ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,340 รายการ


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.17/1-1 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ธรรมศักดิมนตรี, เจ้าพระยา. แบบสอนอ่านใหม่ เล่ม 2 ของเจ้าพระยาธรรมศักดิมนตรี สำหรับชั้นประถมปีที่ 3. พระนคร: โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น, 2514.จัดพิมพ์เป็นบรรณาการในงานพระราชทางเลิงศพ นายครรชิต เทพหัสดิน ณ อยุธยา ณ เมรุวัดธาตุทอง 18 มกราคม 2514 เป็นหนังสือแบบเรียนสำหรับชั้นประถมปีที่ 3                     -  สอนเรื่องธรรมชาติศึกษา ได้แก่ โลก สัตว์ พืช                     -  อบรมน้ำใจนักกีฬา                     -  พลเมืองดี495.91842 ธ359บค


          การทำบุญตักบาตรข้าวสารไม่ปรากฏหลักฐานว่าแท้จริงเริ่มขึ้นเมื่อใด ในหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง การพระราชกุศลตักบาตรน้ำผึ้ง อันเป็นพระราชพิธีที่จัดขึ้นในเดือนสิบ ทรงอธิบายถึงที่มาของการพระราชกุศลตักบาตรน้ำผึ้งว่า น่าจะรับมาจากอินเดีย และเพิ่งจัดการพระราชพิธีในสมัยรัชกาลที่ ๔ เบื้องต้นได้ทรงตั้งปุจฉาข้องกังขาเหตุผลที่มาของประเพณีว่า “...ข้าพเจ้าเห็นว่าควรจะนำมูลเหตุตามทางที่เทศนานั้นมากล่าวในที่นี้ พอจะได้รู้เรื่องตลอดว่าเหตุการณ์อย่างไรจึงได้เกิดตักบาตรน้ำผึ้งขึ้น และน้ำผึ้งซึ่งดูก็ไม่เป็นประโยชน์อันใดนัก สู้ข้าวสารไม่ได้ ทำไมจึงได้ต้องถึงตักบาตรตักพกดูก็น่าจะถามอยู่ แต่เรื่องที่ข้าพเจ้าจะเล่านั้น จะไม่เดินเนื้อความแต่ตามที่เทศนาอย่างเดียว จะขอแสดงความเห็น และตามที่ตัวทราบเพิ่มเติมปนลงบ้างตามสมควรแก่ข้อความ...”           จากนั้นทรงอธิบายว่า ในฤดูสารทสมัยพุทธกาล พระสงฆ์เกิดอาการเจ็บป่วยอาพาธกันมาก ด้วยอาการไข้ที่เรียกว่า “สรทิกาพาธ” คือ อาการป่วยในฤดูสารท มีอาการฉันอาหารไม่ได้และอาเจียน อ่อนเพลีย พระพุทธองค์จึงทรงมีพุทธานุญาต ให้พระสงฆ์ฉันอาหารซึ่งไม่ใช่อาหารหยาบ ๕ สิ่งที่จัดว่าเป็น ทั้งอาหารและเป็นเภสัช ได้แก่ “คือ เนยใสอย่างหนึ่ง เนยข้นอย่างหนึ่ง น้ำมันอย่างหนึ่ง น้ำผึ้งอย่างหนึ่ง น้ำอ้อยอย่างหนึ่ง” แม้ว่าจะเป็นเวลาในช่วงหลังเที่ยงจนถึงรุ่งสว่างของอีกวันก็ตาม จึงทำให้เกิดความนิยม มีผู้นำมาถวายเป็นจำนวนมาก จนเกิดข้อติเตียนหลายประการ เช่น ติเตียนในการสะสมอาหาร จึงทรงกำหนดให้คิลานะเภสัชทั้ง ๕ สิ่งนี้เป็น “สัตตาหกาลิก” คือ กำหนดให้เก็บไว้ได้เพียง ๗ วันนับแต่วันรับ หากเกินกว่านั้นถือว่าเป็นนิสสัคคีย์ “ของเดน ของบูด” ภิกษุที่ยังครองไว้ถือว่าต้องอาบัติปาจิตตีย์           จากนั้นทรงอธิบายเพิ่มเติมว่าอาหารที่เป็นยาทั้ง ๕ สิ่งที่กล่าวนี้ สำหรับในประเทศไทยแล้ว เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำอ้อย ทางการแพทย์ได้ระบุว่าแสลงโรคทั้งสิ้น “คงใช้ได้บ้างแต่น้ำผึ้ง” แต่ไม่สู้จะใช้ประโยชน์ทางยา คงเอามากวนเป็นตังเมเท่านั้น ไม่รู้สึกว่าเป็นยาอันใดเลย สู้น้ำข้าวต้มซึ่งน่าจะเป็นยาที่เหมาะสำหรับคนไทยพระภิกษุไทยมากกว่าไม่ได้ และหากพระพุทธองค์ยังทรงดำรงพระชนม์ชีพอยู่ และทรงทราบ น่าจะทรงอนุญาตให้ถวายน้ำข้าวต้มได้ ทั้งนี้ ในพระราชนิพนธ์เรื่องดังกล่าว มิได้ทรงกล่าวถึงการถวายอาหารเป็นยาของคนไทย และการถวายข้าวสารแต่อย่างใด           เมื่อพิจารณาต่อมาเรื่อง การบิณฑบาตจากพระวินัยซึ่งมีข้อกำหนดที่เกี่ยวเนื่อง ๒ ประการ ได้แก่ ๑. พระสงฆ์ไม่ควรเก็บอาหารไว้ข้ามวัน และ ๒. ห้ามไม่ให้พระสงฆ์ทำอาหาร สำหรับอาหารที่ถวายทำบุญตักบาตร จึงมักเป็นอาหารปรุงสำเร็จพร้อมฉัน และหากฉันไม่หมดภายในเพลวันนั้น ต้องบริจาคเป็นทานต่อไป จะนำกลับมาถวายมื้อต่อต่อไปหรือในวันรุ่งขึ้นอีกไม่ได้ ถือว่าเป็นของเดน ของบูด ส่วนในข้อที่ ไม่อนุญาตให้พระสงฆ์ทำครัวหุงหาอาหารนั้น เนื่องจากบางครั้งวัตถุดิบในการทำอาหาร อาจมีเมล็ดพืช หรือพืชซึ่งที่ยังมีรากติดกับดิน อาจจะยังงอกงามเป็นต้นพืชเป็นชีวิตได้ การทำอาหารจึงอาจทำให้เกิดอาบัติปาจิตตีย์เพราะพรากของสีเขียว คือฆ่าชีวิตของต้นพืช โดยข้อห้ามอันนี้จึงทำให้แต่เดิมหากจะถวายภัตตาหารเป็นพืชหรือผลไม้ที่มีเมล็ดที่อาจให้กำเนิดชีวิตต่อไปได้ จึงต้องเอาเมล็ดออกเสียก่อน รวมทั้งจะไม่ถวายวัตถุดิบในการประกอบอาหารจำพวก ข้าวสาร อาหารแห้ง เนื้อสัตว์ ไข่ ตลอดจนเครื่องปรุงรสต่าง ๆ ด้วย           พระวินัยซึ่งบัญญัติขึ้นนี้ เพื่อให้พระภิกษุละกิเลส ไม่เป็นผู้สะสมอาหาร และสิ่งอื่นใดนอกจากอัฏฐบริขาร ดังนั้นหากมีญาติโยมบริจาคข้าวสารอาหารแห้ง ซึ่งอาจบรรจุไว้ในถังสังฆทาน พระท่านมักให้ลูกศิษย์ญาติโยมสำรวจ และนำข้าวสารอาหารแห้งดังกล่าว ออกจากเครื่องสังฆทานเสียก่อนที่จะถวาย และนำไปมอบให้แก่ญาติโยมที่ดูแลโรงครัว หรือจัดเตรียมสำหรับทำทานต่อไป เพื่อที่มิให้ของเหล่านั้นกลายเป็น “ของเดน ของบูด” มิอาจนำมาถวายเป็นจังหันได้อีกดังกล่าวมาข้างต้น           ทว่า ด้วยสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป แม้ว่าจะมีข้อกำหนดดังกล่าว ประเพณีการทำบุญตักบาตรข้าวสารนั้นกลับเป็นที่นิยมของพุทธศาสนิกชนและปฏิบัติตามกันมา เพราะญาติโยมเห็นว่า “ข้าวสาร”เป็นของที่เก็บรักษาไว้ได้นาน และยังเป็นผลดีต่อวัดที่มีพระภิกษุสงฆ์ สามเณรที่จำพรรษาอยู่ในวัดเป็นจำนวนมาก หรือวัดที่มิได้มีพุทธศาสนิกชนมาทำบุญกันเป็นประจำจะได้เป็นคลังอาหารของวัด รวมทั้งพระสงฆ์จะได้บริจาคทานแก่ชาวบ้านต่อไปตามควร เดิมจัดทำบุญตักบาตรข้าวสารในวันพระใหญ่เช่น เทศกาลออกพรรษา ที่เรียกว่าประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ แต่เมื่อพุทธศาสนิกชนเห็นพ้องต้องกันว่าการทำบุญตักบาตรข้าวสารส่งผลดีเช่นนี้ จึงนิยมทำกันอย่างแพร่หลายมิได้จำกัดช่วงเวลา แต่บางท้องถิ่นนิยมทำในช่วงพรรษาระหว่างเดือน ๑๐ ถึงเดือน ๑๒ หรืออาจจัดทำในพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น การติดกัณฑ์เทศน์ เป็นต้น ในระหว่างพรรษาพุทธศาสนิกชนนิยมทำบุญตักบาตรข้าวสาร การประกอบพิธีกรรมมีลักษณะทั่วไปคล้ายกันโดยการกำหนดวัน เวลาขึ้นอยู่กับความสะดวก มรรคนายกแจกฎีกาให้พุทธศาสนิกชนที่มาทำบุญทราบทั่วกันเมื่อถึงเวลาให้นำข้าวสาร อาหารแห้งไปวางไว้รวมกันยังสถานที่ที่กำหนดไว้ จากนั้นพระภิกษุสงฆ์ สามเณร มาประชุมพร้อมกัน มรรคนายกนำอาราธนาศีล มีการรับศีลรับพร จากนั้นอาราธนาธรรม เจ้าอาวาสหรือผู้แทน อนุโมทนาทาน มรรคนายกกล่าวนำคำถวายข้าวสาร พุทธศาสนิกชนกล่าวตาม เมื่อกล่าวคำถวายข้าวสารจบ พระภิกษุสงฆ์ สามเณรอนุโมทนาเป็นอันเสร็จพิธี ประเพณีไทยทั้งหลายในปัจจุบันพบว่ามีการแก้ไข ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างไปบ้าง เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับยุคสมัยอยู่เสมอ แต่ยังคงรักษาและคำนึงถึงแก่นสำคัญของประเพณีนั้นไว้ ซึ่งการทำบุญตักบาตรข้าวสารเป็นตัวอย่างสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมประเพณีให้เหมาะสมแก่ยุคสมัย การทำบุญตักบาตรข้าวสาร ------------------------------------------------------------ค้นคว้าเรียบเรียง : กมลพรรณ บุญสุทธิ์ นักอักษรศาสตร์ กลุ่มจารีตประเพณี  สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์


     ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศในซีกโลกตะวันตกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นผลสืบเนื่องมาจากนโยบายการเปิดรับประเทศต่างๆ เข้ามาเจริญทางพระราชไมตรีในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฎวิทยมหาราช โดยประเทศเหล่านั้นได้ส่งผู้แทนรัฐบาลเข้ามาเจรจาทำสนธิสัญญากับราชสำนักสยาม เพื่อประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก ขณะเดียวกันการไหลหลั่งเข้ามาสู่ดินแดนซีกโลกตะวันออก ยังเป็นการเข้ามาเพื่อแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ๆ ในด้านต่างๆ ด้วย ดังเห็นได้จากการเดินทางเข้ามาของบรรดานักวิทยาศาสตร์ นักสำรวจ บาทหลวง กระทั่งคณะท่องเที่ยวสำรวจขนาดใหญ่ ที่มีพระราชวงศ์ต่างประเทศเป็นหัวหน้าคณะ ออกเดินทาง “สำรวจโลก” และได้มาเยือนราชอาณาจักรสยาม      เมื่อ ๑๑๒ ปีมาแล้วในพุทธศักราช ๒๔๕๒ ดยุคโยฮันอัลเบิร์ตแห่งเม็คเคลนบวร์ก ผู้สำเร็จราชการราชรัฐ บรันซวิก อันเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิเยอรมัน เสด็จมายังราชอาณาจักรสยาม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดการรับเสด็จอย่างยิ่งใหญ่สมพระเกียรติ ด้วยทรงรู้จักคุ้นเคยกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน สืบเนื่องจากเมื่อ ๒๖ ปีก่อนหน้านี้ ในพุทธศักราช ๒๔๒๖ ดยุคโยฮันอัลเบิร์ต ได้เคยมาเยือนราชอาณาจักรสยามแล้วครั้งหนึ่ง  ในระหว่างการเดินทางท่องเที่ยวทวีปเอเชีย ครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ดยุคฯ ทอดพระเนตรสถานที่สำคัญ และกิจกรรมสำคัญต่างๆ ทั้งในพระนครและหัวเมือง ซึ่งจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่าโปรดให้ดยุคฯ เดินทางไปสองหัวเมืองสำคัญ คือเมืองราชบุรี และเมืองเพชรบุรี ซึ่งมีความสำคัญขึ้นมานับตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังบนเขามหาสวรรค์ เมืองเพชรบุรี และในรัชกาลที่ ๕ ที่มีการสร้างพระราชวังบนเขาอีกแห่งหนึ่งที่เมืองราชบุรี       เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปทั้งสองครั้งในพุทธศักราช ๒๔๔๐ และในพุทธศักราช ๒๔๕๐ นั้น ดยุคโยฮันอัลเบิร์ต ขณะเป็นผู้สำเร็จราชการเมืองชเวริน และราชรัฐบรันซวิก ได้จัดการรับเสด็จอย่างยิ่งใหญ่ทั้งสองคราว ทำให้ทรงสนิทสนมคุ้นเคยยิ่งขึ้น กระทั่งในปลายปีพุทธศักราช ๒๔๕๒ ดยุคโยฮันอัลเบิร์ต ได้แจ้งเข้ามาว่าจะเดินทางเข้ามาราชอาณาจักรสยามอีกครั้ง โดยจะทรงดัชเชสอลิธซาเบธ รอต๙ลา สโตลเบิร์ก พระชายาซึ่งเพิ่งอภิเษกเข้ามาด้วย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบจึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดการรับเสด็จ สันนิษฐานว่าโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช กรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดช เป็นผู้ “กะโปรแกรม” ร่วมกับสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมขุนนครสวรรค์วรพินิต โดยกำหนดการรับเสด็จดยุคโยฮันอัลเบิร์ตในคราวนี้ โปรดเกล้าฯ ให้รับเสด็จทั้งในพระนครและหัวเมือง อันได้แก่อยุธยา และเพชรบุรี       กล่าวเฉพาะเมืองเพชรบุรีนั้น โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้นเป็นผู้อำนวยการจัดการรับรองที่เมืองเพชรบุรี ด้วยเป็นทำหน้าที่ “กะโปรแกรม” การเสด็จประพาสในรัชกาลที่ ๕ อยู่เสมอ และเคยได้รับเสด็จดยุคฯ แต่เมื่อครั้งยังดำรงพระยศ พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร ในครั้งนั้นมีการซ่อมแซมหมู่พระที่นั่งของพระราชวังพระนครคีรีบนเขามหาสวรรค์ เพื่อใช้เป็นที่ประทับ และจัดให้ดยุคฯ พระชายาและคณะ ทอดพระเนตรและชมสถานที่สำคัญต่างๆ ที่สำคัญของเมืองเพชรบุรี อาทิ เขามหาสวรรค์ ถ้ำเขาหลวง ถ้ำเขาบันไดอิฐ วัดพระพุทธไสยาสน์ วัดใหญ่สุวรรณาราม หมู่บ้านเวียงคอยของชาวลาวโซ่ง การล่องแม่น้ำเพชรบุรี ตลาดเมืองเพชรบุรี รวมไปถึงสถานที่สร้างพระราชวังแห่งใหม่ที่บ้านปืน       หลักฐานจากบุคคลร่วมสมัย แสดงให้เห็นว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำคัญกับการรับรองพระราชอาคันตุกะของพระองค์อย่างยิ่ง ดังปรากฏว่าได้เสด็จฯ มาทอดพระเนตรการซ่อมแซมหมู่พระที่นั่งของพระนครคีรีด้วยพระองค์เองก่อนที่ดยุคฯ จะมาถึง และทรงคัดเลือกบุคคลผู้ที่มีความสามารถให้เป็นผู้ประจำองค์ดยุคและพระชายา  ตลอดจนมีสถานที่และกิจกรรมมากมาย ที่สร้างความประทับใจแก่พระราชอาคันตุกะ โดยทรงอนุโลมตามอย่างที่ดยุคได้เคยรับเสด็จพระองค์ในต่างประเทศมาแล้ว       การเสด็จเมืองเพชรบุรีของดุ๊กโยฮันอัลเบิร์ตและพระชายาในระหว่างวันที่ ๒๖ มกราคม ถึงวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๒ (นับอย่างปัจจุบันคือ ๒๔๕๓) นับเป็นการรับรองพระราชอาคันตุกะสำคัญในรัชกาลที่ ๕ ครั้งสุดท้าย เพราะต่อมาอีกเพียง ๘ เดือน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็เสด็จสวรรคต ครั้นรัชกาลต่อมา แม้จะมีพระราชอาคันตุกะเข้ามาเยือนราชอาณาจักรสยาม เช่นคราวพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช ในรัชกาลที่ ๖ แต่ก็ไม่มีการรับเสด็จอย่างยิ่งใหญ่เช่นนี้อีก และจะมีธรรมเนียมการรับรองพระราชอาคันตุกะเช่นนี้อีกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙  ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้จัดการรับรองในหัวเมืองทางภาคเหนือเป็นหลัก ขณะที่เมืองเพชรบุรี หลังรัชกาลที่ ๕ ยังคงมีความสำคัญในฐานะสถานที่แปรสถานที่สำหรับการพักผ่อนตั้งแต่พระมหากษัตริย์ เจ้านาย และสามัญชน โดยอยู่ในพื้นที่ชายทะเลเป็นหลัก       เรื่องราวของการมาเยือนเมืองเพชรบุรีของดยุคโยฮันอัลเบิร์ตแห่งเม็คเคลนบวร์ก อาจเลือนหายไปจากความทรงจำของคนรุ่นหลังบ้าง แต่ในเมืองเพชรบุรี ยังคงปรากฏสิ่งเสมือนอนุสรณ์แห่งการมาเยือนครั้งนั้น เป็นประจักษ์พยานสำคัญของไพรัชไมตรีที่สำคัญคราวหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย   วสันต์  ญาติพัฒ , ณัฐพล  ชัยมั่น ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี เรียบเรียง    อ้างอิง  จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. รวมพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง  ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, ๒๕๔๘. จารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). จารึกบนฐานพระพุทธรูปถ้ำเขาบันไดอิฐ. https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/1018 จดหมายเหตุเรื่องส่งเสด็จ พระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จยุโรปครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๙.  กรุงเทพฯ โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, ๒๔๖๖. (สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจีพระบรมราชินีโปรดให้พิมพ์ในงารพระศพ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนเพ็ชรบูรณอินทราชัย ครบศตมาห ณวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๖)  จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ภาค ๑๔. กรุงเทพฯ โรงพิมพ์มหา มกุฎราชวิทยาลัย, ๒๔๘๑. (โอรสและธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทววงศ์วโรประการ พิ มพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมใหญ่  เทวกุล วันที่  ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑) จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. พระราชนิพนธ์เรื่องไกลบ้าน ฉบับมีรูปภาพ เล่ม ๒. พิมพ์ครั้งที่ห้า.  กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๓๗. (ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สำนักราชเลขาธิการจัดพิมพ์พระราชทานเนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเรือเอกสันติภาพ หมู่มิ่ง ป.ช., ป.ม., ท.จ.)  ทวีโรจน์  กล่ำกล่อมจิตต์(บรรณาธิการ). พระพุทธรูปสำคัญจังหวัดเพชรบุรี. เพชรบุรี : บริษัท เพชรภูมิการพิมพ์  จำกัด, ๒๕๕๘. (ที่ระลึกงานสมโภช ๑๐๐ ปี การสถาปนาพระอารามหลวง วัดมหาธาตุฯ จ.เพชรบุรี ๒๕๕๘) ทิพากรวงษ์, เจ้าพระยา. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔. พิมพ์ครั้งที่  กรุงเทพฯ บริษัท  อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด,  ธันวา  วงศ์เสงี่ยม (บรรณาธิการ). จดหมายเหตุเสด็จประพาสต่างประเทศในรัชกาลที่ ๕ เสด็จเมืองสิงคโปร์ แล เมืองเบตาเวียครั้งแรก แลเสด็จประพาศประเทศอินเดีย.กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๖๑. https://en.wikipedia.org/.../Duke_John_Albert_of_Mecklenburg Duke John Albert of Mecklenburg ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๔ น่า ๓๐๕ ข่าวเสด็จพระราชดำเนินมาโดยทางโทรเลข. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2440/023/305.PDF ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๓ หน้า ๑๓๓๓ วันที่ ๓๑ มีนาคม ๑๒๕. พระราชพิธีประพาศยุโรปประเทศ รัตนโกสินทรศก ๑๒๕ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/.../2449/053/1333_3.PDF ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๒๖ น่า ๒๕๘๖ วันที่ ๖ มีนาคม ๑๒๘ การรับดุ๊กโยฮันอัลเบรกต์ ผู้สำเร็จราชการเมือง บรันซวิก. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2452/D/2586.PDF ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๔ น่า ๕๑๑ วันที่ ๑๔ สิงหาคม ๑๒๖. พระราชโทรเลข http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2450/019/510.PDF บันทึกความทรงจำของหม่อมเจ้าจงจิตรถนอม  ดิศกุล. กรุงเทพฯ : วัชรินทร์การพิมพ์, ๒๕๒๑. (ที่ระลึกในการ พระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าจงจิตรถนอม  ดิศกุล ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิริน    ทราวาส ๒ พฤศจิกายน ๒๕๒๑) ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๔๖ เรื่องจดหมายเหตุของคณะพ่อค้าฝรั่งเศสซึ่งเข้ามาตั้งครั้งกรุงศรีอยุธยาฯ        ภาคที่ ๖. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ตีรณสาร,๒๕๐๕.(ตีพิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตรีพระยาสุรวงศ์วิวัฒน์ (เตี้ยม บุนนาค) ม.ว.ม., ป.ช., ท.จ.ว.) ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๐๕) ประวัติของมหาอำมาตย์ตรี พระยาประชากิจกรจักร์ (ชุบ โอสถานนท์). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ลมูลจิตต์ ,๒๔๙๙. (นายจุลินทร์  ล่ำซำ พิมพ์เป็นธรรมบรรณาการ ในงานพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดมกำกษิตริยาราม วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๙) ประภาพรรณ  ศรีสุข(บรรณาธิการ). พระนครคีรี. พิมพ์ครั้งที่ ๖. สมุทรสาคร : บริษัท บางกอกอินเฮ้าส์ จำกัด,  ๒๕๖๑. พระราชหัตถเลขา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทาน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรม พระยาดำรงราชานุภาพ ในเวลาเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรป ครั้งที่ ๒ ใน พ.ศ. ๒๔๕๐. กรุงเทพฯ โรงพิมพ์พระจันทร์, ๒๔๙๑. (ตีพิมพ์ในงานพระเมรุ พระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร ณ วัดเทพศิรินทราวาส พ.ศ. ๒๔๙๑) พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและลายพระหัตถ์สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาล มารศรี พระอรรคราชเทวี. พระนคร : โรงพิมพ์ไทยเขษม, ๒๔๙๓. (พิมพ์ในงานพระเมรุฯ ณ ท้องสนามหลวง วันที่ ๑๐ เมษายน ๒๔๙๓)  สมบูรณ์  แก่นตะเคียน(บรรณาธิการ). สมุดเพชรบุรี ๒๕๒๕. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์, ๒๕๒๕. สัมภาษณ์ พระปลัดบุญมี  ปุญญฺภาโค, เจ้าอาวาสวัดเขาบันไดอิฐ, ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๖๔. สำเนาพระราชหัตถ์เลขาส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงเจ้าพระยายมราช (ปั้น  สุขุม) กับประวัติเจ้าพระยายมราช. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์บำรุงธรรม ,๒๔๘๒.(พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) วันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส)  สาส์นสมเด็จ วันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๔๘๔  https://vajirayana.org/.../%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0... ศิลปากร, กรม. พิธีต่างๆ ในสาส์นสมเด็จ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เจริญธรรม, ๒๕๒๐.(พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงาน พระราชทานเพลิงศพ พระอำนวยสัณหนิติ์ (ฉัตร บุณยสุขานนท์) ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร วันที่ ๑๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๒๐) หอจดหมายเหตุแห่งชาติ.  เอกสารกระทรวงการต่างประเทศ กต.๓๓.๖.๓ ปึกที่ ๑๖ เรื่อง กำหนด การรับดุ๊กโยฮันอัลเบรกต์ผู้สำเร็จราชการบรันซวิก ร,ศ,๑๒๘  __________. เอกสารกระทรวงการต่างประเทศ กต.๓๓.๖.๓ ปึกที่ ๒๐ เรื่อง ดุ๊กโยฮันอัลเบรกต์จะเข้ามากรุงเทพฯ  __________. เอกสารรัชกาลที่ ๕ ใบบอกเมืองราชบุรี ร.๕ ม. เล่ม ๑๒ (จ.ศ๑๒๔๕)  __________. เอกสารรัชกาลที่ ๕ หนังสือกราบบังคมทูล ร.๕ - นก. เล่ม ๒๓ (จ.ศ. ๑๒๔๕)  __________. เอกสารเย็บเล่มกรมราชเลขาธิการรัชกาลที่ ๕ สมุดพิเศษ ร.๕ รล. - พศ. เล่ม ๒๑ (จ.ศ. ๑๒๔๕) อนุสรณ์ งานพระราชทานเพลิงศพ พลตรีพระยาอานุภาพไตรภพ (จำรัส เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ป.ช., ป.ม.,  ท.จ., ราชองครักษ์ จ.ป.ร.. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรมแผนที่ทหารบก,๒๕๐๔.  ทวีโรจน์  กล่ำกล่อมจิตต์(บรรณาธิการ). พระพุทธรูปสำคัญจังหวัดเพชรบุรี. เพชรบุรี : บริษัท เพชรภูมิการพิมพ์  จำกัด, ๒๕๕๘. (ที่ระลึกงานสมโภช ๑๐๐ ปี การสถาปนาพระอารามหลวง วัดมหาธาตุฯ จ.เพชรบุรี ๒๕๕๘) ภาพประกอบ  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับทรงฉายพระบรมรูปพร้อมด้วยคณะของดยุคโยฮันอัลเบิร์ตแห่งเม็คเคลนบวร์ก ที่พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร พระราชวังบางปะอิน วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก ๑๒๘  ประกอบด้วยบุคคลต่างๆ ดังนี้  แถวนั่ง  ๑. พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมรุพงศ์ศิริพัฒน์ สมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า ๒.สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมขุนนครสวรรค์วรพินิต ๓.ดัชเชสอลิสซาเบธ รอตซาลา สโตลเบิร์ก พระชายา ๔.พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๕.ดยุคโยฮันอัลเบิร์ต แห่งเม็คเคลนบวร์ก- ชเวริน  ๖.หม่อมเจ้าประสงค์สม พระชายาในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนนครสวรรค์วรพินิต แถวยืน ๑.นายร้อยเอก หลวงอภิบาลภูวนารถ (จำรัส  เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ประจำองค์ดยุค  ๒.นายพันโท หลวงจัตุรงควิไชย (เตี้ยม  บุนนาค) ประจำองค์ดยุค ๓.แพทย์ ประจำตัวดยุคฯ ๔.นายช่างเขียนประจำคณะของดยุคฯ  ๕.ภรรยาขององครักษ์ดยุคฯ ๖.คุณหญิงอุ๊น ภรรยาพระยามหิบาลบริรักษ์ ประจำองค์ดัชเชส ๗.นายพลตรี พระยาสุรเสนา (กลิ่น แสง-ชูโต) สมุหราชองครักษ์ ๘.เจ้าชายเฮนรี่ที่ ๓๓ ออฟรอยซ์ หลานของดยุคฯ  ๙.องครักษ์ของดยุคฯ Oberleutnant von Grone ๑๐.พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (นพ ไกรฤกษ์) จางวางมหาดเล็ก ๑๑.  ไม่ทราบนาม


ชื่อเรื่อง                               สทฺทนีติ(สัททาวิมาลา) สพ.บ.                                  413/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           44 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 54 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           ชาดก                                           เทศน์มหาชาติ                                           คาถาพัน บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงาน พระราชทานเพลิงศพ คุณมาละตี กาญจนาคม ณ เมรุวัดกษัตริยาราม วันพฤหัสบดี ที่ ๑๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๑๖





ชื่อเรื่อง                                สุนนฺทราชชาตก (สุนันทรราชชาดก) สพ.บ.                                  289/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           22 หน้า กว้าง 5.1 ซ.ม. ยาว 57 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           ชาดก                                           ธรรมะ                                           พุทธประวัติ บทคัดย่อ/บันทึก         เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับชาดทึบ-ลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


ชื่อเรื่อง                                อุณฺหิสวิชย (อุณณหิสสวิไช) สพ.บ.                                  334/1ฏประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           22 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 58 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                          บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ  ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


ประวัติศาสตร์และโบราณคดีเมืองจะนะ ตอนที่ ๔ ยุคประวัติศาสตร์ สมัย ร.๕  จนถึงปัจจุบันตอนที่ ๔ จะนะสมัยรัชกาลที่ ๕ ถึงปัจจุบัน  เมื่อมีการปรับปรุงรูปแบบการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล และยกเลิกระบบเจ้าเมือง เมืองจะนะจึงมีฐานะเป็นอำเภอเมืองจะนะ ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอบ้านนา และอำเภอจะนะ ตามลำดับ อำเภอเมืองจะนะ  พ.ศ.๒๔๓๙ มีการปรับปรุงรูปแบบการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล จึงมีการปรับเปลี่ยนฐานะของเมืองจะนะจากเมืองขึ้นของเมืองสงขลามาเป็นส่วนหนึ่งของเมืองสงขลา เรียกว่า “อำเภอเมืองจะนะ” โดยแต่งตั้งขุนศรีสารกรรมเป็นนายอำเภอเมืองจะนะ และย้ายที่ตั้งเมืองไปตั้งที่บ้านนาทวี ในขณะนั้นอำเภอเมืองจะนะมีบ้านเรือนจำนวน ๓,๓๑๒ หลังคาเรือน และประชากรรวม ๑๙,๐๕๖ คน (ชาย ๙,๕๖๘ คน หญิง ๙,๔๙๗ คน) อำเภอบ้านนา ในพ.ศ.๒๔๔๓ หลวงสาธรประสิทธิผลได้ย้ายที่ตั้งเมืองจะนะไปตั้งที่บ้านนา ในครั้งนั้นได้มีการเปลี่ยนชื่ออำเภอเมืองจะนะเป็น “อำเภอบ้านนา” อำเภอจะนะ พ.ศ.๒๕๖๗ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้เปลี่ยนชื่ออำเภอบ้านนาเป็น “อำเภอจะนะ” เนื่องจากชื่ออำเภอบ้านนา เมืองสงขลา ซ้ำกันกับอำเภอบ้านนาในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ทำให้เกิดความเข้าใจผิดและไม่สะดวกแก่ทางราชการ และหลังจากนี้อำเภอจะนะก็ตั้งอยู่ที่บ้านนามาจนกระทั่งปัจจุบัน โดยแบ่งการปกครองออกเป็น ๑๔ ตำบล คือ แค ตลิ่งชัน สะพานไม้แก่น สะกอม ขุนตัดหวาย คู ป่าชิง บ้านนา คลองเปียะ ท่าหมอไทร น้ำขาว จะโหนง นาหว้า และนาทับ  ------------------------------------------------------------------------- เรียบเรียงข้อมูลและกราฟฟิคโดย นายสารัท ชลอสันติสกุล นักโบราณคดีชำนาญการ  กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา


เลขทะเบียน : นพ.บ.161/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  38 หน้า ; 4.5 x 57.5 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องชาด ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 97 (35-48) ผูก 2 (2565)หัวเรื่อง : สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (พระอภิธรรมสังคิณี-พระมหาปัฎ)  --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทศนา (เทศนาสังคิณี-มหาปัฎฐาน)  ชบ.บ.46/1-5  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


Messenger