ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ
องค์ความรู้ เรื่อง ย้อนตำนาน พันท้ายนรสิงห์ (ตอนแรก) จัดทำโดยนางสาวสุพรรษา ชำนาญ (นักวิชาการวัฒนธรรม) กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑ ราชบุรี
การจัดงานฉลองเป็นเวลา ๑ ปี ในวาระนี้จะมุ่งเน้นการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีอยุธยา แหล่งอารยธรรมสำคัญของภูมิภาคเอเชีย ซึ่งพระยาโบราณราชธานินทร์เป็นผู้บุกเบิกการอนุรักษ์และสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมของอยุธยาโดยการวางรากฐานการศึกษาโบราณคดีสมัยใหม่ การสร้างองค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี และการริเริ่มงานพิพิธภัณฑ์ในส่วนภูมิภาค จนทำให้อยุธยาได้รับการยอมรับในฐานะมรดกทางวัฒนธรรมของโลก ในการฉลองวาระนี้จะเป็นการส่งเสริมและเน้นย้ำให้ประชาคมโลกร่วมกันปกป้อง ส่งเสริม และถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมสู่คนรุ่นต่อไปอย่างเข้มแข็งมั่นคง รวมทั้งสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมทั่วโลกให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งจะส่งผลไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนของแต่ละประเทศและสังคมโลกสืบไป
ประเภทของกิจกรรม
วันที่ดำเนินการ
(ตามกรอบเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของวาระ)
๑. การสัมมนาระดับนานาชาติ เรื่อง ๑๕๐ ปี การจัดการสงวนรักษาโบราณสถาน โบราณวัตถุ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม พระนครศรีอยุธยา
กุมภาพันธ์ - มีนาคม ๒๕๖๕
๒. นิทรรศการและเสวนา ๑๕๐ ปีชาตกาลพระยาโบราณราชธานินทร์ใน ๔ ภูมิภาค
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ - กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖
๓. เรียบเรียงและจัดพิมพ์ ผลงานวิชาการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และโบราณคดี (ภาษาไทย-อังกฤษ)
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ - กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖
๔. จัดนิทรรศการ ๑๕๐ ปี ชาตกาล พระยาโบราณราชธานินทร์ในทุกจังหวัด
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ - กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖
๕. จัดทำสารคดีเผยแพร่ประวัติและผลงาน (ภาษาไทย - อังกฤษ)
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ - กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖
๑. จัดนิทรรศการเผยแพร่ประวัติและผลงานของพระยาโบราณราชธานินทร์
(สถานที่จัด : ญี่ปุ่น, จีน, ลาว, เมียนมา)
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ - กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖
ชื่อเรื่อง กาพย์ปู่สอนหลาน แล หลานสอนปู่ผู้แต่ง พระพุทธโฆษาจารย์ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ วรรณกรรมเลขหมู่ 895.91111 พ419กสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์กิมหลีหงวนปีที่พิมพ์ 2469ลักษณะวัสดุ 46 หน้า หัวเรื่อง กวีนิพนธ์ไทย ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก เนื้อหาภายในประกอบด้วยคำกลอนโบราณ เป็นสุภาษิตโบราณของลาว กาพย์ปู่สอนหลานและหลานสอนปู่จึงนับว่าเป็นกวีนิพนธ์เก่าแก่ที่มีบทบาทสร้างสรรค์ระบบชีวิตและสังคมบนรากฐานของคุณธรรมความดีงาม ความรัก ความเข้าใจและความจริงของกลุ่มชนไทย-ลาวอย่างแท้จริง
เลขทะเบียน : นพ.บ.118/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 66 หน้า ; 4.7 x 57 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 66 (209-213) ผูก 5 (2564)หัวเรื่อง : สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (พระวิภงฺคปกรณา-พระสมนฺต มหาปฎฺฐาน)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ขอมภาษา : บาลี-ไทยบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อผู้แต่ง กระทรวงศึกษาธิการ
ชื่อเรื่อง โคลงนิราศนรินทร์
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๔
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์คุรุสภา
ปีที่พิมพ์ ๒๔๙๙
จำนวนหน้า ๓๗ หน้า
หมายเหตุ
หนังสือโคลงนิราศนรินทร์นี้ กระทรวงธรรมการได้จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งการศึกษาทางหนึ่ง เป็นหนังสือชั้นเยี่ยมได้เล่มหนึ่ง แม่จะมีข้อความซึ่งเกี่ยวกับสังวาสอยู่มากก็จริง แต่ความไพเราะ สำนวนโวหารและระเบียบการประพันธ์เป็นอย่างเยี่ยม
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทศนา (เทศนาสังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.1/1-1
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.17/1-3
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง : ซุยถัง เล่ม 5 ชื่อผู้แต่ง : -ปีที่พิมพ์ : 2510 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ : องค์การค้าของคุรุสภาจำนวนหน้า : 334 หน้า สาระสังเขป : ซุยถัง เป็นพงศาวดารจีนที่ได้รับการแปลเป็นภาษาไทย โดยเรื่องราวเกิดในสมัยกษัตริย์จีนราชวงศ์ซุย และราชวงศ์ถังตอนต้น (พ.ศ. 1132-1161) เรื่องราวบอกเล่าเหตุการณ์ช่วงราชวงศ์ซุยแผ่นดินเกิดการจลาจล เหล่าผู้กล้าต่างรวมตัวต่อต้านราชวงศ์ซุย โดยในเล่มนี้เป็นเรื่องราวซุยถังในตอนที่ 5
โบราณสถานพุหางนาค หมายเลข ๒ เป็นเจดีย์สมัยทวารวดีที่ตั้งอยู่บนเทือกเขารางกะปิด ในพื้นที่บ้านเขาพระ ตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี สภาพปัจจุบันเหลือเพียงส่วนฐานก่ออิฐรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนกัน ๓ ชั้น ตั้งอยู่บนพื้นหินที่เกิดจากการนำหินธรรมชาติมาถมปรับพื้นที่เพื่อรับน้ำหนักเจดีย์และเป็นลานประกอบกิจกรรม พบร่องรอยการก่อสร้างซ้อนทับกัน ๒ สมัย จากการขุดแต่งพบโบราณวัตถุที่เป็นส่วนประกอบของเจดีย์ได้แก่อิฐและศิลาแลง พระพิมพ์ดินเผาประดับศาสนาสถาน ทั้งยังพบภาชนะดินเผาจำนวน ๓ ใบบรรจุโบราณวัตถุเนื่องในศาสนา ฝังอยู่ในพื้นหินที่ตั้งของโบราณสถาน ในภาชนะดินเผาใบหนึ่งพบพระพิมพ์ดินเผามีจารึกอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๕ (ประมาณ ๑,๑๐๐ – ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว) ระบุนามกษัตริย์ผู้สร้างพระพิมพ์ จึงสันนิษฐานว่าโบราณสถานแห่งนี้เป็นศาสนสถานที่สร้างขึ้นโดยกษัตริย์หรือชนชั้นปกครอง เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาตามคติความเชื่อเรื่องการสร้างบุญกุศล มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๕ ต่อมาเจดีย์องค์นี้พังทลายลง จึงมีการสร้างเจดีย์สมัยที่ ๒ ครอบทับ โบราณวัตถุสำคัญที่พบได้แก่ พระพิมพ์ดินเผามีจารึก พระพิมพ์ดินเผาปิดทองคำเปลว พระพุทธรูปสำริดปางสมาธิ แผ่นตะกั่วรูปพระโพธิสัตว์และแผ่นตะกั่วรูปสตรี ปัจจุบันโบราณวัตถุเหล่านี้จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง -----------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี-----------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง ปรัชญา รุ่งแสงทอง. ผลการขุดแต่งโบราณสถานพุหางนาคหมายเลข ๒ กับการตอบคำถามเรื่อง “หินตั้ง”ที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. พุหางนาคและคอกช้างดินร่องรอยพุทธและพราหมณ์บนเขาศักดิ์สิทธิ์. สมุทรสาคร:บางกอกอินเฮ้าส์, ๒๕๖๑. รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. พระพุทธรูปและพระพิมพ์ทวารวดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๒.
ก่อร่างสร้างตึก ตึกเดชะปัตตนยานุกูลหรือตึกขาวสร้างขึ้นเมื่อพ.ศ. ๒๔๖๕ โดยมหาเสวกโทพระยาเดชานุชิต สยามิศร์ภักดีพิริยะพาหะ (หนา บุนนาค) สมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลปัตตานี และคุณหญิงเดชานุชิต(แหม่ม) ได้ชักชวนบรรดาข้าราชการ พ่อค้า และราษฎร บริจาคเงินรวมเข้ากับเงินบำรุงการศึกษารวมเป็นเงิน ๑๒๕,๐๐๐ บาท เพื่อสร้างอาคารเรียนถาวรหลังแรกของโรงเรียนสตรีปัตตานีที่เริ่มเปิดสอนมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๕๖ //กำเนิดชื่อ “ตึกเดชะปัตตนยานุกูล” เมื่อการก่อสร้างใกล้แล้วเสร็จ มหาอำมาตย์ตรีพระยาเดชานุชิต สมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลปัตตานี มีหนังสือถึงเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เสนาบดีกระทรวงธรรมการ แจ้งการสร้าง ตึก ๒ ชั้นขนาดกว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๑๔ เมตร แบ่งเป็นห้องเรียน ๘ ห้อง โดยมีกำหนดเปิดและทำบุญฉลองราวต้นเดือนตุลาคม ๒๔๖๕ ขอให้กระทรวงตั้งนามตึกนี้ด้วย และเสนาบดีให้ใช้ชื่อว่า "เดชะปัตตนยานุกูล" โดยมีที่มาจากคำว่า เดชา + ปัตนะ + อนุกูล แต่ชาวเมืองเรียกอาคารหลังนี้ว่า "ตึกขาว" ตามลักษณะของอาคารซึ่งมีผนังสีขาวทั้งหลัง และในครั้งนั้นได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนสตรีปัตตานีเดชะปัตตนยานุกูล ตึกขาวกับการศึกษา ตึกเดชะปัตตนยานุกูลได้ใช้เป็นอาคารเรียนของนักเรียนโรงเรียนสตรีปัตตานีเดชะปัตตนยานุกูล ตั้งแต่พ.ศ.๒๔๕๖ – ๒๔๘๖ หลังจากนั้นเมื่อมีการย้ายที่ตั้งของโรงเรียนสตรีปัตตานีเดชะปัตตนยานุกูล ไปยังที่ตั้งในปัจจุบันแล้ว ตึกหลังนี้ได้ใช้เป็นที่ตั้งของหน่วยยุวชนทหาร ที่ทำการศึกษานิเทศก์จังหวัดปัตตานี และสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดปัตตานี ตามลำดับ การขุดค้นทางโบราณคดี กรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีที่ตึกขาวในพ.ศ.๒๕๖๐ ผลการขุดค้นพบว่า อาคารหลังนี้ เป็นอาคารแบบตะวันตกก่ออิฐถือปูน ๒ ชั้น ขนาดกว้าง ๑๐.๒๐ เมตร ยาว ๑๔.๗๐ เมตร ระดับพื้นดินใช้งานเดิมตึกขาวอยู่ลึกลงไปในดินอีกราว ๙๐ เซนติเมตร และลึกลงไปเป็นชั้นถมอัดด้วยดินเหนียวและเศษอิฐหักซึ่งเป็นกิจกรรมการถมและบดอัดพื้นที่เมื่อครั้งก่อสร้างตึกขาว ในพ.ศ.๒๔๖๕ ชั้นดินนี้หนาประมาณ ๔๐ เซนติเมตร ในส่วนของอาคารนั้นบริเวณประตูทางเข้าซึ่งหันไปทางทิศทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีบันไดปูนประกอบชุดพนักบันได ๑ ชุด โดยหน้าบันไดกว้าง ๒.๕๐ เมตรสอบเข้า ช่องประตูกว้าง ๑.๘๕ เมตร มีขั้นบันได ๔ ขั้น ลูกบันไดกว้างขั้นละ ๓๐ เซนติเมตร เป็นทางขึ้นอาคาร นอกจากนี้ยังพบการเจาะช่องระบายอากาศบนผนังส่วนล่างรอบอาคารจำนวนทั้งสิ้น ๑๗ ช่อง ประกอบด้วยช่องด้านหน้าและด้านข้างฝั่งละ ๔ ช่อง ส่วนด้านหลังพบจำนวน ๕ ช่อง โดยสันนิษฐานว่าอาจจะมีอีก ๑ ช่องแต่ถูกปิดไปโดยบันไดที่สร้างขึ้นภายหลังแล้ว ทั้งนี้ตำแหน่งช่องระบายอากาศเหล่านี้จะอยู่ตรงกับช่องหน้าต่างทุกช่อง นอกจากนี้ยังพบร่องรอยการตอกเสาเข็มไม้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๐ เซนติเมตร แล้ววางอิฐเป็นฐานรากอาคาร ก่อขึ้นไปเป็นผนังก่อนที่จะวางโครงสร้างไม้ที่สานเป็นพื้น เสา และโครงสร้างหลังคาด้านบน การบูรณะตึกขาว เมื่อสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดปัตตานี ย้ายไปยังที่ตั้งใหม่ ตึกขาวไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาใช้พื้นที่อีก ทำให้ตึกขาวอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม ทั้งนี้ในปีงบประมาณ ๒๕๖๐ กรมศิลปากรได้รับอนุมัติงบประมาณ เพื่อดำเนินการบูรณะตึกขาว การดำเนินการแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม ๒๕๖๐ ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานตึกขาวในราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๑๖ ตอนพิเศษ ๗ง หน้า ๔ วันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๔๒ พื้นที่โบราณสถานประมาณ ๒ งาน ๖.๖๗ ตารางวา เรียบเรียงโดย I นายสารัท ชลอสันติสกุล นักโบราณคดีชำนาญการ I กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา-----------------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา https://www.facebook.com/fad11songkhla/posts/1356970881307738?notif_id=1611194509007805¬if_t=page_post_reaction&ref=notif