ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,403 รายการ

             กรมศิลปากร โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จัดกิจกรรมสุดพิเศษ “Night at The Palace ย้อนเวลา ชมวัง 4 ศตวรรษ พระราชวังจันทรเกษม” ยลโฉมความงามของโบราณสถานสำคัญอันเป็นที่ประทับของพระมหาอุปราชในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในช่วงเวลาค่ำคืน พร้อมด้วยกิจกรรมอีกมากมาย เริ่ม 2 กุมภาพันธ์เป็นต้นไป               นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า ตามที่นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้มอบนโยบายให้กรมศิลปากรส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยเปิดให้ประชาชนเข้าชมโบราณสถานยามค่ำ ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี โดยเฉพาะในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นอกจากวัดไชยวัฒนาราม และวัดราชบูรณะแล้ว กรมศิลปากรได้เปิดให้เข้าชมพระราชวังจันทรเกษม โบราณสถานสำคัญอันเป็นที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อครั้งทรงดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชในสมัยกรุงศรีอยุธยาช่วงค่ำคืน ทุกวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ เวลา 16.30 - 21.00 น. (ซื้อบัตรเข้าชมได้ถึงเวลา 20.30 น.) โดยภายในงานมีกิจกรรมพิเศษ ประกอบด้วย             - กิจกรรมนำชมพระราชวังสุดพิเศษ "นำชม รอบเปิดวัง" ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 18.30 น. เป็นต้นไป             - กิจกรรม “ชวน ชม ชิม” ฉลองเดือนแห่งความรักที่วังจันทน์             - กิจกรรม “ชาววัง ชวนขึ้นหอ” ชมทัศนียภาพของเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยายามค่ำคืน จากหอพิสัยศัลลักษณ์ หอส่องกล้องยุคแรกเริ่มของสยาม หนึ่งในอาคารที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นตามแนวรากฐานของเดิมที่หลงเหลืออยู่มาตั้งแต่สมัยอยุธยา เพื่อใช้เป็นที่ศึกษาดาราศาสตร์ และในเวลาต่อมาเมื่อพระราชวังจันทรเกษมถูกใช้เป็นที่ทำการมณฑลกรุงเก่า หอสูงหลังนี้จึงถูกเปลี่ยนหน้าที่การใช้งานมาเป็นหอสังเกตการณ์และติดเครื่องสัญญาณเตือนภัยของมณฑลกรุงเก่า ซึ่งกิจกรรม“ชาววัง ชวนขึ้นหอ” จัดขึ้น 1 ปี เพียง 1 ครั้ง หากใครพลาดงานนี้ต้องรอยาวไปถึงปีหน้าเลย             - กิจกรรม “สายมู ยูต้องมา” สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำวัง พร้อมทั้งเชิญชวนแต่งชุดไทยเข้าชมพระราชวัง ถ่ายรูปกับมุมสวยๆ ภายในพระราชวังจันทรเกษม นอกจากนี้  ยังเปิดพื้นที่ภายในพระราชวังจันทรเกษม ให้หน่วยงาน องค์กร ภาคส่วนต่าง ๆ ร่วมแสดงกิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรม การสาธิต การประดิษฐ์งานศิลปะในช่วงเวลาดังกล่าว            พระราชวังจันทรเกษม เป็นพระราชวังเดิมตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2120 เพื่อเป็นที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวร และในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมแซมเพื่อใช้เป็นที่ประทับแปรพระราชฐาน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้เป็น “ที่ว่าการมณฑลเทศาภิบาล” ซึ่งพระราชวังจันทรเกษม นับเป็นพิพิธภัณฑ์ส่วนภูมิภาคแห่งแรก ก่อตั้งโดยพระยาโบราณราชธานินทร์ เรียกชื่อว่า โบราณพิพิธภัณฑ์ อยุธยาพิพิธภัณฑสถาน และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม ตามลำดับ            ขอเชิญชวนแต่งชุดไทย เที่ยวชมโบราณสถานยามค่ำ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทุกวันศุกร์ เสาร์และอาทิตย์ เวลา 16.30 - 21.00 น. ตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ - 30 เมษายน 2567 อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท (ผู้พิการ และชาวไทยผู้มีอายุมากกว่า 60 ปี เข้าชมฟรี) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 0 3525 1586 E-mail : wangchantra@gmail.com



องค์ความรู้ เรื่อง ต้นไม้มงคล เรียบเรียง นางสาวกาญจนา ศรีเหรา บรรณารักษ์



เนื่องในงาน "หกเป็ง" นมัสการพระมหาธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้ง ประจำปี ๒๕๖๗ทางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน ขอนำเสนอคำบูชาพระธาตุ จากจิตรกรรมเขียนสีบนกระจก ที่คนล้านนานิยมเขียนภาพพระธาตุคู่กับสัตว์ประจำปีเกิดเพื่อใช้สักการะบูชา เรียก “ภาพปีเปิ้ง” ส่วนใหญ่จะผลิตที่เมืองเชียงใหม่แล้วส่งจำหน่ายไปทั้วภาคเหนือและทั่วประเทศคำบูชาพระธาตุ(ตั้ง นะโม ๓ จบปายาตุภูตา อนุตรานุภาวะจีรัง ปติฏฐิตา นันทกัปปัฏฐานะปุระ เทเวนะคุตตา วะระพุทธาตุงจิรัง อะหังวันทามิ ตังชินะธาตุง เสตะฐาเน อะหังวันทามิ ทูระโตฯ


           ช่วงนี้เป็นที่นิยมในการบวชพระใหม่ บวชช่วงเวลาก่อนเข้าพรรษา หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก กาญจนบุรี จึงจัดกิจกรรม "พับเหรียญโปรยทาน โปรยสุข"  ในโครงการ Kidsเรียนรู้ @หอสมุดแห่งชาติฯ กาญจนบุรี ในวันเสาร์ที่ 25 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00 - 16.00 น. ผู้สนใจสามารถร่วมกิจกรรมได้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ และไม่ต้องลงทะเบียนล่วงหน้า สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 3451 3926 หรือทางเฟสบุ๊ก เพจ : หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก กาญจนบุรี  https://www.facebook.com/nlkanhanaburi




พระราชพิธีและพระราชกิจในการทรงผนวช ตุลาคม-พฤศจิกายน 2499. พระนคร : โรงพิมพ์คุรุสภาพระสุเมรุ, 2513.


ชื่อเรื่อง : ครบรอบการสถาปนา 80 ปี โรงเรียนศรียานุสรณ์ จันทบุรี คำค้น : โรงเรียนศรียานุสรณ์ รายละเอียด : จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบรอบ 80 ปี โรงเรียนศรียานุสรณ์ จันทบุรี พ.ศ. 2543 ผู้แต่ง : โรงเรียนศรียานุสรณ์ แหล่งที่มา : หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี หน่วยงานที่รับผิดชอบ : โรงเรียนศรียานุสรณ์ วันที่ : 2543 วันที่เผยแพร่ : 12 ตุลาคม 2567 ผู้ร่วมสร้างสรรค์ผลงาน : - ลิขสิทธิ์ :  - รูปแบบ : PDF. ภาษา : ภาษาไทย ประเภททรัพยากร : หนังสือท้องถิ่น (ห้องจันทบุรี) ตัวบ่งชี้ :  - รายละเอียดเนื้อหา : หนังสือรวบรวมประวัติและความเป็นมาของโรงเรียนศรียานุสรณ์ ตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน รวมถึงเรื่องต่างๆ ที่น่าสนใจ เช่น การบริหารจัดการโรงเรียน การจัดการเรียนการสอน รางวัลและเกียรติคุณ รายนามครูอาจารย์ในอดีตและปัจจุบัน รายนามนักเรียนปีการศึกษา 2543 สมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนศรียานุสรณ์ มูลนิธิศรียานุสรณ์ แนวคิดในการออกแบบห้องเรียนสีเขียว เป็นต้น เลขทะเบียน : - เลขหมู่ : 373.224 ศ239ค



วันพุธที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ นายวรรณพงษ์ ปาละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา เป็นวิทยากรนำชมโบราณสถานปราสาทพนมวัน จังหวัดนครราชสีมา ให้กับนักศึกษาและอาจารย์จากคณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น จำนวน ๕๓ คน





วัสดุ หินทราย แบบศิลปะ ศิลปะเขมรในประเทศไทย อายุสมัย อายุราวต้นพุทธศตวรรษที่ 15 (ประมาณ 1,100 ปีมาแล้ว) สถานที่พบ พบที่พระธาตุพันขัน อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อ 19 มิถุนายน 2538 ศิวลึงค์ คือองค์กำเนิดเพศชายที่เป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ หมายถึงการสร้างสรรค์ ความมั่งคั่ง ความเจริญรุ่งเรือง ในขณะเดียวกันก็หมายถึงตรีมูรติ (เทพเจ้า3 องค์ในศาสนาพราหมณ์) ด้วย โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนล่าง เป็นรูปสี่เหลี่ยม เรียกว่า พรหมภาค หมายถึง พระพรหม ส่วนกลางเป็นรูปแปดเหลี่ยม เรียกว่า วิษณุภาค หมายถึง พระวิษณุ และส่วนบนเป็นรูปกลม เรียกว่า รุทรภาคหมายถึง พระศิวะ เอกมุขลึงค์คือศิวลึงค์ที่มีพระพักตร์ของพระศิวะประกอบที่ส่วนรุทรภาค1 พระพักตร์ มุขลึงค์เป็นที่นิยมในสมัยก่อนเมืองพระนคร ในประเทศกัมพูชาพบมุขลึงค์ถึงกว่า 30 องค์ ในขณะที่ศิลปะเขมรในประเทศไทยนั้นพบตัวอย่างให้เห็นน้อยมาก โดยมุขลึงค์ในศิลปะเขมรที่พบส่วนใหญ่จะประดับเศียรพระศิวะขนาดเล็ก เอกมุขลึงค์ชิ้นนี้แสดงให้เห็นถึงการผสมผสานทางรูปแบบและลำดับขั้นวิวัฒนาการในช่วงระยะหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างกลุ่มศิวลึงค์รุ่นเก่าและรุ่นหลังที่สร้างขึ้นระหว่างพุทธศตวรรษที่ 16 - 17 จึงอาจกำหนดอายุเอกมุขลึงค์องค์นี้ไว้ในช่วงต้นของกลุ่มศิวลึงค์รุ่นหลังหรือราวพุทธศตวรรษที่ 15


Messenger