เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
หลักฐานไวษณพนิกายและไศวนิกายในภาคใต้
จากการเข้ามาของพ่อค้าและนักบวชชาวอินเดียในดินแดนสุวรรณภูมิและภาคใต้ของไทยส่งผลให้ลัทธิความเชื่อของชาวอินเดียได้เข้ามาเผยแผ่และปรากฏหลักฐานในหลายพื้นที่ โดยหลักฐานศาสนาพราหมณ์-ฮินดูไวษณพนิกายน่าจะเข้าสู่ภาคใต้ตั้งแต่ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๐ และรุ่งเรื่องอยู่บนคาบสมุทรภาคใต้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓ โดยหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๓ไปแล้วไวษณพนิกายเริ่มเสื่อมลงและหมดความนิยมไปหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๖ สำหรับไศวนิกายน่าจะเข้าสู่คาบสมุทรภาคใต้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๐-๑๑ โดยอาจแบ่ง ๒ ระลอก คือ ระลอกแรกจากอินเดียภาคเหนือในสมัยราชวงศ์คุปตะ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๓ นิยมสร้างประติมากรรมรูปศิวลึงค์แทนองค์พระศิวะ ส่วนระลอกที่ ๒ มาจากอินเดียภาคใต้ในสมัยราชวงศ์โจฬะ ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๖ แต่ผ่านมาทางชวาภาคกลาง และนิยมสร้างรูปพระศิวะมากกว่าการสร้างศิวลึงค์
ฝั่งทะเลตะวันออก (อ่าวไทย) พบหลักฐานศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ทั้งไวณพนิกายและไศวนิกาย ดังนี้
- ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๐-๑๑ พบพระวิษณุที่แหล่งโบราณคดีวัดศาลาทึง จ.สุราษฏร์ธานี และพบศิวลึงค์ที่โบสถ์พราหมณ์ จ.นครศรีธรรมราช เป็นต้น
- พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓ พบศิวลึงค์ที่แหล่งโบราณคดีท่าศาลา-สิชล จ.นครศรีธรรมราช และที่แหล่งโบราณคดียะรัง จ.ปัตตานี พบเอกมุขลึงค์ที่แหล่งโบราณคดีท่าชนะ จ.สุราษฏร์ธานี พบพระวิษณุที่แหล่งโบราณคดีเขาศรีวิชัย จ.สุราษฏร์ธานี พระวิษณุที่แหล่งโบราณคดีเวียงสระ จ.สุราษฏร์ธานี รวมทั้งพบพระคเณศซึ่งอาจได้รับการบูชาในลัทธิคาณปัตยะควบคู่กันด้วย
- พุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๖ พบพระศิวมหาเทพ และพระอคัสตยะ ที่แหล่งโบราณคดีใน จ.สงขลา พบพระวฏุกไภรวะ และพระวิษณุ ที่แหล่งโบราณคดีเวียงสระ จ.สุราษฏร์ธานี โดยประติมากรรมพระวิษณุเริ่มพบเบาบางลงและหมดความนิยมลงไป สำหรับพระคเณศนั้นยังพบต่อเนื่องเรื่อยมา และเป็นที่น่าสังเกตว่าพื้นที่ฝั่งทะเลตะวันออก (อ่าวไทย) มีการพบประติมากรรมพระสุริยะใน จ.สุราษฏร์ธานีอีกด้วย
สำหรับฝั่งทะเลตะวันตก (อันดามัน) พบหลักฐานทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่มีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖ ทั้งลัทธิไวษณพนิกาย ไศวนิกาย และอาจรวมถึงลัทธิคาณปัตยะด้วยเช่นกัน หลักฐานเหล่านี้พบกระจายอยู่ในชุมชนโบราณตะกั่วป่า จ.พังงา ที่แหล่งโบราณคดีเขาพระเหนอ ต.บางนายสี อ.ตะกั่วป่า แหล่งโบราณคดีเหมืองทอง-เกาะคอเขา (ทุ่งตึก) ต.เกาะคอเขา อ.ตะกั่วป่า และแหล่งโบราณเขาพระนารายณ์ (เขาเวียง) ต.เหล อ.กะปง หลักฐานที่พบมากที่สุดคือ ประติมากรรมพระวิษณุ รวมทั้งพบหลักฐานอื่นๆ ที่อาจเกี่ยวข้องกับกลุ่มคนและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เช่น จารึกเขาพระนารายณ์ (จารึกหลักที่ ๒๖) และเหรียญโบราณที่มีจารึกชื่อเทพในศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู เป็นต้น
------------------------------------------------
ค้นคว้า/เรียบเรียงข้อมูล : น.ส.สุขกมล วงศ์สวรรค์ ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ
------------------------------------------------
อ้างอิง :
- ผาสุข อินทราวุธ, รูปเคารพในศาสนาฮินดู (นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์, ๒๕๒๒ - รองศาตราจารย์ ดร.ผาสุข อินทราวุธ, “ความสัมพันธ์ทางด้านศาสนาและความเชื่อของเมืองสงขลากับหัวเมืองต่างๆ และดินแดนภายนอก, การสัมมนาทางวิชาการเรื่องสงขลาศึกษา : ประวัติศาสตร์และโบราณคดีเมืองสงขลา ๒๗-๒๙ สิงหาคม ๒๕๓๔ ณ สถาบันทักษิณคดีศึกษา จังหวังขลา .สงขลา : สถาบันทักษิณศึกษา, ๒๕๓๕.
(จำนวนผู้เข้าชม 11023 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน