ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,577 รายการ
ชื่อเรื่อง : พระราชพิธีสิบสองเดือน เล่ม ๑ ชื่อผู้แต่ง : จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ ปีที่พิมพ์ : 2506 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภา จำนวนหน้า : 412 หน้าสาระสังเขป : พระราชพิธีสิบสองเดือน เล่ม ๑ นี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ ให้ผู้อ่านเข้าใจให้แจ่มแจ้งเป็นข้อสำคัญ เมื่อว่าด้วยพระราชพิธีอย่างใด ทรงเริ่มต้นชี้แจงตำราเดิมของการพระราชนิพนธ์นั้นก่อน แล้วทรงชี้แจงเหตุการณ์ที่ได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงมาโดยลำดับ จนถึงได้เลิกหรือคงทำพระราชพิธีนั้นอยู่อย่างไร
ผู้แต่ง สิบพันพารเสนอ โสณกุล, ม.จ.
ชื่อเรื่อง เรื่องเที่ยวอินเดียเมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๙
ครั้งที่พิมพ์ ๓
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์พระจันทร์
ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๔
จำนวนหน้า ๙๘ หน้า
เรื่องเที่ยวอินเดียเมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๙ เป็นหนังสือที่กล่าวถึงประเทศอินเดียในปีพุทธศักราช ๒๔๙๙ ในแง่มุมต่างๆ ได้แก่ ประวัติของประเทศอินเดีย ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว ความเป็นอยู่และประเพณีตลอดจนโบราณสถานต่างๆ พร้อมภาพประกอบ
นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า หลังจากที่กรมศิลปากรได้ชี้แจงว่าไม่มีความ เกี่ยวข้องใด ๆ กับกระบวนการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ในโครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน ซึ่งมีส่วนเข้าใกล้พื้นที่มรดกโลกพระนครศรีอยุธยาไปแล้วนั้น กรมศิลปากรขอชี้แจงเพิ่มเติมว่า เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ สำนักศิลปากรที่ ๓ พระนคร ศรีอยุธยา ได้เข้าร่วมการประชุมเตรียมความพร้อมด้านโลจิสติกส์และการคมนาคม เพื่อรองรับการก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงและศูนย์ซ่อมบำรุงและควบคุมการเดินรถจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในจังหวัด ซึ่งในการประชุมครั้งนั้น บริษัทที่ปรึกษาโครงการฯ ได้ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารสถานีอยุธยาและพื้นที่โดยรอบ ผู้แทนสำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา ได้พิจารณาเห็นว่าโครงการฯ มีงานก่อสร้างอาคารสถานีขนาดใหญ่ มีความสูงถึง ๔๕ เมตร และอยู่ในเกณฑ์ที่อาจทำให้เกิดผลกระทบกับโบราณสถานและมรดกโลกอยุธยา จึงแจ้งให้ที่ประชุมทราบว่าทางบริษัทที่ปรึกษาจะต้องสำรวจผลกระทบต่อโบราณสถานที่อยู่ริมทางรถไฟ หรือ EIA ก่อนการดำเนินงาน ซึ่งบริษัทที่ปรึกษาได้แจ้งตอบในการประชุมว่ามีการอนุมัติรายงาน EIA ไปแล้วตั้งแต่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๖๐ โดยคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม ทางสำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา จึงดำเนินการตรวจสอบซึ่งไม่พบว่ามีการส่งรายงานสำรวจ EIA มายังสำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา แต่อย่างใด สำหรับอาคารสถานีอยุธยา บริษัทฯ ชี้แจงว่าจะดำเนินการสร้างอาคารใหม่คร่อมอาคารหลังเก่า และปรับปรุงเป็นศูนย์ข้อมูลหรือพิพิธภัณฑ์ จึงเป็นครั้งแรกที่กรมศิลปากรได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงยกระดับและสถานีขนาดใหญ่ และการจัดทำแนวทางการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่ง (Transit Oriented Development - TOD) และหลังจากนั้นเป็นต้นมาจึงเป็นการหารือรายละเอียดการก่อสร้างระหว่างกรมศิลปากรและบริษัทที่ปรึกษา ฯ ตลอดมา จนเมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๒ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) โดย กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาโครงการศึกษาพัฒนาเมืองกับระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง ขอเข้าหารือกับ กรมศิลปากร ในประเด็นข้อกังวลเกี่ยวกับขนาดของอาคารสถานีที่มีความสูงและใหญ่เกินความจำเป็นต่อการใช้งาน และมีสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ที่เชื่อมต่อการเดินทางเข้าสู่เกาะเมือง จึงอาจส่งผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลกได้ จึงขอให้ กรมศิลปากรประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการปรับปรุงรูปแบบอาคารให้กระทบต่อแหล่งมรดกโลกน้อยที่สุด กรมศิลปากรจึงได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อประสานงานติดตามแก้ไขปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลกพระนครศรีอยุธยาโดยตรง วันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๖๓ กรมศิลปากรได้มีหนังสือถึงเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย แจ้งว่าพื้นที่โครงการอยู่ในเขตโบราณสถาน และอยู่ใกล้เขตมรดกโลกพระนครศรีอยุธยา จึงขอให้มีการพิจารณาทางเลือกในการออกแบบสถานี ที่เหมาะสมอีกครั้ง เช่น ปรับลงเป็นทางลอดใต้ดิน หรือเบี่ยงไปใช้เส้นทางใหม่หรือย้ายที่ตั้งสถานี และไม่เห็นด้วยกับรูปแบบสถานีที่มีการนำเสนอ และขอให้การรถไฟส่งรายละเอียดรูปแบบรางและอาคารสถานีในแนวเส้นทางรถไฟ ตลอดทั้งเส้นให้กรมศิลปากรตรวจสอบพิจารณา และขอให้มีนำเสนอต่อคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกเพื่อทราบต่อไป และในวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๖๓ รองปลัดกระทรวงคมนาคม รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง ผู้แทนการรถไฟแห่งประเทศไทย ผู้แทนกรมการขนส่งทางราง ได้เข้าหารือกับอธิบดีกรมศิลปากร เกี่ยวกับการก่อสร้างสถานีอยุธยาของโครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา ณ ห้องประชุมกรมศิลปากร ชั้น ๘ (เทเวศร์) ในครั้งนั้น กรมศิลปากรมีประเด็นนำเสนอว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงฯ มีส่วนเข้าใกล้พื้นที่มรดกโลกพระนครศรีอยุธยา จึงควรให้ความสำคัญต่อบริบทความเป็นมรดกโลกของพื้นที่ และร่วมกันพิจารณาหาทางเลือกในการออกแบบสถานีที่เหมาะสมร่วมกัน และต้องดำเนินการศึกษาผลกระทบต่อมรดกทางวัฒนธรรม หรือ HIA ต่อแหล่งมรดกโลกพระนครศรีอยุธยา รวมถึงให้ดำเนินการจัดทำการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) ตามความจำเป็น
ย้อนรอยแผ่นดินพระจอมเกล้าฯ : เรื่องเล่าจากพงศาวดาร (ตอนที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเลียบพระนคร)
นำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจ จากพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ของเจ้าพระยาทิพากรวงษ์ (ขำ บุนนาค) หลักฐานชิ้นสำคัญที่มีคุณค่าต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ในเดือนพฤษภาคม ๒๓๙๔ เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระราชอนุชา สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุธามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ขึ้นเป็นพระมหาอุปราช แต่ได้ทรงสถาปนาพระเกียรติยศเสมือนด้วยพระเจ้าแผ่นดินอีกพระองค์หนึ่ง ยิ่งกว่าพระมหาอุปราชองค์ก่อนๆ โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีบวรราชาภิเษก ในปลายเดือนพฤษภาคมต่อเดือนมิถุนายนศกนั้น ซึ่งมีเหตุการณ์สำคัญ ปรากฏในพระราชพงศาวดาร ดังนี้
“… รุ่งขึ้นณวันพฤหัสบดี เดือน ๖ แรม ๑๕ ค่ำ (๒๙ พฤษภาคม ๒๓๙๔) พระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปกระทำสมโภชด้วยต้นไม้ทองต้น ๑ เงินต้น ๑ พานทอง ๒ ชั้น ๒ สำรับ ให้เป็นสิริมงคล ในเวลานั้นพระบาทสมเด็จฯ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจัดธูปเทียนสิ่งของต่างๆ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วทรงจัดธูปเทียนสิ่งของ ถวายพระบรมวงศานุวงศ์ผู้ใหญ่ แล้วพระราชทานให้พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าทูลละอองผู้ใหญ่ผู้น้อยฝ่ายหน้าฝ่ายใน ทั้งพระบรมมหาราชวังและพระบวรราชวัง ได้รับพระราชทานทั่วกันเป็นอันมาก และการธรรมเนียมเลียบพระนครแต่ก่อนก็มิได้เคยมี พระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็โปรดฯ สั่งให้เสนาบดี หมู่ราชอำมาตย์ จัดพยุหยาตรากระบวนแห่ที่จะเลียบพระนคร เป็นกระบวนแห่ ๕ แถว กระบวนช้าง กระบวนม้า กระบวนเดินเท้า แต่งตัวถือเครื่องศัสตราวุธต่างๆ และให้เจ้าพนักงานแต่งวิถีเหมือนอย่างพระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเสด็จทรงเลียบพระนคร ผิดกันแต่ที่ทรงช้างพระที่นั่ง ทรงม้าพระที่นั่ง ช้างดั้งช้างเขนไปหน้าเป็นอันมาก
ครั้นณเดือน ๗ ขึ้น ๔ ค่ำ (วันอังคารที่ ๓ มิถุนายน ๒๓๙๔) เจ้าพนักงานจัดกระบวนแห่เสร็จแล้ว ผูกช้างพระที่นั่ง ชื่อพระยาไชยานุภาพพลาย สูง ๖ ศอกคืบ มีรัตคนผ่านหน้า ซองหางเครื่องมั่นติดประจำยามทองคำจำหลักลายกุดั่นประดับพลอยต่างสี มีผ้าปกหลัง พู่ห้อยหูตาข่ายทองปกหน้าช้าง จึงเอาช้างลงมาประทับกับเกย นายปราบไตรภพเป็นควาญท้ายช้าง ครั้นย่ำรุ่งแล้ว ๔ นาฬิกา พระบาทสมเด็จฯ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงเครื่องต้นรณยุทธ ทรงพระมหามาลาประดับเพ็ชร เสด็จขึ้นเกยสถิตเหนือคอช้างพระที่นั่ง ทรงพระแสงของ้าว ฝรั่งแม่นปืนกระบวนหน้าก็ยิงปืนคำนับมาต่อพระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้พระบรมมหาราชวัง ๒๑ นัด พลทหารแห่หน้าหลังพรั่งพร้อม ก็เดินกระบวนแห่ประทักษิณเวียนไปตามกำแพงพระบวรราชวัง มาถึงท้องสนามไชยหน้าพระที่นั่งสุทไธศวรรย์ พระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จทอดพระเนตรอยู่บนพระที่นั่งสุทไธศวรรย์ ครั้นเสด็จมาตรงพระที่นั่ง ผันหน้าช้างพระยาไชยานุภาพเข้าไปทรงส่งพระแสงของ้าวให้นายควาญช้างรับไว้ แล้วถวายบังคม ๓ ครั้ง แล้วรับพระแสงของ้าวบ่ายช้างพระที่นั่ง เสด็จเลยไปถึงหน้าวัดพระเชตุพน ประทับช้างพระที่นั่งที่เกย แล้วเสด็จพระราชดำเนินลงจากคอช้างพระที่นั่ง มาขึ้นพลับพลาประทับพักเปลื้องเครื่องต้นแล้วเสด็จเข้าในพระอุโบสถนมัสการพระพุทธรูป ถวายไทยธรรมแก่พระสงฆ์ทั่วทุกองค์เสร็จแล้ว เสด็จพระราชดำเนินกลับมาพลับพลาพัก ฉลองพระองค์พระกรน้อยทรงพระมหามงกุฎเหน็บพระแสงเสน่า ขึ้นทรงม้าพระที่นั่ง ชื่อพระยาราชสินธพผ่านดำ ผูกเครื่องอานผ่านหน้า ซองหางพู่ห้อยใบโพปิดหน้าทำด้วยทองคำจำหลักลายกุดั่นประดับพลอยต่างสี เสด็จอ้อมประทักษิณวัดพระเชตุพนแลพระบรมมหาราชวัง มาสู่พระบวรราชวัง และเมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปทางสถลมารคนั้น ก็ทรงโปรยเงินพระราชทานให้ประชาราษฎรชายหญิงใหญ่น้อย ซึ่งมาคอยกราบถวายบังคมเชยชมพระบรมโพธิสมภาร และพวกแขกเมืองต่างๆ ซึ่งมาคอยดูนั้นก็ได้รับพระราชทานเงินตรา และดอกไม้ทองดอกไม้เงินด้วย สิ้นพระราชทรัพย์เป็นอันมาก ครั้นเสร็จการแล้วมาถึงหน้าเบี้ยหวัด ได้พระราชทานเงินขึ้นไปแจกเบี้ยหวัดข้าราชการที่บนปีละ ๒,๐๐๐ ชั่ง มากกว่าแผ่นดินก่อนๆ ๑,๐๐๐ ชั่ง แล้วจึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จารึกพระนามพระพุทธปฎิมากรห้ามสมุทร ๒ พระองค์ ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งพระบาทสมเด็จฯ พระเจ้าอยู่หัวในบรมโกษฐ ถวายพระนามไว้ว่า พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระองค์ ๑ ถวายพระนามว่า พุทธเลิศหล้าสุลาลัย พระองค์ ๑ จึงถวายพระนามจารึกใหม่ว่า พระพุทธเลิศหล้านภาลัย…”
ภาพ : พระบาทสมเด็จพระปวเรนทราเมศมหิศเรศรังสรรค์ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
ชื่อเรื่อง จนฺทฆาตชาตก(จันทฆาต)
สพ.บ. 402/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 52 หน้า กว้าง 4.5 ซ.ม. ยาว 56 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก เทศน์มหาชาติ คาถาพัน
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับชาดทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงประเสริฐโทรการ (ชวน บุนยสถิตย์) ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร ๒ ตุลาคม ๒๕๐๓
สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช ขอเชิญร่วมฟังการบรรยายและเสวนาทางวิชาการเผยแพร่ความรู้โบราณคดีภาคใต้ตอนบน เรื่อง "คาบสมุทรภาคใต้ตอนบนของไทย ข้อมูลใหม่จากหลักฐานโบราณคดี: The recent archaeological discoveries in the upper southern region of Thailand." ในวันอังคารที่ 14 กันยายน 2564 เวลา 09.00 - 16.00 น. ผ่านทาง Facebook Live : สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช กำหนดการบรรยายและเสวนาออนไลน์ เวลา 09.00 – 09.30 น. กล่าวเปิดกิจกรรมบรรยายและเสวนาทางวิชาการ โดย นางเสริมกิจ ชัยมงคล ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราชเวลา 09.30 – 10.30 น. การบรรยายพิเศษ หัวข้อ "ความรู้ต่อการวิเคราะห์วิจัยหลักฐานโบราณคดีไทย: กรณีศึกษางานโบราณคดีภาคใต้" โดย ดร.อมรา ศรีสุชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านโบราณคดี ที่ปรึกษากรมศิลปากรเวลา 10.30 – 12.00 น. การบรรยายพิเศษ หัวข้อ "รูปแบบสันนิษฐานของโบราณสถานเขาศรีวิชัย จากการศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ" โดย ศาสตราจารย์ ดร.เชษฐ์ ติงสัญชลี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เวลา 13.00 – 14.00 น. การบรรยาย หัวข้อ "ภาพเขียนสีในแหล่งโบราณคดีฝั่งอันดามัน" โดยนายธวัชชัย ชั้นไพศาลศิลป์ นักโบราณคดีชำนาญการ เวลา 14.00 – 15.00 น. การเสวนา หัวข้อ "ข้อมูลใหม่จากการขุดค้นทางโบราณคดีในภาคใต้ตอนบน" วิทยากรโดย นางสาวนภัคมน ทองเฝือ นักโบราณคดีชำนาญการ นายจักรพันธ์ เพ็งประไพ นักโบราณคดีปฏิบัติการ นางสาวจุตินาฏ บวรสาโชติ นักโบราณคดีปฏิบัติการ ดำเนินรายการโดย นางศิริพร สังข์หิรัญ ผู้อำนวยการกลุ่มโบราณคดี และวิทยากรรับเชิญพิเศษ ดร.อมรา ศรีสุชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านโบราณคดี ที่ปรึกษากรมศิลปากรเวลา 15.00 – 16.00 น. การบรรยาย หัวข้อ "Late prehistoric Peninsular Thailand and Myanmar and the Maritime Silk Road" โดย Dr.Berenice Bellina นักวิจัยแห่งศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติฝรั่งเศส เวลา 16.00 น. ปิดการบรรยายและเสวนาทางวิชาการเผยแพร่ความรู้โบราณคดีภาคใต้ตอนบน ทั้งนี้ ขอชวนแฟนเพจมาร่วมสนุกในกิจกรรม Like Share Comment ลุ้นรับของที่ระลึกในกิจกรรมการบรรยายและเสวนาโบราณคดีภาคใต้ตอนบน สำหรับผู้ร่วมรับฟังตลอดการบรรยายและเสวนา จำนวนจำกัดเพียง 14 รางวัลเท่านั้น ผู้สนใจสามารถติดตามกติกา ได้ทางเพจ Facebook สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช https://web.facebook.com/nakhon.museum
ชื่อเรื่อง ปารมีพันชั้น (ปารมีพันชั้น)
สพ.บ. 287/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 30 หน้า กว้าง 4.3 ซ.ม. ยาว 53 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา ธรรมเทศนา
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง อุณฺหิสวิชย (อุณณหิสสวิไช)
สพ.บ. 334/1ฆประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 26 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 58 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
องค์ความรู้จากอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัยเรื่อง บ่อน้ำในเมืองศรีสัชนาลัย
เลขทะเบียน : นพ.บ.183/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4.5 x 60 ซ.ม. : ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 105 (110-116) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : ธมฺมจกฺกปฺปวตฺตนสุตฺตฎีกา(ฎีกาธัมมจักร) --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
มงฺคลตฺถทีปนี (มงฺคลตฺถทีปนี เผด็จมงคลสูตร)
ชบ.บ.88ข/1-20
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)