ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,380 รายการ




องค์ความรู้: สำนักหอสมุดแห่งชาติ เรื่อง: หนังสือรวมเพลง           หนังสือรวมเพลง เริ่มพบว่ามีจัดพิมพ์ออกจำหน่ายตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 2480 เป็นหนังสือที่รวบรวมเนื้อเพลงที่ได้รับความนิยมจากสื่อต่าง ๆ เช่น แผ่นเสียง ละคร ภาพยนตร์ รำวง วิทยุ ฯลฯ มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป บ้างเรียกสมุดเพลง ชุมนุมเพลง สมุดบทเพลงร้อง เป็นต้น โดยส่วนใหญ่มักเป็นการรวมเพลงเอกที่ได้รับความนิยมของนักแต่งเพลงและศิลปินที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น เช่น นารถ ถาวรบุตร์, ชลอ ไตรตรองศร, ล้วน ควันธรรม, ป. ชื่นประโยชน์, สมยศ ทัศนพันธ์ เป็นต้น เนื้อหาภายในเล่มนำเสนอเนื้อเพลงและโน้ตเพลง พร้อมชื่อผู้ประพันธ์เพลงและผู้ขับร้อง หากบทเพลงนั้นนำมาจากแผ่นเสียง ละคร หรือภาพยนตร์ก็จะมีรายละเอียดข้อมูลดังกล่าวประกอบด้วย            ต่อมาในช่วงต้น พ.ศ. 2500 หนังสือรวมเพลงได้มีการพัฒนาเนื้อหาภายในเล่มมากขึ้น โดยมีรูปแบบคล้ายสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องประเภทนิตยสาร นอกจากจะรวบรวมเนื้อเพลงที่ได้รับความนิยมในขณะนั้น ยังมีการนำเสนอคอลัมน์ต่าง ๆ ที่น่าสนใจ เช่น รายงานผลการจัดอันดับเพลงยอดนิยมในรอบเดือน โน้ตเพลงฉบับสมบูรณ์ แนะนำครูเพลงและศิลปิน ปกิณกะด้านดนตรีที่น่าสนใจ ทฤษฎีโน้ตสากลเบื้องต้น ตลอดจนบอกเล่าข่าวสารต่าง ๆ ในแวดวงดนตรี พร้อมภาพประกอบสี่สีสวยงามของนักร้องที่มีชื่อเสียง นอกจากนี้ยังมีคอลัมน์ที่ผู้อ่านสามารถมีส่วนร่วมได้ เช่น การตอบปัญหาเพลง การส่งคำถามเกี่ยวกับศิลปินหรือขอให้จัดพิมพ์บทเพลงที่ต้องการถึงกองบรรณาธิการ และการหาเพื่อนทางจดหมายผ่านหนังสือรวมเพลง หนังสือรวมเพลงไทยสากลที่มีรูปแบบดังกล่าว เช่น เพลงกล่อมจิต และชาวเพลง สำหรับหนังสือรวมเพลงสากลมีด้วยกันหลายปก เช่น MR.HITS, CURRRENT SONG HITS, IMPRESSIVE SONGS เป็นต้น            ผู้เขียนขอกล่าวถึงหนังสือรวมเพลงสากล IMPRESSIVE SONGS ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในยุคนั้น และพัฒนามาเป็นหนังสือรวมเพลงในปัจจุบัน จัดทำโดย เล็ก วงศ์สว่าง นักจัดรายการวิทยุชื่อดัง โดยหนังสือเพลงของเล็กแตกต่างจากหนังสือเพลงเล่มอื่น ๆ ที่ขายในท้องตลาด คือ มีเล่มเล็กขนาดเท่าฝ่ามือ สะดวกในการพกพา ต่อมาขยายขนาดเล่มให้ใหญ่ขึ้นตามลำดับ พร้อมกับเปลี่ยนชื่อหนังสือเป็น I.S. Song Hits เพื่อให้เรียกง่ายขึ้น ปัจจัยที่ทำให้หนังสือรวมเพลงเล่มนี้ได้รับความนิยม คือ คุณภาพและความรวดเร็วในการจัดทำ นอกจากนี้ยังใช้กลยุทธ์การแจกโปสเตอร์ศิลปินตามปกหนังสือ เพื่อเป็นการคืนกำไรให้กับผู้ซื้อ ต่อมาได้เริ่มมีการนำคอร์ดกีตาร์เข้ามาใส่ในเนื้อเพลง จนถึง พ.ศ. 2512 เมื่อกระแสเพลงป๊อปของไทยเริ่มได้รับความนิยม เกิดวงสตริงใหม่ ๆ หลายวง จึงได้เปิดตัว THE GUITAR ซึ่งเป็นหนังสือรวมเนื้อเพลงไทยพร้อมคอร์ดกีตาร์ ภายในเล่มมีวิธีการจับคอร์ดขั้นพื้นฐานสำหรับการฝึกด้วยตนเอง หนังสือเล่มนี้จึงเปรียบเสมือนเป็นครูดนตรีฉบับกระเป๋าที่ได้รับความนิยมในหมู่วัยรุ่นมายาวนานหลายทศวรรษจนถึงปัจจุบัน            หนังสือรวมเพลง นอกจากจะช่วยให้คนรักดนตรีสามารถนำไปฝึกร้องหรือเล่นดนตรีได้ด้วยตนเอง ทำให้เกิดความรื่นรมย์และความเพลิดเพลินใจแล้ว ยังเป็นสิ่งที่บันทึกความเป็นไปของวงการเพลงไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยสะท้อนให้เห็นถึงความนิยมในบทเพลงของแต่ละยุคสมัย ตลอดจนความเคลื่อนไหว และข่าวสารในแวดวงดนตรีของไทยอีกด้วย ------------------------------------------------ เอกสารอ้างอิง ปรมาจารย์หนังสือเพลง...เบื้องหลังนักสร้างคนดนตรี : เล็ก วงศ์สว่าง – เพจยอดมนุษย์คนธรรมดา.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2566, จาก: https://today.line.me/th/v2/article/3YlnOB    เรียบเรียงโดย: นางสาวปริศนา ตุ้มชัยพร บรรณารักษ์ชำนาญการ  ถ่ายภาพประกอบโดย: นายเอก เจียมพุก นักวิชาการโสตทัศนศึกษา หอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิรินธร สำนักหอสมุดแห่งชาติ  


"วัดศรีมงคล"  จิตรกรรมฝาผนัง เขียนด้วยเทคนิคสีฝุ่น ภายในอุโบสถ เขียนเล่าเรื่องราว"ทศชาติชาดก"และผนังภายนอก(ด้านหน้าอุโบสถ)เขียนเล่าเรื่องราว"พุทธประวัติ" พร้อมสอดแทรกวัฒนธรรมวิถีชีวิตของชาวชุมชนไว้ได้เป็นอย่างดี  วัดศรีมงคล บ.นาทราย ต.วังบาล อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์เนมิราชชาดกเนมิราชชาดกแคน เป็นเครื่องดนตรี ชนิดหนึ่งของชาวลาววิถีชีวิตการทอดแหหาปลาวิถีชีวิตการทอดแหหาปลาพระประธานภายในอุโบสถจิตรกรรมผนังด้านหลังองค์พระประธาน เล่าเรื่องเวสสันดรชาดก จิตรกรรมฝาผนังด้านซ้ายมือองค์พระประธาน เล่าเรื่อง "เตมีย์ชาดก" "มหาชนกชาดก" "สุวรรณสามชาดก" ตามลำดับจากซ้ายไปขวา จิตรกรรมฝาผนังด้านหน้าองค์พระประธาน เล่าเรื่อง "เนมิราชชาดก" "มโหสถชาดก" "ภูริฑัตชาดก" ตามลำดับจากซ้ายไปขวา จิตรกรรมฝาผนังด้านขวามือองค์พระประธาน เล่าเรื่อง "จันทกุมารชาดก" "พรหมนราทชาดก" "วิธุรชาดก" ตามลำดับจากซ้ายไปขวาจิตรกรรมผนังด้านหลังองค์พระประธาน เล่าเรื่องเวสสันดรชาดก จิตรกรรมฝาผนังภายนอก(ด้านหน้า) เล่าเรื่อง "พุทธประวัติ" "ผจญมาร" "โปรดชฎิลสามพี่น้อง" "โปรดพุทธมารดา"พระธาตุ ด้านหลังอุโบสถด้านหลังอุโบสถคันทวย งานจำหลักไม้มวยผม สาวเมืองหล่มซิ่นหัวแดงตีนก่าน ผ้าถุงเอกลักษณ์ของสาวชาวเมืองหล่ม ด้านหน้าอุโบสถ      




           ต้อนรับเทศกาลวาเลนไทน์ ไปกับรายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “๑๐ โบราณวัตถุ เสริมดวงความรัก ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร” ที่จะพาท่านผู้ชมไปรับพลัง รับพร พร้อมแนะนำโบราณวัตถุเสริมดวงความรัก กับวิทยากรมากความสามารถ อย่าง ศุภวรรณ นงนุช ภัณฑารักษ์ชำนาญการ จากสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ดำเนินรายการโดย สิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๘ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๗ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น.  งานนี้ใครอยากปั๊วะปัง...เรื่องความรัก ต้องไม่พลาดชม...!!            ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร




เชียงคาน เชียงใจ กับเส้นทางสายบุญ EP.3 ไหว้สิมโบราณวัดมหาธาตุ      วัดเก่าแก่      มีเสนาสนะที่สำคัญหลายรายการ      อยู่ใกล้ถนนคนเดิน⋯⋯✧⋯⋯✧⋯✦⋯✧⋯⋯✧⋯⋯สอบถามหรือแจ้งข้อมูลโบราณสถานโทร. :  043-242129 Line : finearts8kk E-mail : fad9kk@hotmail.comTiktok : สำนักศิลปากรขอนแก่นพื้นที่ในความรับผิดชอบขอนแก่น บึงกาฬ เลย สกลนคร หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี#สิม #เลย #ความรู้ #สำนักศิลปากรที่8ขอนแก่น #กรมศิลปากร #โบราณสถาน #เส้นทางสายบุญ #สิมริมโขงเชียงคาน #สิม #สิมโบราณ #คนไทยเลย #เลยก๋อ #เชียงคานเชียงใจ


           18 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันพิพิธภัณฑ์สากล (International Museum Day) โดยแนวคิดวันพิพิธภัณฑ์สากลประจำปี 2567 นี้คือ “Museums for Education and Research” พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาและวิจัย เพื่อเน้นย้ำบทบาทสำคัญขององค์กรทางด้านวัฒนธรรมในการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ ผลักดันให้เกิดโลกที่มีจิตสำนึก ความยั่งยืน และมีส่วนร่วมมากขึ้น             สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ (ICOM Thailand) จึงได้ออกแบบโปสเตอร์เพื่อร่วมเฉลิมฉลองวันพิพิธภัณฑ์สากลของปีนี้ โดยได้รับแรงบันดาลไทยจากโปสเตอร์ต้นฉบับที่ใช้ตัว “M” ที่แสดงถึงคำว่า Museum และใช้ “พ” ซึ่งเป็นตัวอักษรไทยที่มาจากคำว่า “พิพิธภัณฑ์” เพื่อสื่อความหมายถึงพิพิธภัณฑ์ไทย พร้อมเทคนิคแสงสีแบบสเปกตรัม เพื่อแสดงถึงความรู้อันหลากหลายที่พิพิธภัณฑ์ได้สร้างสรรค์ให้กับโลกใบนี้  นอกจากนี้ ยังได้จัดกิจกรรมเฉลิมฉลองวันพิพิธภัณฑ์สากล เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ที่ผ่านมา โดยมีผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานด้านพิพิธภัณฑ์ รวมทั้งผู้มีส่วนสนับสนุนการศึกษาพิพิธภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆ มาถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ เบื้องหลังแนวทางการสร้างสรรค์กิจกรรมทางการศึกษาของพิพิธภัณฑ์ที่หลากหลาย รับชมได้ทาง https://www.youtube.com/watch?v=6QqwUtOeH3o&t=1s             วันพิพิธภัณฑ์สากลในปีนี้ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จึงอยากเชิญชวนเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ไทยมาร่วมกันสร้างโลกแห่งการแบ่งปันประสบการณ์เรียนรู้และมีส่วนร่วมกับสังคมไทยให้มากยิ่งขึ้น






นิตยสารศิลปากร ฉบับที่ 5 ก.ย. - ต.ค. พ.ศ.2543


Messenger