ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ



กลุ่มโบราณสถานเขาคลังสระแก้ว อีก 2 เนินโบราณสถานขนาดใหญ่ที่รอการขุดค้น (ไปเที่ยวชมกันได้นะคะ เนินใหญ่มาก อยู่กลางไร่มันสำปะหลังแถวสระแก้ว) กลุ่มโบราณสถานเขาคลังสระแก้วตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของเมืองโบราณศรีเทพ บริเวณสระแก้ว สระน้ำโบราณที่ปัจจุบันได้เป็นหนึ่งในแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ของจังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วยเนินโบราณสถานทั้งหมด 6 แห่ง (ปัจจุบันขุดแต่งแล้ว 4 แห่ง) ที่สำคัญคือยังมีเนินโบราณสถานขนาดใหญ่ได้แก่ เขาคลังสระแก้ว 1 และเขาคลังสระแก้ว 2 (เขาคลังสระแก้ว 1 สูงถึง 6 เมตร ขนาดเนินกว้างประมาณ 40 เมตร ใหญ่มาก ! ส่วนเขาคลังสระแก้ว 2 สูงประมาณ 3 เมตร กว้างประมาณ 30 เมตร ) การขุดค้นเนินโบราณสถานเขาคลังสระแก้วในปี 2566 พบฐานเจดีย์ก่อด้วยอิฐอยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตตุรัส มีชื่อว่า เขาคลังสระแก้ว 3 นอกจากนี้ยังพบโบราณวัตถุสำคัญที่เขาคลังสระแก้ว 4 เป็นเศษชิ้นส่วนชามสังคโลกของสุโขทัย! ตื่นเต้นมากค่ะ เพราะว่าในเมืองศรีเทพเราไม่เคยเจอหลักฐานโบราณวัตถุที่มีอายุหลังพุทธศตวรรษที่ 18 เลย แต่กลับพบของยุคหลังที่นอกเมืองบริเวณสระแก้ว (นอกจากนี้การขุดลอกสระแก้วก็พบชามสังคโลกเช่นเดียวกัน) นั่นอาจหมายความว่า หลังจากที่เมืองศรีเทพล่มสลายไป อาจยังมีการใช้พื้นที่บริเวณสระแก้วที่อยู่นอกเมืองด้วยรึเปล่า? สระแก้วยังคงความสำคัญมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 19-20 ??? **การขุดลอกสระแก้วได้เจอชิ้นส่วนจารึกด้วย เป็นจารึกอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤษ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12


ชื่อเรื่อง                     บรรพชนคนบางแม่หม้าย : นักสู้ผู้ไร้ชื่อในประวัติศาสตร์ไทยผู้แต่ง                       เสมียน หงส์โตประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                   ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์เลขหมู่                      959.37 ส943บสถานที่พิมพ์               ม.ป.ท.สำนักพิมพ์                 ม.ป.พ.ปีที่พิมพ์                    2561ลักษณะวัสดุ               78 หน้า : ภาพประกอบ ; 21 ซม.หัวเรื่อง                     สุพรรณบุรี – บางปลาม้า                              สุพรรณบุรี – ความเป็นอยู่และประเพณีภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก          คำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ตั้งแต่ปี พ.ศ.2531   


          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุพรรณบุรี จัดกิจกรรม Art Activities @พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี ขอเชิญร่วมต้อนรับวาเลนไทน์ด้วยหัวใจที่อบอุ่น พบกับกิจกรรม "My Fluffy Heart หัวใจนุ่มฟู” ประดิษฐ์พวงกุญแจสานรักจากไหมพรม เพื่อส่งเสริมความรักความอบอุ่นในครอบครัวด้วยการทำกิจกรรมร่วมกัน ในทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 10.00 น. - 15.00 น. ตลอดเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ณ ห้องกิจกรรมพิเศษ ชั้น 2 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี ทั้งนี้ น้อง ๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรม จะได้รับผลงานกลับบ้านไปด้วย สอบถามเพิ่มเติมได้ทาง Facebook : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี Suphanburi National Museum หรือ โทร. 0 3553 5330


ประเพณี “เทศน์มหาชาติ” ซึ่งนิยมจัดในเดือนสิบสอง ตรงกับประเพณี “ตั้งธัมม์หลวง”ของภาคเหนือ นับเป็นพิธีใหญ่คู่กับประเพณีทานสลากภัตต์ และประเพณี “บุญผะเหวด” ตามฮีตสิบสองทางภาคอีสานคำว่า “มหาชาติ” หมายถึง พระเวสสันดรชาดก มีความสำคัญด้วยบารมีของพระโพธิสัตว์ครบบริบูรณ์ ๑๐ ประการ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระราชพิธีเทศน์มหาชาติถือเป็นการบำเพ็ญกุศลครั้งใหญ่ภายในพระบรมมหาราชวัง มีการประดับตกแต่งพรรณไม้ล้อมรอบธรรมมาสน์ และจัดเครื่องบูชาถวายกัณฑ์เทศน์อย่างเอิกเกริกสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงเกณฑ์พระบรมวงศานุวงศ์ทำกระจาดใหญ่บูชากัณฑ์เทศนา โปรดฯ ให้นิมนต์พระพิมลธรรม พระธรรมอุดม พระพุทธโฆษาจารย์ มาถวายพระธรรมเทศนาคาถาพัน โดยพระองค์ได้ถวายไตรจีวรและบริขาร พร้อมด้วยเครื่องกัณฑ์เทศน์บรรทุกเรือพระที่นั่งบรรลังก์ประดับโคมแขวนและปักธงมังกรจอดเทียบไว้หน้าพระตำหนักแพ ครั้งจบกัณฑ์ก็มีเรือคู่ชักและเรือพายข้าราชการมาส่งพระภิกษุสงฆ์ถึงพระอารามในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา กล่าวว่า มีเครื่องบูชาถวายกัณฑ์มหาชาติครั้งนี้ ถึง ๑๓ กระจาด ตั้งหน้ากำแพงพระมหาปราสาทมาจนถึงหน้าโรงทองและหอนาฬิกา สำหรับประกวดประชันกัน โดยคุณแว่น (คุณเสือ) พระสนมเอกได้ใส่ทาสเด็กศีรษะจุกแต่งตัวหมดจดถวายพระสงฆ์ไปเป็นสิทธิ์ขาดด้วยพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องพระราชพิธีสิบสองเดือน กล่าวถึง พระราชพิธีเดือนอ้าย : พระราชกุศลเทศนามหาชาติ มีการตกแต่งเครื่องบูชาเทศนาภายในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ความว่า“...หลังพระที่นั่งเศวตฉัตรผูกกิ่งไม้ มีดอกไม้ร้อยห้อยย้อยเป็นพวงพู่ผูกตามกิ่งไม้ทั่วไป ...ตั้งหมากพนมพานทองมหากฐินสองพาน หมากพนมใหญ่พานแว่นฟ้าสองพาน แล้วพานนี้เปลี่ยนเป็นโคมเวียน มีต้นไม้เงินทองตั้งรายสองแถว กระถางต้นไม้ดัดลายคราม โคมพโอมแก้วรายตลอดทั้งสองข้าง หน้าแถวมีกรงนกคิรีบูน ซึ่งติดกับหม้อแก้วเลี้ยงปลาทองตั้งปิดช่องกลาง ปลายแถวตั้งขันเทียนคาถาพัน ตามตะเกียงกิ่งที่เสาแขวนฉากเทศน์ทั้ง ๑๓ กัณฑ์...”ทั้งนี้ยังมีธรรมเนียมให้แสดงให้เห็นเครื่องบูชากัณฑ์เรียงรายจำนวนมาก หนึ่งในนั้นคือ "โคมเวียน" เป็นโคมชนิดที่มีที่ครอบหมุนได้ บนที่ครอบเขียนรูปภาพลำดับเรื่องในพระพุทธศาสนา เมื่อจุดไฟแล้วที่ครอบจะหมุนไปช้า ๆ ทำให้รูปภาพบนที่ครอบหมุนเวียนตามไปด้วย ใช้เป็นเครื่องตั้งดูเล่นตามงานในเทศกาลต่างๆทั้งนี้ยังปรากฏธรรมเนียมให้พระราชโอรสฝึกหัดกัณฑ์เทศน์ถวายด้วย ครั้งพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ (รัชกาลที่ ๕) เป็นสามเณรและได้ถวายเทศน์นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ได้จัดเครื่องบูชากัณฑ์สำหรับเฉพาะพระองค์ อันเป็นกระจาดใหญ่รูปเรือสำเภาบริเวณหน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเล่าไว้ว่า “...พระราชโอรสในรัชกาลที่ ๔ คราวผนวชเป็นสามเณรได้ถวายกัณฑ์เทศน์แทบทุกองค์ โปรดให้พระราชครูพิราม (ชู) อยู่ในกรมราชบัณฑิตเป็นผู้ฝึกหัด”จากพระราชพิธีพระราชกุศลเทศนามหาชาติภายในพระบรมมหาราชวัง นับเป็นพระราชพิธีบำเพ็ญราชกุศล ซึ่งทำให้เห็นความเลื่อมใสศรัทธาและสถานะองค์ศาสนูปถัมภก ตามเจตนาน้อมในพระบรมพุทธาภิเษกสมบัติ อันได้นำพาสรรพสัตว์เข้าสู่นิพพานอย่างสมบูรณ์_____________________ภาพประกอบ : โคมเวียน สมัยรัชกาลที่ ๒ (พุทธศตวรรษที่ ๒๔) ภายในคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประกอบด้วย ตัวโคมและที่ครอบ ทำรูปร่างคล้ายมณฑปทรงแปดเหลี่ยม มีสามชั้น แต่ละชั้นทำมุขโถงยื่นออกมา ๔ ทิศ มีพนักระเบียง ผนังลงรักปิดทองประดับกระจกสี และเจาะเป็นช่องหน้าต่างลายอย่างเทศ เพื่อให้มองเห็นจิตรกรรมเวสสันดรชาดก มีหลังคาทรงกระโจมยอดดอกบัวตูม เมื่อจุดไฟแล้วครอบนั้นหมุนได้ สำหรับใช้ประกอบสถานที่ในพิธีเทศน์มหาชาติ..อ้างอิงจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ" พระราชพิธีสิบสองเดือน". กรุงเทพฯ: บรรณาการ, ไม่ปรากฎปีที่พิมพ์.ธนิต อยู่โพธิ์. ตำนานเทศน์มหาชาติ. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๒๔.จารุณี อินเฉิดฉาย และคณะ. คุณธรรม จริยธรรม ตามรอยพระโพธิสัตว์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร. ๒๕๕๑เทศม์หาชาติ อนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพนางมรรคาคำณวน ( ละมูล ปิ่นแสง ). กรุงเทพฯ : วรวุฒิการพิมพ์. ๒๕๑๖.ประสงค์ รายณสุข และสมิทธิพล เนตรนิมิตร .ประเพณีการเทศน์มหาชาติ ใน วารสารมจร พุทธศาสตร์ปริทรรศน์. ๒,๒(กรกฎาคม-ธันวาคม ๒๕๕๒)


กลุ่มภาษาและวรรณกรรม สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กำหนดจัดกิจกรรมเสวนาทางวิชาการประกอบนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๗ "เอกสารล้ำค่า จารึกสยาม (Priceless Document of Siam)"เรื่อง " สามก๊ก : จากเรื่องจีนสู่เอกสารล้ำค่าจารึกสยาม"ในวันเสาร์ที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๒.๓๐ – ๑๖.๐๐ น.ณ ห้องประชุมอาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครท่านผู้สนใจสามารถลงทะเบียน (google form) ได้ทางhttps://docs.google.com/.../1nXkYOBy0yDnH1Kkbg.../edit...หรือติดตามรับชมการถ่ายทอดสดได้ทาง facebook กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม


องค์ความรู้เรื่อง สงกรานต์…ประเพณีไทย ผู้เรียบเรียง : นางสาววารุณี วิริยะชูศรี บรรณารักษ์


           พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ขอชวนนักสะสมผู้ชื่นชอบงานอาร์ตทอย ร่วมลุ้นกาชาปองชุดพิเศษ “คืนถิ่น” Welcome Back Home  มีจำนวน 3 แบบ ได้แก่ Golden boy, Deified king, Kneeling Lady ออกแบบและผลิตโดย มือกระบี่ ราคาจุ่มละ 150 บาท พบกันวันพุธที่ 12 มิถุนายน 2567 เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป ณ อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร


         กำไลสำริด(มีลวดลายก้านขด)          - อายุสมัย ก่อนประวัติศาสตร์ ๑,๕๐๐-๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว          - ชนิด สำริด          - ขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง ๑๓.๔ ซม. หนา ๓ ซม.          กำไลสำริด มีลวดลายก้านขดและลายเส้นเชือก ถอดแยกเป็น ๒ ชิ้นได้ พบที่ไร่นายบุญมี ชำนาญกุล ใกล้วัดท่าโป๊ะ หมู่ที่ ๓ ตำบลบ้านเก่าอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๓   แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/3d_object/?obj=40917   ที่มา: https://smartmuseum.finearts.go.th



ชื่อเรื่อง :  เรื่อง ฆราวาสธรรมกถา หรือ ปัญหาของสฟิงซู (Riddle of Sphinx)ผู้แต่ง : พุทธทาส ภิกขุปีที่พิมพ์ : ๒๔๙๑สถานที่พิมพ์ :  เชียงใหม่ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์แสงธรรมจำนวนหน้า : ๒๘ หน้าเนื้อหา : หนังสือ เรื่อง ฆราวาสธรรมกถา หรือ ปัญหาของสฟิงซู (Riddle of Sphinx) แต่งโดย พุทธทาส ภิกขุ คณะธรรมทาน เชียงใหม่ ผู้จัดพิมพ์ เนื้อหาประกอบด้วยคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในเรื่องการแก้ปัญหาชีวิตทั้งฝ่ายกายและฝ่ายใจ โดยได้นำเรื่องราวของสฟิงซฺ สัตว์สี่เท้าในตำนานของชาวอียิปต์ที่ได้ยืมเรื่องราวมาจากกรีกที่ว่า สฟิงซฺจะอยู่ที่ทางคนเดินและคอยตั้งปริศนาคำถาม หากผู้ใดตอบไม่ได้ก็จะกินบุคคลผู้นั้น โดยท่านพุทธทาสได้แสดงธรรมดังกล่าว เชื่อมโยงถึงหลักธรรมในพุทธศาสนาที่เรียกว่า “ฆราวาสธรรม” เช่น สัจจะ ทมะ ฐิติ จาคะเป็นต้น โดยแสดงธรรม ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี วันที่ ๕ มิถุนายน ๒๔๘๔ เลขทะเบียนหนังสือหายาก : ๘๗๕ เลขทะเบียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ : E-book_๒๕๖๗_๐๐๓๖หมายเหตุ : โครงการจัดเก็บและอนุรักษ์หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗



ชื่อเรื่อง                    พระพุทธศาสนาในไต้หวันผู้แต่ง                       -ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ศาสนาเลขหมู่                      294.395125 พ354สถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัยปีที่พิมพ์                    2511ลักษณะวัสดุ               50 หน้า หัวเรื่อง                     ศาสนาภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกหนังสือเล่มนี้แปลมาจากเอกสาร ชิ่อ BUDDHISM IN TAIWAN มีเรื่องที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาน้อย ส่วนมากเป็นเรื่องเกี่ยวกับเทพเจ้ากวนอิม อันเป็นเรื่องของพระพุทธศาสนานิกายมหายาน เพราะพระพุทธศาสนาที่ไต้หวันนั้นเป็นนิกายมหายาน และนับถือกวนอิมมาก


ชื่อเรื่อง : 84 ปี อภัย จันทวิมล คำค้น : อภัย จันทวิมล, ลูกเสือ, โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์มะขาม, ค่ายลูกเสือจังหวัดจันทบุรี, ศูนย์กลางอบรมการศึกษาผู้ใหญ่จังหวัดอุบลราชธานี รายละเอียด : จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสนายอภัย จันทวิมล อายุครบรอบ 84 ปี ผู้แต่ง : ศูนย์กลางอบรมการศึกษาผู้ใหญ่จังหวัดอุบลราชธานี แหล่งที่มา : หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี หน่วยงานที่รับผิดชอบ : โรงพิมพ์ปากเพรียวการช่าง 2 วันที่ : 2535 วันที่เผยแพร่ : 12 ตุลาคม 2567 ผู้ร่วมสร้างสรรค์ผลงาน : - ลิขสิทธิ์ : - รูปแบบ : PDF. ภาษา : ภาษาไทย ประเภททรัพยากร : หนังสือท้องถิ่น (ห้องจันทบุรี) ตัวบ่งชี้ :  - รายละเอียดเนื้อหา : หนังสือจัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเชิดชูเกียรติ นายอภัย จันทวิมล รวมบทความและข้อเขียนจากศิษย์ เพื่อนร่วมงาน และมิตรที่เขียนถึงนายอภัย จันทวิมล นอกจากนี้ยังมีข้อมูลประวัติความเป็นมาของศูนย์กลางอบรมการศึกษาผู้ใหญ่จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งนายอภัย จันทวิมล เป็นผู้ริเริ่มดำเนินการก่อตั้ง เลขทะเบียน : - เลขหมู่ : 923 อ247ป


Messenger