ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ
มงฺคลตฺถทีปนี (มงฺคลตฺถทีปนี เผด็จมงคลสูตร)
ชบ.บ.88ข/1-21
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
เลขทะเบียน : นพ.บ.351/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 16 หน้า ; 4.5 x 56.5 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 135 (378-387) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : เทศนาสอนข้าราชการประชาชน--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อผู้แต่ง -
ชื่อเรื่อง เรื่องดาราศาสตร์ไทย
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพมหานคร
สำนักพิมพ์ อรุณการพิมพ์
ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๖
จำนวนหน้า ๒๓๒ หน้า
หมายเหตุ อนุสรณ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงสวัสดิสารศาสตรพุทธิ ม.ว.ม. , ป.ช. , ท.จ.ว. (สวัสดิ์ สุมิตร)
๑.ดาวพระเคราะห์ ดาราศาสตร์ไทย ได้มาจากดาราศาสตร์ของอินเดีย แม้จะมีเป็นเรื่องนิยายมาตั้งแต่ก่อนพุทธกาล แต่ในส่วนหลักความคิดแห่งการคำนวณแล้ว นับว่าได้มาจาก Hipparchus (ประมาณก่อน ค.ศ. 125) หรือมาจาก Ptolemy รวมเรียกตำราเหล่านี้ว่า ดาราศาสตร์โบราณ
๒.ดาวนักษัตร์ ดาวในจักรราศี ดาวนักษัตร คือ ดาวประจำที่(กุจร) ปรากฏเป็นหมู่ เป็นเหล่า ชวนให้เห็นรูปต่างๆ ตั้งอยู่ในแถบบนท้องฟ้าเรียกว่า จักราศี
เขื่อนเจ้าพระยา อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท เป็นโครงการชลประทานอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่ริเริ่มมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) กระทั่งแล้วเสร็จในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9)
เมื่อพ.ศ. 2446 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริให้กระทรวงเกษตราธิการพิจารณาวางโครงการชลประทานในลุ่มน้ำภาคกลาง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยให้สร้างเขื่อนชลประทานขนาดใหญ่ในแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อทดน้ำเข้าทุ่งนา กรมคลอง กระทรวงเกษตราธิการประมาณการว่าต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 50 ล้านบาท แต่เนื่องจากขณะนั้นต้องนำเงินงบประมาณไปใช้บริหารจัดการด้านอื่นก่อน จึงเหลือเพียงโครงการรักษาน้ำในที่ลุ่ม
ต่อมา รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดฝนแล้งถึงสองปีติดต่อกัน ทำให้การทำนาและการเพาะปลูกไม่ได้ผล เกิดสถานการณ์ข้าวยากหมากแพง ราษฎรเดือดร้อน กรมทดน้ำจึงได้ทูลเกล้าฯ ถวายรายงานโครงการสร้างเขื่อนเจ้าพระยา แต่ด้วยขณะนั้นรัฐบาลกำลังดำเนินการโครงการก่อสร้างเขื่อนป่าสักใต้และโครงการอื่นๆ อยู่ก่อนแล้ว และประจวบกับเกิดเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 1 โครงการก่อสร้างเขื่อนเจ้าพระยาจึงต้องระงับไว้
พ.ศ. 2491 กรมชลประทาน กระทรวงเกษตราธิการ ได้เสนอโครงการก่อสร้างเขื่อนเจ้าพระยาอีกครั้ง รัฐบาลพิจารณาเห็นชอบ โดยในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 ได้เจรจาขอกู้เงินจากธนาคารโลกเพื่อเป็นเงินทุนซื้อเครื่องจักรและเครื่องมือในการก่อสร้าง และใช้เงินงบประมาณของประเทศสำหรับเป็นค่าแรง ค่าวัสดุก่อสร้างที่ผลิตได้ภายในประเทศ งบประมาณโครงการรวม 1,160 ล้านบาท เริ่มก่อสร้างต้นปี พ.ศ. 2495
โครงการชลประทานเขื่อนเจ้าพระยา ประกอบด้วย การสร้างเขื่อนระบายและโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ประตูน้ำ ช่องลัดซึ่งเป็นทางน้ำใหม่ ทำนบดินปิดลำน้ำเดิม มีลักษณะเป็นเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็ก ยาว 237.50 เมตร สูง 16.5 เมตร ติดตั้งบานประตูเหล็กรูปโค้งสูง 7.50 เมตร มีช่องระบายให้น้ำไหลผ่านขนาดกว้าง 12.50 เมตร จำนวน 16 ช่อง มีโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 300 กิโลวัตต์ เรือขนาดใหญ่สามารถผ่านเข้าออกได้ บนสันเขื่อนมีสะพานกว้าง 7 เมตร สามารถส่งน้ำเข้าคลองชลประทานไปยังพื้นที่นาและพื้นที่เพาะปลูกได้ประมาณ 5,700,000 ไร่ มีทางระบายน้ำล้นฉุกเฉินเพื่อช่วยระบายน้ำเมื่อเกิดอุทกภัย
เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496 จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี และท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ การก่อสร้างเขื่อนเจ้าพระยาแล้วเสร็จปลายปีพ.ศ. 2499 และพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อนเจ้าพระยา ตำบลบางหลวง อำเภอสรรพายา จังหวัดชัยนาท เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 โดยมีพระราชดำรัสว่า
“ข้าพเจ้ามีความยินดีที่ได้มีโอกาสมาร่วมในพิธีเปิดเขื่อนเจ้าพระยาในวันนี้ ประเทศของเราเป็นประเทศกสิกรรม ทั้งข้าวก็เป็นอาหารหลักของประชาชนพลเมือง การอยู่ดีกินดีของอาณาประชาราษฎร์และความสมบูรณ์มั่งคั่งของประเทศยังต้อง อาศัยอยู่กับการเพาะปลูกเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปลูกข้าวในภาคกลางนี้ รัฐบาลของเราทุกยุคทุกสมัย ดังที่นายกรัฐมนตรีแถลงมา ได้เล็งเห็นความสำคัญและสนใจในการทำนุบำรุงประเทศโดยการที่จะสร้างโครงการชลประทานเพื่อส่งเสริมช่วยการเพาะปลูกและการทำนาให้ได้ผลดียิ่งขึ้น จึงเป็นที่น่ายินดียิ่งนักที่เขื่อนเจ้าพระยา อันเป็นส่วนหนึ่งของโครงการชลประทานที่ได้ดำริกันมาตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เป็นอันก่อสร้างสำเร็จลงได้ในปัจจุบัน ทั้งนี้เป็นหลักพยานอันหนึ่งถึงความเพียรพยายามที่จะดำเนินการอันจะก่อประโยชน์แก่ประเทศชาติโดยไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ซึ่งนับว่าเป็นคุณสมบัติอันดีของคนไทย...
...ได้เวลาแล้วข้าพเจ้าจะได้กระทำพิธีเปิดเขื่อนเจ้าพระยา ขอให้เขื่อนเจ้าพระยานี้จงสถิตอยู่ด้วยความมั่นคงถาวร ได้อำนวยบริการแก่ประเทศชาติและเพิ่มพูนประโยชน์แก่กสิกรต่อไปอย่างไพศาล สมตามปณิธานที่ได้ก่อสร้างขึ้นนั้นทุกประการ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ทุก ๆ คนทั่วกัน”
ผู้เรียบเรียง : นางสาวดุษฎี ชัยเพชร นักจดหมายเหตุชำนาญการ
คณะทำงานองค์ความรู้ของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
--------------------------------
อ้างอิง :
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารสำนักนายกรัฐมนตรี กองกลาง สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (3) สร0201.30.1/2 เรื่อง การออกแบบรายละเอียดเขื่อนเจ้าพระยา (5 กันยายน 2493 – 6 มกราคม 2497)
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารสำนักนายกรัฐมนตรี กองกลาง สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (3) สร0201.30.1/9 เรื่อง พิธีเปิดเขื่อนเจ้าพระยา (17 สิงหาคม 2499 – 4 กุมภาพันธ์ 2500)
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกระทรวงมหาดไทย กองกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย มท 0201.2.1.28/69 เรื่อง รัฐพิธีเปิดเขื่อนเจ้าพระยา (พ.ศ. 2500)
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ภาพจดหมายเหตุเหตุการณ์สำคัญ ฉ/ท/318, ฉ/ท/343 ภาพพิธีวางศิลาฤกษ์สร้างเขื่อนเจ้าพระยา
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช. ภาพกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน) ภ หจภ (3) กษ1.1/1, ภ หจภ (3) กษ1.1/65, ภ หจภ (3) กษ1.2/1,3 ภาพเขื่อนเจ้าพระยา
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช. สไลด์ส่วนบุคคล นายสุทัศน์ พัฒนสิงห์ ฟ หจภ สบ1.1/842 ภาพเขื่อนเจ้าพระยา
#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจดหมายเหตุ
แนะนำหนังสือให้อ่านเรื่อง "จดหมายเหตุเรื่องทรงตั้งพระบรมวงศานุวงศ์กรุงรัตนโกสินทร์"
จดหมายเหตุเรื่องทรงตั้งพระบรมวงศานุวงศ กรุงรัตนโกสินทร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: ศรีปัญญา, 2562. 619 หน้า. 550 บาท.
ให้ข้อมูลจดหมายเหตุเรื่องทรงตั้งพระบรมวงศานุวงศ์กรุงรรัตนโกสินทร์ เป็นการสถาปนาพระเกียรติยศเจ้านายในพระบรมราชวงศ์จักรี ตั้งแต่รัชกาลที่ 1-6 พ.ศ. 2349-2451รวม 253 ครั้ง พร้อมทั้งนิพนธ์ของสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพเกี่ยวกับยศเจ้านายในราชตระกูลคือ สกุลยศและอิศริยยศ คำที่ใช้เรียกพระเจ้าแผ่นดิน ตลอดจนพระนามของเจ้านายต่างกรมครั้งกรุงเก่า
929.709593
จ132 (ห้องหนังสือทั่วไป)
เรื่อง “หีบพระธรรม วัดสถารศ”--- หีบพระธรรม วัดสถารศ เป็นหีบพระธรรมไม้ ลงรักปิดทอง ขนาด กว้าง ๔๐ เซนติเมตร ยาว ๗๖ เซนติเมตร สูง ๗๕ เซนติเมตร มีจารึกบริเวณขอบปากของหีบพระธรรม จารึกด้วยอักษรธรรมล้านนา ภาษาไทย จำนวน ๑ ด้าน ๖ บรรทัด ระบุปีที่จารึก พุทธศักราช ๒๓๘๓ ลักษณะเป็นหีบทรงลุ้ง ช่วงล่างคอดและผายออกทางด้านบน ส่วนลำตัวมีการเขียนภาพทั้งสี่ด้าน ด้านหน้าเขียนภาพบุคคลสองคนในลักษณะท่าทางคล้ายร่ายรำ ด้านหลังเขียนภาพบุคคลสองคนในท่าเดินประนมมือ ด้านข้างทั้งสองด้านเขียนภาพลายหม้อดอก หรือลายปูรณฆฏะ ความในจารึกกล่าวถึงหนานดวง และนางแพงภริยา พร้อมด้วยบุตร มีศรัทธาร่วมใจกันสร้างหีบพระธรรมไว้เป็นทาน --- คำแปลจารึกบรรทัดที่๑ ศรีส (วั) สติอภิวันทนเคารพ ผู้ข้าจักนบพระพุทธาธิรัตนตรัย ในปถมมูลศรัทธา หมายมีหนานดวงเป็นเค้า แลภริยา บุตตา บุตตี ชู่ผู้ชู่คน ได้บรรทัดที่๒ ปฏิสังขาริก สร้างยังหรีดธรรมลูกนี้ ไว้เป็นทานเป็นทักขิโณทการ ป่างให้ในเดิน ๓ เพ็ง เม็งวัน ๗ ไทย เบิกสัน ฤกษ์ได้ ๒๑ ตัว ชื่อว่า อุตตรสาฒฯ อดีตวรพุทธศาสนาบรรทัดที่๓ คาล่วงแล้วได้ ๒๓๘๓ พระวัสสา อนาคตวรพุทธศาสนา อันจักมาภายหน้ายัง ๒๖๑๗ พระวัสสา เป็นเขตเหตุนั้นปถมมูลศรัทธา หมายมีหนานดวงเป็นเค้า แลภริยาผู้ชื่อว่านางแพง แลบรรทัดที่๔ บุตตาบุตตี นัตตานตี ทาสาทาสี สัมพันธกุลวงศา ทั้งมวล จึงมาริจนา ยังหรีดธรรมลูกนี้ไว้ อันขีดเขียนไปด้วยรักหางอย่าง เอาจิ๋มใหม่ สุวรรณคำแดงแสงเรืองเรื่อ...เพื่อจักไว้ให้สถิตบรรทัดที่๕ ทรงธรรมกถา ริจนา ในปีกัดไก๊ จุลศักราชได้ ๑๒๒๐ ปลายตัว ริจนาไว้ค้ำชูศาสนา ให้เป็นโสมนัฏฐา ตราบสิ้นวิฏฐิติกาล ยาวนานแท้จริงแล เทพสรภิกขุเป็นบรรทัดที่๖ ผู้ริจนา คำจ้อ แท้จริงแล ที่ไว้เหลือเหตุบ่ช่าง--- ปัจจุบัน หีบพระธรรม วัดสถารศ จัดแสดงให้เยี่ยมชมอยู่ชั้นบนอาคารจัดแสดงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ที่มาข้อมูล : - กรมศิลปากร. เมืองน่าน โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์, ๒๕๓๗.
ชื่อเรื่อง บันทึกเกร็ดความรู้ต่าง ๆผู้แต่ง พระครูปริยัติคุณาธาร (อัมพร อติเมโธ)ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN 974-364-160-2หมวดหมู่ พระพุทธศาสนาเลขหมู่ 294.308 พ323บสถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยปีที่พิมพ์ 2547ลักษณะวัสดุ 114 หน้า :; 21 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา -- รวมเรื่องภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก หนังสือบันทึกเกร็ดความรู้ของท่านเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นเป็นอย่างดี เพราะให้คติธรรมและข้อคิดตางๆ มากมาย ถือเป็นมรดกสำคัญชิ้นหนึ่ง สืบเนื่องมาจากท่านเป็นนักจด นักจำ นักสังเกต นักคิด และนักบันทึก เพื่อเป็นแนวทางให้การดำเนินชีวิตของท่านเอง และใช้สั่งสอนอบรมศิษยานุศิษย์ของท่าน
กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไทย ในศตวรรษ ๒๑ Powers of Museums” ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๕ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๕ ตั้งแต่เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร และ Youtube Live : กรมศิลปากร
วันนี้ในอดีต 1 กันยายน 2564 วันระลึกถึงการจากไปของ สืบ นาคะเสถียร
สืบ นาคะเสถียร นักอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ อดีตหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี ที่ได้ทุ่มเททั้งชีวิต และจิตวิญญาณในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยแลกชีวิตของตนเองเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2533 เพื่อปลุกจิตสำนึกให้คนไทยอนุรักษ์ผืนป่าและเห็นความสำคัญของป่าไม้ สัตว์ป่า และสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
ส่งผลให้ “ป่าห้วยขาแข้ง” และ “ทุ่งใหญ่นเรศวร” ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางธรรมชาติของโลก เมื่อปี 2534 ในที่สุด ภายหลังการเสียชีวิตของคุณสืบ 18 วัน มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร ได้รับการก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2533 วันเดียวกับการครบรอบ 94 ปีของกรมป่าไม้ หน่วยงานต้นสังกัดของนักอนุรักษ์นี้
สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญรับชมการถ่ายทอดสด Facebook Live กิจกรรมส่งเสริมการอ่านสำหรับเด็ก Kids Inspiration ครั้งที่ ๑ เรื่อง “Kids Inspiration กระทงสวยด้วยมือหนู” ในวันอังคารที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๐๐ น. - ๑๕.๓๐ น.
กิจกรรมส่งเสริมการอ่านสำหรับเด็ก Kids Inspiration ประจำปี ๒๕๖๖ กำหนดจัดกิจกรรม ๕ ครั้ง โดยครั้งนี้เป็นครั้งที่ ๑ หัวข้อเรื่อง Kids Inspiration กระทงสวยด้วยมือหนู ผู้ร่วมกิจกรรมประกอบด้วย ครู เจ้าหน้าที่ และนักเรียนจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ จำนวน ๕๐ คน กิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้ากิจกรรมได้รู้จักประเพณีลอยกระทงและเห็นความสำคัญของการลอยกระทงเด็กได้ร่วมกันประดิษฐ์กระทงจากวัสดุธรรมชาติ เป็นการส่งเสริมให้เด็กเกิดจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ ในการประดิษฐ์กระทงให้สวยงาม และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม โดยได้เชิญวิทยากรมาให้ความรู้และสอนการประดิษฐ์กระทงให้แก่ผู้เข้าร่วมอบรม ณ ลานกิจกรรมหน้าห้องวชิรญาณชั้น ๑ อาคาร ๒ สำนักหอสมุดแห่งชาติ
สำหรับเด็ก เยาวชน และผู้ที่สนใจกิจกรรม “Kids Inspiration กระทงสวยด้วยมือหนู” สามารถติดตามชมการถ่ายทอดสด Facebook Live ของสำนักหอสมุดแห่งชาติ : National Library of Thailand
ชื่อเรื่อง มหาวฅฺฅ วณฺณนา(ตติย) สมนฺตปาสาทิกา วินยฏฺฐกถา(วินัย)
สพ.บ. อย.บ.5/8ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 48 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา บทสวด พระวินัย
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน ภาษามอญ เส้นจาร ฉบับทองทึบ ลานดิบ ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก วัดประดู่ทรงธรรม จ.พระนครศรีอยุธยา