ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 43,026 รายการ

องค์ความรู้ เรื่อง เล่าเรื่องประติมานวิทยา : อาลีฒาสนะม ปรัตยาลีฒาสนะ / เรียบเรียงข้อมูลโดย นางสาวเด่นดาว ศิลปานนท์ ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ


          เงินรูปีอินเดียเป็นเงินตราที่อังกฤษนำเข้ามาใช้ซื้อขายสินค้าในล้านนา โดยเข้ามากับการค้าไม้สักและการเปิดเสรีการค้าชายแดนล้านนากับพม่า ส่งผลให้เงินรูปีกลายเป็นสกุลเงินหลักที่ใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจล้านนา           หลังจากที่อังกฤษเข้ามาปกครองอินเดียได้ตั้งโรงกษาปณ์ขึ้นที่เมืองมัทราส (Madras) เมื่อปีพ.ศ. ๒๑๘๓ เพื่อผลิตเหรียญกษาปณ์ขึ้นในในดินแดนอาณานิคม ต่อมาในปีพ.ศ.๒๓๓๓ ได้ตั้งโรงกษาปณ์ขึ้นอีกที่เมืองกัลกัตตา (Calculta) โดยนำเครื่องผลิตเหรียญเงินแบบยุโรปเข้าไปใช้ และใช้เป็นสื่อกลางในการซื้อขายแลกเปลี่ยนเรื่อยมา ต่อมาเมื่ออังกฤษเข้ามามีอิทธิพลในพม่าและได้พม่าเป็นอาณานิคม อังกฤษได้นำเงินรูปีอินเดียเข้ามาใช้ในระบบเศรษฐกิจของพม่า ด้วยเหตุที่เหรียญเงินรูปีมีขนาด น้ำหนักและรูปร่างที่ได้มาตรฐานอีกทั้งมีปริมาณเหรียญจำนวนมาก จึงเป็นที่นิยมใช้โดยทั่วไป           หลังจากที่รัฐบาลสยามทำสนธิสัญญาเบาว์ริ่งกับอังกฤษในปีพ.ศ.๒๓๙๓ ได้มีการตกลงเรื่องการใช้เงินตราในการแลกเปลี่ยนสินค้าโดยอนุญาตให้ใช้เงินรูปีอินเดีย เงินแท่ง เงินบาทเป็นสื่อกลางในการค้าขายระหว่างพ่อค้าอังกฤษและคนในบังคับอังกฤษกับพ่อค้าในล้านนา ส่งผลให้เงินรูปีอินเดียแพร่สะพัดในล้านนามากขึ้น และส่งผลให้คนในบังคับอังกฤษทั้งพ่อค้าชาวพม่า ชาวไทยใหญ่ ชาวอินเดียเดินทางเข้ามาค้าขายในล้านนามากยิ่งขึ้น           เงินรูปีอินเดียเรียกกันโดยทั่วไปในล้านนาว่า “เงินแถบ” โดยเงินแถบชนิดแรกที่เข้ามาแพร่หลายในล้านนาเป็นเหรียญรูปพระนางเจ้าวิคตอเรียสวมมงกุฎ ต่อมาเป็นเหรียญรูปกษัตริย์เอ็ดเวิร์ด ในขณะที่เงินรูปีอินเดียถูกนำเข้ามาใช้ในล้านนาเป็นจำนวนมาก รัฐบาลสยามได้พยายามนำเงินบาทเข้ามาหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจล้านนาตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๔๔๑ แต่ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากในช่วงเวลานั้น สยามยังประสบปัญหาการผลิตเงินปลีกได้ในปริมาณที่ไม่มากพอกับความต้องการ ประกอบกับความไม่สะดวกในการขนส่ง แต่หลังจากที่มีการสร้างทางรถไฟจากกรุงเทพฯ ถึงเชียงใหม่แล้ว ระบบเศรษฐกิจทางภาคเหนือขยายตัวอย่างรวดเร็วมีการเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจส่วนกลางของไทยมากขึ้นเงินรูปีจึงค่อยๆ ลดบทบาทลง ต่อมาเมื่อไทยสามารถผลิตเหรียญกษาปณ์ได้ในปริมาณมากขึ้นประกอบกับค่าเงินรูปีลดต่ำลง เงินบาทจึงสามารถเข้ามาแทนที่และถูกใช้หมุนเวียนได้มากขึ้น           นอกจากเงินรูปีอินเดียแล้วเหรียญกษาปณ์อีกชนิดที่พบว่ามีการนำมาใช้เป็นสื่อกลางในการซื้อขายในล้านนาอยู่บ้างคือเหรียญอินโดจีนของฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเหรียญที่ฝรั่งเศสผลิตขึ้นเพื่อใช้ในประเทศแถบอินโดจีนที่เป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ---------------------------------------------------- ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ---------------------------------------------------- เอกสารอ้างอิง เงินตราล้านนา : นวรัตน์ เลขะกุล/ธนาคารแห่งประเทศไทย นพบุรีการพิมพ์ เชียงใหม่, ๒๕๕๕ เงินตราล้านนาและผ้าไท : ธนาคารแห่งประเทศไทย อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๔๓ เงินรูปีอินเดียในประวัติศาสตร์ล้านนา : อภิรัฐ คำวัง วารสารสังคมศาสตร์ ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ (ม.ค.-มิ.ย.๒๕๕๖) เบี้ย บาท กษาปณ์ แบงค์ : นวรัตน์ เลขะกุล สนพ.สารคดี, ๒๕๔๗


          แหล่งโบราณคดีถ้ำเขาหลังโรงเรียนบ้านทับปริก ตั้งอยู่ที่ บ้านทับปริก หมู่ ๕ ตำบลทับปริก อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ ถูกค้นพบจากการสำรวจโดยความร่วมมือระหว่างคณะสำรวจไทย - อเมริกัน ในช่วงปีพ.ศ. ๒๕๑๗-๒๕๒๒ นำโดย ผศ.ดร. พรชัย สุจิตต์ จากภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรในขณะนั้น ศาสตราจารย์ ดักลาส แอนเดอร์สัน และศาสตราจารย์ วรรณี วิบูลย์สวัสดิ์ แอนเดอร์สัน จากภาควิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยบราวน์ ประเทศสหรัฐอเมริกา           ได้มีการขุดค้นทางโบราณคดี ที่แหล่งโบราณคดีแห่งนี้ในปีพ.ศ. ๒๕๒๖, ๒๕๒๘ และ ๒๕๓๓ ผลจากการตรวจสอบค่าอายุของโบราณวัตถุในแหล่งโบราณคดีนี้ปรากฎว่ามีการใช้พื้นที่ตั้งแต่ ๔๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว ต่อเนื่องมาจนถึง ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว โดยสามารถแบ่งหลักฐานออกได้ ๓ กลุ่ม             สมัยไพลสโตซีนตอนปลาย ๔๓,๐๐๐-๒๗,๐๐๐ ปีมาแล้ว หลักฐานที่พบคือ กองไฟ เครื่องมือแกนหิน เครื่องมือสะเก็ดหิน เครื่องมือกระดูกสัตว์           สมัยโฮโลซีนตอนต้น  ๙,๖๐๐ - ๗๕๐๐ ปีมาแล้ว หลักฐานที่พบคือ เครื่องมือหินกะเทาะหน้าเดียวและสองหน้า เครื่องมือสะเก็ดหิน กระดูกสัตว์และเปลือกหอย           สมัยโฮโลซีนตอนปลาย ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว หลักฐานที่พบคือ โครงกระดูกฝังร่วมกับขวานหินขัด เศษภาชนะดินเผาแบบมีเชิง


องค์ความรู้ เรื่อง จารึกภาษามอญโบราณ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย จัดทำข้อมูล : นางสาวนัยนา มั่นปาน ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย



          ความหมายของคำว่า "อับเฉา" สามารถจำแนกได้ 3 ความหมาย ความหมายที่ 1 หมายถึง ไม่สดชื่น ไม่เบิกบาน ความหมายที่ 2 หมายถึง ของถ่วงเรือสำเภาเพื่อกันเรือโคลงซึ่งอาจเป็นหินและทราย หรือสิ่งของอื่น ๆ ที่มีน้ำหนักมาก เป็นคำที่ยืมมาจากภาษาจีนแต้จิ๋วว่า เอี๊ยบชึง แปลว่าของหนักที่ใช้ถ่วงใต้ท้องเรือเดินทะเล ความหมายที่ 3 หมายถึงจะใช้ระบบของน้ำอับเฉา (Ships’ Ballast Water) เพื่อปรับจุดศูนย์ถ่วงให้เรือสามารถทรงตัวได้ดี           อับเฉา ยังเป็นชื่อเรียกกลุ่มประติมากรรมหินศิลปะจีนที่พบได้ทั่วไปตามวัดวาอารามและสถานที่ต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร เนื่องด้วยช่วงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 1 -รัชกาลที่ 3) สยามได้ทำการค้ากับจีน มีการบรรทุกสินค้า ที่มีน้ำหนักมาก เช่น เหล็ก ดีบุก ตะกั่ว ไม้ งาช้าง หนังสัตว์ และข้าว ไปขายยังจีน เมื่อขนถ่ายสินค้าออกจากเรือแล้ว ได้ซื้อสินค้าจากจีนกลับมา ซึ่งส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักเบา เมื่อเดินทางออกทะเลทำให้เรือโคลง จึงได้ซื้อประติมากรรมศิลา ซึ่งแกะสลักเป็นรูปต่างๆ เช่น เทพ ทวารบาล คน และสัตว์ เพื่อใช้ถ่วงน้ำหนักเรือไม่ให้เรือโคลงเมื่อออกทะเล และเมื่อนำกลับมาสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการประดับตกแต่งสถานที่ หรืออาคารต่างๆ ให้สวยงามได้-------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล :พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพาณิชย์นาวี จันทบุรี ------------------------------------------------อ้างอิง 1.ประติมากรรมศิลาจีนกับความนิยมศิลาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ในสรรพศาสตร์ประวัติศาสตร์ศิลป์ เอกสารประกอบโครงการประชุมวิชาการด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ เนื่องในโอกาสครอบรอบ 40 ปี ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร 2557 2.เปรมวดี วิเชียรสรรค์.อับเฉา:ประติมากรรมเครื่องศิลาของจีนที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม.2527 3.กรมศิลปากร.โบราณคดีสีคราม.โครงการโบราณคดีใต้น้ำ งานโบราณคดีใต้น้ำ ฝ่ายวิชาการ กองโบราณคดี กรมศิลปากร ,2531 4.ไขแสง สุขะวัฒนะ.ประวัติศาสตร์ไทย ภาค 2 สวนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1-รัชกาลที่ 3,คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.2522 5.พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2544





วันที่ ๖ พฤศจิกายน วันกอบกู้เอกราชไทย การสงครามกอบกู้เอกราชครั้งนั้น เริ่มต้นขึ้นในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๓๑๐ ้ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงยกกองทัพเรือจากจันทบุรีเข้ามาทางปากแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าโจมตีข้าศึกที่เมืองธนบุรี ทรงยึดเมืองธนบุรีคืนได้และประหารนายทองอินคนไทยที่เป็นไส้ศึก แล้วจึงเคลื่อนทัพต่อไปที่กรุงศรีอยุธยา เข้ายึดค่ายโพธิ์สามต้น ปราบข้าศึกจนราบคาบ กอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนมาได้ เมื่อวันศุกร์ เดือน ๑๒ ขึ้น ๑๕ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๒๙ ปีกุน นพศก เวลาบ่ายโมงเศษ ซึ่งตรงกับวันศุกร์ที่ ๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๓๑๐ เวลาประมาณ ๑๓.๐๐ น. ใช้เวลา ๗ เดือนหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาในการทรงกอบกู้เอกราช ร้อยกรองและภาพ จากหนังสือเรื่อง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ฉบับเยาวชน นางดาวรัตน์ ชูทรัพย์ ประพันธ์ ภาพ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชตีค่ายโพธิ์สามต้น จิตรกร นายลาภ อำไพรัตน์ นายช่างศิลปกรรมปฎิบัติงาน สำนักช่างสิบหมู่


เลขทะเบียน : นพ.บ.115/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  50 หน้า ; 4.5 x 53 ซ.ม. : ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 65 (204-208) ผูก 2 (2564)หัวเรื่อง : ธรรม 3 ไตร--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.147/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  50 หน้า ; 4 x 51 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 90 (377-391) ผูก 2 (2564)หัวเรื่อง : ธมฺมปปทวณฺณนา ธมฺมปทฎกถา ขุทฺทกนิกายฎฐกถา (ธรรมบท)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.15/1-5 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง           ย้อนรอยราชตระกูลชื่อผู้แต่ง         ลาวัณย์ โชตามระ.ครั้งที่พิมพ์       -สถานที่พิมพ์     กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์       โชคชัยเทเวศร์ปีที่พิมพ์          [๒๕๓๖]จำนวนหน้า      ๔๖๘ หน้า              คุณลาวัณย์ โชตามระ ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ได้เขียนความตอนหนึ่งในคำนำไว้ว่า “…จุดมุ่งหมายในการเขียนเรื่องชุด ย้อนรอยราชตระกูลขึ้นนี้ ก็เพราะต้องการจะให้คนยุคปัจจุบันได้รู้ว่า ในช่วงเวลาสองร้อยปีเศษที่ได้ประดิษฐานพระบรมราชจักรีวงศ์ขึ้นในกรุงรัตนโกสินทร์นี้ นอกจากองค์พระมหากษัตริย์แล้ว ยังมีพระบรมวงศานุวงศ์อีกไม่น้อยพระองค์ที่ได้ทรงทำคุณประโยชน์ให้แก่เมืองไทยอย่างมหาศาล...และการเขียนเรื่องของต้นราชสกุลแต่ละพระองค์มิได้มุ่งที่พระประวัติ วันสิ้นพระชนม์ การทำงาน แต่มุ่งที่เกร็ดเล็กๆ น้อยๆ อันไม่เป็นรู้กันโดยกว้างขวางนั้นมากกว่า” ดังนั้น หนังสือเล่มนี้ จะทำให้ผู้อ่านได้ทราบ เกร็ดประวัติศาสตร์หลายๆ เรื่องที่ไม่เคยได้รับทราบจากเล่มใดๆ