ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,784 รายการ
-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ - ตามรอยบันทึก : เมื่อข้าราชการต้องย้ายที่ (ตอนที่ 1) -- เมื่อเกือบร้อยปีก่อน ข้าราชการจากหัวเมืองชานกรุงคนหนึ่ง ได้รับคำสั่งให้ย้ายไปประจำ ณ ดินแดนที่ห่างไกล เขาได้เขียนรายงานการเดินทางฉบับหนึ่งถวายแด่กรมพระดำรงราชานุภาพ (พระยศในขณะนั้น) รายงานฉบับนี้บรรยายถึงการเดินทางไปรับตำแหน่งใหม่ ซึ่งนอกจากจะฉายภาพให้เห็นถึงความยากลำบากของการเดินทางไปยังหัวเมืองในยุคที่ถนนยังเข้าไปไม่ถึงแล้ว ข้าราชการผู้นี้ยังได้บันทึกสภาพบ้านเมือง สังคม เศรษฐกิจ รวมไปถึงตำนานเรื่องเล่าๆ ที่ได้ประสบพบเจอในระหว่างการเดินทาง อย่างที่ผู้บันทึกระบุว่า “เท่าที่ทราบที่เห็นด้วยตา” อีกด้วย ซึ่งนับว่ามีน่าสนใจอย่างยิ่งต่อการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลทางประวัติศาสตร์และสังคมที่อาจไม่พบเจอในเอกสารราชการอื่นๆ ดังเรื่องราวที่จะได้นำเสนอต่อไปนี้ - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - มิจฉาชีพบนรถไฟ เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2468 รองอำมาตย์เอก พระเจดีย์รัฐธำรง (พูล ติณานนท์) นายอำเภอเมืองนครปฐม ได้รับคำสั่งให้ย้ายไปดำรงตำแหน่งปลัดจังหวัดหล่มศักดิ์ (สะกดตามต้นฉบับ) การเดินทางเพื่อย้ายไปประจำการ ณ ที่แห่งใหม่จึงเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2468 ณ สถานีรถไฟกรุงเทพ คุณพระพร้อมด้วยคนใช้ รวม 3 คน ตีตั๋วรถไฟชั้น 3 ไปลงที่สถานีพิษณุโลก ระหว่างทางคุณพระได้ยินผู้โดยสารพูดกันว่า ของมักหายทุกเที่ยวรถด่วน จึงต้องคอยระวังของของตนเอง เมื่อขบวนรถจอดที่สถานีบ้านหมี่ มีคนขึ้นมาบนรถ 2 คน นั่งปะปนกับผู้โดยสาร เมื่อคนตรวจตั๋วเดินผ่านก็ทำทีเป็นหลับ พอคนตรวจตั๋วไปแล้วก็ลุกขึ้นไปยืนที่บันไดช่วงรถจักรเปิดหวูดเมื่อเข้าใกล้สถานี พอถึงสถานีห้วยแก้วทั้งสองคนก็โดดลงรถไป จากนั้นมีเสียงผู้โดยสารร้องเอะอะว่าของของตนหาย จึงเข้าใจว่าสองคนนั้นคือคนร้ายขโมยของ รถไฟถึงพิษณุโลกเช้ามืดวันที่ 21 ธันวาคม จึงเช่าห้องนอนของสถานีเป็นที่พัก- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - พบเทศา-หาคนหาม เช้าวันที่ 21 ธันวาคม คุณพระเข้าพบสมุหเทศาภิบาลมณฑลพิษณุโลก รับบัญชามาว่าให้ช่วยทำถนนจากหล่มศักดิ์มายังมณฑล จากนั้นได้แวะไปชมตลาดเมืองพิษณุโลก ด้วยความที่คุณพระเป็นคนช่างสังเกตและจดบันทึกได้ละเอียด จึงทำให้เราทราบว่าที่ตลาดเมืองพิษณุโลกในขณะนั้นมีทั้งสินค้าจากกรุงเทพฯ และสินค้าพื้นเมืองจำพวกข้าว ยาสูบ ครั่ง และมีไก่ขายตัวละ 50 สตางค์ – 1 บาท แล้วแต่ขนาดของไก่ วันที่ 22 ธันวาคม ไปรับคำสั่งเดินทาง กะระยะทางจากพิษณุโลกถึงจังหวัดหล่มศักดิ์ราว 3,200 เส้น (128 กิโลเมตร) แต่ยังเดินทางไม่ได้ทันที เพราะต้องหาคนหาบหามและม้าก่อน โดยขุนวุฒิราษฎร์รักษา นายอำเภอเมืองพิษณุโลก รับเป็นธุระจัดการในเรื่องนี้ จนได้คนหาบหาม 6 คน ค่าจ้างคนละ 75 สตางค์ ม้า 3 ม้า คิดม้าพร้อมอาน 1 ม้า วันละ 2 บาท นายอำเภอได้เล่าให้ฟังว่า อำเภอเมืองพิษณุโลกมีผู้ร้ายชุกชุม และมีทหารจากกรมอากาศยานมาทำแผนที่อยู่ที่นี่เดือนเศษแล้ว- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - เหนื่อยนักพักศาลา วันที่ 23 ธันวาคม คุณพระพร้อมคณะเริ่มออกเดินทางจากพิษณุโลกเวลาประมาณ 9 โมงเช้า โดยเดินทางข้ามทางรถไฟไปตามทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แวะพักตามศาลาต่างๆ เป็นระยะ แต่ละระยะห่างกันตั้งแต่ 40 เส้น (1.6 กิโลเมตร) จนถึง 100 เส้น (4 กิโลเมตร) ศาลานี้มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น ศาลาบ่อเจ๊ก ศาลาโคกช้าง ศาลาชุมแสง ศาลาเชิงเขาสมอแคลง คุณพระบันทึกไว้ว่า ศาลาที่พักเหล่านี้เป็นศาลาเสาพื้นไม้จริง หลังคามุงกระเบื้องไม่มีฝา ที่สำคัญศาลาส่วนใหญ่มักจะมีน้ำ สำหรับผู้ที่มาพักได้อุปโภคบริโภค ระหว่างที่พักอยู่ที่ศาลาชุมแสง ได้ชาวบ้านนำช้างต่อมาโพนช้างป่า (คือการคล้องช้างป่าโดยนำเอาช้างจำนวนมากไปไล่ต้อน - ผู้เขียน) ชาวบ้านบอกว่าปีกลายได้ช้างป่า 3 เชือก นำไปขายที่อำเภอภูเขียวได้ราคาเชือกละ 3,000 บาทเป็นอย่างแพง หลังจากที่เดินทางเหน็ดเหนื่อยมาทั้งวัน ในที่สุดก็มาถึงจุดพักแรมจุดแรกคือที่วัดป่าหมาก อำเภอป่าหมาก (อำเภอวังทองในปัจจุบัน) เมื่อเวลา 16.00 น. การเดินทางของพระเจดีย์รัฐธำรงยังคงต้องบุกป่าฝ่าดงอีกมาก โปรดติดตามได้ในตอนต่อไปผู้เขียน: นายธัชพงศ์ พัตรสงวน (นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)เอกสารอ้างอิง: สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารส่วนพระองค์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สบ 2.42/25 เรื่อง รายงานเดินทางของพระเจดีย์รัฐธำรงไปเมืองหล่มศักดิ์ [ 6 ม.ค. 2468 ].#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
#องค์ความรู้อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรคูเมืองโบราณกำแพงเพชร..เมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองโบราณที่ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง ผังเมืองมีลักษณะคล้ายรูปสี่เหลี่ยมคางหมู วางตัวยาวขนานไปกับแม่น้ำปิง มีคูเมืองและกำแพงที่สร้างด้วยศิลาแลงล้อมรอบเมืองทั้ง 4 ด้าน มีระบบการนำน้ำจากแม่น้ำปิงเข้ามาหล่อเลี้ยงคูเมือง มีทางระบายน้ำออกบริเวณมุมท้ายเมืองทิศตะวันออกเฉียงเหนือ แนวกำแพงเมืองชั้นในก่อด้วยศิลาแลง ประกอบด้วย แนวกำแพงเมืองที่มีเชิงเทินและใบเสมา ปัจจุบันปรากฏประตูเมืองจำนวน 9 ประตู และป้อมปราการจำนวน 11 ป้อม ซึ่งสันนิษฐานว่ามีการก่อสร้างในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21-22.กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานกำแพงเมือง-คูเมืองกำแพงเพชร ในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 85 ตอนที่ 41 วันที่ 7 พฤษภาคม 2511 บริเวณที่ 3 เนื้อที่ประมาณ 503 ไร่ .คูเมืองกำแพงเพชรมีลักษณะเป็นร่องน้ำหรือทางน้ำที่ขุดขึ้นขนานกับแนวกำแพงเมืองล้อมรอบเมืองกำแพงเพชร คูเมืองปัจจุบันกว้างประมาณ 11-33 เมตร ลึกประมาณ 4.20 เมตร และมีความยาวรวม 5,466 เมตร โดยคูเมืองด้านทิศเหนือยาวประมาณ 2,563 เมตร ด้านทิศใต้ยาวประมาณ 2,041 เมตร ด้านทิศตะวันออกยาวประมาณ 632 เมตร และด้านทิศตะวันตกยาวประมาณ 230 เมตร..เมื่อ พ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชร และทรงพระราชนิพนธ์ เรื่อง “เสด็จประพาสต้นครั้งที่ 2” มีเนื้อความกล่าวถึงคูเมืองกำแพงเพชรดังนี้.“...น่าประตูนี้เป็นทางลึกลงไปจากฝั่งจนถึงท้องคูแล้วจึงขึ้นเมือง ๆ ตั้งอยู่ในที่ดอนน้ำไม่ท่วม เลียบไปตามทางริมกำแพงซึ่งเขาว่าได้ตัดแล้วรอบ เมืองนี้ไม่ได้ทำเป็นเหลี่ยม โอนรูปไปตามแม่น้ำ ประมาณว่าด้านเหนือด้านใต้ 50 เส้น ด้านสกัดทิศใต้ 12 เส้น สกัดข้างเหนือ 6 เส้นรูปสอบ ใช้พูนดินเปนเชิงเทิน คิดทั้งท้องคูข้างนอกสูงมาก กำแพงก่อด้วยแลง ใบเสมาเป็นรูปเสมาหยักแต่ใหญ่ คออ้วนเหลืออยู่น้อย ตามประตูน่าจะเป็นป้อมทุกแห่ง แต่ที่ได้เห็น 3 ประตู คือประตูน้ำอ้อย ประตูบ้านโนน ประตูดั้น ประตูหลังยังคงมีป้อมก่อด้วยแลงปรากฏป้อมนั้นเป็นลับแลอยู่ปากคูข้างนอก...”.เมื่อ พ.ศ. 2450 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชร และทรงพระราชนิพนธ์หนังสือ เรื่อง “เที่ยวเมืองพระร่วง” มีเนื้อความกล่าวถึงคูเมือง-กำแพงเมืองกำแพงเพชรดังนี้.“...กำแพงเชิงเทินทำแน่นหนาก่อด้วยแลง มีใบเสมาก่อเป็นแผ่นตรงขึ้นไปสักศอกหนึ่งแล้วจึงก่อเป็นรูปหลังเจียดขึ้นไปอีกศอกหนึ่ง บนกำแพงมีทางเดินได้รอบกว้างพอคนเดินหลีกกันได้สบาย นอกกำแพงมีคูลึก เดี๋ยวนี้น้ำยังขังอยู่บ้างเป็นแห่ง ๆ มีทางน้ำไหลเข้ามาจากลำแควน้อยได้ สังเกตว่าเปนเมืองที่แขงแรงมั่นคง น่าจะรักษาไว้ให้มั่นได้นาน ๆ..”.การศึกษาดำเนินงานทางโบราณคดีเมืองกำแพงเพชรโดยกรมศิลปากร เริ่มต้นเมื่อ พ.ศ. 2507-2512 หลังจากนั้นได้มีการดำเนินงานต่าง ๆ ทั้งการสำรวจ ขุดค้น ขุดแต่ง บูรณะ รวมทั้งปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์โบราณสถานทั้งบริเวณเขตอรัญญิก เขตในกำแพงเมือง และบริเวณนอกเมือง สำหรับการดำเนินงานทางโบราณคดีบริเวณคูเมืองกำแพงเพชร มีสาระโดยสังเขปดังต่อไปนี้.เมื่อ พ.ศ. 2528 โครงการอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรดำเนินการขุดลอกคูเมืองกำแพงเพชร เป็นความยาวประมาณ 3,735 เมตร เพื่ออนุรักษ์คูเมืองให้มั่นคงตามร่องรอยหลักฐานทางโบราณคดี ทำให้พบร่องรอยเดิมของคูเมืองกำแพงเพชร ซึ่งมีความกว้าง 15-40 เมตร ลึกประมาณ 0.50-1.50 เมตร.เมื่อ พ.ศ. 2539-2541 อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ดำเนินโครงการปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์คูเมืองกำแพงเพชร โดยมีการดำเนินงาน 2 ส่วน ประกอบด้วย งานขุดลอกคูเมือง และงานบูรณะแนวกำแพงเมือง สำหรับงานขุดลอกคูเมืองนั้นมีการปรับแต่งขอบคูเมืองด้านนอกคูเมืองด้านทิศเหนือ ด้านทิศตะวันตก และด้านทิศใต้ตั้งแต่ป้อมมุมเมืองทิศตะวันตกเฉียงใต้ถึงป้อมเจ้าจันทร์ โดยเน้นการอนุรักษ์สภาพพื้นที่เดิม.เมื่อ พ.ศ. 2548 อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ดำเนินการทางโบราณคดีภายใต้โครงการพัฒนาอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรเพื่อการอนุรักษ์และเสริมสร้างศักยภาพการท่องเที่ยว โดยดำเนินการขุดแต่งคูเมือง กำแพงเมือง และป้อมปราการ จากการขุดแต่งคูเมืองพบว่า ส่วนคันดินชั้นกลาง คูเมืองชั้นกลาง และคูเมืองชั้นนอก ด้านทิศเหนือ มีลักษณะการใช้งานที่แตกต่างจากคูเมืองชั้นใน เนื่องจากระดับก้นคูตื้นกว่าคูเมืองชั้นในประมาณ 2-3 เมตร อีกทั้งก้นคูเมืองยังเป็นดินทรายที่ไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ จึงสันนิษฐานว่า คูเมืองและคันดินชั้นกลางและชั้นนอกทางด้านทิศเหนือ ไม่น่าจะใช้ประโยชน์ในการกักเก็บน้ำ แต่น่าจะมีวัตถุประสงค์ในการป้องกันข้าศึกศัตรูมากกว่า ส่วนคูเมืองทางด้านทิศใต้ ใช้ประโยชน์ในการกักเก็บน้ำและใช้ในการป้องกันข้าศึกศัตรูด้วย.การดำเนินการทางโบราณคดีครั้งนี้ พบตัวอย่างหลักฐานทางโบราณคดีที่สามารถกำหนดอายุเชิงเทียบ (relative dating) ได้ เช่น ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งตกแต่งด้วยลายขูดขีดและลายกดประทับจากแหล่งเตาบ้านบางปูน กำหนดอายุได้พุทธศตวรรษที่ 18-21 ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งเคลือบสีเขียว ชิ้นส่วนตุ๊กตาดินเผาเคลือบสีเขียว จากแหล่งเตาเมืองศรีสัชนาลัย กำหนดอายุได้พุทธศตวรรษที่ 20-21 ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งเคลือบสีขาวนวลเขียนลวดลาย จากแหล่งเตาเมืองสุโขทัย กำหนดอายุได้พุทธศตวรรษที่ 19-21 ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งตกแต่งด้วยลวดลายตัวอุ ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งเคลือบสีน้ำตาลดำ จากแหล่งเตาแม่น้ำน้อย กำหนดอายุได้พุทธศตวรรษที่ 20-23 ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนเขียนสีน้ำเงินใต้เคลือบ สมัยราชวงศ์หมิง กำหนดอายุได้พุทธศตวรรษที่ 20-22 ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนเขียนสีน้ำเงินใต้เคลือบ สมัยราชวงศ์ชิง กำหนดอายุได้พุทธศตวรรษที่ 22-23 เป็นต้น..เอกสารอ้างอิงกฤษฎา พิณศรี, ปริวรรต ธรรมาปรีชากร และอุษา ง้วนเพียรภาค, เครื่องถ้วยสุโขทัย พัฒนาการของเครื่องถ้วยไทย (กรุงเทพฯ: โอสถสภา, 2535.กรมศิลปากร, เตาแม่น้ำน้อย, (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร), 2531.ธงชัย สาโค, สังคโลกเตาทุเรียงเมืองสุโขทัย: ข้อมูลใหม่จากหลักฐานโบราณคดี (กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, 2564.นารีรัตน์ ปรีชาพีชคุปต์, ธาดา สังข์ทอง และอนันต์ ชูโชติ ; ผู้แปลภาษาอังกฤษ, นันทนา ตันติเวสสะ และ สุรพล นาถะพินธุ. นำชมอุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร (Guide to Sukhothai Si Satchanalai and Kamphaeng Phet historical parks). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ,2542.ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน, (2511, 7 พฤษภาคม), ราชกิจจานุเบกษา, (เล่ม 85, ตอนที่ 41), 1340.พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. เที่ยวเมืองพระร่วง. กรุงเทพฯ : มูลนิธิมหามกุฎราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์, 2519.มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. ครบ ๑๐๐ ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสต้น เมืองกำแพงเพชร วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2549. กรุงเทพฯ : จังหวัดกำแพงเพชร, 2549.สายันต์ ไพรชาญจิตร์, โบราณคดีเครื่องถ้วยในสยาม แหล่งเตาล้านนาและสุพรรณบุรี, (กรุงเทพฯ : โครงการศิลปากรพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร), 2554.ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามเพชร, รายงานผลการขุดค้น ขุดตรวจ ขุดแต่งพื้นที่สนามด้านหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองกำแพงเพชร (ฝั่งตะวันตก) คูเมืองและคันดินชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ด้านทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก ป้อมด้านหน้าประตูวัดช้าง ป้อมด้านหน้าประตูเตาอิฐ ป้อมมุมเมืองตะวันออกเฉียงเหนือ, (กำแพงเพชร : โครงการพัฒนาอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรเพื่อการอนุรักษ์และเสริมสร้างศักยภาพการท่องเที่ยว), ไม่ระบุปีที่พิมพ์.อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร, รายงานการขุดลอกคูเมือง เมืองกำแพงเพชร, (กำแพงเพชร : โครงการอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร), ไม่ระบุปีที่พิมพ์.
“ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทรไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน
แม้นเกิดในไต้ฟ้าสุธาธารขอพบพานพิศวาสไม่คลาดคลา
แม้นเนื้อเย็นเป็นห้วงมหรณพ พี่ขอภพศรีสวัสดิ์เป็นมัจฉา
แม่เป็นบัวตัวพี่เป็นภูมราเชยผกาโกสุมประทุมทอง
เจ้าเป็นถ้ำอำไพขอให้พี่เป็นราชศสีห์สิงสู่เป็นคู่สอง
จะติดตามทรามสงวนนวลละอองเป็นคู่ครองพิศวาสทุกชาติไป”
ยกมาจากบทกลอนเรื่องพระอภัยมณี ของสุนทรภู่ ตอนพระอภัยมณีเกี้ยวพาราสี กล่าวกับนางละเวง บทกลอนที่ไพเราะ และนำคำประพันธ์นี้ไปใช้เป็นเพลงขับร้อง เป็นที่ติดหู ติดใจคนจำนวนมากจนเกิดคำถามกับผู้เขียนว่า
บาทที่ 2 ,3 และ 4 บางตำรา เป็น “แม้” ทั้งสามคำหรือ “แม้” กับ “แม้น” บ้าง จากการศึกษา พระอภัยมณี คำกลอนสุนทรภู่ เล่มที่ 2 ปี พ.ศ.2468 นั้น ปรากฏว่า “ใช้คำว่า “แม้” ในบาทที่ 2 และ 3 และ “แม่” ในบาทที่ 4 อันหมายถึงนางละเวง
สำหรับความแตกต่างระหว่างคำว่า “แม้” กับ “แม้น” นั้นลายพระหัตถ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ประทานพระพินิจวรรณการ เรื่องการตรวจชำระหนังสือพระอภัยมณีฉบับพิมพ์ พ.ศ.2468 ความว่า
“แม้ กับ แม้น เป็น คนละคำ แม้ เหมือนกับคำว่า“หาก” สำหรับคำว่า “แม้น” ว่า คล้าย”
ในการตรวจชำระนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์แก้ “แม้น” เป็น “แม้” เพราะเนื้อความ หมายถึง “หาก” เมื่อตรวจสอบกับเมื่อเทียบกับสมุดไทยดำ กลอนอ่าน เรื่องพระอภัยมณี เล่มที่ ๑๖๓ ปรากฏว่า ใช้ “แม้น” ทั้งสองแห่ง ส่วน “แม่” นั้นตรงกัน
จะเห็นได้ว่า ถ้อยคำเพียงคำเดียว การมีตัวสะกดหรือไม่มี รวมทั้งวรรณยุกต์ผันเปลี่ยนก็แปรความหมาย และการทำหนังสือ ตรวจชำระ การวินิจฉัยคำ ในการทำหนังสือลักเล่มนั้นสำคัญยิ่ง
บทความนี้เขียนเนื่องในวันครบรอบ 237 ปีชาตกาล กวีเอกของไทย 26 มิถุนายน วันสุนทรภู่
ขอบคุณแรงบันดาลใจจากคุณพนิตนาฏ ฉัตรวิไล ผู้จัดละครเรื่อง “เว้าวอนรัก” ทำให้ผู้เขียนบทความจุดประกายและสืบค้นของคำในกลอนบทดังกล่าว รวมทั้งขอบคุณสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ และกลุ่มตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ทำให้ผู้เขียนรู้ว่าตนไม่รู้อะไรอีกมาก
ข้อมูลอ้างอิง
นริศรานุวัดติวงศ์,สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า กรมพระยา.ลายพระหัตถ์ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ประทานพระพินิจวรรณการ เรื่องตรวจชําระหนังสือพระอภัยมณี และประชุมบทละครดึกดําบรรพ์.พระนคร: โรงพิมพ์พระจันทร์,2494.
พระอภัยมณี คำกลอนสุนทรภู่ เล่มที่ 2.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไท, 2468.
“พระอภัยมณี.”หอสมุดแห่งชาติ .หนังสือสมุดไทยดำ.อักษรไทย.ภาษาไทย.เส้นหรดาล. ม.ป.ป. เลขที่ 163.หมวดวรรณคดี
“พระอภัยมณี.”หอสมุดแห่งชาติ .หนังสือสมุดไทยดำ.อักษรไทย.ภาษาไทย.เส้นดินสอขาว. ม.ป.ป. เลขที่ 37.หมวดวรรณคดี
ผู้เรียบเรียง: นายบารมี สมาธิปัญญา นักวิชาการเผยแพร่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ
กราฟิก: นายชลิต ปรีชากุล นายช่างศิลปกรรม สำนักหอสมุดแห่งชาติ
ตุงและคันตุง
เลขทะเบียน ๘๙ / ๒๕๔๑
แบบศิลปะ / สมัย ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่
วัสดุ (ชนิด) โลหะ
ขนาด สูงพร้อมฐาน ๓๕.๕ เซนติเมตร
ประวัติความเป็นมา ได้จากวัดเจดีย์สูง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่
ความสำคัญ ลักษณะและสภาพของโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
ตุง เป็นเครื่องแขวนอย่างหนึ่งสำหรับใช้ในพิธีกรรม คล้ายธง โดยตุงถูกสร้างขึ้นจากวัสดุที่หลากหลาย เช่น ผ้า กระดาษ ไม้ โลหะ ตามแต่โอกาสที่ใช้และฐานะของผู้สร้าง หากเป็นตุงที่สร้างจากวัสดุที่ไม่กวัดไกวตามกระแสลม จะเรียกตุงชนิดนั้นว่า ตุงกระด้าง ซึ่งสร้างด้วยโลหะ ไม้ หรือปูน เป็นต้น
หลักฐานการใช้ตุงเป็นเครื่องพุทธบูชาปรากฏในเอกสารล้านนาโบราณหลายฉบับ เช่น ตำนานเมืองเชียงแสน กล่าวถึงการประดิษฐานพระบรมธาตุเหนือยอดดอยลูกหนึ่ง แล้วพระมหากัสสปเถระเจ้าก็ได้อธิษฐานตุงขึ้นตั้ง คันตุงนั้นสูงแปดพันวา ตุงยาวเจ็ดพันวา กว้างสี่ร้อยวา หลังจากเหตุการณ์นี้ คนทั้งหลายจึงเรียกดอยแห่งนั้นว่าดอยตุง โดยหลักฐานสำคัญเกี่ยวกับการใช้ตุงปรากฏในศิลาจารึกวัดพระยืน ระบุว่าเมื่อราว พ.ศ.๑๙๑๓ เมื่อพญากือนาตั้งขบวนต้อนรับพระสุมนเถระจากสุโขทัย ในขบวนนั้นมีการประดับด้วยธง (ตุง) เหตุที่ชาวล้านนานิยมถวายตุงไว้ในพระพุทธศาสนา เพราะมีความเชื่อว่าการถวายทานตุงนั้นได้อานิสงค์มาก เมื่อตายจากโลกนี้ไปแล้วจะไม่ตกนรก
สำหรับตุงเครื่องพุทธบูชารายการนี้ มีลักษณะเป็นเสาตุงที่ตั้งอยู่เหนือหม้อน้ำ หม้อน้ำนั้นอาจหมายถึงหม้อบูรณฆฏะ (หม้อดอก) ตามคติความเชื่อดั้งเดิมของอินเดียที่เข้ามานิยมแพร่หลายอยู่ในล้านนา ในฐานะสัญลักษณ์มงคลที่สะท้อนให้เห็นความอุดมสมบูรณ์ ความเจริญเติบโต ส่วนคันตุงด้านบนแยกออกเป็นสามแฉก แขวนตุงสามชิ้น ตุงมีสัณฐานยาวรี ชิ้นหนึ่งสลักลายเส้นรูปปราสาทที่ตั้งอยู่เหนือฐานกลีบบัวคว่ำบัวหงายซ้อนกันเจ็ดชั้น ระหว่างชั้นฐานกลีบบัวคั่นด้วยลายริ้วขนานกันในแนวนอนเหมือนระลอกคลื่น อาจเป็นสัญลักษณ์หมายถึงภูมิจักรวาลตามคติความเชื่อในล้านนา ดังนั้น ตุงและคันตุงนี้ จึงให้ความหมายของความอุดมสมบูรณ์ของจักรวาล หรือการกำเนิดขึ้นของจักรวาล ก็เป็นได้
ที่มา
ไพฑูรย์ พรหมวิจิตร, บรรณาธิการ, ตำนานเมืองเชียงแสน (เชียงใหม่ : โรงพิมพ์มิ่งเมือง จำกัด, ๒๕๓๘), ๒๗.
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง ขอนำเสนอ Catalog จำหน่ายหนังสือกว่า 40 รายการ ที่เต็มไปด้วยหนังสือทางวิชาการที่มีคุณภาพ และบางเล่มหาอ่านได้ยากแล้ว เข้าดู Catalog ออนไลน์ได้ที่ https://anyflip.com/cxrzf/oyyz/ หรือ QR Code
ผู้สนใจสามารถซื้อหนังสือได้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลางเปิดทำการวันพุธ - อาทิตย์ เวลา 09.00 - 16.00 น. หรือสามารถสั่งซื้อได้ทางเพจเฟซบุ๊ก Thalang National Museum หมายเลขติดต่อ 0 7637 9895, 0 7637 9897
โบราณวัตถุชิ้นสำคัญ อันมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับงานพระศพของเจ้านายในอดีต คือ “บุษบกพร้อมพระโกศเจ้านายเชื้อสายวังหน้า”
บุษบกไม้ปิดทองประดับกระจก (พ.ท.ย. ๑) และพระโกศทองคำลงยาราชาวดี (พ.ท.ย. ๕) เป็นโบราณวัตถุที่มีประวัติความเป็นมาระบุในทะเบียนว่า "ของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์" ประดิษฐานอยู่ภายในห้องมุขท้ายพระที่นั่งบูรพาภิมุข พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร แต่ไม่ปรากฏว่าเป็นของเจ้านายพระองค์ใด ภายในพระโกศบรรจุวัตถุสำคัญ ประกอบด้วย พระกราม 1 องค์ พระอัฐิขนาดเล็ก 2 องค์ และดอกพิกุลเงินพิกุลทองอย่างละหนึ่งดอก โดยบุษบกองค์นี้มีความน่าสนใจอย่างยิ่ง ด้วยมีการตรวจสอบรูปแบบทางศิลปกรรมแล้ว พบว่ามีความคล้ายคลึงกับบุษบกไม้ลงรักปิดทองประดับกระจกที่สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานพระอัฐิสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ (กรมพระราชวังช้างเผือก) ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ภาพ : บุษบกพร้อมพระโกศ คลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และพระรูปพระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (ต้นราชสกุล รัชนี)
Post by Admin Sarun
สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญฟังการบรรยายเรื่อง "ตามรอยพระราชา: เศรษฐกิจพอเพียง...สู่เศรษฐกิจที่ยั่งยืน" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ภายใต้โครงการพัฒนาและส่งเสริมหอสมุดแห่งชาติเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ประจำปี 2567 วิทยากรโดย นายลลิต ถนอมสิงห์ กรรมการและรองเลขานุการมูลนิธิชัยพัฒนา สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ในวันศุกร์ ที่ 1 ธันวาคม 2566 เวลา 13.30-16.30 น. ณ อาคารดำรงราชานุภาพ ถนนหน้าพระธาตุ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ผู้สนใจสามารถติดตามชมการถ่ายทอดสดผ่าน Facebook Live : National Library of Thailand สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 08 6891 2548, 08 9545 3194
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ได้จัดกิจกรรมพิเศษเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ยลโฉมความงามของโบราณสถานยามค่ำคืน ในงาน "ราตรีนี้...ที่วัดไชยวัฒนาราม Ayutthaya Sundown" โดยเปิดให้เข้าชมวัดไชยวัฒนาราม ผ่าน แสง สี จากการประดับไฟ ตั้งแต่เวลา 18.00 - 22.00 น. ทุกวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ และเทศกาลสำคัญ ตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566
กิจกรรมประจำสัปดาห์นี้ วันที่ 8 - 11 ธันวาคม 2566 มีดังนี้
- วันศุกร์ที่ 8 ธันวาคม 2566 กิจกรรมล้อมวงเล่า Sundown Talk "(เขาเล่าว่า?...ข้อเท็จจริงหลังเหตุการณ์กรุวัดราชบูรณะแตก (ตอนที่ 2)" โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา
- วันเสาร์ที่ 9 ธันวาคมน 2566 การขับร้องและบรรเลงดนตรีไทย โดยโรงเรียนเซนต์แมรี่ อ.บางปะอิน
- วันอาทิตย์ที่ 10 ธันวาคม 2566 การแสดงอังกะลุง จากกลุ่มอนุรักษ์อังกะลุง พระนครศรีอยุธยา และกิจกรรม ราตรีนี้...ที่วัดไชยฯ PODCAST EP.7 การดำเนินงานด้านโบราณคดีของวัดไชยวัฒนาราม ตอนที่ 1
- วันจันทร์ที่ 11 ธันวาคม 2566 การแสดงดนตรี ชุด "ออเจ้าเล่าขานผ่านบทเพลง โดย ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวสามารถซื้อบัตรเข้าชมได้ถึงเวลา 21.00 น. อัตราค่าธรรมเนียมเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 50 บาท
หมวดหมู่ พุทธศาสนาประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 60 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 57 ซม.อักษร ขอมฉบับ ล่องชาดได้รับบริจาคจากวัดท่าแค
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี เชิญชมนิทรรศการหมุนเวียน "Object of the Month" วัตถุจากคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี ประจำเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ เชิญพบกับ "แว" ดินเผา โบราณวัตถุที่นำมาจัดแสดงในนิทรรศการครั้งนี้ ได้แก่ "แว" ดินเผา จำนวน ๓ รายการ ซึ่งนายมนัส โอภากุล มอบให้เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๓๓ นิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับแว (spindle whorl) เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับปั่นฝ้ายให้เป็นเส้นด้าย จากนั้นนำไปทอเป็นผืนผ้า ในประเทศไทยพบว่า มีการใช้แวมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยหินใหม่ แวมีลักษณะทรงวงกลมหรือทรงคล้ายกรวยตัดหรือรูปลูกคิด เจาะรู้ตรงกลาง ส่วนใหญ่ทำจากดินเผา โดยจะใช้เป็นตัวถ่วงน้ำหนักเส้นใย โดยมีเนื้อหานิทรรศการที่น่าสนใจ ประกอบด้วย ความหมายและที่มาของแว รูปทรงของแว หน้าที่และการใช้งานของแว แวที่พบจากดินเผาต่าง ๆ
ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการ "แว" ดินเผา ได้ในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ เปิดวันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ปิดวันจันทร์ - วันอังคาร ณ ห้องโถงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๓๕๕๓ ๕๓๓๐ หรือเฟสบุ๊ก: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง ทวารวดีศรีนครปฐม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์และโบราณสถานผู้แต่ง สภาวัฒนธรรมจังหวัดนครปฐมประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN 978-616-543-559-8หมวดหมู่ ประวัติศาสตร์เลขหมู่ 959.372 ส227ทสถานที่พิมพ์ นครปฐมสำนักพิมพ์ สภาวัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม ปีที่พิมพ์ ม.ป.ป. ลักษณะวัสดุ 134 หน้า : มีภาพประกอบ ; 30 ซม.หัวเรื่อง สภาวัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม. นครปฐม -- ประวัติศาสตร์ นครปฐม -- โบราณสถานภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก รวบรวมประวัติศาสตร์เมืองนครปฐมบอกเล่าถึงความเป็นมาของเมือง แหล่งโบราณวัตถุและโบราณสถานที่สำคัญ ตำนาน วรรณคดีนิราศที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดนครปฐม และกลุ่มชาติพันธุ์ที่ตั้งหลักแหล่งในเมืองนครปฐม
แนะนำฐานข้อมูล GALE PRIMARY SOURCESArchives Unbound เป็นแหล่งข้อมูลปฐมภูมิและเอกสารหายากกว่า 200 คอลเลกชัน โดยนางสาวณัฐธิดา สถาอุ่น นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่
โกลนพระพุทธรูปยืน
- ทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๕)
- หิน
- ขนาด กว้าง ๔๐.๕ ซม. สูง ๑๗๑ ซม.
พบในจังหวัดนครปฐม โกลนของพระพุทธรูป ประทับยืนแบบสมภังค์ (ยืนตรง) ยกพระหัตถ์ขึ้นแนบกับพระอุระ หันฝ่าพระหัตถ์ออก เป็นไปตามลักษณะของปางประทานธรรม
แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/3d_object/?obj=40160
ที่มา: https://smartmuseum.finearts.go.th