ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,640 รายการ

ปรากฏการณ์ครั้งใหญ่ ที่จะนำพาทั้ง 2 จักรวาล และ 2 วงโคจร ร้อยเรียงเข้าด้วยกัน เพื่อสร้าง “บทสนทนาของวงโคจร” ผ่านผลงานของ 2 ศิลปินแห่งชาติที่มีความโดดเด่นในวงการศิลปะไทย . ผลงานของ อินสนธิ์ วงค์สาม ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม) พ.ศ. 2542 และทวี รัชนีกร ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พ.ศ. 2548 ต่างมีอัตลักษณ์ชัดเจน แต่มีสิ่งหนึ่งที่สอดคล้องกันคือการนำ “รูปทรง” มาสร้างสรรค์และเล่าเรื่องในแบบของตนเอง เพื่อขับเคลื่อนวงการศิลปะไทยสมัยใหม่ . รูปทรงบริสุทธิ์แห่งความนิ่งขรึม สง่างาม มีชีวิตที่เคลื่อนไหวอย่างแผ่วเบาอ้อยอิ่ง และมีความสมบูรณ์แบบ เป็นการถ่ายทอดบอกเล่าเรื่องราวและความรู้สึกของอินสนธิ์ ส่วนทวีมุ่งใช้รูปทรงแห่งการสำแดงพลังอารมณ์ เคลื่อนไหวอย่างรุนแรง มีอารมณ์ขัน เสียดสีแดกดัน อันมีแรงส่งมาจากสภาพสังคม การบอกเล่าเรื่องราวที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนนี้เอง แสดงให้เห็นถึงการมีจักรวาลและวงโคจรของตนเอง . นิทรรศการ From orbit to Conversation 90 ปี อินสนธิ์ วงค์สาม และ ทวี รัชนีกร จะเป็นการนำเอาผลงานของทั้งคู่มาเกี่ยวร้อยเชื่อมโยงกัน เปรียบเสมือนบทสนทนาระหว่างเพื่อนที่สนิทสนมกันมาตั้งแต่สมัยเรียน ซึ่งจะทำให้ผู้ชมรู้สึกเหมือนได้อยู่ในจักรวาล ท่ามกลางวงโคจรของกลุ่มสี แสง ธาตุ และฝุ่นผง ที่ประกอบร่างเป็นดาวดวงใหญ่เคลื่อนลอยอย่างเป็นระบบในจักรวาล ผ่านผลงานประเภทภาพพิมพ์แกะไม้ ภาพปะติดด้วยสมุดข่อย ประติมากรรมไม้ และภาพจิตรกรรมที่บรรจุสีสัน เปรียบเสมือนแสงดาวระยิบระยับท่ามกลางจักรวาลที่ทั้งสองศิลปินสร้างขึ้น . นิทรรศการเชิดชูเกียรติศิลปินอาวุโส พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป From orbit to Conversation 90 ปี อินสนธิ์ วงค์สาม และ ทวี รัชนีกร จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป เปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม  - 30 มิถุนายน 2567 ในวันพุธ - อาทิตย์ เวลา 09.00 – 16.00 น. (ปิดวันจันทร์ – อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย 30 บาท  ชาวต่างชาติ 200 บาท


***รายการบรรณานุกรม*** หนังสือหายาก กรมศิลปากร.  ละคอนนอก เรื่อง สุวรรณหงส์ ตอน กุมภณฑ์ถวายม้า.  พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, ๒๕๐๒.


**บรรณานุกรม***  กรมศิลปากร ประชุมประกาศตราประจำตำแหน่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในโอกาสที่วันพระบรมราชสมภพครบ 150 ปี พุทธศักราช 2546 กรุงทพฯ  รุ่งศิลป์การพิมพ์ 2546


ชื่อเรื่อง : ชีวประวัติ นายชื่น สิโรรส ผู้แต่ง : ชื่น สิโรรส ปีที่พิมพ์ : 2529 สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่ สำนักพิมพ์ : คณะพุทธนิคม           การเขียนประวัติหรือเรื่องราวของนายชื่น สิโรรส ถ่ายทอดเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาในสมัยก่อน ตั้งแต่นายชื่น สิโรรสยังเป็นเด็ก การที่นายชื่น สิโรรสเขียนชีวประวัติของตนเองขึ้นมาเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านและคิดว่าอาจมีผู้สนใจที่จะศึกษาปฏิบัติเป็นแบบอย่างได้


     ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๒๐ พระราชประสิทธิคุณ อดีตเจ้าอาวาสวัดราชธานี อ.เมืองสุโขทัย จ.สุโขทัย มอบให้     พระพุทธรูปปางมารวิชัยนั่งขัดสมาธิราบบนฐานหน้ากระดาน ๓ ขา ลักษณะพระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระนาสิกโด่งปลายงุ้มเล็กน้อย พระโอษฐ์เรียวเล็กบาง ขมวดพระเกศาเป็นขดหอย รัศมีรูปเปลวเพลิง พระอังสากว้าง บั้นพระองค์เล็ก ครองจีวรห่มเฉียงเปิดพระอังสาขวา สังฆาฏิยาวจรดพระนาภี ปลายหยักเป็นเขี้ยวตะขาบตามรูปแบบพระพุทธรูปสุโขทัยแบบหมวดใหญ่ ซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมสร้างขึ้นในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท นอกจากนั้นบริเวณฐานหน้ากระดานยังมีจารึกที่กำหนดอายุในพุทธศตวรรษที่ ๒๐ กล่าวถึงผู้สร้างพระพุทธรูป โดยสร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา และเพื่อได้ผลบุญให้เกิดมาได้พบพระศรีอาริยเมตรไตรย ความว่า "พระเจ้านายญี่บุญแลแม่จันแลนางเริ่มนางไรแล้วเจ้าไสอานนท์ลูกชายสายใจชื่อนางยอดตูทั้งหลายขอพบพระศรีอาริยไมตรีเจ้าหั้น"


ยามค่ำ: Yam Kham (Twilight)   เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๑๕           เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๑๕ ทรงพระราชนิพนธ์ในพุทธศักราช ๒๔๙๕ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ทรงนิพนธ์คำร้องภาษาไทยแล้วได้พระราชทานให้นำไปบรรเลงในงานของสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกาในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ สโมสรสราญรมย์ เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๙๕ เป็นเพลงจังหวะฟอกซ์ทร็อต   Royal composition Number 15           The fifteenth royal musical composition was written in 1952 with thai lyrics composed by His Royal Highness Prince Chakrabhand Pensiri. It was granted to be performed in the party of the American University Alumni Association under the Royal Patronage at Saranrom Club, on Saturday, 23 February 1952. It was in foxtrot dance step.


หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ตรัง นำโดย นายธีราธร ชมเชย หัวหน้าหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ตรัง นำนิทรรศการ “เล่าเรื่อง...พระยารัษฎาฯ” พร้อมสำเนาเอกสารจดหมายเหตุที่เกี่ยวข้องกับพระยารัษฎา ร่วมเผยแพร่ความรู้ภายในงาน “เชิดชูพระยารัษฎา บิดายางพาราไทย ครั้งที่ 2 ประจำปี 2559” ณ ลานเรือพระ สนามกีฬาทุ่งแจ้ง จ.ตรัง ระหว่างวันที่ 7 – 13 เมษายน 2559 ทั้งนี้ งานดังกล่าวได้ทำพิธีเปิดไปเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2559 โดยมี นายชยพล ธิติศักดิ์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีเปิดงาน และมีนายเดชรัฐ สิมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง นายกิจ หลีกภัย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง ร่วมให้การต้อนรับ และในโอกาสนี้ คุณเกรซ ณ ระนอง และเครือญาติของพระยารัษฎาฯ ได้เดินทางมาจากปีนัง ประเทศมาเลเซียมาร่วมงานนี้ด้วยเช่นกัน


วันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ร่วมประชุมหารือเรื่อง การเสนอให้เชียงใหม่เป็นมรดกโลก ณ ห้องประชุม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ชมภาพทั้งหมดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/finearts8chiangmai/posts/1676692582582016


วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๓ เวลา ๐๙.๓๐ น. นักเรียนชั้นอนุบาล ๓ ถึงชั้นประถมศึกษาที่ ๖ โรงเรียนบ้านทำนบ ตำบลกันตวจระมวล อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ นักเรียนจำนวน ๙๘ คน คุณครูจำนวน ๑๓ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมีนางศรีสุดา ศรีสดและนางถนอม หลวงกลาง พนักงานประจำห้อง ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม






***บรรณานุกรม*** หนังสือหายาก  พระยาพจนสุนทร (เรื่อง อติเปรมานนท์).  อักขรานุกรมธรรมบท.  ม.ป.พ., ม.ป.ป..


หมวดหมู่                        พุทธศาสนาภาษา                            บาลี , ไทยหัวเรื่อง                          วรรณกรรมพื้นบ้านไทย                                    พุทธศาสนากับวรรณคดี                                    วรรณคดีไทย(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)ประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    กว้าง 5 ซม. ยาว 58 ซม.; 20 หน้า บทคัดย่อ                      เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม  ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534  


Messenger