ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ
สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการรำลึกพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รับฟังการบรรยายพร้อมการแสดงดนตรี เรื่อง “สืบสานบทเพลงพระราชนิพนธ์ เล่าขานผ่านดนตรีแจ๊ส” วิทยากรโดย นายประทักษ์ ใฝ่ศุภการ ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีแจ๊ส ผู้ช่วยศาสตราจารย์กฤษติ์ บูรณวิทยวุฒิ รองคณบดีฝ่ายบริหาร วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ นายดริน พันธุมโกมล รองคณบดีฝ่ายศึกษาวิชาการและวิจัย วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในวันพุธที่ 4 ธันวาคม 2567 เวลา 13.00-16.30 น. ณ ห้องจัดแสดง ชั้น 2 หอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 สำนักหอสมุดแห่งชาติ สามารถลงทะเบียนออนไลน์ด้วยการสแกน QR-Code (บนโปสเตอร์) หรือลงทะเบียนผ่านลิงก์ https://forms.gle/dFTMdGSEteBBCx2t9 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เบอร์โทรศัพท์ 0 2280 9856 ในวันและเวลาราชการ
พิพิธิภัณฑสถานแห่งชาติเสมือนจริง ไชยา : www.virtualmuseum.finearts.go.th/chaiya
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา สังกัดสำนักศิลปากรที่ 14 นครศรีธรรมราช กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ตั้งอยู่ที่ ตำบลเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี อยู่ในพื้นที่วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร ทางทิศตะวันออกของวัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร จัดเป็นพิพิธภัณฑสถานประเภทประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดี มีหน้าที่ในการเก็บรักษาโบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินและให้บริการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยา ได้ริเริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2478 โดย พระครูโสภณเจตสิการาม อดีตเจ้าคณะอำเภอไชยาได้รวบรวมศิลปะโบราณวัตถุมาเก็บรักษาไว้ในพระอุโบสถ พระวิหารหลวง และ พระระเบียง ต่อมากรมศิลปากร ได้พิจารณารับเป็นสาขาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรียกชื่อในขนาดนั้นว่า “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี” โดยจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ขนาดย่อม ครั้นถึง พ.ศ. 2493 ท่านพระครูอินทปัญญาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุไชยา เป็นผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยา ได้เริ่มสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ โดยเงินจากการจำหน่ายหนังสือเรื่อง "แนวสังเขปโบราณคดีรอบอ่าวบ้านดอน" สร้างอาคารเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนแบบไทยประยุกต์อาคารใหม่หลังแรก เสร็จเมื่อ พ.ศ. 2495 ต่อมา พ.ศ. 2499 ได้สร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ขึ้นเป็นหลังที่สอง ด้านทิศเหนือ ใหญ่กว่าหลังแรก สร้างด้วยเงินงบประมาณของกรมศิลปากร และเงินงบประมาณแผนดิน ซึ่ง พ.ต.อ.พัฒน์ นีลวัฒนานนท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นผู้จัดหา อาคารหลังนี้ต่อมาได้มีชื่อว่า “ศาลานีลวัฒนานนท์” ต่อมาเมื่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ประกอบกับพระวิหารหลวงชำรุดทรุดโทรมและทางวัดจะรื้อสร้างใหม่ จึงได้ย้ายศิลปวัตถุทั้งหมดจากวิหารหลวงนำไปเก็บและตั้งแสดงในอาคาร พิพิธภัณฑ์ที่สร้างใหม่
กิจการพิพิธภัณฑ์ได้เจริญก้าวหน้าตามลำดับมาประจวบกับในวาระสมโภชกรุงรัตน โกสินทร์ 200 ปี กรมศิลปากรเห็นเป็นโอกาสเหมาะสม จึงได้ประกอบพีธีเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา โดยได้กราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารพิพิธภัณฑแห่งชาติ ไชยา และทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2525
กันตรึม
เครื่องดนตรีกันตรึม
กันตรึม
“กันตรึม” เป็นเพลงพื้นบ้านนิยมกันมากในจังหวัดสุรินทร์ เนื้อเพลงกันตรึมใช้ภาษาเขมรขับร้อง กันตรึมถือเป็นแม่บทของเพลงพื้นบ้าน และการละเล่นพื้นบ้านอื่นๆ ของจังหวัดสุรินทร์
ประวัติความเป็นมา
ประวัติการเล่นกันตรึมไม่มีผู้ใดทราบแน่ชัดว่ามีมาตั้งแต่เมื่อใด ลักษณะของเพลงกันตรึมเป็นเพลงปฏิพากย์คล้ายๆ เพลงฉ่อย เพลงเรือ หรือลำตัด จะแตกต่างที่เนื้อร้องกันตรึมเป็นภาษาเขมร
ดนตรีบรรเลงประกอบ คือ กลองโทน(สก็วล) และซอ(สุกัญญา สุจฉายา ๒๕๒๕ : ๘) เหมือนกับประเทศกัมพูชา วงดนตรีกันตรึมมีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของชาวสุรินทร์มาแต่อดีต ไม่ว่าจะเป็นงานพิธีแบบใดๆ เช่น งานแต่งงาน งานศพ งานพิธีกรรมต่างๆ หรือใช้บรรเลงในพิธีเซ่นสรวงบูชา ทรงเจ้าเข้าผี เป็นต้น งานพิธีต่างๆ ของกลุ่มชาวไทยเขมรส่วนมากมักจะใช้วงกันตรึมบรรเลงยืนพื้นตลอดงาน
ปัจจุบันกันตรึมใช้เป็นการละเล่นเพื่อความบันเทิงโดยทั่วไป มีการสืบทอดตามแบบการละเล่นพื้นบ้านแบบรุ่นสู่รุ่น คือ เมื่อผู้เล่นกันตรึมคณะเดิมชราภาพ หรือย้ายถิ่นที่อยู่ ก็จะถ่ายทอดให้แก่ผู้สนใจเพื่อสานต่อ(สงบ บุญคล้อย ๒๕๒๒ : ๘)
วิวัฒนาการของเพลงกันตรึม
๑. ได้รับอิทธิพลมาจากเพลงปฏิพากย์ของเขมร ในประเทศกัมพูชา ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับเพลงปฏิพากย์ภาคกลางของประเทศไทยทั้งโครงสร้างของเพลง วิธีการแสดง และเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบ ได้แก่ กลองโทน ซอ และใช้การปรบมือเข้าจังหวะ เพลงปฏิพากย์ที่เล่นกันในประเทศกัมพูชาจะมีเพลงปรบเกอย เพลงอายัย เพลงอมตูก และเจรียงต่างๆ เป็นต้น (สุกัญญา สุจฉายา ๒๕๒๕ : ๘)
๒. วิวัฒนาการจากการใช้กลอง(สก็วล) ซึ่งเสียงตีกลองจะดัง “โจ๊ะกันตรึม ตรึม” จึงได้นำเสียงที่ดังนั้นมาตั้งเป็นชื่อวงดนตรี เรียกว่า “กันตรึม” การเล่นกันตรึมจะมีผู้ร้องทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ผู้แสดงจะร้อง และรำไปด้วย เป็นการรำให้เข้ากับจังหวะดนตรี ท่ารำไม่มีแบบแผนตายตัว
ปัจจุบันคณะกันตรึมบางคณะที่ยังเล่นอยู่ก็มีแบบการรำที่ไม่แน่นอน เนื่องจากกันตรึมไม่เน้นทางด้านการรำ แต่จะเน้นที่ความไพเราะของเสียงร้อง และความสนุกสนานของท่วงทำนองเพลงกันตรึมที่มีหลากหลายมากกว่า
เครื่องดนตรี
เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการเล่นกันตรึม ประกอบด้วย กลองกันตรึม(สก็วล) ๒ ลูก ซอ(ตรัว) ๑ คัน ปี่อ้อ ๑ เลา ขลุ่ย ๑ เลา ฉิ่ง กรับ และฉาบ อย่างละ ๑ คู่ แต่ถ้ามีเครื่องดนตรีไม่ครบก็อาจจะอนุโลมใช้เครื่องดนตรีเพียง ๔ อย่าง คือ กลองกันตรึม ๑ ลูก ซอ ๑ คัน ฉิ่ง และฉาบ อย่างละ ๑ คู่
ในปัจจุบัน วงกันตรึมบางคณะได้นำเอาเครื่องดนตรีสากลมาใช้ เช่น กลองชุด กีตาร์ และไวโอลิน เพื่อปรับให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงและเปลี่ยนไปตามความนิยมของผู้ชม
การแต่งกาย
การแต่งกายทั้งของนักดนตรีและนักร้องชายหญิงไม่มีแบบแผนกฎเกณฑ์ที่แน่นอน จะแตกต่างตามความสะดวกสบาย ทันสมัยและถูกใจผู้ชม เช่น หญิงนุ่งผ้าไหมพื้นเมือง เสื้อแขนกระบอก ห่มสไบเฉียง ชายนุ่งโจงกระเบน เสื้อคอกลมแขนสั้น ผ้าไหมคาดเอว และมีผ้าขาวม้าไหมพาดไหล่ทั้งสองข้าง โดยชายผ้าทั้งสองจะห้อยอยู่ทางด้านหลัง
ผู้เล่นและโอกาสที่ใช้เล่น
การเล่นกันตรึม ใช้ผู้เล่นประมาณ ๖ – ๘ คน ผู้ร้องเป็นชายและหญิง อาจจะมี ๑ – ๒ คู่ หรือชาย ๑ คน หญิง ๒ – ๓ คน แต่โดยทั่วไปนิยมให้มีชาย ๒ คน หญิง ๒ คน
การเล่นกันตรึมจะเล่นในโอกาสต่างๆ ทั้งในโอกาสเฉลิมฉลอง งานมงคล เช่น งานแต่งงาน งานโกนจุก งานบวชนาค เทศกาลปีใหม่ สงกรานต์ และลอยกระทง เป็นต้น หรืองานอวมงคล นอกจากนี้ยังใช้เล่นในพิธีกรรมเกี่ยวกับความเชื่อพื้นบ้าน
วิธีเล่นกันตรึม
วงกันตรึมจะเล่นที่ไหน ก่อนเริ่มการแสดงจะต้องมีพิธีไหว้ครูเพื่อเป็นสิริมงคล ทั้งผู้ดูและผู้เล่น เมื่อไหว้ครูเสร็จก็จะเริ่มบรรเลงเพลง เป็นการโหมโรงเพื่อปลุกใจให้ผู้ดูรู้สึกตื่นเต้น และผู้แสดงก็จะได้เตรียมตัว จากนั้นจะเริ่มแสดง โดยเริ่มบทไหว้ครูตามธรรมเนียมโบราณดั้งเดิม วิธีการร้องจะขับร้องโต้ตอบกันระหว่างชาย หญิง มีการรำประกอบการร้อง ไม่ต้องใช้ลูกคู่ช่วยร้องรับบทเพลง
บทเพลงกันตรึม
บทเพลงกันตรึมไม่มีเนื้อร้องเป็นการเฉพาะ แต่มักคิดคำกลอนให้เหมาะสมกับงานที่เล่น หรือใช้บทร้องเก่าๆ ที่จดจำกันมามีประมาณ ๒๒๘ ทำนองเพลง ไม่มีใครสามารถจดจำได้ทั้งหมด เพราะไม่มีการจดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร มีเพียงการจดจำต่อๆ กันมาเท่านั้น
การแบ่งประเภทบทเพลงกันตรึม
๑. บทเพลงชั้นสูงหรือเพลงครู เป็นบทที่มีความไพเราะ สูงศักดิ์ ทำนองเพลงอ่อนหวานกินใจ แสดงให้เห็นถึงความศักดิ์สิทธิ์ เช่น เพลงสวายจุมเวื้อด ร่ำเป็อย – จองได มโหรี และเพลงเซร้ยสะเดิง เป็นต้น
๒. บทเพลงสำหรับขบวนแห่ มีทำนองครึกครื้นสนุกสนาน มีการฟ้อนรำประกอบการขับร้อง มีหลายทำนอง เช่น รำพาย ซมโปง ตร็อบตุม และเกาะเบอรมแบง เป็นต้น
๓. บทเพลงเบ็ดเตล็ดต่างๆ เป็นบทเพลงที่มีทำนองรวดเร็ว เร่งเร้า ให้ความสนุกสนาน ใช้เป็นบทขับร้องในโอกาสทั่วๆ ไป เช่น เกี้ยวพาราสี สั่งสอน สู่ขวัญ และรำพึงรำพัน เป็นต้น ทำนองเพลงจะมีหลายทำนอง เช่น อมตูก กัจปกาซาปาดาน กันเตรยโมเวยงูดตึก กะโน้ปติงต้อง และมลบโดง เป็นต้น
๔. บทเพลงประยุกต์ เป็นบทเพลงที่ใช้ทำนองเพลงลูกทุ่งเข้ามาประยุกต์เป็นทำนองเพลงกันตรึม เช่น ดิสโก้กันตรึม สัญญาประยุกต์ และเตียแขมประยุกต์ เป็นต้น
วัสดุ สำริด
แบบศิลปะ ศิลปะเขมรในประเทศไทย
อายุสมัย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 18
สถานที่พบ พบในเขต อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด
รูปทรงคล้ายกลีบบัวหรือสามเหลี่ยมมุมมน ด้านหนึ่งสลักลวดลายลึกลงไปเป็นแอ่ง องค์กลางเป็นพระพุทธรูปปางสมาธินาคปรก พญานาคมี 7 เศียร ด้านข้างขนาบด้วยรูปบุคคลนั่งประนมหัตถ์ สวมกระบังหน้าและมงกุฎยอดแหลม ทั้งหมดประทับนั่งบนฐานบัวภายในซุ้มเรือนแก้ว ด้านหลังเรียบไม่มีลาย มีด้ามสำหรับจับ
อยากทราบว่ารับนักศึกษาฝึกงานหรือเปล่าครับ ผมเรียน วัฒนธรรม สาขา ประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณดคี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ครับ
ท่านพีรพน พิสณุพงศ์ รองอธิบดีกรมศิลปากร ไหว้บูชาเสด็จพ่อร.5 ก่อนกล่าวเปิดโครงการพัฒนาหอสมุดแห่งชาติเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ณ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ นครพนม วันที่ 2 ธันวาคม 2557
บันทึกเหตุการณ์การเสด็จพระราชดำเนินเปิดรถไฟสายตะวันออก(ถึงฉะเชิงเทรา)และสายเหนือ(ถึงพิษณุโลก) ณ พลับพลาพระราชพิธีสถานีรถไฟกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 24 มกราคม ร.ศ. 126 เวลาเช้า 3 โมงเศษ แล้วเสด็จพระราชดำเนินด้วยรถไฟพิเศษสายตะวันออกผ่านสถานีบางกระสัน คลองแสนแสบ บ้านหัวหมาก บ้านทับช้าง สถานีที่ 2 หัวตะเข้ คลองหลวงแพ่ง คลองพระยาเดโช ถึงสถานีฉะเชิงเทรา เวลาเช้า 5 โมงเศษ เสด็จลงจากรถไฟพระที่นั่งแล้วเสด็จลงเรือประทับล่องไปตามลำน้ำบางปะกงถึงที่ว่าการมณฑล เสด็จประทับห้องประชุม พระราชทานพระแสงราชศัสตราประจำเมือง แล้วจึงเสด็จประทับเรือพระที่นั่ง ประทับแรม ณ ตำหนักพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นมรุพงศ์ศิริพัฒน์เพื่อประพาสเมืองฉะเชิงเทรา
วันที่ 30 มกราคม ร.ศ. 126 เวลาเช้า 2 โมงเศษ เสด็จพระราชดำเนินกลับพระนคร โดยเสด็จประทับในเรือพระที่นั่งแจวขึ้นไปตามแม่น้ำบางปะกง เข้าลองท่าไข คลองนครเนื่องเขตร เวลาค่ำประทับแรมที่วัดปากบึงในคลองนั้น รุ่งเช้าเสด็จพระราชดำเนินเข้าคลองแสนแสบ เวลาค่ำประทับแรมที่เมืองมีนบุรี เวลาเช้าเสด็จพระราชดำเนินจากเมืองมีนบุรีมาตามคลองแสนแสบ ถึงประตูน้ำ ปทุมวัน เสด็จฯ มาตามคลองมหานาค เลี้ยวไปตามคลองผดุงกรุงเกษม เลี้ยวเข้าคลองเม่งเสง ไปเสด็จขึ้น ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เวลาบ่าย 5 โมงเศษ
***บรรณานุกรม***
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
บทเจรจาละครเรื่อง อิเหนา พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปกิจศพ นางเนื่อง อุมะวิชนี ณ ฌาปนสถานกองทัพอากาศวัดพระศรีมหาธาตุ วันที่ 26 เมษายน พุทธศักราช 2520
กรุงเทพฯ
โรงพิมพ์มหามกุฎราช
2502