เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
โบราณวัตถุที่ได้จากการขุดแต่งโบราณสถานพุหางนาค หมายเลข ๒
โบราณสถานพุหางนาค หมายเลข ๒ เป็นเจดีย์สมัยทวารวดีที่ตั้งอยู่บนเทือกเขารางกะปิด ในพื้นที่บ้านเขาพระ ตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี สภาพปัจจุบันเหลือเพียงส่วนฐานก่ออิฐรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนกัน ๓ ชั้น ตั้งอยู่บนพื้นหินที่เกิดจากการนำหินธรรมชาติมาถมปรับพื้นที่เพื่อรับน้ำหนักเจดีย์และเป็นลานประกอบกิจกรรม พบร่องรอยการก่อสร้างซ้อนทับกัน ๒ สมัย
จากการขุดแต่งพบโบราณวัตถุที่เป็นส่วนประกอบของเจดีย์ได้แก่อิฐและศิลาแลง พระพิมพ์ดินเผาประดับศาสนาสถาน ทั้งยังพบภาชนะดินเผาจำนวน ๓ ใบบรรจุโบราณวัตถุเนื่องในศาสนา ฝังอยู่ในพื้นหินที่ตั้งของโบราณสถาน
ในภาชนะดินเผาใบหนึ่งพบพระพิมพ์ดินเผามีจารึกอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๕ (ประมาณ ๑,๑๐๐ – ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว) ระบุนามกษัตริย์ผู้สร้างพระพิมพ์ จึงสันนิษฐานว่าโบราณสถานแห่งนี้เป็นศาสนสถานที่สร้างขึ้นโดยกษัตริย์หรือชนชั้นปกครอง เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาตามคติความเชื่อเรื่องการสร้างบุญกุศล มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๕ ต่อมาเจดีย์องค์นี้พังทลายลง จึงมีการสร้างเจดีย์สมัยที่ ๒ ครอบทับ
โบราณวัตถุสำคัญที่พบได้แก่ พระพิมพ์ดินเผามีจารึก พระพิมพ์ดินเผาปิดทองคำเปลว พระพุทธรูปสำริดปางสมาธิ แผ่นตะกั่วรูปพระโพธิสัตว์และแผ่นตะกั่วรูปสตรี ปัจจุบันโบราณวัตถุเหล่านี้จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
-----------------------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
-----------------------------------------------------------
เอกสารอ้างอิง
ปรัชญา รุ่งแสงทอง. ผลการขุดแต่งโบราณสถานพุหางนาคหมายเลข ๒ กับการตอบคำถามเรื่อง “หินตั้ง”ที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. พุหางนาคและคอกช้างดินร่องรอยพุทธและพราหมณ์บนเขาศักดิ์สิทธิ์. สมุทรสาคร:บางกอกอินเฮ้าส์, ๒๕๖๑. รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. พระพุทธรูปและพระพิมพ์ทวารวดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๒.
(จำนวนผู้เข้าชม 2767 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน