ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,399 รายการ

     ตราดินเผารูปเรือ       จากเมืองโบราณอู่ทอง      ตราดินเผารูปเรือ พบบริเวณเมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดงห้องบรรพชนคนอู่ทอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง      ตราดินเผาทรงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๓.๕ เซนติเมตร มีรอยประทับเป็นเส้นโค้งและเส้นตรงตัดไขว้กัน สันนิษฐานว่าเป็นสัญลักษณ์รูปเรือ โดยเส้นโค้ง ๒ เส้นด้านล่างเป็นกราบเรือและท้องเรือ เส้นตรงที่กึ่งกลางเป็นเสากระโดง ๑ ต้น เส้นทแยงอาจเป็นเชือกผูกเสากระโดง หรือใบเรือ ด้านหลังของตราดินเผามีที่จับทรงกรวยซึ่งชำรุดส่วนปลายหักหายไป      ตราดินเผานี้ เป็นหลักฐานหนึ่งที่แสดงถึงรูปแบบของเรือ และการเดินเรือเข้ามาติดต่อแลกเปลี่ยนของชาวต่างชาติจากดินแดนห่างไกล ซึ่งสันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายเรื่อยมาจนถึงสมัยทวารวดี นอกจากตราดินเผาชิ้นนี้แล้ว ยังพบหลักฐานงานศิลปกรรมสมัยทวารวดีที่เกี่ยวข้องกับเรือและการเดินเรือ ได้แก่       ๑. ตราดินเผารูปเรือ พบจากเมืองนครปฐมโบราณ จังหวัดนครปฐม แสดงภาพเรือแบบมีเสากระโดง ๑ ต้น เชือกผูกเสากระโดง ๒ เส้น บนยอดเสากระโดงมีธง ใบเรือรูปโค้งตรงหัวเรือ ๑ ใบ และมีคนดึงเชือกที่หัวเรือและถือหางเสือที่ท้ายเรือ ลายคลื่นที่ใต้ท้องเรือ แสดงถึงการที่เรือกำลังเดินทางในทะเล       ๒. ภาพปูนปั้นเล่าเรื่องชาดก พบจากเจดีย์จุลประโทน จังหวัดนครปฐม แสดงภาพบุคคลนั่งภายในเรือที่มีเสากระโดงอยู่ตรงกลาง อาจเป็นเรื่องสุปปารกชาดกหรือสมุททวาณิชชาดก ซึ่งชาดกทั้ง ๒ เรื่อง มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับการเดินทางโดยเรือ       รูปแบบของเรือที่มีเสากระโดง ๑ ต้น ซึ่งปรากฏบนตราดินเผาจากเมืองโบราณอู่ทอง ตราดินเผาจากเมืองนครปฐมโบราณและภาพปูนปั้นจากเจดีย์จุลประโทนนี้ น่าจะเป็นเรือรูปแบบหนึ่ง ที่พ่อค้าและนักเดินทางชาวต่างชาติใช้เป็นพาหนะเดินทางเข้ามาติดต่อแลกเปลี่ยนกับคนพื้นเมืองในสมัยทวารวดี      ตราดินเผารูปเรือนี้ กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔ หรือประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว สันนิษฐานว่าอาจเป็นตราที่ผลิตขึ้นในท้องถิ่นโดยคนพื้นเมืองทวารวดี โดยใช้เรือที่พบเห็นเป็นต้นแบบและนำมาผลิตเป็นตราดินเผาในรูปอย่างง่าย เพื่อเป็นสัญลักษณ์ประจำตัวของบุคคลหรือกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับการค้าหรือการเดินเรือก็เป็นได้   เอกสารอ้างอิง รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. มรดก ๑,๐๐๐ ปี เก่าที่สุดในสยาม. นนทบุรี : มิวเซียมเพรส, ๒๕๕๖. อนันต์  กลิ่นโพธิ์กลับ. “การศึกษาความหมายและรูปแบบตราประทับสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๗.


สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร ขอเชิญร่วมกิจกรรมพิพิธภัณฑ์เสวนา ประจำปี 2564 ครั้งที่ 3 “ข้อมูลด้านโบราณคดีของปราสาทหนองหงส์และปราสาทเขาโล้น” วันอังคารที่ 10 สิงหาคม 2564 เวลา 13.00 เป็นต้นไป ในรูปแบบออนไลน์ผ่าน Facebook Live : Office of National Museum, Thailand ปาฐกถาพิเศษ โดย นายจารึก วิไลแก้ว รองอธิบดีกรมศิลปากร         หัวข้อ : การดำเนินงานด้านโบราณคดีในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว และจังหวัดบุรีรัมย์ การบรรยาย โดย นายสมเดช ลีลามโนธรรม หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย         หัวข้อ : การศึกษาด้านโบราณคดีของปราสาทหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ นายสิขรินทร์ ศรีสุวิทธานนท์ นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี         หัวข้อ : การศึกษาด้านโบราณคดีของปราสาทเขาโล้น จังหวัดสระแก้ว ดำเนินรายการ โดย นางกาญจนา โอษฐยิ้มพราย ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มวิจัย สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Facebook Page : Office of National Museums, Thailand


ชื่อเรื่อง                         สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฏฐาน)      สพ.บ.                           394/5หมวดหมู่                       พุทธศาสนาภาษา                           บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง                         พุทธศาสนา                                   ชาดก                                   เทศน์มหาชาติ                                   คาถาพันประเภทวัสดุ/มีเดีย           คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                   52 หน้า : กว้าง 4 ซม. ยาว 58.5 ซม. บทคัดย่อเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี





ชื่อเรื่อง                               มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (ทสพร-นครกัณฑ์) สพ.บ.                                 293/1ประเภทวัสดุมีเดีย                   คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                              พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                          34 หน้า กว้าง 5.1 ซ.ม. ยาว 56.9 ซ.ม. หัวเรื่อง                                พุทธศาสนา                                          ชาดก                                          เทศนา   บทคัดย่อ/บันทึก         เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับชาดทึบ-ลานดิบ-ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


ชื่อเรื่อง                                สุตตโสมชาตก (สุดทิสม) สพ.บ.                                  339/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           60 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 54 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                          บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


เลขทะเบียน : นพ.บ.162/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  52 หน้า ; 4.5 x 55 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องชาด ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 97 (35-48) ผูก 2 (2565)หัวเรื่อง : มหาวิภงฺคปาลิ, ปาจิตฺติปาลิ(บาฬีปาจิตตี)  --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทศนา (เทศนาสังคิณี-มหาปัฎฐาน)  ชบ.บ.46/1-6ข  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


มงฺคลตฺถทีปนี (มงฺคลตฺถทีปนี เผด็จมงคลสูตร)  ชบ.บ.88ค/1-33  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.209/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  88 หน้า ; 5 x 52 ซ.ม. : ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 110 (148-158) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : นิสัยทิพพมนต์--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.355/ข/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 64 หน้า ; 5 x 58.5 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 136  (388-396) ผูก 4ข (2565)หัวเรื่อง : มหานิปาตวณฺณนา (ทศชาติ)ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฐกถา (นารทพรหม)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อผู้แต่ง             - ชื่อเรื่อง              อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ นายแพทย์ ลมล บุณยะมาน ครั้งที่พิมพ์           - สถานที่พิมพ์        กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์          โรงพิมพ์พิฆเณศ ปีที่พิมพ์              ๒๕๑๖ จำนวนหน้า          ๘๖  หน้า หมายเหตุ            อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ นายแพทย์ ลมล  บุณยะมาน                           กล่าวถึงประวัติของ นายแพทย์ลมล  บุณยะมาน คำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารากฐานแห่งคำสอนของพระองค์ คือ อริยสัจจ์ ได้แก่ ทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความพ้นทุกข์ และทางนำไปสู่ความพ้นทุกข์ ยังมีเรื่องของระบบประสาท และอีกเรื่อง ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับความดันโลหิตสูง


ชื่อเรื่อง : พระราชหัดถ์เลขา เมื่อเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรป พ.ศ. 2440 เล่ม 1 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวชื่อผู้แต่ง : จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระปีที่พิมพ์ : 2505สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภาจำนวนหน้า : 240 หน้า สาระสังเขป : พระราชหัดถ์เลขา เมื่อเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรป พ.ศ. 2440 เล่ม 1 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เล่มนี้ เป็นพระราชหัตถเลขาส่วนพระองค์สมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชทานมาเป็นส่วนเฉพาะพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนารถ ซึ่งสำเร็จราชการแผ่นดินเวลาเสด็จพระราชดำเนินประพาศยุโรปครั้งแรก ในพระพุทธศักราช 2440 พระราชหัดถ์เลขาเหล่านี้เป็นส่วนพิเศษต่างหาก นอกจากที่ได้ทรงมีมาทางราชการ และเป็นกระแสพระราชดำริห์ในการที่ได้ทรงสังเกตเห็นการในบ้านเมืองและบุคคลต่าง ๆ เท่าที่มีเวลาพอที่จะทรงพระราชหัดถ์เลขาเหล่านี้ได้


ชื่อเรื่อง                  นสพ. เล่ม 5 (ตค-ธค 2505 ฉ.300-317)ประเภทวัสดุ/มีเดีย     หนังสือพิมพ์สำนักพิมพ์              คนสุพรรณปีที่พิมพ์                  2505ลักษณะวัสดุ             188 หน้า.ภาษา                      ไทยบทคัดย่อ/บันทึก


Messenger