ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,346 รายการ

ชื่อผู้แต่ง             พูนพิสมัย ดิศกุล , หม่อมเจ้าหญิง ชื่อเรื่อง               ประเพณีไทย หม่อมเจ้าหญิง พูนพิสมัย นิพนธ์ ครั้งที่พิมพ์           พิมพ์ครั้งที่๕ สถานที่พิมพ์         พระนคร สำนักพิมพ์           โรงพิมพ์แพร่การช่าง ปีที่พิมพ์               ๒๕๑๓ จำนวนหน้า           ๘๔  หน้า หมายเหตุ             พิมพ์เป็นอนุสรณ์งานฉลองและบรรจุอิฐ นางมาลี  สุวรรณเวช(พี่)                             หนังสือประเพณีไทยดังกล่าวจึงเป็นการเหมาะสมอย่างยิ่งที่ตีพิมพ์ขึ้นและให้แพร่หลาย ย่อมเป็นประโยชน์แก่ท่านที่สนใจในประเพณีของไทยเรา ไม่ว่าจะทำงานอะไรก็ดี พิธีทางพุทธศาสนาจะต้องเป็นหลักในงานนั้น เพราะคนไทยเรายึดมั่นในพระพุทธศาสนาเป็นหลักนับตั้งแต่เกิดจนถึงตาย


ชื่อเรื่อง                     ข้อมูลและประวัติของตำบลมะขามล้มผู้แต่ง                       กังวาฬ วงษ์พันธุ์ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                   ภูมิศาสตร์และการท่องเที่ยวเลขหมู่                      915.9373 ก379ขสถานที่พิมพ์               ม.ป.ท.   สำนักพิมพ์                 ม.ป.พ.ปีที่พิมพ์                    ม.ป.ป.ลักษณะวัสดุ               46 หน้า ; 29 ซม.หัวเรื่อง                     ตำบล—ประวัติ                              สุพรรณบุรี—ความเป็นอยู่และประเพณีภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก          หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงพงศาวดารของพวน ประวัติของหมู่บ้านมะขามล้ม ประวัติของวัดและสมภารต่างๆ ที่เป็นการเล่าของคนรุ่นเก่า ผู้เขียนจึงเขียนขึ้นเพื่อจะได้เป็นหลักฐานไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา  




แนะนำหนังสือน่าอ่าน เรื่อง สารคดีชุด ถิ่นทองของไทย จันทบุรี สมัย สุทธิธรรม. สารคดี ชุด ถิ่นทองของไทย : จันทบุรี. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์, 2541. 56 หน้า. ภาพประกอบ. 105 บาท. หนังสือเล่มนี้ได้กล่าวถึง ประวัติศาสตร์ทั้งในอดีตถึงปัจจุบัน ตำนาน ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมหรือขนบธรรมเนียม ประเพณีและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ต่างๆ ของท้องถิ่นจังหวัดจันทบุรี พร้อมทั้งรวมเรื่องราวน่ารู้ แนะนำแหล่งท่องเที่ยวหรือสถานที่สำคัญของจังหวัดจันทบุรี ท 915.9326 ส292จ (ห้องจันทบุรี)


         มีประวัติโดยคร่าวกล่าวว่าศิลาจารึกหลักนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) เมื่อครั้งทรงผนวช มีรับสั่งให้นำลงมาจากเมืองสุโขทัย เมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๗๖ เก็บรักษาไว้ในหอพระสมุดวชิรญาณ กระทั่งวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๑๑ นายเชื้อ สาริมาน อธิบดีกรมศิลปากรในสมัยนั้น ให้นำมาจัดแสดงในห้องสุโขทัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร           ส่วนความเป็นที่สุดของจารึกหลักนี้ มีจุดเริ่มต้นอยู่ในจดหมายเวร ฉบับลงวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๔๗๕ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีพระวินิจฉัยต่อพระดำริในสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ว่าด้วยเรื่องวรรณยุกต์ โดยทรงได้เทียบเคียงกับสำเนียงแต่ละภูมิภาค กระทั่งทรงพบหลักฐานชิ้นสำคัญ มีเนื้อหาระบุไว้ความว่า “...ครั้นเช้าวันนี้หม่อมฉันไปพิพิธภัณฑสถาน เรื่องปรารภที่ทูลมาติดใจไป จึงแวะไปดูหลักศิลาจารึกของพระเจ้ารามคำแหงมหาราช เห็นใช้หมายกากะบาด ไม่มีโท แต่มีเอก ก็นึกว่าจะมีวิธีอ่านและออกสำเนียงเปนอย่างอื่น ไม่เหมือนเช่นเราชาวกรุงเทพฯใช้กัน จึ่งทูลมาเพื่อทรงวินิจฉัย”           ต่อมา สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้ทรงพิจารณาตรวจสอบเรื่องไม้เครื่องหมายเสียงและสำเนียงภาษาแล้ว จึงได้ถวายรายงานตอบกลับในจดหมายเวร ฉบับลงวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๔๗๕ ความว่า “...ไม้เอกโทนั้น ได้พบในหนังสืออันแก่ที่สุดก็ที่จารึกหลักศิลาของขุนรามคำแหงเมืองสุโขทัย ... ไม้เอกแปลว่าไม้อันเดียวขีดเดียว ไม้โทแปลว่าไม้สองอันขีดก่ายกันเป็นกากบาท ต่อมาภายหลังเขียนอย่างง่ายๆ ไม่ยกเหล็กจาร ทุกวันนี้จึ่งกลายรูปเป็นไม้สองอันต่อกันเป็นมุมฉาก ... เมื่อจารึกหนังสือไทยลงหลักศิลานั้นมีไม้เอกโทแล้ว หลักศิลานั้นเป็นหนังสือไทยที่จารึกในแผ่นดินขุนรามคำแหง และมีความปรากฏว่าขุนรามคำแหงเป็นผู้คิดหนังสือไทย ก็ต้องถือว่าไม้เอกโทมีมาพร้อมแต่แรกคิดหนังสือไทยในครั้งขุนรามกำแหงนั้น..." ดังนั้น จากพระวินิจฉัยข้างต้น จึงสรุปได้ว่าศิลาจารึกหลักที่ ๑ ถือเป็น “หนังสืออันแก่ที่สุด” ที่กล่าวถึงวรรณยุกต์เอกโท ทั้งยังถือว่าเป็นจารึกอักษรไทย ภาษาไทยที่เก่าที่สุดด้วย             (เผยแพร่ข้อมูลโดย นายศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ / เทคนิคภาพโดย นายอริย์ธัช นกงาม ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ / ภาพประกอบจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)



ชื่อเรื่อง                     เรื่องน่ารู้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครผู้แต่ง                       ธนิต  อยู่โพธิ์ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ศิลปกรรมและการบันเทิงเลขหมู่                      708.9593 ธ262รสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 ห้างหุ่นส่วนจำกัด ศิวพรปีที่พิมพ์                    2510ลักษณะวัสดุ               146 หน้าหัวเรื่อง                     พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร                              ศิลปวัตถุ                              โบราณวัตถุ – ไทยภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกพิพิธภัณฑสถานเป็นที่รวบรวมงานประดิษฐกรรมและศิลปวัตถุ ที่สร้างขึ้นด้วยสมองและฝีมือของมนุษย์ 


องค์ความรู้ สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี เรื่อง ยลโฉมอัปสรา – ทวารบาล ณ วัดสุปัฏนารามวรวิหาร อุบลราชธานี วัดสุปัฏนารามวรวิหาร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำมูล ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับพระราชทานนามวัดจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ภายในบริเวณวัดมีหอศิลปวัฒนธรรมซึ่งเก็บรักษาโบราณวัตถุต่าง ๆ โดยส่วนหนึ่งเป็นสมบัติของวัดที่มีมาแต่เดิมและบางส่วนมีผู้นำมาถวาย โบราณวัตถุชิ้นสำคัญ เช่น จารึกถ้ำภูหมาใน จ.อุบลราชธานี จารึกจากปราสาทพิมาย จ.นครราชสีมา ทับหลังแบบถาลาบริวัตร เทวรูปพระพิฆเณศวร ชิ้นส่วนเสารองรับหน้าบันปราสาทหิน รวมถึงข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ อีกหลายรายการ ในบรรดาโบราณวัตถุที่เก็บรักษาในหอศิลปวัฒนธรรมนั้น “ชิ้นส่วนเสารองรับหน้าบันปราสาทหิน” มีความโดดเด่นน่าสนใจอย่างยิ่ง ลักษณะเป็นเสาสี่เหลี่ยมผืนผ้า สูง ๑๑๔ เซนติเมตร สลักจากหินทรายสีน้ำตาล – เทา มีภาพสลักอยู่ ๒ ด้าน ด้านหนึ่งเป็นรูปบุรุษ อีกด้านหนึ่งเป็นรูปนางอัปสร มีความงดงามหาชมได้ยากในประเทศไทย แต่น่าเสียดายที่ไม่ทราบที่มาของโบราณวัตถุชิ้นนี้ว่าได้มาจากปราสาทหลังใด กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๙ หน้า ๑๔ ลงวันที่๑๒ มกราคม ๒๕๓๓ ในชื่อ เสาประดับกรอบประตู ศิลปะลพบุรี เดิมตั้งอยู่ด้านนอกอุโบสถวัดสุปัฏนารามวรวิหาร จนกระทั่งปี ๒๕๓๕ หลังจากที่สร้างหอศิลปวัฒนธรรมแล้วเสร็จจึงได้ย้ายไปเก็บรักษาภายในอาคาร เมื่อพิจารณารูปแบบการแต่งกายของนางอัปสราหรือนางอัปสรพบว่า ทรงศิราภรณ์ยอดเดียว สวมกระบังหน้า ทรงกุณฑล กรองศอ พาหุรัด ทองกร และทองพระบาท นุ่งผ้าชักชายยาว มีผ้าพับย้อนออกมาด้านหน้าตามรูปแบบที่นิยมในสมัยนครวัดตอนต้น ซึ่งการนุ่งผ้าลักษณะนี้พบมากที่ปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์เช่นกัน นอกจากนี้นางอัปสรถือก้านดอกบัวที่หัตถ์ขวา มีนกแก้วเกาะอยู่บนไหล่ซ้าย คล้ายนางอัปสรที่ปราสาทศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ เป็นอย่างมาก สำหรับภาพสลักบุรุษมีพระพักตร์ยิ้มแย้ม สวมรัดเกล้าทรงกรวย กระบังหน้า ทรงกุณฑล พาหุรัด และทองกร นุ่งผ้าสั้นเหนือเข่า หัตถ์ทั้งสองประสานกันที่ด้านหน้ากุมปลายกระบอง ลักษณะรูปแบบเดียวกับภาพสลักทวารบาลที่ปราสาทศีขรภูมิเช่นกัน จากตำแหน่งการจัดวางภาพสลักที่มีนางอัปสรยืนอิงแอบกับรูปบุรุษ เมื่อนำไปเทียบกับที่ปราสาทศีขรภูมิทำให้ทราบว่า ชิ้นส่วนเสารองรับหน้าบันปราสาทหินที่วัดสุปัฏนารามนี้ เป็นเสาด้านขวาของประตูปราสาท เนื่องจากภาพสลักบุรุษดังกล่าว คือ “นนทิเกศวร” ทวารบาลผู้รักษาทางเข้าวิมานของพระศิวะ ในยามปกติจะเป็นเทพบุตรเฝ้าวิมาน แต่เมื่อพระศิวะจะเสด็จออกด้านนอกจะแปลงเป็นโคสีขาวเพื่อเป็นเทพพาหนะ นนทิเกศวรจะเฝ้าอยู่ด้านขวาของประตูปราสาทเสมอ ส่วนฝั่งตรงข้ามจะเป็น “มหากาล” ซึ่งจะอยู่ด้านซ้ายของประตูปราสาท โดยมหากาลจะมีพระพักตร์ดุร้าย แยกเขี้ยว เบิกตาโพลง ผมสยาย แตกต่างจากนนทิเกศวรที่จะมีพระพักตร์ยิ้มแย้มอย่างเห็นได้ชัด จากลักษณะการแต่งกายที่กล่าวมาทั้งหมด สันนิษฐานว่าชิ้นส่วนเสารองรับหน้าบันปราสาทหินชิ้นนี้ มีรูปแบบศิลปะนครวัดตอนต้น ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ประมาณ ๙๐๐ – ๑,๐๐๐ ปีมาแล้ว ร่วมสมัยกับปราสาทศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ และปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ หากท่านใดมีโอกาสเดินทางมาที่จังหวัดอุบลราชธานี อย่าลืมมายลโฉมนางอัปสรา – ทวารบาล ณ วัดสุปัฏนารามวรวิหาร โบราณวัตถุชิ้นเอกที่ผู้ชื่นชอบด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ศิลปะ ต้องห้ามพลาดครับ ผู้เรียบเรียง: นายกฤษณพงศ์ พูนสวัสดิ์ นักโบราณคดีปฏิบัติการ สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี เอกสารอ้างอิง: คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดสุรินทร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๔๒. คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดอุบลราชธานี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๔๔. สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี, โบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนแล้วในพื้นที่สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี. อุบลราชธานี: อุบลกิจออฟเซทการพิมพ์, ๒๕๖๓. สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์, ม.ร.ว. ปราสาทเขาพนมรุ้ง ศาสนบรรพตที่งดงามที่สุดในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๓๖.                  


        กรมศิลปากร ขอเชิญชวนประชาชนชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดใกล้เคียง ร่วมพิธีสมโภชองค์พระกฐินพระราชทานกรมศิลปากร ณ วัดชุมพลนิกายารามราชวรวิหาร ในวันศุกร์ที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๘.๐๐ น. และขอเชิญชมการแสดงโขน เรื่อง "รามเกียรติ์ ตอนศึกโรมคัลทศกัณฐ์พ่าย" โดยศิลปินจากสำนักการสังคีต กรมศิลปากร ในเวลา ๑๙.๐๐ น. ณ ลานจอดรถ โรงเรียนวัดชุมพลนิกายาราม ตำบลบ้านเลน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชมฟรี! ไม่เสียค่าใช้จ่าย เนื้อเรื่องโดยย่อ การแสดงโขน เรื่อง "รามเกียรติ์ ชุด ศึกโรมคัล ทศกัณฐ์พ่าย"   เมื่อทศกัณฐ์ทำสงครามกับพระรามเพื่อแย่งชิงนางสีดา  เป็นเหตุให้เหล่าอสูรพระญาติวงศ์และพันธมิตรต้องล้มตายไปมากมาย  เพราะถูกพระราม พระลักษมณ์และพลวานรเข่นฆ่า แต่ทศกัณฐ์ไม่ยอมแพ้และไม่ยอมส่งนางสีดาคืนให้พระรามเลือกที่จะทำสงครามต่อไป  จึงบัญชาให้พญาแสงอาทิตย์ อุปราชเมืองโรมคัล  พระราชนัดดา  ผู้เรืองอานุภาพด้วยแว่นกายสิทธิ์ส่องต้องผู้ใดจะมอดไหม้เป็นเถ้าธุลีมาช่วยรบ  แต่สมเด็จพระรามก็ล่วงรู้ถึงฤทธิ์เดชของแว่นวิเศษแสงอาทิตย์  ซึ่งพระพรหมมานประทานให้จากพญาพิเภกโหรา  จึงบัญชาให้องคตแปลงเป็นพี่เลี้ยงแสงอาทิตย์ชื่อ จิตรไพรี  ไปลวงขอแว่นมณีจากพระพรหมมาทำลาย  โดยขอให้พิเภกแปลงกายเป็นจิตรไพรีเพื่อให้องคตจดจำรูปร่าง  เมื่อองคตไปลวงเอาแว่นของแสงอาทิตย์มาถวายได้สำเร็จ  พระราม  พระลักษมณ์จึงยกไพร่พลวานรออกไปทำศึกกับแสงอาทิตย์  แล้วทั้งสองพระองค์ก็แผลงศรสังหารแสงอาทิตย์และจิตรไพรีถึงแก่ความตาย            ฝ่ายทศกัณฐ์รู้ข่าวว่าแสงอาทิตย์ราชนัดดาถูกพระรามฆ่าตาย ก็เสียพระทัยและแค้นใจ จึงยกกองทัพออกไปรบสู้หมายทำลายล้างพระราม พระลักษมณ์และพวกวานรให้พินาศแต่ก็มิอาจเอาชนะได้  จนกระทั่งการสู้รบล่วงใกล้ค่ำทศกัณฐ์จึงต้องถอยทัพคืนกลับเข้ากรุงลงกา


ชื่อเรื่อง                               ทฺวาทสปริตฺต(สวดมนต์สิบสองตำนาน) สพ.บ.                                 อย.บ.7/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           34 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 55.5 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทสวด                                           พระวินัย                                            คำสอน บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน ภาษามอญ เส้นจาร ฉบับทองทึบ ลานดิบ  ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก วัดประดู่ทรงธรรม จ.พระนครศรีอยุธยา


ส่งเสริมการอ่านผ่าน Facebook กับหอสมุดแห่งชาติชลบุรี แนะนำหนังสือหมวดหมู่ปรัชญา โดย นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพสาขาวิชาศาสนาและปรัชญา คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา นิยามปรัชญาสำหรับเด็กในฐานะที่เป็นปรัชญาที่ได้ประยุกต์เพื่อการศึกษา โดยมีจุดประสงค์ในสร้างนักเรียนที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการให้เหตุผล (reasoning) และการตัดสิน (judgement) ให้ดียิ่งขึ้น ในแง่นี้ปรัชญาสำหรับเด็กจึงเป็นปรัชญาประยุกต์รูปแบบหนึ่งแต่ไม่ใช่ในลักษณะที่เป็นการทำความเข้าใจกับแนวคิดของนักปรัชญา ปรัชญาสำหรับเด็กจึงไม่ได้หมายถึงการให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับปรัชญา (learn about philosophy) ไม่ใช่การสอนประวัติศาสตร์ความคิดของนักปรัชญา แต่เป็นการให้เด็กทำปรัชญา (do philosophy) โดยมุ่งเน้นการสอนที่เป็นไปในลักษณะที่เป็นการสอนเพื่อการคิด ปรัชญาสำหรับเด็ก(Philosophy for Children) มีจุดประสงค์หลัก คือ เพื่อช่วยให้เด็กเรียนรู้ที่จะคิดได้ด้วยตนเอง โดยผ่านสื่อที่มีลักษณะเชิงเรื่องเล่า ซึ่งช่วยเร้าให้เกิดการสนทนา เกิดกระบวนการคิดเชิงวิพากษ์ ด้วยการสืบสอบ การใช้เหตุผล การสร้างมโนทัศน์ และการสื่อสารความหมายสู่คนอื่นโดยวิธีการที่ลิปแมนเรียกว่า ชุมชนแห่งการสืบสอบ ปรัชญาสำหรับเด็กมีเป้าหมายที่จะช่วยส่งเสริมให้เด็กปรับปรุงการคิดใน 3 ด้าน คือ การคิดเชิงวิพากษ์ (critical thinking) การคิดเชิงสร้างสรรค์ (creative thinking) และการคิดเชิงอาทร (caring thinking) ลักษณะการคิดทั้งสามด้านที่แตกต่างกันนี้เชื่อมโยงได้กับอุดมคติของปรัชญากรีกในด้านความจริง(Truth) ความงาม(Beauty) และความดี(Goodness)ดังหนังสือสำหรับเด็กที่จะยกตัวอย่างต่อไปนี้ เรื่องราวของเด็กชายคนหนึ่งที่ชื่อ "จอร์จ" และ "คุณยาย" ที่ขี้บ่น เห็นแก่ตัว จอร์จไม่ค่อยชอบหน้ายายเท่าไหร่นัก จึงเป็นที่มาของเรื่องราววุ่นๆ ที่เกิดขึ้นมากมาย เริ่มจากการที่จอร์จต้องการจะแกล้งยายคืน หลังจากที่ยายแกล้งเขาจนขวัญกระเจิง จึงผสมยาสูตรต่างๆ ให้ยายทาน ผลคือยายกลับมีรูปร่างสูงใหญ่ขึ้นไปเรื่อยๆ จนทะลุหลังคาบ้าน เรื่องราวดูเหมือนจะจบลงที่ เขาผสมยาสูตรใหม่ขึ้นมาเพื่อให้ยายดื่มแล้วตัวเล็กลง แต่กลับกลายเป็นว่าคุณยายตัวเล็กลงเรื่อยๆ จนหายไปในที่สุด



องค์ความรู้ เรื่อง เพลงยาวเจ้าฟ้ากรมขุนกระษัตรานุชิตทรงปฏิสังขรณ์วัดอไภยทาราม บันทึกการปฏิสังขรณ์พระอารามครั้งใหญ่สมัยรัชกาลที่ ๑ โดย นายปารเมศ อภัยฤทธิรงค์ นักอักษรศาสตร์ปฏิบัติการ กลุ่มภาษาและวรรณกรรม สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 136/1 เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 172/1 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


Messenger