ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,351 รายการ
เรื่อง พระพุทธรูปทรงเครื่องประทับยืนการผลิตสื่อเพื่อสื่อความหมายทางวัฒนธรรมครั้งที่ ๑จัดทำโดย นางสาวสุกานดา ยะอนันต์นิสิตฝึกงาน ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
สวัสดีค่ะ วันนี้อุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธม มีสาระน่ารู้ มาฝากทุกท่านค่ะ สำหรับวันนี้จะเป็นเรื่องอะไร ไปชมกันได้เลยค่ะ
ประตูหลอก
ประตูหลอก (blind door) เป็นส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรมซึ่งพบในปราสาทเขมร โดยใช้หินมาสลักเป็นรูปบานประตูเลียนแบบประตูไม้ซึ่งเป็นประตูที่ใช้งานจริง จึงไม่สามารถใช้เป็นทางเข้าหรือออกได้ โดยทั่วไปสร้างรอบปราสาทประธานทั้ง ๓ ทิศ และมีช่องประตูจริงที่ไว้ใช้เข้าหรือออกได้เพียง ๑ ช่อง นอกจากนี้ยังสร้างประดับในอาคารหลังอื่นๆ เช่น บรรณาลัย ซุ้มประตูโคปุระ หรือระเบียงคต การสร้างประตูหลอกนอกจากจะสร้างขึ้นเพื่อประดับอาคารเพื่อความสวยงามแล้ว ยังมีอีกจุดประสงค์คือเพื่อรองรับน้ำหนักของส่วนยอดอาคารหรือยอดปราสาทอีกด้วย
ประตูหลอกที่ปราสาทสด๊กก๊อกธม
ปราสาทสด๊กก๊อกธมพบประตูหลอกซึ่งทำจากหินทรายดังต่อไปนี้
1ที่ตัวปราสาทประธาน ๓ บาน ทางทิศเหนือ ทิศตะวันตก ทิศใต้ โดยประตูหลอกทางทิศเหนือบริเวณส่วนล่าง พบรูของท่อโสมสูตรซึ่งมีไว้เพื่อให้น้ำศักดิ์สิทธิ์จากการประกอบพิธีศิวลึงค์ภายในห้องบูชาด้านใน (ครรภคฤหะ) ไหลออกมา ส่วนประตูที่ใช้เข้าออกจริงมีเพียงทางทิศตะวันออกของตัวปราสาท ซึ่งสมัยก่อนมีการติดตั้งประตูไม้
2ที่ประตูหลังของบรรณาลัยทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ๑ บาน
3ที่ระเบียงคต ๔ บาน บริเวณซุ้มประตูรองตรงทั้ง ๔ มุม
4ซุ้มโคปุระทางทิศตะวันตก ๑ บาน
.
.
อ้างอิง
- กรมศิลปากร. สำนักโบราณคดี. (๒๕๕๐). ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ: สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร : หน้า ๓๐๙.
- Maurice Glaize (1997). Monuments of the Angkor Group. p. 40.
ขอเชิญชวนเที่ยวงาน “เทศกาลเที่ยวพิมาย นครราชสีมา ประจำปี ๒๕๖๕” ระหว่างวันที่ ๙ - ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ณ อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ลำน้ำจักราช และที่สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ภายในงานพบกับกิจกรรมหลากหลาย อาทิ การแสดงประกอบ แสง เสียง สื่อผสม และการแข่งขัน เรือยาวประเพณีชิงชนะเลิศถ้วยพระราชทานฯ และกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย งานนี้เข้าชมฟรี!
ชื่อเรื่อง สิงคาลสูตร(สิงคาลสูตร)
สพ.บ. อย.บ.6/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 82 หน้า กว้าง 5.5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา บทสวด พระวินัย คำสอน
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน ภาษามอญ เส้นจาร ฉบับทองทึบ ลานดิบ ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก วัดประดู่ทรงธรรม จ.พระนครศรีอยุธยา
337 ปี ปรากฏการณ์จันทรุปราคา วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2228
ปรากฏการณ์จันทรุปราคา วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2228 ณ พระที่นั่งไกรสรสีหราช เมืองลพบุรี เหตุการณ์ครั้งนี้มีการบันทึกรายละเอียดจากบันทึกของบาทหลวงตาชารด์และบันทึกของบาทหลวงเดอ ฟงเตอเนย์ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
คณะบาทหลวงเยซูอิตนักคณิตศาสตร์จำนวน 6 รูป จากฝรั่งเศสมีเป้าหมายที่จะเดินทางไปยังเมืองจีน ซึ่งได้มาพักระหว่างทางที่สยาม และได้เข้าเฝ้าฯสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่เมืองลพบุรี โดยออกญาวิไชเยนทร์เป็นผู้นำเข้าเฝ้าฯ คณะบาทหลวงเยซูอิตได้กราบบังคมทูลเรื่องการจะเกิดขึ้นของจันทรุปราคาให้สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงทราบ พระองค์มีพระราชประสงค์จะทรงร่วมสังเกตปรากฏการณ์จันทรุปราคาครั้งนี้ด้วย โดยสถานที่ในการสังเกตปรากฏการณ์จันทรุปราคาคือ พระที่นั่งไกรสรสีหราช หรือ พระตำหนักทะเลชุบศร (พระที่นั่งเย็น) เนื่องจากคณะบาทหลวงเยซูอิตมองเห็นว่าเป็นสถานที่ที่สามารถมองเห็นท้องฟ้าได้รอบทิศ มีบริเวณกว้างขวางเหมาะสำหรับการตั้งกล้องดูดาว คณะบาทหลวงเยซูอิตได้นำแผนผังอุปราคา ซึ่งเป็นภาพดวงจันทร์ที่ค่อย ๆ หายเข้าไปในเงามืดและเริ่มเกิดเงามัวมืดทีละน้อย มอบให้กับออกญาวิไชเยนทร์นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพื่อให้พระองค์ทรงศึกษาก่อนล่วงหน้า ซึ่งเป็นที่พอพระราชหฤทัยอย่างมาก หลังจากนั้นจึงเริ่มกระบวนการสังเกตการณ์ เพื่อเตรียมตัวในวันก่อนหน้าที่จะเกิดปรากฏการณ์
การเตรียมตัวในวันก่อนหน้าที่จะเกิดปรากฏการณ์ เริ่มต้นจากการสำรวจดวงดาวบนท้องฟ้า โดยเฉพาะดวงดาวที่จำเป็นกับปรากฏการณ์จันทรุปราคาให้ถูกต้อง ในวันที่ 6-7 ธันวาคม พ.ศ. 2228 ทำการสำรวจวงแหวนดาราศาสตร์ โดยทำเช่นนี้ตลอดช่วง 2 วัน ในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2228 ทำการสำรวจดวงอาทิตย์ จากการวัดระดับความสูงของขอบดวงอาทิตย์ในช่วงเช้าและช่วงเย็น นอกจากนี้ออกญาวิไชเยนทร์ได้นำคณะบาทหลวงเยซูอิตไปยังพระที่นั่งไกรสรสีหราช ซึ่งห่างจากตัวเมืองลพบุรีไปทางทิศตะวันออก โดยคณะบาทหลวงเยซูอิตเลือกระเบียงด้านทิศตะวันตกเป็นที่จัดตั้งกล้องโทรทรรศน์และเครื่องมือต่างๆ ในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2228 ทำการสำรวจระดับความสูงของขอบดวงอาทิตย์และตำแหน่งการเบนของเข็มบนเครื่องมือวัดมุมพารัลแลกซ์ของดวงอาทิตย์ มีการนำเครื่องมือดาราศาสตร์บรรทุกบนหลังช้างขนไปยังพระที่นั่งไกรสรสีหราช ในช่วงบ่ายของวันคณะบาทหลวงเยซูอิตได้ติดตามคณะราชทูตฝรั่งเศสไปร่วมพิธีคล้องช้างที่บริเวณป่าใกล้ๆ พระที่นั่งไกรสรสีหราช เมื่อถึงเวลาค่ำ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชพระราชทานเลี้ยงคณะราชทูตและคณะบาทหลวงด้วยอาหารจากญี่ปุ่น จีน และชาติอื่นๆ ซึ่งจัดไว้อย่างสวยงาม จากนั้นคณะราชทูตฝรั่งเศสจึงเดินทางกลับเมืองลพบุรี ส่วนคณะบาทหลวงเยซูอิตได้เตรียมการจัดกล้องโทรทรรศน์ นาฬิกาลูกตุ้มเหล็กแบบเกลียว เสร็จแล้วจึงกลับไปยังที่พักที่สยามจัดเตรียมไว้ให้
วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2228 ปรากฏการณ์จันทรุปราคา ณ พระที่นั่งไกรสรสีหราช เริ่มจากการเตรียมเครื่องมือดาราศาสตร์ให้พร้อมปฏิบัติการ รวมทั้งเตรียมกล้องโทรทรรศน์สำหรับสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่ช่องพระบัญชร หลังจากนั้นปรากฏการณ์จันทรุปราคาจึงเริ่มเกิดขึ้นในเวลา 2 นาฬิกา 53 นาที จนกระทั่งเกิดเงามืดสนิทเต็มดวงในเวลา 3 นาฬิกา 22 นาที สมเด็จพระนารายณ์มหาราชพอพระราชหฤทัย เมื่อได้ทอดพระเนตรเห็นปรากฏการณ์บนดวงจันทร์ และพระองค์พอพระราชหฤทัยว่าแผนที่อุปราคาที่ได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายก่อนหน้านั้นถูกต้องตามที่คำนวณไว้ พระองค์ทรงซักถามต่าง ๆ กับคณะบาทหลวงเยซูอิตมากมาย เช่น เหตุใดดวงจันทร์ที่เห็นในกล้องโทรทรรศน์จึงกลับทางกัน เหตุใดยังคงเห็นดวงจันทร์อยู่ทั้งที่มีเงามืดบดบังแล้ว และปรากฏการณ์จันทรุปราคาที่กรุงปารีสเกิดขึ้นเมื่อใด นอกจากนี้พระองค์ยังมีพระราชประสงค์จะทอดพระเนตรด้วยกล้องโทรทรรศน์ขนาดความยาว 12 ฟุต ของบาทหลวงเดอ ฟงเตอเนย์ที่ใช้สังเกตปรากฏการณ์ บาทหลวงจึงนำขึ้นถวายให้ทอดพระเนตร แต่กล้องโทรทรรศน์จำเป็นต้องปรับกล้อง ทำให้มีการลุกนั่งหน้าที่ประทับ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ลุกขึ้นยืนหน้าที่ประทับได้ การสังเกตปรากฏการณ์จันทรุปราคาในครั้งนี้ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงร่วมสังเกตปรากฏการณ์ประมาณ 2 ชั่งโมง หลังจากที่ทรงสังเกตปรากฏการณ์ด้วยความพอพระราชหฤทัยแล้ว พระองค์ทรงมีรับสั่งกับคณะบาทหลวงเยซูอิตว่าจะให้สร้างโบสถ์ เรือนพัก หอดูดาวที่เมืองลพบุรีและกรุงศรีอยุธยา
***********************************************
การสังเกตปรากฏการณ์จันทรุปราคา วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2228 ณ พระที่นั่งไกรสรสีหราช เมืองลพบุรี ถือเป็นการสถาปนาดาราศาสตร์ตะวันตกในแผ่นดินสยามเป็นครั้งแรก ***********************************************
.
เรียบเรียงโดย สิทธิกานต์ พระโพธิ์ นักศึกษาฝึกประสบการณ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
.
อ้างอิง
ภูธร ภูมะธน, สมเด็จพระนารายณ์มหาราช: พระมหากษัตริย์ผู้สนพระทัยและองค์อุปถัมภ์การศึกษาดาราศาสตร์ตะวันตกในสยามพระองค์แรก, พิมพ์ครั้งที่ 1, เชียงใหม่: สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน), 2555.
สมาคมดาราศาสตร์ไทย, จดหมายเหตุดาราศาสตร์จากฝรั่งเศสเกี่ยวกับพระราชอาณาจักรสยามในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช, กรุงเทพฯ: สมาคมดาราศาสตร์ไทย, 2542.
ขอบคุณภาพจาก https://mgronline.com/science/detail/9610000036392 และ https://www.silpa-mag.com/history/article_92493
#museuminsider
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 40/7ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 36 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 58 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
องค์ความรู้ เรื่อง พระดาบสผู้ตั้งชื่อเมืองอยุธยา
ในโคลงภาพฤๅษีดัดตน พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส โดย นายปารเมศ อภัยฤทธิรงค์ นักอักษรศาสตร์ปฏิบัติการ กลุ่มภาษาและวรรณกรรม สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 135/7 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 171/7 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 51/2ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 24 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 58 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 9/6ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 38 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 53.8 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
หม่อมเจ้ามารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นพระธิดาพระองค์เดียวในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต กับหม่อมราชวงศ์พันธุ์ทิพย์ (เทวกุล) บริพัตร ประสูติเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2474 ณ วังบางขุนพรหม ภายหลังเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 ได้ตามเสด็จพระบิดาไปประทับที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย พ.ศ. 2484 เสด็จกลับประเทศไทยและเข้าศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัยจนกระทั่งจบชั้นมัธยมศึกษา จากนั้นเสด็จไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส และสเปน
หม่อมเจ้ามารศีฯ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวรรณคดี จากมหาวิทยาลัย ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2497 และปริญญาเอก สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ จากมหาวิทยาลัยแห่งมาดริด ประเทศสเปน เมื่อ พ.ศ. 2502 จากนั้นได้ทรงงานในแวดวงวิชาการอยู่ระยะหนึ่ง ทรงสอนวิชาศิลปะตะวันออกที่คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งมาดริด และเมื่อเสด็จกลับประเทศไทย ทรงเป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชาประวัติศาสตร์ศิลปกรรมตะวันตกที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หม่อมเจ้ามารศีฯ ทรงสนพระทัยในด้านการวาดภาพ เมื่อมีพระชันษาราว 30 ปี ทรงยุติการทำงานวิชาการและเริ่มศึกษาศิลปะด้วยพระองค์เองจากผลงานของศิลปินที่มีชื่อเสียง ทรงเข้าร่วมกลุ่มศิลปินในประเทศฝรั่งเศสเพื่อจัดแสดงนิทรรศการ หม่อมเจ้ามารศีฯ โปรดการสร้างสรรค์ผลงานที่แสดงอารมณ์ความรู้สึก มีรูปแบบเหนือจินตนาการ และสะท้อนปรัชญาชีวิต ทรงเป็นศิลปินที่สร้างสรรค์ผลงานได้อย่างโดดเด่น งดงาม และมีเอกลักษณ์เฉพาะ ตามแนวทางของศิลปะเซอร์เรียลลิสต์ – แฟนตาสติก (Surrealism – Fantastic Art) ทรงจัดแสดงนิทรรศการที่ประเทศฝรั่งเศสอย่างต่อเนื่อง ต่อมาทรงซื้อที่ดินที่เมือง Annot ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของฝรั่งเศสเพื่อสร้างพระตำหนัก Vellara ซึ่งเป็นทั้งที่ประทับและสตูดิโอสำหรับทรงงานศิลปะตั้งแต่ พ.ศ. 2513
ภาพเขียนของหม่อมเจ้ามารศีฯ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ผลงานในระยะแรก (พ.ศ. 2503 – 2513) ทรงทดลองเขียนภาพเหตุการณ์ประกอบฉากหลังที่เป็นโขดหิน โดยใช้สีเอกรงค์ (Monochrome) เน้นสีขาว – ดำเป็นหลักในการสร้างสรรค์ผลงาน ผลงานในระยะที่ 2 (พ.ศ. 2513 – 2523) ทรงเขียนรูปบุคคล โดยมีโขดหินเป็นฉากหลัง นอกจากนี้ ทรงเริ่มเขียนภาพดอกไม้และใช้สีสันหลากหลายกว่าผลงานในระยะแรก ผลงานในระยะนี้มีขนาดใหญ่ สอดแทรกเรื่องราวทางศาสนา ปกรณัม เรื่องปรัมปรา สัญลักษณ์ และเรื่องตามจินตนาการ ผลงานในระยะที่ 3 (พ.ศ. 2523 – 2546) หม่อมเจ้ามารศีฯ ทรงพัฒนาฝีมือในการสร้างสรรค์ผลงานจากช่วงก่อนหน้า ภาพเขียนในระยะนี้มีความหลากหลายทั้งเรื่องราวและสีสัน ปรากฏรูปบุคคล โดยเฉพาะผู้หญิง สิงสาราสัตว์ อาคารสถาปัตยกรรม รวมทั้งฉากหลังที่เป็นธรรมชาติ ผสมผสานกันจนเป็นเรื่องราวเหนือจินตนาการตามความคิดสร้างสรรค์ของศิลปิน
หม่อมเจ้ามารศีฯ ทรงใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายที่เมือง Annot กว่า 40 ปี แวดล้อมด้วยธรรมชาติ ลำธาร และขุนเขา รวมทั้งสัตว์เลี้ยงนานาชนิด ทั้งสุนัข แมว และนก ซึ่งเป็นตัวละครและองค์ประกอบหลักในการสร้างสรรค์ผลงานภาพเขียน พ.ศ. 2547 ทรงประชวรและไม่สามารถเขียนภาพได้เช่นเดิม แต่ยังคงประทับที่พระตำหนักในเมือง Annot ท่ามกลางธรรมชาติ เสียงดนตรี และสัตว์เลี้ยง จวบจนวาระสุดท้ายของพระชนม์ชีพ
หม่อมเจ้ามารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2556 สิริพระชันษา 82 ปี พระญาติสนิทและพระสหายผู้ใกล้ชิดได้ดำเนินการตามพระปณิธานในการก่อตั้งมูลนิธิหม่อมเจ้าหญิงมารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร เพื่อส่งเสริมการศึกษาด้านศิลปะในประเทศไทย โดยได้ดำเนินการจัดแสดงนิทรรศการและเผยแพร่ผลงานของหม่อมเจ้ามารศีฯ ทั้งในและต่างประเทศ มอบทุนการศึกษาให้แก่นิสิตนักศึกษาทางด้านศิลปะ และสนับสนุนทุนทรัพย์ในการจัดแสดงงานนิทรรศการแก่ศิลปินรุ่นใหม่ เพื่อช่วยสนับสนุนและผลักดันวงการทัศนศิลป์ในประเทศไทยให้ขับเคลื่อนและพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง
#หม่อมเจ้ามารศีสุขุมพันธุ์บริพัตร
#ศิลปกรรมสมัยรัชกาลที่๙
#ศิลปินแห่งนวสมัย #หอศิลป์แห่งชาติ
#หอศิลป์แห่งชาติถนนเจ้าฟ้า
ที่มา
1. หนังสือ “Beauty & Ugliness: Aesthetic of Marsi” โดย มูลนิธิหม่อมเจ้าหญิงมารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร
2. หนังสือ “MARSI” โดย Michel Steve
ที่มาภาพ โดย มูลนิธิหม่อมเจ้าหญิงมารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร
เลขวัตถุ
ชื่อวัตถุ
ขนาด (ซม.)
ชนิด
สมัยหรือฝีมือช่าง
ประวัติการได้มา
ภาพวัตถุจัดแสดง
42/2553
(22/2549)
ภาชนะดินเผา สีนวล ไม่มีลาย ขอบปากบานผายออกมาก ส่วนล่างสอบตัดตรง
ส.8.2
ปก.18.2
ดินเผา
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย อายุราว 2,500-2,000 ปีมาแล้ว
ได้จากบ้านเขาเพิ่ม อำเภอบ้านนา จ.นครนายก เมื่อประมาณ พ.ศ. 2539
เลขทะเบียน : นพ.บ.477/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 40 หน้า ; 4.5 x 55 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 162 (195-204) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : ฉลองข้าวสาก--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
จารึกหลักที่ ๓ จารึกนครชุม
สมัยสุโขทัย พ.ศ. ๑๙๐๐
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงได้จากวัดพระบรมธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร นำลงมาที่กรุงเทพฯ เมื่อพ.ศ. ๒๔๒๙
ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องสุโขทัย อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
แผ่นศิลาหินทรายแป้งแทรกสลับกับหินดินดาน มีขนาดกว้าง ๔๗ เซนติเมตร สูง ๑๙๓ เซนติเมตร หนา ๖ เซนติเมตร รูปทรงคล้ายกลีบบัว มีข้อความจารึกอักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย ทั้งสองด้าน ด้านที่ ๑ มี ๗๘ บรรทัด และด้านที่ ๒ มี ๕๘ บรรทัด เนื้อหาของจารึกหลักนี้ ด้านที่ ๑ กล่าวว่า ศักราช*ได้ ๑๒๗๙ (ตรงกับพ.ศ. ๑๙๐๐) พญาลิไทได้นำเอาพระบรมสารีริกธาตุจากเมืองลังกามาประดิษฐานไว้ที่เมืองนครชุม** จากนั้นจึงกล่าวถึง “ปัญจอันตรธาน” ซึ่งหมายถึงการเสื่อมของพุทธศาสนาตามลำดับ ๕ ขั้น (แต่ละขั้นมีระยะเวลา ๑,๐๐๐ ปี)*** และเตือนให้พุทธศาสนิกชน หมั่นประกอบบุญกุศลเมื่อพระพุทธศาสนายังดำรงอยู่ เพื่อจะได้ไปพบพระศรีอาริยเมตไตรย ด้านที่ ๒ ของจารึกหลักนี้สภาพชำรุดมาก มีใจความกล่าวสรรเสริญพระธรรมิกราช และการประดิษฐานพระพุทธบาทซึ่งระบุว่าประดิษฐานไว้ที่เมืองสุโขทัย เมืองศรีสัชนาลัย เขานางทองเมืองบางพาน**** และที่เมืองพระบาง*****
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงได้สอบถามกับพระครูวัดพระบรมธาตุ เมืองกำแพงเพชร ในระหว่างที่พระองค์เสด็จประพาสมณฑลพายัพเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔ ทรงได้ทราบถึงที่มาของจารึกหลักนี้ ดังข้อความที่ทรงบันทึกไว้เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ความว่า
“...กลับมาแวะวัดมหาธาตุ ถามพระครูถึงเรื่องศิลาจารึกของพระมหาธรรมราชาลิไทย (คือศิลาจารึกหลักที่ ๓) ซึ่งอยู่ในหอพระสมุดฯ ทราบว่าได้ไปจากเมืองกำแพงเพ็ชร แต่ยังไม่ทราบว่าเดิมทีเดียวอยู่ที่ไหน ได้ความจากพระครูชัดเจนว่าศิลาจารึกแผ่นนั้น เดิมอยู่ที่วัดมหาธาตุนี้เอง ตั้งอยู่ในมุขเด็จวิหารหลวง ภายหลังผู้ว่าราชการเมืองกำแพงเพ็ชร เอาไปรักษาที่วัดเสด็จ แล้วจึงส่งลงไปกรุงเทพฯ พระครูได้พาไปดูฐานที่ตั้งศิลาจารึกแผ่นนั้น ยังอยู่ที่มุขเด็จเป็นศิลาแลงแท่งใหญ่ เจาะกลางเป็นช่องเฉพาะฝังโคนศิลาจารึก พิเคราะห์ดูช่องพอได้กับศิลาจารึก เพราะฉะนั้นเป็นรู้แน่ว่าศิลาจารึกแผ่นนั้นพระมหาธรรมราชาลิไทยทำไว้ที่วัดนี้...”
*มหาศักราช
**ประดิษฐานไว้ ณ เจดีย์วัดพระบรมธาตุ อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร
***ความเสื่อมทางพุทธศาสนาประกอบไปด้วย ๕ ขั้น ได้แก่ ๑.ปฏิเวธอันตรธาน หมายถึงในระยะ๑,๐๐๐ ปี เริ่มมีบุคคลบรรลุเป็นพระอรหันต์น้อยลง ๒.ปริยัติอันตรธาน หมายถึงในระยะ ๑,๐๐๐ ปีต่อมา เป็นความเสื่อมด้านพระธรรมคำสอน ๓.วินัยอันตรธาน หมายถึงในระยะ ๑,๐๐๐ ปีต่อมา พระวินัยของสงฆ์เสื่อมลง ๔.ลิงคอันตรธาน หมายถึงในระยะ ๑,๐๐๐ ปีต่อมาไม่เหลือพระสงฆ์ที่สืบทอดพุทธศาสนา และ๕.ธาตุอันตรธาน หมายถึงในระยะ ๑,๐๐๐ ปีสุดท้ายของพุทธศาสนาจนกระทั่งพระธาตุเสื่อมสลายไป ไม่มีผู้กราบไหว้ และพุทธศาสนาสิ้นสุดเสื่อมสลายไป
****ปัจจุบันคือ บริเวณบ้านวังพาน ตำบลเขาคีริส อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร
*****ปัจจุบันคือ บริเวณอำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
อ้างอิง
กรมศิลปากร. จารึกสมัยสุโขทัย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๒๗.
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. อธิบายระยะทางล่องลำน้ำพิง ตั้งแต่เมืองๆเชียงใหม่ถึงปากน้ำโพธิ์. กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๖๒.
วินัย พงศ์ศรีเพียร. สุโขทัย ประวัติศาสตร์ จารึกศึกษา และนิรุกติประวัติ เล่มที่ ๑. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๖๓.