ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,340 รายการ

สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 172/4เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


          วันนี้ (วันจันทร์ที่ ๓๐ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๖๖) เวลา ๐๙.๐๐ น. นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานเปิดโครงการสัมมนา วิจัย วิจักขณ์ การนำเสนอผลงานวิชาการของกรมศิลปากร ประจำปี ๒๕๖๕ และปาฐกถาพิเศษ ณ ห้องประชุมใหญ่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมการสัมมนาจำนวนมาก            กรมศิลปากรจัดโครงการสัมมนาวิจัย วิจักขณ์ การนำเสนอผลงานวิชาการของกรมศิลปากร ประจำปี ๒๕๖๕ ระหว่างวันที่ ๓๐ – ๓๑ มกราคม ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมใหญ่ และห้องดอกไม้สด สำนักหอสมุดแห่งชาติ เพื่อนำเสนอผลการศึกษาวิจัย พัฒนาวิธีการปฏิบัติงานอนุรักษ์ สืบทอด และเผยแพร่ความรู้ด้านมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติในด้านต่าง ๆ ของหน่วยงานในสังกัด ทั้งด้านโบราณคดี พิพิธภัณฑ์ ภาษา เอกสาร หนังสือ ประวัติศาสตร์ นาฏดุริยางศิลป์ และศิลปกรรม โดยจัดการบรรยายและนำเสนอผลงานมากกว่า ๔๐ เรื่อง อาทิ การขุดตรวจทางโบราณคดีอาคารป่าไม้ภาคแพร่, ธรรมาสน์ในจังหวัดลำพูน, บัฏเทพนพเคราะห์, ภาพเขียนสีค้นพบใหม่ที่ถ้ำสิงโต เขาผาแรต อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี, สองกษัตราลงสรง : นาฏยประดิษฐ์ในการแสดงโขน เรื่อง รามเกียรติ์, เรื่องเล่าจากสุสาน : ข้อมูลจากการขุดค้นทางโบราณคดีที่เวียงท่ากาน, สังเขปเรื่อง "ม้า" : จากแชงกรีล่าสู่ล้านนาและสยาม, เทคนิคการประดับกระจกโขนเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณรัชกาลที่ ๙, ฐานรากหลักฐานโบราณคดี ป้อมมหากาฬ กําแพงพระนคร และกําแพงวังหน้ากรุงรัตนโกสินทร์ ทั้งนี้ มีการถ่ายทอดสดผ่านทางเฟสบุ๊ก ไลฟ์ เพจ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม อีกด้วย  การสัมมนาวิจัย วิจักขณ์ เป็นโครงการที่กรมศิลปากรจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อสนับสนุนให้นักวิชาการของกรมศิลปากรได้ศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิเคราะห์ วิจัย ทั้งวิทยาการใหม่ ๆ และวิทยาการที่ต่อเนื่องในเชิงลึก เพื่อนำไปพัฒนาการปฏิบัติงาน และเผยแพร่ความรู้ด้านมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติสู่ทุกภาคส่วนของสังคม ซึ่งนอกจากจะเป็นการถ่ายทอดทักษะความรู้ให้กับนักวิชาการและประชาชนที่สนใจแล้ว ยังเป็นพื้นที่สำหรับแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการพัฒนาผลงานทางวิชาการด้านการอนุรักษ์ สืบทอด สร้างสรรค์ และเผยแพร่มรดกศิลปวัฒนธรรม ทั้งนี้ กรมศิลปากรหวังว่าองค์ความรู้จากการสัมมนาจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม ส่งผลให้เยาวชนรุ่นใหม่และประชาชนทั่วไปหันมาสนใจ ตระหนักในคุณค่าและเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมไทยมากยิ่งขึ้น


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           51/7ประเภทวัดุ/มีเดีย                          คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                                22 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 58 ซม.หัวเรื่อง                                       พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           10/1ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              40 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 53 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ก่อนที่ภาพร่างพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 เมื่อ พ.ศ. 2454 วาดโดย กาลิเลโอ คินี (Galileo Chini) จิตรกรชาวอิตาเลียน จะได้รับการอนุรักษ์ในปัจจุบัน ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ภาพร่างดังกล่าวเคยเก็บรักษาอยู่ภายในคลังของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร แล้วก่อนหน้านั้นภาพร่างนี้เคยอยู่ที่ไหนบ้าง? เมื่อไม่นานมานี้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ได้รับภาพถ่ายจากปกหนังสือ “ที่ระลึก วันตำรวจ ๑๓ ตุลาคม ๒๔๙๓” ในภาพถ่ายปรากฏภาพร่างพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของกาลิเลโอ คินี เป็นฉากหลังของงานพิธีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานกระบี่แก่นายร้อยทุกเหล่าทัพ ภาพถ่ายนี้สร้างความตื่นเต้นให้แก่ผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับกาลิเลโอ คินี เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นหลักฐานที่ยืนยันถึงสถานที่อื่นซึ่งเคยติดตั้งภาพร่างชิ้นนี้ ก่อนจะถูกเคลื่อนย้ายมาเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สถานที่ในภาพจะเป็นที่ไหน งานพิธีดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อไหร่ และภาพร่างของกาลิเลโอ คินี ติดตั้งไว้อย่างไร เป็นปริศนาที่ชวนให้สืบค้นกันต่อ หากมีความคืบหน้าเกี่ยวกับภาพถ่ายนี้เพิ่มเติม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป จะรีบอัพเดตให้ทุกท่านทราบต่อไป ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก คุณวิลาสินี ทองศรี และ อ.ประทีป สุธาทองไทย


เลขวัตถุ ชื่อวัตถุ ขนาด (ซม.) ชนิด สมัยหรือฝีมือช่าง ประวัติการได้มา ภาพวัตถุจัดแสดง 37/2553 (27/2549) ส่วนปากภาชนะดินเผา ขอบปากตั้งขึ้น ปากผาย ด้านในเรียบไม่มีลวดลาย ด้านนอกมีลายลูกกลิ้ง ส.8.4 ย.16.2 ดินเผา สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย อายุราว 2,500-2,000 ปีมาแล้ว   ได้จากบ้านเขาเพิ่ม อำเภอบ้านนา จ.นครนายก เมื่อประมาณ พ.ศ. 2539


เลขทะเบียน : นพ.บ.480/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 26 หน้า ; 4.5 x 54 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 162  (195-204) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : อานิสงฆ์เวสสันดรชาดก--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


         วันนี้ในอดีต 21 เมษายน 2566 ครบรอบ 241 ปี วันสถาปนา “กรุงรัตนโกสินทร์” ตอนที่ 1          ต่อมาในเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ ซึ่งตรงกับวันที่ 21 เมษายน ปีพุทธศักราช 2325 เวลา 06.54 นาฬิกา เป็นวันที่พระองค์ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทำ “พิธียกเสาหลักเมือง” โดยเป็นประเพณีไทยโบราณเมื่อมีการสร้างเมืองขึ้นใหม่ จะต้องหาฤกษ์มงคลสำหรับฝังเสาหลักเมืองเป็นประการแรก เพื่อความเป็นสิริมงคลของบ้านเมืองและประชาชน           โดยเรื่องราวของ “หลักเมือง” คือเรื่องราวที่ปรากฏในลักษณะเรื่องเล่าที่สืบต่อกันมา และแฝงด้วยความอาถรรพ์ แต่ทว่ายังคงมีเรื่องราวแห่งความจริง ซึ่งเป็นแก่นรวมอยู่ด้วย ยกตัวอย่างเช่นเรื่องราวในสมัยกรุงศรีอยุธยาที่เล่าถึง “หลักเมือง” ไว้ว่า          “พิธีสร้างพระนครหรือสร้างบ้านสร้างเมืองต้องฝังอาถรรพณ์ ๔ ประตูเมือง ต้องฝังเสาหลักเมือง การฝังเสาหลักเมือง และเสามหาปราสาท ต้องเอาคนมีชีวิตทั้งเป็น ๆ ลงฝังในหลุมเพื่อให้เป็นผู้เฝ้าทวารมหาปราสาทบ้านเมืองป้องกันอริราชศัตรู ในการทำพิธีดังกล่าวนี้ต้องเอาคน ชื่อ อิน จัน มั่น คง มาลงฝังในหลุมจึงจะศักดิ์สิทธิ์ ”          สำหรับเสาหลักเมืองกรุงเทพฯ เชื่อว่าได้รับอิทธิพลทางพิธีการของพราหมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องในพิธีจารึกดวงชะตาพระนคร โดยสำคัญอย่างยิ่งในด้านความเชื่อถือ ซึ่งมีผลโดยตรงทางด้านจิตใจและเป็นการสร้างความมั่นใจผ่านทางพิธีกรรมเพื่อความมงคลว่าบ้านเมืองจะอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข  นอกจากนั้น ภายหลังยังมีการประดิษฐาน “ศาลเทพารักษ์” เพื่อเป็นที่สถิตของเทพารักษ์ประจำหลักเมือง คอยอำนวยความสุข ความมงคล และป้องกันเภทภัยแก่ผู้ที่เคารพบูชา ประกอบด้วยเทพารักษ์จำนวน ๕ พระองค์ ได้แก่ พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระกาฬไชยศรี เจ้าเจตคุปต์ และ เจ้าหอกลอง           ปัจจุบันเสาหลักเมืองกรุงเทพฯ ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยามีเนื้อที่ประมาณ ๑ งาน ๑๕ ตารางวา อยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของท้องสนามหลวง ภายในบริเวณเสาหลักเมืองกรุงเทพฯ ได้จัดพื้นที่ใช้สอยเป็นสัดส่วนรับรองการมาสักระนมัสการของประชาชน          ในวาระการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๒๔๑ ปี ในวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๖ นี้ ถือเป็นโอกาสดีที่คนไทย โดยเฉพาะเยาวชนคนรุ่นใหม่ จะได้เรียนรู้และสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องประวัติศาสตร์ความเป็นมาของการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ก่อให้เกิดความรักและภาคภูมิใจในความเป็นไทย ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรม  


ธรรมาภิมณฑ์ (ถึก จิตรกถึก), หลวง, 2401-2471.  โคลงนิราศวัดรวก.  พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2466.


องค์ความรู้ : สำนักหอสมุดแห่งชาติ เรื่อง พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ โดย นายจุง ดิบประโคน นักภาษาโบราณชำนาญการพิเศษ



          พิพิธภัณฑ์ไทยถือกำเนิดมาตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2417 ตลอดระยะเวลา 149 ปี พิพิธภัณฑ์ในฐานะสถาบันแห่งการอนุรักษ์มรดกอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติ แหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตและแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ได้แสดงบทบาทให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่มีคุณภาพมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้ ในปีพุทธศักราช 2538 คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเห็นชอบประกาศให้วันที่ 19 กันยายนของทุกปี เป็นวันพิพิธภัณฑ์ไทย           เนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย 2566 (Thai Museum Day 2023) กรมศิลปากร โดยสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ร่วมกับเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ไทย จึงจัดกิจกรรมเพื่อสังคมในมิติของความยั่งยืน ภายใต้หัวข้อ “การจัดการคลังและวัตถุพิพิธภัณฑ์สู่ความยั่งยืน” ด้วยเล็งเห็นว่าคลังพิพิธภัณฑ์และวัตถุพิพิธภัณฑ์เป็นหัวใจสำคัญของพิพิธภัณฑ์ การดูแลบริหารคลังพิพิธภัณฑ์และวัตถุพิพิธภัณฑ์อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเปรียบเสมือนการสร้างความยั่งยืนแก่มรดกทางวัฒนธรรมของชาติและสังคม ภายในงานนี้ท่านจะได้พบกับกิจกรรมหลากหลายจากเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ไทยทั่วประเทศ > นิทรรศการ “Museum Unveiling” เรื่องลึก เบื้องหลังพิพิธภัณฑ์ไทย  : พบกับวัตถุหาชมยาก เรื่องราวเชิงลึกของวัตถุพิพิธภัณฑ์ที่ไม่เคยเปิดเผย และเบื้องหลังความสมบูรณ์แบบของวัตถุพิพิธภัณฑ์จากหลายพิพิธภัณฑ์ > พิพิธภัณฑ์เสวนา (Museum Talk) หัวข้อ”การจัดการคลังและวัตถุพิพิธภัณฑ์สู่ความยั่งยืน”  : การบรรยายแลกเปลี่ยนองค์ความรู้จากผู้บริหารระดับสูงและนักวิชาชีพพิพิธภัณฑ์ในหลายมิติ ได้แก่ Museum Technology เทคโนโลยีการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ ,Collection Care การดูแลรักษาวันถุพิพิธภัณฑ์,  Storage Engagement ถอดบทเรียนจากการบริหารจัดการคลังช่วงวิกฤตโควิด, Museum Storage มองคลังคนละมุม โดยสามารถรับชมการถ่ายทอดสด Facebook Live : Office of National Museum, Thailand> กิจกรรมเวิร์คช็อปการอนุรักษ์วัตถุพิพิธภัณฑ์ (Conservation Lab)  : พบการสาธิตการอนุรักษ์วัตถุพิพิธภัณฑ์จากนักอนุรักษ์มืออาชีพ พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้สนใจได้ลงมือปฏิบัติและเรียนรู้ด้วยตัวเอง (สำรองที่นั่งได้ที่ https://shorturl.at/lpAJ4 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าร่วมแต่ละกิจกรรม วันที่ 14 กันยายน 2566 *ขยายเวลา) > การออกร้านจากเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ (Museum Fair)  : พบสินค้าและนวัตกรรมต่อยอดจากพิพิธภัณฑ์ ต้นแบบความสำเร็จตามแนวเศรษฐกิจสร้างสรรค์           กิจกรรมเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย 2566 (Thai Museum Day 2023) ในหัวข้อ “การจัดการคลังและวัตถุพิพิธภัณฑ์สู่ความยั่งยืน” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-19 กันยายน 2566 ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ติดตามรายละเอียดกิจกรรมและสอบถามเพิ่มเติมได้ทาง Facebook: Office of National Museums, Thailand


องค์ความรู้ทางวิชาการ ชุด อิทธิพลจีนในภาคใต้ ตอน เครื่องถ้วยจีน          เครื่องถ้วย....คือ คำเรียกเครื่องปั้นดินเผา ตรงกับภาษาอังกฤษว่า เซรามิกส์ (Ceramics)  คือการทำขึ้นโดยมีดิน เป็นส่วนประกอบหลัก สามารถแบ่งออกได้เป็น ๓ ชนิด ตามลักษณะของเนื้อดิน และอุณหภูมิที่ใช้เผา ได้แก่  ๑. เนื้อดินธรรมดา (Earthenware) เป็นเครื่องปั้นดินเผาเนื้อหยาบ เนื้อดินสีแดง เผาในอุณหภูมิต่ำ ราว ๘๐๐ - ๙๐๐ องศา  ๒. เนื้อดินแกร่ง (Stoneware) เป็นเครื่องปั้นดินเผาที่มีส่วนผสมของหินจำพวกซิลิกาปนอยู่เกินครึ่งหนึ่ง เผาในอุณหภูมิสูง ๑๑๙๐ - ๑๓๙๐ องศา ๓. เครื่องถ้วยเนื้อดินชนิดพอร์สเลน (Porcelain)  หรือเนื้อกระเบื้อง เป็นเครื่องถ้วยที่ต้องเตรียมดินขึ้นเป็นพิเศษ มีส่วนผสมของหินควอตซ์ (หินฟันม้า) ดินเกาลิน ดินเหนียวขาว (ball clay) และวัตถุอื่นๆ เมื่อเผาสุกตัวจะมีสีขาว และโปร่งแสง โดยเผาในอุณหภูมิตั้งแต่ ๑,๒๕๐ องศาเซลเซียส ขึ้นไป    เครื่องถ้วยจีน.....จดหมายเหตุจีน กล่าวว่า มีชาวจีนเดินทางเข้ามาติดต่อกับดินแดนในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจีนเรียกว่า “ประเทศในแถบทะเลจีนใต้” มาเป็นเวลากว่าพันปีแล้ว รวมทั้งดินแดนของประเทศไทยในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นแหล่งกำเนิดของสมุนไพร ของป่า และเครื่องเทศ ซึ่งชาวจีนใช้ปรุงยาและประกอบอาหาร           ด้วยสภาพภูมิประเทศบริเวณคาบสมุทรภาคใต้ อันมีลักษณะเป็นคาบสมุทรยื่นขนาบด้วยชายทะเลทั้งสองฝั่งมีอ่าวและแหลมยื่น ซึ่งเป็นลักษณะทางภูมิประเทศที่เหมาะสำหรับการเดินเรือ และเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญในเส้นทางการค้าทางทะเล เนื่องจากเป็นสถานที่เหมาะสมสำหรับการพักสินค้าและพบปะระหว่างพ่อค้าจีนกับพ่อค้าอินเดีย ซึ่งต่างก็อาศัยลมมรสุมเดินทางมาพบกันครึ่งทาง จึงทำให้พื้นที่บริเวณภาคใต้มีการค้นพบเครื่องถ้วยจีนจากแหล่งโบราณคดีต่างๆจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่พบตามแหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งหลุมฝังศพ แหล่งเรืออับปาง และแหล่งศาสนสถานบริเวณฐานของโบสถ์หรือวิหาร ซึ่งเป็นที่ฝังภาชนะที่ทำหน้าที่การใช้งานเป็นโกศบรรจุอัฐิของผู้ตาย หรือเป็นของอุทิศบรรจุไว้ในโถหรือไหพร้อมกับสิ่งของอื่นๆ เช่น เครื่องใช้หรือเครื่องประดับที่ทำด้วยสำริด เงิน หรือทอง เพื่ออุทิศให้แก่ผู้ตาย หรือบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาตามความเชื่อถือทางศาสนาพุทธ และมักพบร่วมกับโบราณวัตถุอื่นๆ อยู่เสมอ ทั้งในสภาพสมบูรณ์และสภาพแตกหัก (ณัฐพงษ์ แมตสอง, ๒๕๕๖)           จากการสำรวจและขุดค้นของกรมศิลปากร ได้มีการค้นพบเครื่องถ้วยจีน โดยเครื่องถ้วยจีนที่พบส่วนใหญ่มีอายุตั้งแต่ปลายสมัยราชวงศ์ถังลงมา ราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๔ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๙)  โดยเฉพาะจากแหล่งโบราณคดีที่สำคัญ ๒ แหล่ง คือ แหล่งโบราณคดีแหลมโพธิ์ ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และแหล่งโบราณคดีเหมืองทอง ตำบลเกาะคอเขา อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา นอกจากนั้นได้ค้นพบเครื่องถ้วยจีนกระจายอยู่ในหลายแหล่งโบราณคดีในพื้นที่คาบสมุทรภาคใต้ รวมไปถึงในเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของการส่งออกเครื่องถ้วยในราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๔ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๙)  โดยอาศัยการเดินเรือและการค้าทางทะเล ที่สามารถเชื่อมต่อชุมชนโบราณของทั้งสองฝั่งทะเลผ่านเส้นทางข้ามคาบสมุทร (ปริวรรต ธรรมาปรีชากร, มปพ)   ++ เครื่องถ้วยจีนที่ค้นพบในภาคใต้แบ่งออกเป็น ๖ สมัย ได้แก่ ๑. ปลายสมัยราชวงศ์ถังถึงสมัยห้าราชวงศ์ ๒. สมัยราชวงศ์ซ่ง ๓. สมัยราชวงศ์เยวี๋ยน (หยวน) ๔. สมัยราชวงศ์หมิง ๕. สมัยราชวงศ์ชิง ๖. สมัยสาธารณรัฐ   เรียบเรียง :  นางสาวจุตินาฏ บวรสาโชติ นักโบราณคดีชำนาญการ   นางสาวอนุธิดา ส่งบำเพ็ญ และ นางสาวลัดดาวัลย์ สุวรรณคีรี นักวิชาการวัฒนธรรม กราฟฟิก : นางสาวอนุธิดา ส่งบำเพ็ญ  กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช        อ้างอิง :  ปริวรรต ธรรมาปรีชากร. (มปพ). ความรู้ใหม่เกี่ยวกับการกำหนดอายุและแหล่งผลิตของเครื่องปั้นดินเผาจีน ที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย, เอกสารอัดสำเนา  ปิยชาติ สึงตี. (๒๕๕๐). การศึกษาเปรียบเทียบบทบาทของเมืองท่าปัตตานี นครศรีธรรมราช สงขลา ระหว่าง พ.ศ. ๒๑๓๓ – ๒๒๓๑.  สำนักศิลปากรที่ ๑๔ นครศรีธรรมราช. (๒๕๕๖). เอกสารประกอบการสัมมนาการประชุมสัมมนาถวายความรู้แด่พระสังฆาธิการและฆราวาสผู้สนับสนุนวัด. นครศรีธรรมราช : สำนักศิลปากรที่ ๑๔ นครศรีธรรมราช กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. Li Pingshun. (๒๕๔๙). เครื่องถ้วยจีน การสำรวจขุดค้นในประเทศไทย. เอกสารอัดสำเนา. (ม.ป.ท.)   ที่มาภาพ : สำนักศิลปากรที่ ๑๔ นครศรีธรรมราช. (๒๕๕๖). เอกสารประกอบการสัมมนาการประชุมสัมมนาถวายความรู้แด่พระสังฆาธิการและฆราวาสผู้สนับสนุนวัด. นครศรีธรรมราช : สำนักศิลปากรที่ ๑๔ นครศรีธรรมราช กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม.



นาคทัณฑ์ - คันทวย ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่่ ๒๔ไม้แกะสลัก สูง ๑๖๕ ซม. กว้าง ๕๔ ซม.ย้ายมาจากวัดพระธาตุหริภุญชัยเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ นาคทัณฑ์ เป็นภาษาท้องถิ่นภาคเหนือ ส่วนในภาษาไทยภาคกลาง เรียกว่าคันทวย หมายถึงส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรม สำหรับค้ำยันรองรับส่วนของชายคา โครงสร้างเป็นแผ่นไม้ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก  สลักวและฉลุลวดลายอย่างวิจิตรงดงามนาคทัณฑ์หรือคันทวยนี้ เดิมคงเป็นส่วนประกอบของวิหารใดวิหารหนึ่ง                           ภายในวัดพระธาตุหริภุญชัย ด้วยเดิมประกอบด้วยวิหารที่สร้างจากไม้มีทั้งวิหารขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ต่อมาเมื่อมีการบูรณะวิหารเหล่านั้น ส่วนประกอบสถาปัตยกรรมบางประเภท         อย่างเช่น นาคทัณฑ์ หรือคันทวย ซึ่งเป็นส่วนรองรับหลังคาที่เสื่อมสภาพช้ากว่าส่วนประกอบอื่นๆ หลงเหลือไว้สำหรับศึกษารูปแบบทางลวดลาย เทคนิคทางเชิงช่างได้ นาคทัณฑ์ทรงสามเหลี่ยมมุมฉาก ส่วนบนเป็นชุดบัวหงาย สลักเป็นรูปตัวลวง เป็นสัตว์ที่มีลักษณะคล้ายนาค ลำตัวยาว มีหงอน มีเขา ปีก และเท้า จำนวน ๔ เท้า ปลายหางเป็นช่อกระหนก พื้นหลังสลักลายช่อพันธุ์พฤกษา ถัดลงมาเป็นชุดฐานบัวลูกแก้วออกไก่ กลีบบัวมีขนาดใหญ่ ส่วนล่างสุดสลักเป็นลายก้านขดในกรอบสามเหลี่ยมยาวตลอดปลายนาคทัณฑ์ ในศิลปะล้านนา พบว่ามีการประดับตัวลวงหรือพญาลวง ที่เป็นสัตว์มีรูปร่างยาวคล้ายงูหรือนาค  มีหงอน มีเครา ครีบ และที่สำคัญคือมีปีกและขา 4 ขา คำว่าลวง คงมีที่มาจากคำว่า หลง               ในภาษาจีนที่แปลว่ามังกร ตัวแทนของธาตุไฟ มีอำนาจเหนือธรรมชาติ และเป็นสัญลักษณ์ของความยิ่งใหญ่ โดยนำมาผสมผสานกับความเชื่อเรื่องนาคที่มีอยู่เดิม นิยมในงานช่างล้านนาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๒๑ ลงมา อ้างอิงปรัชญา เหลืองแดง. “มังกรจีนในงานประดับหลังคาพุทธสถานไทยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๔.” วิทยนิพน์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๖. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์, วิหารล้านนา กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ ๒๕๔๔


Messenger