ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ
ชื่อเรื่อง : นิทานอิหร่านราชธรรม (ประชุมปกรณัม) เล่ม 1 ชื่อผู้แต่ง : -ปีที่พิมพ์ : 2506 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภาจำนวนหน้า : 356 หน้า สาระสังเขป : นิทานอิหร่านราชธรรม เป็นนิทานแขก ในหนังสือเรื่องนี้มีศัพท์ ที่แปลแปลกอยู่ในนิทานเรื่องที่ ๕ ศัพท์หนึ่งส่อให้เห็นว่าแปลมาเก่าแก่ เช่น เรียกสัตว์อันเกิดแต่ม้ากับลาผสมกันว่า “แม้” ไม่เคยเห็นเรียกในหนังสือเรื่องอื่นเลย ในหนังสือเล่มนี้ จะมีทั้งหมด ๔ ภาคด้วยกัน ภาคที่ ๑ นิทานอิหร่านราชธรรม ภาคที่ ๒ ปักษีปกรณัม ภาคที่ ๓ ปีศาจปกรณัม ภาคที่ ๔ เวตาลปกรณัม
โบราณสถานพุหางนาค หมายเลข ๒ เป็นเจดีย์สมัยทวารวดีที่ตั้งอยู่บนเทือกเขารางกะปิด ในพื้นที่บ้านเขาพระ ตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี สภาพปัจจุบันเหลือเพียงส่วนฐานก่ออิฐรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนกัน ๓ ชั้น ตั้งอยู่บนพื้นหินที่เกิดจากการนำหินธรรมชาติมาถมปรับพื้นที่เพื่อรับน้ำหนักเจดีย์และเป็นลานประกอบกิจกรรม พบร่องรอยการก่อสร้างซ้อนทับกัน ๒ สมัย จากการขุดแต่งพบโบราณวัตถุที่เป็นส่วนประกอบของเจดีย์ได้แก่อิฐและศิลาแลง พระพิมพ์ดินเผาประดับศาสนาสถาน ทั้งยังพบภาชนะดินเผาจำนวน ๓ ใบบรรจุโบราณวัตถุเนื่องในศาสนา ฝังอยู่ในพื้นหินที่ตั้งของโบราณสถาน ในภาชนะดินเผาใบหนึ่งพบพระพิมพ์ดินเผามีจารึกอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๕ (ประมาณ ๑,๑๐๐ – ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว) ระบุนามกษัตริย์ผู้สร้างพระพิมพ์ จึงสันนิษฐานว่าโบราณสถานแห่งนี้เป็นศาสนสถานที่สร้างขึ้นโดยกษัตริย์หรือชนชั้นปกครอง เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาตามคติความเชื่อเรื่องการสร้างบุญกุศล มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๕ ต่อมาเจดีย์องค์นี้พังทลายลง จึงมีการสร้างเจดีย์สมัยที่ ๒ ครอบทับ โบราณวัตถุสำคัญที่พบได้แก่ พระพิมพ์ดินเผามีจารึก พระพิมพ์ดินเผาปิดทองคำเปลว พระพุทธรูปสำริดปางสมาธิ แผ่นตะกั่วรูปพระโพธิสัตว์และแผ่นตะกั่วรูปสตรี ปัจจุบันโบราณวัตถุเหล่านี้จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง -----------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี-----------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง ปรัชญา รุ่งแสงทอง. ผลการขุดแต่งโบราณสถานพุหางนาคหมายเลข ๒ กับการตอบคำถามเรื่อง “หินตั้ง”ที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. พุหางนาคและคอกช้างดินร่องรอยพุทธและพราหมณ์บนเขาศักดิ์สิทธิ์. สมุทรสาคร:บางกอกอินเฮ้าส์, ๒๕๖๑. รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. พระพุทธรูปและพระพิมพ์ทวารวดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๒.
นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า กรมศิลปากร โดยสำนักวรรณกรรมและ ประวัติศาสตร์ ได้จัดทำโครงการอนุรักษ์ สืบทอด และเผยแพร่ต้นฉบับหนังสือเก่าทรงคุณค่า เพื่อให้สาธารณชนนำไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในโอกาสต่าง ๆ บุคคลหรือหน่วยงานใดประสงค์จะจัดพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับวรรณกรรม ประวัติศาสตร์ และจารีตประเพณี สามารถติดต่อได้ที่ กลุ่มภาษาและวรรณกรรม สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร โทร. ๐ ๒๑๖๔ ๒๕๐๑ ต่อ ๖๐๗๖ หรือดูรายชื่อหนังสือที่อนุญาตให้นำไปจัดพิมพ์เผยแพร่ได้ที่ www.finearts.go.th/literatureandhistory สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร มีภารกิจสำคัญในการอนุรักษ์ สร้างสรรค์ สืบทอด และเผยแพร่หนังสือและเอกสารเก่าอันทรงคุณค่า ทั้งด้านวรรณกรรม ประวัติศาสตร์ และจารีตประเพณี โดยเปิดโอกาสให้สาธารณชนร่วมสืบทอดอายุหนังสือเก่า ด้วยการนำต้นฉบับหนังสืออันทรงคุณค่าเหล่านี้ไปจัดพิมพ์ในโอกาสต่าง ๆ เช่น งานอายุวัฒนมงคล งานบำเพ็ญกุศลศพ และงานฉลองในโอกาสต่าง ๆ เพื่อเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้ให้กว้างขวาง โดยคัดเลือกและจัดหมวดหมู่หนังสือและเอกสารเก่าที่ทรงคุณค่า จัดทำฐานข้อมูลในระบบดิจิทัล รวบรวมรายชื่อหนังสือและเอกสารเผยแพร่แก่ผู้สนใจที่ประสงค์จะนำไปจัดพิมพ์ เพื่อร่วมกันอนุรักษ์และ สืบทอดหนังสือและเอกสารเก่าอันทรงคุณค่าของชาติให้คงอยู่สืบไป สำหรับรายชื่อหนังสือที่อนุญาตให้นำไปจัดพิมพ์ขณะนี้มีทั้งสิ้น ๒๑๓ เรื่อง แบ่งเป็น ประเภทวรรณกรรม จำนวน ๙๖ เรื่อง เช่น กากีคำฉันท์ ประชุมสุภาษิตสอนหญิง อิศปปกรณัม: วรรณกรรมแปลจากตะวันตกยุคแรกของไทย ประเภทประวัติศาสตร์ จำนวน ๒๖ เรื่อง เช่น เรื่องกรุงเก่า กรมพระราชวังบวรสถานมงคลสมัยรัตนโกสินทร์ พระเมรุมาศสมัยรัตนโกสินทร์ ประเภทจารีตประเพณี จำนวน ๓๗ เรื่อง เช่น มหาทิพมนต์: ความสืบเนื่องของบทพระพุทธมนต์ในสังคมไทย ย้อนรอยพิธีโล้ชิงช้าในสยาม ประเภทแปลและเรียบเรียง จำนวน ๕๔ เรื่อง เช่น ห้าปีในสยาม เล่ม ๑ – ๒ บันทึกสัมพันธภาพระหว่างประเทศสยามกับนานาประเทศ เล่มที่ ๔ – ๖ ตามรอยบันทึกชาวต่างชาติจากอ่าวสยามสู่ลำน้ำเจ้าพระยา สยามและลาวในสายตามิชชันนารีชาวอเมริกัน ทั้งนี้ รายละเอียดในการจัดพิมพ์ยึดตามระเบียบกรมศิลปากร เรื่อง การขออนุญาตพิมพ์หนังสือ พ.ศ.๒๕๒๐
อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง บุรีรัมย์ Phanom Rung Historical Park
10 มิถุนายน เวลา 08:58 น. ·
องค์ความรู้ : อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
เรื่อง : ไศวนิกายแบบปศุปตะ ณ ปราสาทพนมรุ้ง
ปศุปตะ เป็นลัทธิไศวนิกายแบบแรก ๆ ที่กำเนิดขึ้นในประเทศอินเดีย สันนิษฐานว่าเจริญเติบโตขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ ๘ โดยแสดงความเป็นเจ้าแห่งสรรพสัตว์ทั้งปวง ดั่งพระนามหนึ่งของพระศิวะ คือ “ปศุปติ” แปลว่า เจ้าแห่งสรรพสัตว์ หรือเจ้าแห่งปศุปตะ หรือเจ้าแห่งจิตวิญญาณ ปรากฏอยู่ในคัมภีร์เก่าแก่ ไศวภาควัต มหากาพย์มหาภารตะ กล่าวถึงพวกปศุปตะว่านิยมบูชาพระศิวะในรูปศิวลึงค์ ทาตัวด้วยเถ้าถ่านจากการเผาศพเช่นเดียวกับพระศิวะ มีลาคุลิสะหรือนาคุลิสะ (Lakulisa or Nakulisa) เป็นศาสดาและเป็นผู้นำของนิกายนี้ เป็นผู้รจนา “ปศุปตะสูตร” (Pasupata Sutra) ซึ่งเป็นคัมภีร์หลักว่าด้วยการปฏิบัติตามลัทธิไศวนิกาย แบบปศุปตะ มีสานุศิษย์ที่สำคัญ ๔ ท่าน คือ คุสิกะ การ์กะ มิหิระ (มิตระ) และเการุสยะ (ภาพฤๅษี ๕ ตนที่ปราสาทพนมรุ้ง สันนิษฐานว่าอาจเป็นลาคุลิสะและสานุศิษย์ทั้ง ๔) โดยมีจุดมุ่งหมายสูงสุดคือ การเป็นหนึ่งเดียวกับพระเป็นเจ้า (พระศิวะ) ในทุกหนแห่ง ทั้งภายในและภายนอก ด้วยการเริ่มฝึกปฏิบัติภายนอก ได้แก่ การทรมานกาย การปฏิบัติโยคะ การปฏิบัติตนตามหลักของปศุปตะ ไปจนถึงการปฏิบัติภายใน ได้แก่ การฝึกบำเพ็ญสมาธิ
จากการศึกษาศิลาจารึกหลักต่าง ๆ พบที่ปราสาทพนมรุ้ง จารึก K.๓๘๔ ซึ่งเป็นจารึกภาษาสันสกฤต มีข้อความหลายตอนกล่าวถึงการปฏิบัติโยคะของนเรนทราทิตย์และเหล่าโยคีที่อาศัยอยู่บนเขาพนมรุ้ง ที่สำคัญปรากฏคำว่า “ปศุปตะ” ดังความว่า
“sthuladripasupata pada parayanena เป็นที่พึ่งของปศุปตะ แห่งสถูลาทริ (พนมรุ้ง)”
นเรนทราทิตย์ ผู้สถาปนาปราสาทพนมรุ้ง ได้เลือกรับศรัทธาในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ลัทธิไศวนิกาย แบบปศุปตะ อันเป็นนิกายที่เน้นการปฏิบัติโยคะและการบำเพ็ญพรตอย่างยิ่งยวด ดังความในจารึกว่า “เป็นเวลา ๗ เดือน พระองค์ผู้ทรงเสวยอาหารที่เป็นผลไม้และใบไม้ ปรากฏเสมอกับผู้บริโภคโภชนะและน้ำดื่ม อย่างมั่นคง เมื่อหมู่โยคีประพฤติตาม หมู่โยคีไม่สามารถที่จะอดอาหารเพราะความลำบาก...” และ “โดยการปฏิบัติการอดกลั้นถึง ๘ วัน รวมทั้งการกลั้นปัสสาวะ ฯลฯ บุคคลจึงจะถึงซึ่งความสนุกสนานในสวรรค์ชั้นฟ้าได้ทั้งหมด...” หลักฐานการบำเพ็ญพรตและวัตรปฏิบัติดังกล่าว ปรากฏอยู่ ณ ปราสาทพนมรุ้ง ทั้งที่เป็นจารึกและภาพแกะสลักประดับตามส่วนต่าง ๆ ของปราสาทพนมรุ้ง
จากการศึกษาในภาพรวมนั้น ทำให้ทราบว่าปราสาทพนมรุ้ง เป็นสถานที่สำหรับฝึกปฏิบัติ ทำสมาธิ จาริกแสวงบุญของเหล่าผู้ศรัทธาในองค์พระศิวะ มีลักษณะเป็นสถานศึกษาและที่พำนักสำหรับผู้ที่ต้องการบรรลุเป็นหนึ่งเดียวกับพระศิวะ ผู้ที่มีความปรารถนาและผู้ที่สวดมนต์อ้อนวอนเพื่อขอพรให้พระผู้เป็นเจ้าประทานพรเพื่อให้สมความปรารถนา โยคีบางตนเมื่อถึงวาระอันสมควรก็จะภิกขาจารไปในป่า เพื่อปลีกวิเวก รอคอยการละสังขาร เพื่อรวมเป็นหนึ่งกับพระมหาเทพหรือพระศิวะในที่สุด
เรียบเรียงโดย : นางสาวกมลวรรณ นิธินันทน์ นักโบราณคดีชำนาญการ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
เอกสารอ้างอิง :
กมลวรรณ นิธินันทน์. ภาพสลักสลักโยคี ณ ปราสาทพนมรุ้ง. บุรีรัมย์: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา กรมศิลปากร, ๒๕๖๓.
เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระ. “จารึกพบที่ปราสาทพนมรุ้ง.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาตะวันออก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๒๑.
พิสิฐ เจริญวงศ์ และคณะ. ปราสาทพนมรุ้ง. พิมพ์ครั้งที่ ๖. บุรีรัมย์: สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร, ๒๕๕๑.
สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์, หม่อมราชวงศ์. ปราสาทพนมรุ้ง ศาสนบรรพตที่งดงามที่สุดในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๓๙.
ย้อนรอยแผ่นดินพระจอมเกล้าฯ : เรื่องเล่าจากพงศาวดาร (ตอนที่ ๒ ราชทูตสยามไปประเทศฝรั่งเศส)
ราชอาณาจักรสยามกับฝรั่งเศสเริ่มมีความสัมพันธ์ระหว่างกันตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ซึ่งได้ทรงส่งราชทูตมาเจริญทางพระราชไมตรีกับสยามเมื่อปี ๒๒๒๘ ต่อมาราชทูตสยาม (โกษาปาน) ได้เดินทางไปเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ณ พระราชวังแวร์ซายส์ เมื่อปี ๒๒๒๙ ภายหลังรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ความสัมพันธ์ระหว่างราชอาณาจักรสยามกับฝรั่งเศสก็เสื่อมลง จนกระทั่งสมัยรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสยามกับฝรั่งเศสก็ได้เริ่มต้นขึ้นอีกครั้ง จากการที่ราชอาณาจักรสยามทำสนธิสัญญากับสหราชอาณาจักร หรือที่รู้จักกันในนาม “สนธิสัญญาเบาว์ริง” ทำให้ประเทศตะวันตกอื่น ๆ ทยอยเข้ามาทำสนธิสัญญากับราชอาณาจักรสยามในทำนองเดียวกันนี้ ฝรั่งเศสซึ่งในขณะนั้น ตรงกับสมัยจักรพรรดินโปเลียนที่ ๓ ได้ส่งราชทูตมาเจริญทางพระราชไมตรี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริแต่งคณะราชทูตสยามให้เชิญพระราชสาส์นและเครื่องมงคลราชบรรณาการไปถวายพระจักรพรรดิ เป็นการตอบแทน จึงโปรดเกล้าฯ ให้ส่งคณะราชทูตไปยังประเทศฝรั่งเศส ในปี ๒๔๐๔ นำโดย พระยาศรีพิพัฒน์ (แพ บุนนาค) เป็นราชทูต เจ้าหมื่นไวยวรนารถ (วร บุนนาค) เป็นอุปทูต พระณรงค์วิชิต (จอน บุนนาค) เป็นตรีทูต เชิญพระราชสาส์น และเครื่องมงคลราชบรรณาการไปถวายแด่พระจักรพรรดิฯ ณ พระราชวังฟงแตนโบล
ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ของเจ้าพระยาทิพากรวงษ์ (ขำ บุนนาค) ไม่ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ในคราวนี้ไว้ หากมีรายละเอียดเหตุการณ์ ปรากฏอยู่ในประชุมพงศาวดารภาคที่ ๓๐ จดหมายเหตุของพระณรงค์วิชิต (จอน บุนนาค) เรื่องราชทูตไทยไปประเทศฝรั่งเศส ในรัชกาลที่ ๔ เมื่อปีระกา พุทธศักราช ๒๔๐๔ เล่าถึงการเข้าเฝ้าสมเด็จพระจักรพรรดินโปเลียนที่ ๓ ไว้ความว่า
“...วันพฤหัสบดีเดือน ๘ แรม ๕ ค่ำ เวลาเช้า ๒ โมงมองติคนีพาขุนนางเจ้าพนักงารมารับเครื่องมงคลราชบรรณาการ ไปตั้งที่พระราชวังฟอเตลโปล ราชทูตจึงให้หลวงอินทรมนตรี ขุนมหาสิทธิโวหาร แต่งตัวตามบันดาศักดิ์ ๒ นายกำกับไปจะได้จัดตั้งด้วย ครั้นเวลาบ่าย ๒ โมงครึ่ง มาเชอวายยางขุนนางฝ่ายทหาร ๑ มารอนเตลริศ ขุนนางฝ่ายกรมท่า ๑ มองติคนี ๑ สามคนจักรถมารับทูตานุทูตที่โฮเต็ล ๕ รถ เทียมม้า ๔ ม้า สารถีขับรถใส่หมวกภู่ทอง ใส่เสื้อปักทองขับรถละ ๒ คน ราชทูต อุปทูต ตรีทูต แต่งตัวใส่สนับเพลานุ่งยกทอง คาด เข็ดขัด คาดกรองทอง ใส่เสื้อเยียระบับอย่างน้อยชั้นใน เสื้อกรุยกรองทองชั้นนอก ราชทูตขัดกระบี่ฝักทองคำลงยา ใส่มาลามีพระตราจอมเกล้าประดับเพ็ชร์ อุปทูตขัดกระบี่ฝักนาคบ้างทองคำประดับพลอย ใส่มาลา มีพระตราจอมเกล้าประดับทับทิม ตรีทูตขัดกระบี่ฝักกาไหล่ทอง ใส่ทรงประพาสมีพระตราปิ่นเกล้าทองคำ บาดหลวงลุยวิศลอนนาดีล่าใหญ่ นายสรรพวิชัย หมื่นจักรวิจิตร นายสมบุญบุตรราชทูต นายชาย บุตรอุปทูต ขุนสมบัติบดี หลวงชาติสุรินทร์ ขุนจรเจนทเลล่าม นายเปีย ล่ามมหาดเล็ก นายเอี่ยมมหาดเล็ก แต่งตัวตามบันดาศักดิ์ ๑๒ คน รถที่หนึ่งเปนรถราชทูตเชิญหีบพระราชสาส์นขึ้นรถมีขุนนางไปด้วยในรถมาเชอวายยางขุนนางฝ่ายทหาร ๑ มองติคนี ๑ บาดหลวงลุยวิศ ลอนนาดี๑รถที่สองนั้นอุปทูต ตรีทูต มารอนเตลริศขุนนางฝ่ายกรมท่า ๑ นายชายบุตรอุปทูต ๑ รวม ๔ นาย ผู้กำกับเครื่องมงคลราชบรรณาการเสมียน ล่ามไป ๓ รถ ออกจากโฮเต็ลทางไมล์หนึ่งถึงที่โรงพักรถไฟ มีขุนนางฝ่ายทหารพลเรือนคอยรับทูตานุทูตอยู่ที่ท่ารถไฟหลายนาย
แล้วมองติคนีเชิญทูตานุทูตให้เชิญพระราชสาส์นขึ้นรถไฟ ขุนนาง ที่มาคอยอยู่ที่นั้นก็ไปพร้อมกับทูตานุทูต ทาง ๑๒๐ ไมล์ ถึงที่พักรถไฟ ณพระราชวังฟอเตลโปล ทูตานุทูตลงจากรถไฟแล้วเชิญพระราชสาส์นขึ้นรถเทียมม้า 4 ม้าทุกรถไปตามถนน ราษฏรยกธงตามหน้าต่างทุกตึกไปทาง ๓๐ เส้นถึงพระราชวัง มีปี่พาทย์ประโคมสำรับหนึ่ง ๓๖ คน มีทหารแต่งตัวถือปืนไรแฟนยืนข้างถนนข้างละ๒แถวเปนทหาร๒,๐๐๐คน ทหารใส่เสื้อเกราะขี่ม้ายืนหลังทหารปืนข้างละ ๒ แถวเปนทหาร๔๐๐ม้า รวมทหาร ๒,๔๐๐ คน กำแพงวังด้านทางทูตเข้านั้นเปนรั้วเหล็กยอดปิดทอง มีประตูใหญ่ ๔ ประตู รถทูตานุทูตเข้าไปในพระราชวังถึง บันไดเกย ทูตลงจากรถแล้ว ขุนนางพาทูตานุทูตขึ้นไปบนตำหนัก เข้าพระทวารลดเลี้ยวไปประมาณเส้นหนึ่ง มีทหารใส่เสื้อเกราะยืน๒ แถวถือดาบถือขวานประมาณ ๕๐๐ คน ครั้นถึงห้องพระตำหนักแห่งหนึ่ง ขุนนางฝ่ายกรมวังออกมารับให้ทูตานุทูตหยุดพัก เปิดหีบพระราชสาส์น ออกแล้ว ราชทูตเชิญพระราชสาส์นในพระบวรราชวังรวมลงในพานพระราชสาส์นใหญ่ มองติคนีกับขุนนางกรมวังนำราชทูตเชิญพระบรมราชสาส์นแลพระบวรราชสาส์น กับทูตานุทูตเข้าไปถึงท้องพระโรง ที่เสด็จออก แล้วคลานตามลำดับเข้าไปถึงพระที่นั่ง ราชทูต ก็วางพานพระราชสาส์นลง ห่างกับที่สมเด็จพระเจ้าแอมเปอเรอเสด็จออกประทับอยู่นั้นประมาณ ๘ ศอก ทูตานุทูตพร้อมกันถวายบังคมครั้งหนึ่งแล้วหมอบอยู่ ราชทูตอ่านทูลเบิกถวายพระราชสาส์นเครื่องมงคล ราชบรรณาการเปนคำไทยก่อน แล้วบาดหลวงลุยวิศลอนนาดีล่ามอ่านแปลเปนคำฝรั่งเศสถวายจบแล้ว ๆ ทูตานุทูตพร้อมกันถวายบังคมอิกครั้งหนึ่ง
สมเด็จพระเจ้าแอมเปอเรอมีรับสั่งตอบว่า ขอบพระทัยสมเด็จพระเจ้ากรุงสยามทั้งสองพระองค์ ที่ได้รับทูตแลขุนนางเรือรบซึ่งเข้าไปกรุงเทพมหานครโดยความยินดี แล้วสมเด็จพระเจ้ากรุงสยามแต่งทูตานุทูตให้เชิญพระราชสาส์นเครื่องมงคลราชบรรณาการมาเจริญทางพระราชไมตรีอิกนั้น ขอบพระทัยสมเด็จพระเจ้ากรุงสยามเปนอันมากแต่ก่อนกรุงฝรั่งเศสกับกรุงสยามอยู่ไกลกัน เดี๋ยวนี้ฝรั่งเศสตีได้เมือง ไซ่ง่อนเขตแดนญวนเปนของฝรั่งเศส แผ่นดินก็ใกล้กันกับกรุงสยาม คอเวอนแมนต์ทั้งสองฝ่ายมีธุระการงารสิ่งใดจะได้ปรึกษาหารือกัน พระราชไมตรีก็จะได้สนิทกันมากทวีขึ้นไป ขอให้สมเด็จพระเจ้ากรุงสยาม ทั้งสองพระองค์ ทรงพระชนมายุยืนยาวให้มาก พระราชไมตรีทั้งสองพระนครจะได้ถาวรวัฒนาสืบไปภายหน้าชั่วฟ้าแลดิน ทูตถวายบังคมพร้อมกันอิกครั้งหนึ่ง แล้วราชทูตเชิญพานพระราชสาส์นเข้าไปถวายสมเด็จพระเจ้าแอมเปอเรอทรงรับต่อพระหัดถ์ แล้วส่งพระราชสาส์นให้มินิศเตอทูวแนลผู้สำเร็จราชการต่างประเทศ ราชทูตคลานถอยออกมาถึงที่เฝ้าทูตานุทูตถวายบังคมอิกครั้งหนึ่ง ขุนนางบอกว่าจะเสด็จขึ้นทูตานุทูตพร้อมกันถวายบังคมคลานถอยหลังออกมา แล้วมีรับสั่ง ให้ทูตานุทูตยืนขึ้นทุกคน สมเด็จพระเจ้าแอมเปอเรอแลแอมเปรศพระ มเหษีพระเจ้าลูกยาเธอเนโปเลียน เสด็จมาไต่ถามทุกข์สุขถึงสมเด็จพระเจ้ากรุงสยามทั้งสองพระองค์ แลพระบรมวงศานุวงศท่านเสนาบดีผู้ใหญ่แลทูตานุทูต แล้วรับสั่งให้หาตัวนายชายมาให้พระเจ้าลูกยาเธอเนโปเลียนจับมือนายชาย สมเด็จพระเจ้าแอมเปอเรอนั้นตรัสภาษา ฝรั่งเศส แอมเปรศพระมเหษีนั้นตรัสภาษาอังกฤษ แล้วเสด็จเลย ไปทอดพระเนตรเครื่องมงคลราชบรรณาการ รับสั่งว่าฝีมือช่างไทยทำ สิ่งลงยาลายสลักประดับเพ็ชร์ประดับพลอยงามกว่าของในประเทศอื่นแล้วเสด็จขึ้น...”
เหตุการณ์ดังกล่าว นับเป็นเหตุการณ์สำคัญครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย และเป็นจุดเริ่มต้นสัมพันธไมตรีระหว่างสยามกับฝรั่งเศสที่สืบเนื่องยาวนานจนถึงปัจจุบัน
ภาพ : คณะราชทูตสยามที่เดินทางไปเจริญทางพระราชไมตรี สมัยรัชกาลที่ ๔ พุทธศักราช ๒๔๐๔
ชื่อเรื่อง จนฺทฆาตชาตก(จันทฆาต)
สพ.บ. 402/3ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 52 หน้า กว้าง 4.5 ซ.ม. ยาว 55 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก เทศน์มหาชาติ คาถาพัน
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับชาดทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายพันตำรวจเอก หม่อมหลวง เชวง เสนีวงศ์ ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๗
ถ้ำครกอยู่ไหน? หมู่ที่ ๒ บ้านถ้ำครก ตำบลคูหา อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ตำนานถ้ำครก กล่าวกันว่าในอดีตชาวบ้านได้อาศัยหลุมบนพื้นถ้ำแห่งนี้ ซึ่งเกิดจากการกัดเซาะของน้ำตามธรรมชาติ ใช้เป็นครกตำยาเพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บ จึงเรียกถ้ำแห่งนี้ว่าถ้ำครก ลักษณะของถ้ำครก ถ้ำครกมีลักษณะเป็นถ้ำของภูเขาหินปูนขนาดเล็ก โดยตัวถ้ำทะลุจากภูเขาฝั่งหนึ่งไปยังภูเขาอีกด้านหนึ่ง โดยมีความยาวของถ้ำ ๕๒.๖๐ เมตร ปากถ้ำด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือกว้าง ๑๑ เมตร ส่วนปากถ้ำด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือกว้าง ๘ เมตร เจดีย์ปูนปั้น ประดิษฐานในบริเวณข้างพระพุทธรูป ชะง่อนหิน และโพรงถ้ำ เจดีย์เหล่านี้และมีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงระฆังที่มีองค์ระฆังเพรียวชะลูดดังที่นิยมกันในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระซึ่งอาจพัฒนามาจากรูปทรงขององค์พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช มาตั้งแต่สมัยอยุธยา พระพุทธรูป ภายในถ้ำประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่น้อยหลายองค์ บางองค์มีร่องรอยการลงรักปิดทอง ในขณะที่บางองค์มีร่องรอยการตกแต่งด้วยการทาสีแดงชาด นอกจากนี้ยังพบพระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาท รวมถึงยังพบพระสาวกปูนปั้นปรากฏอยู่ด้วย พระพุทธรูปเหล่านี้แสดงอิทธิพลของศิลปกรรมแบบอยุธยา-รัตนโกสินทร์ ผสมผสานกับศิลปะในท้องถิ่น ปูนปั้น : พุทธประวัติ เรื่องเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์(ออกบวช) พบบริเวณฐานชุกชีของพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่ผนังถ้ำ โดยภาพแบ่งออกเป็นสองตอนคือ ตอนเจ้าชายสิทธัตถะประทับยืนทอดพระเนตรพระนางพิมพาและเจ้าชายราหุล และตอนเจ้าชายสิทธัตถะทรงม้ากัณฐกะมีท้างจตุโลกบาลทั้งสี่ประคองเท้าม้าองค์ละหนึ่งขาเพื่อออกผนวช ส่วนภาพพระอินทร์ที่ประคองปากม้านั้นแตกหักไปเหลือเพียงส่วนปลายของมงกุฏ ปูนปั้น : พุทธประวัติ ตอนมารวิชัย(ผจญมาร) พบบริเวณฐานชุกชีใหญ่ของพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ภายในถ้ำ ปรากฏภาพพระแม่ธรณีบีบมวยผม จนน้ำในมวยผมพระแม่ธรณีหลั่งไหลออกมาท่วมกองทัพมารจนพ่ายแพ้ไป ทั้งนี้น้ำที่ไหลออกมาจากมวยผมพระแม่ธรณีนั้นก็คือน้ำซึ่งเจ้าชายสิทธัตถะได้กรวดน้ำลงบนพื้นดินอุทิศส่วนกุศลแก่สรรพสัตว์ทั้งหลายเมื่อได้กระทำบุญกุศลในอดีตชาตินั่นเอง ปูนปั้น : นรกภูมิ พบบริเวณผนังถ้ำใกล้ปากถ้ำด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นเรื่องราวการลงโทษผู้กระทำผิดในนรกเช่นการปีนต้นงิ้ว การตกกระทะทองแดง เปรตชนิดต่างๆเช่นเปรตผู้มีจักรบนหัว ภาพจิตรกรรม พบบริเวณผนังถ้ำใกล้ปากถ้ำด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ถัดจากภาพนูนต่ำรูปนรกภูมิ โดยปรากฏภาพจิตรกรรมเขียนด้วยสีขาวและแดง เป็นภาพบุคคลจำนวน ๔ คนนั่งอยู่บนหลังช้าง ใกล้กับต้นไม้ และมีภาพบุคคลกำลังเดินอยู่ ๒ คน ในทิศทางตรงกันข้ามกับการก้าวเดินของช้าง----------------------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา
-คนเรือ-
เรือเดินทะเลลำนึงจะท่องมหาสมุทรได้
ต้องมี คนเรือ เยอะพอสมควรครับ
นึกภาพในหนังเรื่อง
Pirates of the Carribbean ได้เลยครับ
ลูกเรือ ไม่พอ ก็ไปไม่เป็น
กัปตัน ไม่มี ก็ไม่รู้เป้าหมายปลายทาง
เรือบางกะไชย ลำนี้ก็เช่นเดียวกันครับ
เราขุดค้นพบ อะไร ที่พอจะให้เห็นภาพ คนเรือ ได้บ้าง
หลักฐานที่พบมีจำนวนไม่มากครับ เป็นข้าวของเครื่องใช้
ของประเภทนี้คือของถนัดมือ ถนัดใช้มาแต่ไหนแต่ไร
มาดูกันครับ คนเรือบางกะไชย ถนัดใช้ อะไร บ้าง
กระบวยตักน้ำ ทำจากะลามะพร้าว
ทัพพี ทำจากกะลามะพร้าว
หม้อดินเผา
ตะคันดินเผา(ใช้จุดไฟให้แสงสว่าง)
เตาเชิงกรานดินเผา(ใช้จุดไฟทำอาหาร)
กุญแจ+แม่กุญแจ
ตะเกียบ ทำจากไม้
หวี ทำจากกระดองเต่า
ไพ่ ทำจากไม้
ตราชั่งพร้อมกล่องไม้ ที่สลักตัวอักษรจีน
ถ้วยลายคราม ผลิตในประเทศจีน
จะเห็นว่า มีข้าวของที่ใช้ในชีวิตประจำวันบนเรือ
ที่มาจากในสยามและจีน
ชั่งใจยากเลยครับ
คนเรือ จะเป็นคนสยาม หรือ คนจีน เป็นหลัก
กัปตัน-ต้นหน-กะลาสี-พ่อครัว
และที่แน่ๆ ต้องมีคนใช้ ตะเกียบ เป็น แน่นอน
แต่ก็พอนึกว่าภาพออกว่า เรือบางกะไชยลำนี้
คงขึ้นล่องไปมา ระหว่างจีน-สยาม
ฝ่าคลื่นลมมาหลายฤดูแล้ว
ถึงมีข้าวของเครื่องใช้จากทั้งสองดินแดน
เห็นจนชิน ใช้จนช่ำชอง
ชื่อเรื่อง สิริมหามายา (สีมหามายา)
สพ.บ. 288/2ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 54 หน้า กว้าง 4.2 ซ.ม. ยาว 55.5 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา สิริมหามายา
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง อุณฺหิสวิชย (อุณณหิสสวิไช)
สพ.บ. 334/1งประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 22 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 54 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ประติมากรรมดินเผารูปสิงห์ ขุนสุพรรณธานี อดีตนายอำเภออู่ทองมอบให้เมื่อ ๑ กรกฎาคม ๒๕๐๙ จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ประติมากรรมดินเผารูปสิงห์ ขนาดกว้าง ๘ เซนติเมตร สูง ๘.๓ เซนติเมตร สิงห์มีใบหน้ากลม มีคิ้วเป็นสันนูนต่อกันคล้ายปีกกา ดวงตากลมโต จมูกใหญ่ อ้าปากแยกเขี้ยวยิงฟัน มีแผงคอเป็นเม็ดกลมเรียงกันเป็นรูปสามเหลี่ยม อยู่ในท่านอนหมอบเอี้ยวตัว สองเท้าหน้ายื่นออกมาวางชิดกัน สองเท้าหลังวางพาดมาด้านหน้าลำตัวโดยขาซ้ายทับขาขวา ด้านหลังมีแนวสันหลังยกเป็นสันต่อด้วยหางยาวม้วนมาด้านหน้าสอดอยู่ใต้ขาหลัง มีการเจาะรูกลมสองรูบริเวณต้นขาหน้าด้านซ้าย และด้านหลังต้นขาหน้าด้านขวา แต่รูดังกล่าวไม่ได้เจาะทะลุถึงกัน ด้านล่างของประติมากรรมเป็นฐานกลม โค้งมนรองรับประติมากรรม ด้านในฐานกลวง สันนิษฐานว่าอาจเป็นส่วนฝาของภาชนะ ดังนั้นประติมากรรมรูปสิงห์ชิ้นนี้จึงอาจเป็นประติมากรรมประดับบนฝาภาชนะหรือเป็นส่วนจุกของฝาภาชนะดินเผาก็เป็นได้ กำหนดอายุสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔ หรือประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว ฝาภาชนะดินเผาสมัยทวารวดี พบทั้งฝาขนาดเล็กที่ขึ้นรูปด้วยมืออย่างหยาบ ๆ และฝาที่ขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน ผลิตด้วยฝีมือประณีตและมีการตกแต่งอย่างงดงาม พบทั้งฝาที่มียอดเป็นปุ่มมนหรือแหลม และฝาที่มีประติมากรรมรูปสัตว์ประดับ นอกจากประติมากรรมรูปสิงห์ชิ้นนี้แล้ว ยังพบฝาภาชนะดินเผาที่มีรูปสิงห์ประดับที่เมืองโบราณซับจำปา จังหวัดลพบุรี จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี อีกด้วย ประติมากรรมดินเผารูปสิงห์ชิ้นนี้ ผลิตขึ้นด้วยฝีมือประณีตและแสดงถึงอารมณ์ที่ปรากฏบนใบหน้าอย่างชัดเจน สิงห์ถือเป็นสัตว์มงคลที่พบมากในงานศิลปกรรมสมัยทวารวดี ซึ่งพบทั้งบนตราดินเผา ประติมากรรมดินเผา และประติมากรรมปูนปั้นประดับศาสนสถาน จึงสันนิษฐานได้ว่า ประติมากรรมชิ้นนี้น่าจะเป็นประติมากรรมประดับฝาของภาชนะที่มีความสำคัญ อาจใช้สำหรับบรรจุของที่ใช้ในพิธีกรรม ที่มีความเกี่ยวข้องกับศาสนา ความเชื่อ หรืออาจเป็นเครื่องใช้ของบุคคลชั้นสูง ก็เป็นได้-------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง-------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง ผาสุข อินทราวุธ. ดรรชนีภาชนะดินเผาสมัยทวารวดี. กรุงเทพฯ : ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ, ๒๕๒๘. อนุสรณ์ คุณประกิจ. “การศึกษาคติและรูปแบบประติมากรรมดินเผาขนาดเล็กสมัยทวารวดีที่พบในบริเวณ ภาคกลางของประเทศไทย”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัย ประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๒๙.
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทศนา (เทศนาสังคิณี-มหาปัฎฐาน)
ชบ.บ.46/1-1
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)