ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,351 รายการ
ชื่อเรื่อง : กระจ่างครูผู้ถวายพระอักษร 130 ปี ชาตกาล ครูกระจ่าง แสงจันทร์ บรรพกวีเมืองตราดและเมืองปัจจันตคีรีเขตร์
คำค้น : กระจ่าง แสงจันทร์, กวีนิพนธ์
รายละเอียด : ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา ร่วมกับสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสครบ 130 ปี ชาตกาล ครูกระจ่าง แสงจันทร์
ผู้แต่ง : อภิลักษณ์ เกษมผลกูล, บรรณาธิการ
แหล่งที่มา : หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : สามลดา
วันที่ : 2555
วันที่เผยแพร่ : 12 ตุลาคม 2567
ผู้ร่วมสร้างสรรค์ผลงาน : -
ลิขสิทธิ์ : -
รูปแบบ : PDF.
ภาษา : ภาษาไทย
ประเภททรัพยากร : หนังสือท้องถิ่น (ห้องจันทบุรี)
ตัวบ่งชี้ : 978-974-11-1610-2
รายละเอียดเนื้อหา : หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาว่าด้วยประวัติของครูกระจ่าง แสงจันทร์ ที่ได้เรียบเรียงขึ้นจากเอกสารประวัติศาสตร์และหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพของครูกระจ่าง และครอบครัว นอกจากนี้ยังได้รวบรวมผลงานในส่วนของประชุมวรรณคดีนิทาน นิราศ บทร้องเพลงไทย คำประพันธ์ และบทร้อยกรองของครูกระจ่าง แสงจันทร์ ไว้อย่างครบถ้วนอีกด้วย ในตอนท้ายเล่ม กองบรรณาธิการได้พิจารณาเพิ่มเอกสารจดหมายเหตุ เรื่อง รายงานตรวจราชการของหลวงคิรีเนมีทวีป ปลัดเมืองปัจจันตคีรีเขตร ร.ศ. 121 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ร่วมสมัยในช่วงชีวิตของครูกระจ่าง แสงจันทร์ เพื่อประโยชน์ในการเผยแพร่เอกสารทางวิชาการต่อไป
เลขทะเบียน : น 55 บ. 67439 จบ. (ร)
เลขหมู่ : 928 ก213
เนื่องด้วยปัจจุบันระบบสืบค้นฐานข้อมูลโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุสำหรับประชาชนทั่วไป ของกรมศิลปากร อยู่ระหว่างการปรับปรุงใหม่ ทางคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เล็งเห็นความสำคัญในการให้บริการฐานข้อมูลดังกล่าว จึงขอแนะนำ 3 ขั้นตอนง่าย ๆ สำหรับผู้สนใจศึกษาเกี่ยวกับโบราณวัตถุ สามารถใช้บริการสืบค้นข้อมูลเพื่อการศึกษาโบราณวัตถุของคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ได้ในปัจจุบัน ดังต่อไปนี้
1.เดินทางไปที่คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดปทุมธานี
2. ติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อเข้าใช้ห้องสืบค้นข้อมูลโบราณวัตถุ
3. หากต้องการศึกษาโบราณวัตถุชิ้นใด สามารถแจ้งแก่เจ้าหน้าที่ เพื่อดำเนินการต่อไป
ทั้งนี้ ท่านสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่ท่านมีความสนใจเข้ามาก่อนได้ ผ่านช่องทาง Facebook: Central Storage of National Museums : คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หรือเบอร์โทรศัพท์ 0 2902 7835 ขออภัยในความไม่สะดวกไว้ ณ ที่นี้ เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาของทุกท่าน
ชาดก. เวสสันดรชาดก ในมหานิบาต ทานกัณฑ์และวันประเวศน์กัณฑ์. พระนคร: โรงพิมพ์การศาสนา, 2503.
ชื่อเรื่อง : โครงการเก็บข้อมูลด้านศิลปะการแสดง (ซอ) จังหวัดพะเยา ผู้แต่ง : สภาวัฒนธรรมจังหวัดพะเยา ปีที่พิมพ์ : 2548 สถานที่พิมพ์ : พะเยา สำนักพิมพ์ : สภาวัฒนธรรมจังหวัดพะเยา โครงการเก็บข้อมูลด้านศิลปะการแสดงซอของจังหวัดพะเยา ซอเป็นดนตรีพื้นบ้านและเป็นภูมิปัญญาด้านการแสดงของเมืองพะเยามานานกว่า 900 ปี เพราะฉะนั้นวิถีชีวิตและภูมิปัญญาท้องถิ่นจึงได้สืบต่อกันมานานเท่ากับวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ในหนังสือเล่มนี้จะมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับซอไม่ว่าจะเป็นประเภทต่างๆ ของซอ ทำนอง เพลงของซอ และยังมีข้อมูลของปราชญ์ชาวบ้านในด้านการเล่นซอหรือช่างซออีกด้วย
พิพิธิภัณฑสถานแห่งชาติเสมือนจริง ชุมพร : http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/chumphon
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร เป็นพิพิธภัณฑสถานที่ก่อตั้งขึ้นโดยดำริของผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร (นายประยูร พรหมพันธ์) เมื่อราว พุทธศักราช 2537 โดยจังหวัดชุมพร ได้มอบที่ดินให้กับกรมศิลปากร เพื่อใช้ในการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถาน จำนวน 7 ไร่ กรมศิลปากร โดยอธิบดีกรมศิลปากร ณ ขณะนั้น (นายสมคิด โชติกวณิชย์) จึงได้ดำเนินการกำหนดเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ตามโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำเมือง ของคณะรัฐมนตรี ที่มุ่งหมายจะกระจายพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ออกไปในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อขยายโอกาสด้านการศึกษาเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนภูมิปัญญาพื้นบ้านท้องถิ่น ให้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคต่างๆ ได้ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้นอกระบบ
การดำเนินการก่อสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร ตลอดจนการจัดทำสื่อจัดแสดง และการติดตั้งระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ได้ดำเนินการระหว่างปีงบประมาณ 2538 - 2540 โดยใช้เงินงบประมาณทั้งสิ้น 54,596,000 บาท
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร ได้ประกาศกำหนดสถานที่จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 115 ตอนที่ 104ง ลงวันที่ 29 ธันวาคม พุทธศักราช 2541 และได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ โดยสมเด็จพระเทพรัตนฯ ราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร เมื่อวันที่ 30 เมษายน พุทธศักราช 2542
ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร เป็นอาคาร 2 ชั้น มีลักษณะของการผสมผสานสถาปัตยกรรมท้องถิ่นภาคใต้และสถาปัตยกรรมร่วมสมัยเข้าด้วยกัน ทำให้มีลักษณะโดดเด่น และทันสมัย ภายในประกอบด้วยห้องจัดนิทรรศการถาวร ห้องสมุด ห้องประชุม ห้องอเนกประสงค์ สำนักงาน คลังเก็บโบราณวัตถุศิลปวัตถุ ร้านจำหน่ายหนังสือและของที่ระลึก
นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีสมโภชน์องค์พระกฐินพระราชทานกรมศิลปากร ประจำปี 2558 และร่วมชมการแสดงโขน เรื่อง "ศึกแสงอาทิตย์ - ศึกพรหมมาศ" ณ วัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหาร เมื่อวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๘
เมื่อวันพุธ ที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๕ เวลา ๐๙.๐๐ น. คณะทัวร์จาก ประเทศเวียดนามได้เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี โดยมี ว่่าที่ร้อยตรีหญิงมินา ลาภสาร พนักงานประจำห้องพิพิธภัณฑ์ เป็นวิทยากรนำชม และมีล่ามภาษาเวียดนามแปลพร้อมอธิบายเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์
อบรมผู้ใช้งานระบบสัมมนาออนไลน์ ในวันที่ 30 มีนาคม 2556
ตั้งแต่เวลา 9.00 - 16.00 โดยเจ้าหน้าที่บริษัท เอ็มเวิร์ค กรุ๊ป จำกัด
๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๒
หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ิพระบรมราชินีนาถ ตรัง ดำเนินการจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการตามโครงการเครือข่ายดูแลรักษาเอกสารโบราณ ประจำปี ๒๕๖๒ โดยมีกิจกรรมบรรยาย หัวข้อ "เย็นศิระพระบริบาล : เอกสารโบราณ" วิทยากรโดยนายเทิม มีเต็ม ผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษาตะวันออก (ผู้ทรงคุณวุฒิกรมศิลปากร) นายเทิม มีเต็มผู้ทรงคุณวุฒิ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และสอนการอ่านเขียนเรียนอักษรขอม วิทยากรโดย เทิม มีเต็ม ผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษาตะวันออก (ผู้ทรงคุณวุฒิกรมศิลปากร) นาย นายจุง ดิบประโคน นักภาษาโบราณชำนาญการพิเศษ และนางศิวพร เฉลิมศรี นักภาษาโบราณชำนาญการพิเศษ และนายวินัย เภาเสน นักภาษาโบราณชำนาญการพิเศษ จากกลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม โดยมีนางตรีทิพย์ บัวริน หัวหน้าหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ฯ ตรัง กล่าวต้อนรับ โดยมีนักเรียน นักศึกษา ครู และประชาชนผู้สนใจทั่วไปเข้าร่วมอบรมทั้งสิ้นจำนวน ๘๐ คน
หัวหน้าหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯนครพนม นางลัดดาวัลย์ ทิพย์สิงห์ นำคณะเจ้าหน้าที่เข้าร่วมงาน วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ประจำปี 2558 ณ ศาลาประชาคมยงใจยุทธ ศาลากลางจังหวัดนครพนม วันที่ 17 มกราคม 2558
เป็นหนังสือจัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในงานกฐินพระราชทาน วัดพระธาตุไชยา อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี เมื่อ พ.ศ. 2493 เนื้อหาโดยย่อประกอบด้วยสำเนาหนังสือที่กรมศิลปากรแจ้งเหตุผลในการยกฐานะวัดพระธาตุไชยาจากวัดราษฎร์เป็นวัดหลวงและคำแสดงปาถกฐาของ ดร.จอร์จส์ เซเดส์ ที่สยามสมาคม เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2486 เรื่องราชอาณาจักร์ทะเลใต้กล่าวถึงอาณาจักรศรีวิชัยเมื่อประมาณ 1200 - 1800 ปีมาแล้วมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองปาเล็มบัง ดังความตอนหนึ่งกล่าวว่า
"...ที่เมืองปาเล็มบังในภาคตะวันออกเฉียงใต้แห่งเกาะสุมาตราที่บนเนินสูงบาตังหรี และที่เกาะบังกาได้พบศิลาจารึกเป็นภาษามาลายูโบราณ ซึ่งกล่าวใน พ.ศ. นั้นๆ ได้มีพุทธศาสนิกอาณาจักรเกิดขึ้นใหม่แถบปาเล็มบัง อาณาจักร์นี้ตีได้มาลายู(ชัมพี) กับเกาะบังกาและกำลังเตรียมจะส่งทหารไปตีชะวา ดาราดวงใหม่นี้ คือ อาณาจักรศรีวิชัย..."
นอกจากนี้ได้กล่าวถึง ชื่อเมืองที่เป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรศรีวิชัยไว้ตอนหนึ่งว่า
"...ตามศิลาจารึกที่เมืองตันจูร (Tanjore) ฝ่ายโจฬะได้ยกทัพมาโจมตีศรีวิชัยจับมหาราชาไปและยึดแดนปาเนและแดนมาลายูกับทั้งเมืองขึ้นของศรีวิชัย... คือ ตักโกลา (ตะกั่วปา) ตามพรลึงค์ (นครศรีธรรมราช) ลามูรี (อาแจ) หมู่เกาะนิโคบาร์และกฎาห (เกดะห์ - ไทรบุรี)..."