการ เอกชน และองค์กรประชาชนในท้องถิ่น มีแนวคิดในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ในจังหวัดภูเก็ต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมจัดแสดงให้ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดภูเก็ต และเพื่อเป็นการ “ฉลอง 200 ปีวีรสตรเมืองถลาง” ซึ่งครบรอบในปี พ.ศ.2528           กรมศิลปากรได้เริ่มก่อสร้างตัวอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง ในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2528 แล้วเสร็จในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2529 และเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2532 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธีเปิด           อาคารของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง ออกแบบโดยนายอุดม สกุลพาญิช โดยได้ดัดแปลงรูปแบบอาคารมาจากเรือนไทยพื้นถิ่นภาคใต้โดยการนำวัสดุสมัยใหม่มาประยุกต์ในการก่อสร้างเพื่อความคงทนถาวร เป็นอาคารที่โดดเด่นในด้านการอนุรักษ์แบบบ้านโบราณ อาคารหลังนี้จึงได้รับรางวัล Gold Medal ซึ่งเป็นรางวัลออกแบบสถาปัตยกรรมดีเด่นประเภทอาคารที่ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมจากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ เนื่องในงานนิทรรศการ “สถาปนิก 30”           พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง จึงถือเป็นอาคารที่มีความสำคัญและได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนพิเศษ 17 ง วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2542


วงมโหรีพื้นบ้านสุรินทร์                 ประเทศไทยมีวงมโหรีมาแต่โบราณ มีการประสมวงมโหรีกับวงเครื่องสาย วงปี่พาทย์ วงขับไม้ และวงประเภทเครื่องกลองแขก (สุพรรณี เหลือบุญชู ๒๕๒๙ : ๕๒) ในจังหวัดสุรินทร์นิยมเล่นกันแพร่หลายในเขตอำเภอสังขะ และอำเภอเมืองสุรินทร์ จากการสัมภาษณ์นายกุน ผลแมน หัวหน้าวงมโหรีบ้านภูมิโปน ทราบว่าเริ่มเรียนดนตรีครั้งแรกจากครูนิล ซึ่งได้รับการถ่ายทอดจากข้าหลวง ที่รัฐบาลได้ส่งมาปกครองมณฑลอีสานในสมัยรัชกาลที่ ๕ พ.ศ.๒๔๓๖ – ๒๔๕๑ (หม่อมอมร วงศ์วิจิตร ๒๕๐๖) การเล่นมโหรีจึงได้แพร่หลายสู่ชาวบ้าน ต่อมานายกุน ผลแมน ได้ถ่ายทอดแก่คณะดนตรีหมู่บ้านภูมิโปน และบ้านดม             เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบในการเล่นมโหรีของวงบ้านภูมิโปน – บ้านดม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ประกอบด้วย             ๑. ซอกลาง ลักษณะเหมือนซออู้ แต่มีเสียงสูงกว่าซออู้เล็กน้อย หรือเรียกว่าซออู้เสียงกลาง             ๒. ซออู้ ตัวกะโหลกซอทำด้วยกะลามะพร้าว ขึงหนังวัว มีสาย ๒ สาย คันชักทำด้วยขนหางม้า มีเสียงทุ้มนุ่มนวล             ๓. ซอด้วง เป็นซอ ๒ สาย กะโหลกซอทำด้วยไม้ไผ่ ใช้หนังงูเหลือมขึง คันชักทำด้วยขนหางม้า มีเสียงแหลม             ๔. ปี่ใน(ชลัย) เป็นปี่ที่ทำด้วยไม้ชิงชัน หรือไม้พยูงกลึงให้ป่องกลาง และบานปลายทั้งสองข้างเล็กน้อย เจาะเป็นรูกลวงภายใน มีรูสำหรับปิดเปิดนิ้วเพื่อให้เกิดเสียงต่างๆ เจาะรูปี่ ๖ รู ลิ้นปี่ทำด้วยใบตาลตัดกลมมนซ้อนสี่ชั้น ผูกติดกับโลหะ             ๕. กลองสองหน้า เป็นกลองที่ขึงด้วยหนังทั้งสองหน้าเสียงแบบเดียวกับตะโพน ใช้มือตีทั้งสองด้าน ใช้ใบเดียวตีประกอบจังหวะในวงมโหรี             ๖. ฉิ่ง เป็นโลหะหล่อหนา ชุดหนึ่งมี ๒ ฝา เสียงจะดังฉิ่ง – ฉับ จำทำหน้าที่เป็นหลักในการบรรเลง             ๗. ฉาบ เป็นโลหะหล่อเช่นเดียวกับฉิ่ง แต่มีเส้นผ่าศูนย์กลางกว้างกว่าฉิ่ง และบางกว่า จะใช้ฉาบตีขัดกับฉิ่ง เพื่อให้การบรรเลงสนุกสนาน             จากเครื่องดนตรีที่กล่าวมาจะเห็นว่ามีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายและประเภทปี่พาทย์บางชิ้นมาประสมกัน โดยมีซอกลางเป็นเครื่องดนตรีหลักของวงมโหรี ใช้บรรเลงในงานต่างๆ             เพลงที่ใช้ประกอบในวงมโหรี แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ             ๑. เพลงขับร้อง เป็นการบรรเลงดนตรีที่มีคำร้องประกอบ มีทั้งร้องส่ง ร้องคลอ และร้องรับกับการบรรเลงดนตรี เนื้อร้องเป็นภาษาเขมรที่ถ่ายทอดมาแต่ดั้งเดิม บางครั้งเป็นการด้นกลอนสดๆ ให้เข้ากับทำนองเพลง เรียกว่า การเจรียง(ร้อง) จังหวะของเพลงจะตีฉิ่งในอัตราจังหวะ ๒ ชั้น ประเภทเพลงขับร้อง ได้แก่             เพลงขับร้อง คำร้องของเพลงขึ้นต้นด้วยคำว่า “อาเล”             เพลงกแอกคเมา (แปลว่า กาดำ)             เพลงซองซาร แปลว่าที่รัก หรือบทเพลงแห่งความรัก ในการเจรียงเพลงนี้จะมีการเรือม(รำ) เกี้ยวกันระหว่างชายหญิง เพราะบทร้องเพลงซองซารจะเป็นบทร้องโต้ตอบระหว่างชาย – หญิง             เพลงกันตบ เป็นบทร้องสอนหญิง             เพลงลาวเสี่ยงเทียน เป็นบทเพลงไทยเดิม เนื้อร้องอาจจะใช้เพลงลาวเสี่ยงเทียน หรืออาจแปลงเนื้อร้องเป็นภาษาเขมรหากนักร้องมีความชำนาญ             เพลงอายัยโบราณ เป็นการด้นกลอนสด โดยใช้เนื้อร้องตามโอกาส หรืองานที่ไปเล่น การเล่นเพลงนี้จะมีการเรือม(รำ) ประกอบ             เพลงอมตูก หมายถึง พายเรือ เนื้อหาจะกล่าวถึงการพายเรือ และแจวเรือ มีการเรือม(รำ) ประกอบ             เพลงสีนวล เป็นเพลงไทยเดิม             เพลงเขมรปากท่อ เป็นเพลงไทยเดิม             เพลงมลบโดง หมายถึง ร่มมะพร้าว             เพลงตำแร็ยยูลได หมายถึง ช้างแกว่งงวง             เพลงก็อทกรูว             เพลงกระซิงเตียม             เพลงเขมรเป่าใบไม้             เพลงเมื้อนตึก                      ฯลฯ             จะเห็นว่าเพลงขับร้องที่กล่าวมา หรืออาจมากกว่านี้จะมีทั้งเพลงที่เป็นเพลงไทยเดิม และเป็นเพลงภาษาเขมรที่นำมาจากวงกันตรึม มาใช้บรรเลงในวงมโหรีของคณะบ้านภูมิโปนและบ้านดม ลักษณะของเพลงส่วนมากจะเป็นเพลงเบ็ดเตล็ดต่างๆ จัดอยู่ในประเภทเพลงเกร็ด หมายถึง เพลงที่ไม่ได้เรียบเรียงเข้าเป็นชุดต่างๆ เช่น เพลงเรื่อง เพลงตับ เพลงเถา ใช้สำหรับบรรเลงในเวลาสั้นๆ             ๒. เพลงบรรเลง หมายถึง เพลงที่ใช้ดนตรีล้วนๆ ไม่มีการร้องหรือเจรียงประกอบ แบ่งออกเป็น                      เพลงโหมโรง เพื่อเป็นการไหว้ครูหรือระลึกถึงครูบาอาจารย์ นอกจากนี้เมื่อเพลงโหมโรงเป็นการประกาศให้ทราบว่า จะมีการแสดงหรือมีมหรสพ การโหมโรงยังเป็นการเตรียมตัวในการบรรเลงเพลงต่อไป เพลงโหมโรงในวงมโหรีของคณะบ้านภูมิโปน – บ้านดม เช่น เพลงหัวคำปัน เป็นเพลงที่ใช้สำหรับขบวนแห่ไม่มีเนื้อร้อง             เพลงหน้าพาทย์ ชาวไทยเขมรจะเรียกว่าเพลง “ประพาทย์” หรือ “หน้าพาทย์” ในวงมโหรีคณะบ้านภูมิโปน – บ้านดม จะบรรเลงเพลงกล่อม เพลงต้นฉิ่ง ฯลฯ ซึ่งจะเห็นว่าเป็นเพลงหน้าพาทย์ที่ใช้บรรเลงประกอบอากับกิริยา อารมณ์ ของตัวละครที่ทางภาคกลางนำมาใช้หรือใช้สำหรับนาฏศิลป์จากราชสำนัก เพลงหน้าพาทย์ดังกล่าว ชาวบ้านภูมิโปน – บ้านดม นำมาใช้บรรเลงในพิธีมงคลต่างๆ ทั้งด้านเกี่ยวกับศาสนา หรือในพิธีเชิญครู อาจารย์ ให้มาร่วมในพิธีอันศักดิ์สิทธิ์ ลักษณะของเพลงหน้าพาทย์จะมีทำนองและจังหวะกำหนดเป็นแบบแผน ไม่มีบทร้อง เป็นการบรรเลงดนตรีอย่างเดียว       บรรณานุกรม   เติม วิภาคย์พจนกิจ. ประวัติศาสตร์อีสาน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๓๐.   ปฐม คเนจร(หม่อมอมร วงศ์วิจิตร), ม.ร.ว. ประชุมพงศาวดารภาค ๔. กรุงเทพฯ : ก้าวหน้า, ๒๕๐๗.   วิทยาลัยครูสุรินทร์ เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการ เรื่องเพลงพื้นบ้านและการละเล่นพื้นบ้านจังหวัดสุรินทร์. สุรินทร์ : วิทยาลัยครูสุรินทร์, ๒๕๒๖.   สุรินทร์, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เอกสารประกอบการประชุมคณะทำงานทางวิชาการจัดทำข้อมูลการจัดแสดงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์. เอกสารอัดสำเนา.





วันที่ ๒๗ -๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๒ นางตรีทิพย์ บัวริน หัวหน้าหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ตรัง เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “พัฒนากระบวนการทางความคิด” (Growth Mindset) สำหรับนักบริหารกรมศิลปากร ณ โรงแรมตรัง กรุงเทพฯ โดยอาจารย์ชัยวัฒน์ ร่างเล็ก เป็นวิทยากร #สร้างกระบวนความความคิดตามขั้นตอนสรุปว่าสิ่งที่เราจะต้องเริ่มทำงานคือเป้าหมาย, กิจกรรม, ความคิด (growth mindset)​ และความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น/การป้องกันความเสี่ยง


Messenger