สะพานพระพุทธยอดฟ้า
สะพานแห่งนี้ ใน พ.ศ.๒๔๗๐ พระบาทสมเด็จพระปกเปล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้สร้างสิ่งสำคัญเพื่อเป็นอนุสรณ์นี้เพื่อการสมโภชพระนคร ๑๕๐ ปี (พ.ศ.๒๔๗๕) ด้วยทรงพระราชวินิจฉัยว่า สิ่งอนุสรณ์ที่จะสร้างในครั้งนี้ มี ๒ สิ่ง ได้แก่ สิ่ง ๑ คือ สร้างพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมบรมกษัตริย์ราชวงศ์จักรี เพื่อมหาชนได้ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณสืบไป สิ่งที่ ๒ คือ สร้างสะพานข้ามแม่น้ำ เจ้าพระยา ทำทางถนนเชื่อมกรุงเทพฯ กับธนบุรี เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์แก่มหาชน โดยใช้พื้นที่ก่อสร้างบริเวณปลายถนนตรีเพ็ชร์ไปทางด้านทิศใต้ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา (บริเวณที่ทำการกรมทดน้ำ เดิม ซึ่งต่อมา คือ กรมชลประทาน) ต่อข้ามไปยังวัดประยูรวงศาวาส ในธนบุรี
พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชที่ประดิษฐาน ณ เชิงสะพานนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ อุปนายกราชบัณฑิตยสภา ทรงอำนวยการแผนกศิลปากร ทรงออกแบบ หล่อด้วยสำริด สูง ๔.๖ เมตร ส่วนสะพานข้าม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ทรงอำนวยการสร้าง มีกรมรถไฟหลวงเป็นผู้ออกแบบโครงการ ในการก่อสร้างดำเนินการจ้างด้วยวิธีประกวดราคาจากบริษัทต่างประเทศ จำนวน ๕ บริษัท จาก ๕ ประเทศ ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี เดนมาร์ก และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชวินิจฉัยเลือกบริษัท เมสส์ ดอร์แมน ลอง จำกัด (Messrs Dorman Long & Co.Ltd, Middlesbrough, England) จากอังกฤษ เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างสะพานแห่งนี้ เนื่องจากเสนอราคาการก่อสร้างต่ำกว่าบริษัทอื่นๆ กล่าวคือ ราคาก่อสร้างสะพานเหล็กและทางลาดคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒๔๔,๓๓๒ ปอนด์ และค่าตกแต่งสะพาน ๗๕,๐๙๓ ปอนด์ พร้อมทั้ง พระราชทานนามสะพานแห่นี้ว่า “สะพานพระพุทธยอดฟ้า” โดยมีการลงนามสัญญาจ้างเมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๔๗๒ เริ่มส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างเมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๔๗๒ กำหนดส่งมอบงานก่อสร้างในวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๔๗๕
สำหรับค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างพระปฐมบรมราชานุสรณ์ รวมทั้งสิ้น ๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท โดยที่มาของงบประมาณในการก่อสร้างส่วนหนึ่งมาจากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ และงบประมาณแผ่นดินที่รัฐบาลจัดสรรขึ้นร่วมกับเงินที่ประชาชนบริจาค
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสถานที่ก่อสร้างพระปฐมบรมราชานุสรณ์ ณ บริเวณสำนักงานกรมทดน้ำ
พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธินทรงอธิบายแผนผังถวายสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยา นริศรานุวัดติวงศ์
(ซ้าย – ขวา) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างพระปฐมบรมราชานุสรณ์เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๔๗๒
การประกอบสะพานพระพุทธยอดฟ้าทางฝั่งกรุงเทพฯ โดยมีทางลาดขึ้นสะพานและเสาเชิงสะพาน เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๔๗๓
การก่อสร้างตอม่อกลางแม่น้ำเจ้าพระยาของสะพานพระพุทธยอดฟ้าทางฝั่งธนบุรี โดยมีทางลาดขึ้นสะพานและโครงสะพานเหล็กฝั่งธนบุรี เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๔๗๓
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีประทับเรือพระที่นั่งจักรีเสด็จพระราชดำเนินกลับจากการเสด็จเยือนสหรัฐอเมริกา ผ่านสะพานพระพุทธยอดฟ้า เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๔๗๔
สะพานพระพุทธยอดฟ้า เมื่อช่องกลางสะพานปิด (บันทึกภาพเมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๔๗๔)
สะพานพระพุทธยอดฟ้า เมื่อเปิดช่องกลางสะพาน (บันทึกภาพเมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๔๗๔)
-----------------------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล : กองโบราณคดี
-----------------------------------------------------------
(หมายเหตุ : ภาพประกอบข้อมูลมาจาก :- อำมาตย์โท หลวงประกอบยันตรกิจ(โยน ใยประยูร). สะพานพระพุทธยอดฟ้า ข่าวช่าง ฉบับพิเศษ เนื่องในงานฉลองพระนครครบ ๑๕๐ ปี เมษายน พ.ศ.๒๔๗๕(พระนคร : สมาคมนายช่างแห่งกรุงสยาม, ๒๔๗๕) หน้า ๒ – ๓๔)
พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชที่ประดิษฐาน ณ เชิงสะพานนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ อุปนายกราชบัณฑิตยสภา ทรงอำนวยการแผนกศิลปากร ทรงออกแบบ หล่อด้วยสำริด สูง ๔.๖ เมตร ส่วนสะพานข้าม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ทรงอำนวยการสร้าง มีกรมรถไฟหลวงเป็นผู้ออกแบบโครงการ ในการก่อสร้างดำเนินการจ้างด้วยวิธีประกวดราคาจากบริษัทต่างประเทศ จำนวน ๕ บริษัท จาก ๕ ประเทศ ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี เดนมาร์ก และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชวินิจฉัยเลือกบริษัท เมสส์ ดอร์แมน ลอง จำกัด (Messrs Dorman Long & Co.Ltd, Middlesbrough, England) จากอังกฤษ เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างสะพานแห่งนี้ เนื่องจากเสนอราคาการก่อสร้างต่ำกว่าบริษัทอื่นๆ กล่าวคือ ราคาก่อสร้างสะพานเหล็กและทางลาดคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒๔๔,๓๓๒ ปอนด์ และค่าตกแต่งสะพาน ๗๕,๐๙๓ ปอนด์ พร้อมทั้ง พระราชทานนามสะพานแห่นี้ว่า “สะพานพระพุทธยอดฟ้า” โดยมีการลงนามสัญญาจ้างเมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๔๗๒ เริ่มส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างเมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๔๗๒ กำหนดส่งมอบงานก่อสร้างในวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๔๗๕
สำหรับค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างพระปฐมบรมราชานุสรณ์ รวมทั้งสิ้น ๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท โดยที่มาของงบประมาณในการก่อสร้างส่วนหนึ่งมาจากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ และงบประมาณแผ่นดินที่รัฐบาลจัดสรรขึ้นร่วมกับเงินที่ประชาชนบริจาค
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสถานที่ก่อสร้างพระปฐมบรมราชานุสรณ์ ณ บริเวณสำนักงานกรมทดน้ำ
พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธินทรงอธิบายแผนผังถวายสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยา นริศรานุวัดติวงศ์
(ซ้าย – ขวา) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างพระปฐมบรมราชานุสรณ์เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๔๗๒
การประกอบสะพานพระพุทธยอดฟ้าทางฝั่งกรุงเทพฯ โดยมีทางลาดขึ้นสะพานและเสาเชิงสะพาน เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๔๗๓
การก่อสร้างตอม่อกลางแม่น้ำเจ้าพระยาของสะพานพระพุทธยอดฟ้าทางฝั่งธนบุรี โดยมีทางลาดขึ้นสะพานและโครงสะพานเหล็กฝั่งธนบุรี เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๔๗๓
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีประทับเรือพระที่นั่งจักรีเสด็จพระราชดำเนินกลับจากการเสด็จเยือนสหรัฐอเมริกา ผ่านสะพานพระพุทธยอดฟ้า เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๔๗๔
สะพานพระพุทธยอดฟ้า เมื่อช่องกลางสะพานปิด (บันทึกภาพเมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๔๗๔)
สะพานพระพุทธยอดฟ้า เมื่อเปิดช่องกลางสะพาน (บันทึกภาพเมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๔๗๔)
-----------------------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล : กองโบราณคดี
-----------------------------------------------------------
(หมายเหตุ : ภาพประกอบข้อมูลมาจาก :- อำมาตย์โท หลวงประกอบยันตรกิจ(โยน ใยประยูร). สะพานพระพุทธยอดฟ้า ข่าวช่าง ฉบับพิเศษ เนื่องในงานฉลองพระนครครบ ๑๕๐ ปี เมษายน พ.ศ.๒๔๗๕(พระนคร : สมาคมนายช่างแห่งกรุงสยาม, ๒๔๗๕) หน้า ๒ – ๓๔)
(จำนวนผู้เข้าชม 12357 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน