ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ

     ๑๒ มิถุนายน ๒๓๖๓ วันเกิดหม่อมราโชทัย ล่ามหลวงผู้ไปเมืองอังกฤษในสมัยรัชกาลที่ ๔      หม่อมราโชทัย หรือหม่อมราชวงศ์กระต่าย อิศรางกูร เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๓๖๓ เป็นบุตรของพระวงศ์เธอ กรมหมื่นเทวานุรักษ์ (หม่อมเจ้าชอุ่ม อิศรางกูร) เป็นนัดดาของสมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ และสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีในรัชกาลที่ ๒ เป็นปนัดดาของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ ซึ่งเป็นพระพี่นางในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช      หม่อมราชวงศ์กระต่าย อิศรางกูร เกิดตอนปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อเจริญวัย บิดาได้นำไปถวายตัวอยู่กับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นยังดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎ สมมุติเทวาวงศ์ พงศาอิศวรกระษัตริย์ ขัตติยราชกุมาร เมื่อเจ้าฟ้ามงกุฎผนวช หม่อมราชวงศ์กระต่ายก็ได้ตามเสด็จไปรับใช้ ต่อมาเมื่อเจ้าฟ้ามงกุฎทรงสนพระราชหฤทัยในภาษาอังกฤษ หม่อมราชวงศ์กระต่ายก็ได้ศึกษาตามพระราชนิยม โดยมีมิชชันนารีที่เข้ามาสอนศาสนาเป็นผู้สอน จนได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้ภาษาอังกฤษดี จนเจ้าฟ้ามงกุฎทรงใช้ให้เป็นตัวแทนเชิญกระแสรับสั่งไปพูดจากับชาวต่างชาติได้เป็นอย่างดี      ครั้นเมื่อเจ้าฟ้ามงกุฎเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หม่อมราชวงศ์กระต่ายก็ติดตามสมัครเข้ารับราชการ ความสามารถของหม่อมราชวงศ์กระต่ายที่ช่วยราชกิจได้ดี จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "หม่อมราโชทัย"      ด้วยความรู้ในภาษาอังกฤษดี ในพุทธศักราช ๒๔๐๐ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมราโชทัยเป็นล่ามหลวงไปกับคณะราชทูตไทยที่เชิญพระราชสาสน์และเครื่องมงคลราชบรรณาการ เดินทางไปถวายสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย การเดินทางไปในครั้งนั้นเป็นที่มาของหนังสือนิราศเมืองลอนดอน ซึ่งแต่งหลังจากเดินทางกลับได้ ๒ ปี       ต่อมาผลของสัญญาการเจริญทางพระราชไมตรีกับนานาประเทศในยุโรป ทำให้ไทยต้องจัดตั้งศาลต่างประเทศขึ้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมราโชทัยขึ้นเป็นอธิบดีพิพากษาศาลต่างประเทศเป็นคนแรกของไทย   หม่อมราโชทัยถึงแก่อนิจกรรมในรัชกาลที่ ๔ เมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๔๑๐ สิริอายุได้ ๔๗ ปี


          นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ กรมศิลปากรได้อนุมัติ งบประมาณดำเนินโครงการบูรณะเจดีย์วัดโคกทราย (เจดีย์ท่านแก่) ตำบลจะโหนง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา กำหนดแล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๕           เจดีย์วัดโคกทรายตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของเจดีย์บรรจุอัฐิเจ้าเมืองจะนะ ภายในวัดโคกทราย บริเวณพื้นที่ซึ่งเรียกว่า "ในเมรุ" ซึ่งเป็นสถานที่ฌาปนกิจศพบุคคลสำคัญอันเป็นที่เคารพนับถือมาแต่ครั้งโบราณ กรมศิลปากร โดยสำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา จะดำเนินการปรับดีดเจดีย์ด้วยระบบรอกโซ่ เพื่อให้เจดีย์ที่อยู่ใน สภาพทรุดเอียงกลับมาตั้งตรง พร้อมทั้งยกระดับเจดีย์ให้พ้นจากระดับน้ำหลากซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี และดำเนินการบูรณะองค์เจดีย์และลวดลายปูนปั้นตามรูปแบบเดิม พร้อมทั้งเคลื่อนย้ายยักษ์ทวารบาลปูนปั้นของเดิม ที่ชำรุดเสียหายไปทำการอนุรักษ์และประดิษฐานในสถานที่ที่เหมาะสม แล้วจะทำการปั้นจำลองยักษ์ปูนปั้นขึ้นใหม่ เป็นการทดแทน นอกจากนี้ ยังดำเนินการปรับภูมิทัศน์โดยรอบ ด้วยการปูพื้นลานด้วยกระเบื้องดินเผา และจัดทำระบบระบายน้ำโดยรอบ ทั้งนี้ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา พร้อมด้วยบุคลากรในสังกัด รักษาการ เจ้าอาวาสวัดโคกทราย ปลัดอาวุโสอำเภอจะนะ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลจะโหนง และประชาชนในพื้นที่ ได้ร่วมกันจัดพิธีบวงสรวงโครงการบูรณะเจดีย์วัดโคกทราย (เจดีย์ท่านแก่) เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคมที่ผ่านมา           สำหรับเจดีย์องค์นี้ เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนชาวจะนะมาช้านาน สันนิษฐานว่าอาจ เป็นเจดีย์บรรจุอัฐิพระอธิการจันทร์ เจ้าอาวาสรูปแรกของวัดโคกทราย หรืออาจเป็นเจดีย์บรรจุอัฐิพระมหานุภาพปราบสงคราม (บัวแก้ว) อดีตเจ้าเมืองจะนะในสมัยรัชกาลที่ ๓ - ๕ ซึ่งอาจเป็นบิดาของพระมหานุภาพปราบสงคราม (ปลอด ถิ่นจะนะ) เจ้าเมืองจะนะคนสุดท้าย ซึ่งมีเจดีย์บรรจุอัฐิตั้งอยู่เคียงคู่กันและได้รับการบูรณะแล้วในปี งบประมาณ ๒๕๖๓


ชื่อเรื่อง                               จนฺทฆาตชาตก(จันทฆาต) สพ.บ.                                  402/5ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           54 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 55 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           ชาดก                                           เทศน์มหาชาติ                                           คาถาพัน บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับชาดทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ รองอำมาตย์โท ขุนสันทัดวุฒิดิถี (สวน สันทัดวุฒิ)  ณ ฌาปนสถาน สันทัดวุฒิ วัดมหาพฤฒารา,  วันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘


          พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งยังทรงเป็นมกุฎราชกุมารหรือเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธทรงเสด็จพระราชดำเนินไปประทับและทรงศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ กฎหมายและการปกครองอยู่ที่ ไครสต์เซิร์ช (Christ Church) มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด (Oxford University) ประเทศอังกฤษ ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๔๔๒ – ๒๔๔๔ ภายหลังทรงสำเร็จการศึกษาและเสด็จนิวัติพระนครแล้ว ได้ทรงจัดตั้ง ทวีปัญญาสโมสรขึ้น ณ พระราชวังสราญรมย์ และด้วยทรงสนพระทัยในด้านประพันธ์และการพิมพ์หนังสือ จึงได้ทรงออกหนังสือพิมพ์ประจำทวีปัญญาสโมสรขึ้นฉบับหนึ่ง ทรงพระราชทานชื่อว่า ทวีปัญญา          หนังสือพิมพ์ทวีปัญญานั้น เกิดขึ้นจากการประชุมกรรมการสภาทวีปัญญาสโมสร ครั้งที่ ๘ โดยกรรมการสภาได้มีข้อตกลงร่วมกันให้มีหนังสือพิมพ์ประจำสโมสรขึ้น โดยตีพิมพ์ออกเผยแพร่แก่สมาชิกและบุคคลทั่วไปเดือนละครั้ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฐานะสภานายกและเลขานุการของทวีปัญญาสโมสร ทรงชักชวนข้าราชบริพารที่มีความรู้ ความสามารถ ทดลองเขียนบทความและ เรื่องต่าง ๆ อันเป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง ทั้งร้อยแก้ว โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ไปลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ทวีปัญญา ซึ่งจะได้รับค่าตอบแทนหน้าพิมพ์ละ ๔ อัฐ ถ้าระบุไว้ว่าต้องการ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตรวจบทความต่าง ๆ ด้วยพระองค์เองทุกครั้งในฐานะทรงเป็นบรรณาธิการก่อนที่จะจัดพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ทวีปัญญา สำหรับบทความและเรื่องต่าง ๆ ที่ออกเผยแพร่นั้นมีทั้งเรื่องจริงและนิยาย พร้อมทั้งรายงานต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับทวีปัญญาสโมสร สำหรับเรื่องต่าง ๆ ที่พระองค์ทรง พระราชนิพนธ์นั้น ส่วนใหญ่เป็นเรื่องราวที่สะท้อนแนวพระราชดำริเกี่ยวกับเสรีภาพและการปกครอง ตลอดจนการเรียกร้องให้รักษาเอกลักษณ์ของชาติไทย          หนังสือพิมพ์ทวีปัญญา เริ่มออกเผยแพร่ในเดือนเมษายน พุทธศักราช ๒๔๔๗ จำหน่ายแก่สมาชิกราคาฉบับละ ๓๒ อัฐ และบุคคลทั่วไปราคาฉบับละ ๑ บาท ส่วนการลงโฆษณาและแจ้งความอื่น ๆ นั้น ถ้าแต่งคำโฆษณามาแล้วคิดราคาบรรทัดละ ๑ เฟื้อง ถ้าให้ทางกรรมการสภาแต่งคำโฆษณาให้ด้วย จะคิดเพิ่มเป็นบรรทัดละ ๑ เฟื้อง ๒ ไพ ในฉบับแรก สำหรับในฉบับต่อ ๆ ไป คิดบรรทัดละ ๑ เฟื้อง หากลงเต็มหน้านับเป็น ๑๖ บรรทัด คิดราคา ๑ บาท ๒ สลึง ส่วนรูปภาพราคารูปละ ๑ บาท ถึงแม้จะจำหน่ายหนังสือพิมพ์ทวีปัญญาเพียงฉบับละ ๓๒ อัฐ และ ๑ บาท ดังที่กล่าวในข้างต้นแล้วนั้นก็ยังขาดทุน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชวิจารณ์ว่า เป็นเพราะไม่มีโฆษณาเหมือนหนังสือพิมพ์ฝรั่ง และทรงมุ่งหวังที่จะให้ผู้อ่านส่งจดหมายแนะนำ ติชมเพื่อปรับปรุงทวีปัญญาให้ดีขึ้น สำหรับเนื้อหาภายในเล่มของหนังสือพิมพ์ทวีปัญญา ประจำเดือนเมษายน ร.ศ. ๑๒๓ ซึ่งเป็นฉบับพิมพ์ครั้งแรกนั้น ประกอบด้วยเรื่องราวของคำนำ สาเหตุของการสงครามในระหว่างยี่ปุ่นกับรัสเซีย นิทาน ทุภาสิต อาษาเจ้าจนตัวตาย อาษานายจนพอแรง นิราศเมืองเหนือ นากพระโขนงที่สอง เบ็ตเล็ต และรายงานประจำเดือน          ต่อมาด้วยพระราชภาระที่มากขึ้นของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กิจการของทวีปัญญาสโมสรยุติลงในปีพุทธศักราช ๒๔๕๐ รวมถึงหนังสือพิมพ์ทวีปัญญาจึงสิ้นสุดลงโดยปริยายด้วยเช่นกัน-----------------------------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล : นางสาวรวิวรรณ พุฒซ้อน บรรณารักษ์ชำนาญการ กลุ่มบริการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุดแห่งชาติ -----------------------------------------------------------------บรรณานุกรม ทวีปัญญาสโมสร. ทวีปัญญา เล่ม ๑. พระนคร: ทวีปัญญาสโมสร, ร.ศ. ๑๒๓. มหามกุฎราชวิทยาลัย, มูลนิธิ. ทวีปัญญาเล่ม ๑. พระนคร: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย, ๒๕๒๒. สมาคมนิตยสารแห่งประเทศไทย. ประวัตินิตยสารไทย Now & Then. กรุงทพฯ: สมาคมนิตยสารแห่งประเทศไทย, ๒๕๕๐. สารานุกรมพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เล่ม ๑ (ก-ม). กรุงเทพฯ: เจริญวิทย์การพิมพ์, ๒๕๒๓. สุนทรพิพิธ, พระยา. พระมหากรุณาธิคุณแห่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. พระนคร: โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น, ๒๕๑๔. สุกัญญา ตีระวนิช. รายงานผลการวิจัยเรื่อง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กับการหนังสือพิมพ์. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพรมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว, ๒๕๓๒.




หากกล่าวถึงสินค้าทีมาจากแหล่งเรือจมแล้ว ก้อนทองแดงนั้นถือว่าเป็นสินค้าที่สำคัญอย่างหนึ่ง จากการขุดค้นแหล่งเรือจมบางกะไชย 2 ที่ผ่านมาของกองโบราณคดีใต้น้ำนั้นสามารถกล่าวได้ว่า ทองแดงนั้นเป็นหนึ่งในสินค้าหลักที่เรือบางกะไชย 2 นั้นบรรทุกมาในระว่างเรือ เป็นปริมาณ ไม่น้อยกว่า 600 ก้อน โดยจุดที่พบนั้นกระจายอยู่บริเวณกลางลำเรือใกล้ๆกับฐานเสาใบเรือเป็นหลัก ดังนั้นจากตำแหน่งที่พบนั้นอาจสรุปได้ว่ามีการเลือกพื้นที่ในการจัดเรียงทองแดงเหล่านี้ภายในเรือ อันเนื่องมาจากทองแดงนั้นมีน้ำหนักต่อก้อนค่อนข้างมาก จึงสันนิษฐานว่านอกจากทองแดงเหล่านี้จะเป็นสินค้าที่จะต้องถูกขนย้ายโดยเรือแล้ว ยังมีอีกหน้าที่หนึ่งที่สำคัญนั่นก็คือการเป็นอับเฉาเรือไปโดยปริยาย เอกลักษณ์สำคัญของทองแดงจากแหล่งเรือจมบางกะไชย 2 จากการศึกษาจัดจำแนกรูปแบบเบื้องต้นพบว่าหน้าตาทองแดงเหล่านี้มีด้วยกัน 4 แบบ ดังนี้ 1.แบบทรงชาม 2.แบบทรงชามที่มีการซ้อนชั้น (พบมากที่สุด) 3.แบบแผ่น 4.แบบทีไม่มีรูปทรงแน่นอน โดยในแต่ละรูปแบบมีการขึ้นรูปที่แตกต่างกัน อีกทั้งยังมีองค์ประกอบทางเคมีที่แตกต่างกันด้วย ซึ่งจะมาเล่าให้ฟังโดยละเอียดในตอนต่อไปนะครับ นอกจากนี้ในบางก้อนยังมีตราประทับไว้ด้วย โดยจากการศึกษาร่องรอยการประทับตราด้วยวิธีการทดลองทางโบราณคดีและการใช้กล้องจุลทรรศในการวิเคราะห์ร่องรอย สามารถสรุปได้ว่าทองแดงเหล่านี้ถูกประทับตาด้วยเครื่องมือประเภทสิ่ว และมีการตอกด้วยฆ้อน ลักษณะของตราประทับเหล่านี้คล้ายกับภาษาจีน แต่เมื่อนำไปวิเคราะห์ด้านภาษาแล้วในบางชิ้นมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นภาษาจีนและมีลักษณะเป็นการบ่งบอกจำนวน แต่ส่วนมากจะเป็นลัญลักษณ์ที่ไม่มีความหมาย และจากการแปรความทางโบราณคดีนั้นสัญลักษณ์บนทองแดงเหล่านี้มีความเป็นไปได้มากมายที่ร่องรอยประทับเหล่านี้อาจจะเป็นได้ ดังนี้ 1.ตราสัญลักษณ์ หรือยี่ห้อ? 2.จำนวนนับ? 3.อาจจะบ่งบอกสถานที่ที่ทองแดงเหล่านี้จะถูกนำไปส่ง? 4.อาจจะบ่งบอกถึงสถานที่ผลิต?



ชื่อเรื่อง                                 สิริมหามายา (สีมหามายา) สพ.บ.                                   288/3ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           54 หน้า กว้าง 4.2 ซ.ม. ยาว 55.5 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           สิริมหามายา บทคัดย่อ/บันทึก         เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


ชื่อเรื่อง                                อุณฺหิสวิชย (อุณณหิสสวิไช) สพ.บ.                                  334/1จประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           24 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 53.5 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                          บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ  ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


          ปี ๒๕๐๗ โรงงานเภสัชกรรม ส่งยาตำราหลวงเพื่อจำหน่ายยังจันทบุรี “...ยาจำพวกปวดศีรษะ ปวดท้อง และแก้ไข้จำหน่ายดี...” ยาตำราหลวง          ในอดีตนั้น การบำบัดโรคภัยไข้เจ็บให้แก่ราษฎรตามหัวเมือง เป็นหน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งของกระทรวงมหาดไทย พ.ศ.๒๕๐๗ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้สั่งซื้อและให้โรงงานเภสัชกรรม กระทรวงสาธารณสุข (ปัจจุบันคือองค์การเภสัชกรรม) จัดส่งยาตำราหลวงให้แก่จังหวัดต่างๆ           ในส่วนจังหวัดจันทบุรีนั้น ได้ใช้บ้านกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นสถานที่จัดจำหน่ายยาตำราหลวง และให้อำเภอต่างๆ จัดทำรายงานผลการจำหน่ายยาตำราหลวง และผลการโฆษณาแนะนำประชาชนให้ทราบถึงสรรพคุณและราคายาให้แพร่หลายยิ่งขึ้น เดือนพฤษภาคม ๒๕๐๗ โรงงานเภสัชกรรม กระทรวงสาธารณสุข ได้ส่งยาตำราหลวงให้แก่จังหวัดจันทบุรี โดยสถานที่จัดจำหน่าย ๑ แห่ง จะได้รับรายการยา ๔๑ รายการ เป็นเงิน ๔๐๐ บาท           จากรายงานของอำเภอต่างๆ ในจังหวัดจันทบุรี ได้ทำการโฆษณาแนะนำยาตำราหลวงแก่ประชาชน ในช่วงกิจกรรมการลงแขกดำนา การทำบุญในวันพระ ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ซึ่งได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นอย่างดี แต่ประสบปัญหาเรื่องสถานที่จัดจำหน่ายยามีน้อยไม่ทั่วถึงในตำบลที่ห่างไกล          เดือนตุลาคม ๒๕๐๗ นายอำเภอเมืองจันทบุรี ได้รายงานผลให้จังหวัดทราบว่า ...ยาจำพวกแก้ปวดศีรษะ ปวดท้อง และแก้ไข้จำหน่ายดี นอกนั้นจำหน่ายไม่ใคร่ได้... และเดือนพฤศจิกายน ๒๕๐๗ นายอำเภอขลุงได้ส่งรายงานผลการจำหน่ายยาตำราหลวงในอำเภอขลุงว่า มีสาขาจำหน่ายยาตำราหลวง ๒ แห่ง ได้แก่ บ้านคานรูดและบ้านบ่อ จำหน่ายได้เป็นเงิน ๘๒.๕๐ บาท โดยในการส่งเงินค่าจำหน่ายยาตำราหลวงไปยังกระทรวงการคลังนั้น ให้หักส่วนลดให้ผู้จำหน่าย ๑๐% อำเภอ ๑๐% และส่งไปให้กรมการปกครอง ๕%           เอกสารจดหมายเหตุเกี่ยวกับการจำหน่ายยาตำราหลวงชุดนี้ สะท้อนการจัดการระบบสาธารณสุขของไทยในช่วง ๖๐ ปีที่ผ่านมา ซึ่งผู้สนใจสามารถค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรีรายการยาตำราหลวงสำหรับ ๑ แห่งรายงานผลการจำหน่ายยาตำราหลวงของอำเภอเมืองจันทบุรีบัญชีแสดงหมู่บ้านที่จำหน่ายยาตำราหลวงรายงานผลการจำหน่ายยาตำราหลวงของอำเภอขลุง----------------------------------------------------------------ผู้เขียน นางสาวสุจิณา พานิชกุล นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี----------------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี. เอกสารกระทรวงมหาดไทย ชุดจังหวัดจันทบุรี จบ ๑.๒.๔/๑๑๐๔ เรื่องส่งยาตำราหลวง (๒๒ พฤษภาคม ๒๕๐๗ – ๑๐ มีนาคม ๒๕๐๘). หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี. เอกสารกระทรวงมหาดไทย ชุดจังหวัดจันทบุรี จบ ๑.๒.๔/๑๑๒๑ เรื่องนโยบายการจำหน่ายยาตำราหลวง (๙ ตุลาคม ๒๕๐๗ – ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๐๘). ภาพจาก https://www.hfocus.org/


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทศนา (เทศนาสังคิณี-มหาปัฎฐาน)  ชบ.บ.46/1-2  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


มงฺคลตฺถทีปนี (มงฺคลตฺถทีปนี เผด็จมงคลสูตร)  ชบ.บ.88ข/1-22  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.352/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 32 หน้า ; 4.5 x 58.5 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 135  (378-387) ผูก 3 (2565)หัวเรื่อง : มหานิปาตวณณนา เวสฺสนฺตรชาตก )ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฐกถา (ทานขันธ์)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



Messenger