ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ

ชื่อผู้แต่ง           ประชากิจกรจักร , พระยา (แช่ม  บุนนาค) ชื่อเรื่อง            ประวัติศาสนา ครั้งที่พิมพ์         - สถานที่พิมพ์       พระนคร สำนักพิมพ์         จำลองศิลป ปีที่พิมพ์            - จำนวนหน้า        ๒๒๔  หน้า หมายเหตุ           -                       หนังสือประวัติศาสนานี้ ว่าด้วยลัทธิศาสนาต่างๆ ก่อนพุทธกาล เมื่อพระพุทธศาสนายังมิได้ปรากฏขึ้นในโลกนั้นลัทธิศานาในโลกนี้มีหลายอย่างต่างๆ เพศตามคตินิยมของหมู่มนุษย์ที่อาศัยความเป็นอยู่ด้วยกรรมอันใดหรือสิ่งหรือบุคคลใด ก็ย่อมยึดถืออันนั้นเป็นสรณะว่าเป็นที่พึ่งของตน


---พระพุทธรูปอีกลุ่มหนึ่งที่จัดอยู่ในศิลปะแบบหริภุญไชยนอกจากพระพิมพ์ซึ่งทำจากจากดินเผาและโลหะเช่น สำริด แล้ว ยังพบการนำเงิน (Silver) ซึ่งเป็นโลหะมีค่าชนิดหนึ่ง นอกจากนำมาทำรูปเคารพแล้ว ยังมีการนำไปทำเครื่องประดับ ภาชนะ หรือใช้ทำเงินตรา เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พระพุทธรูปดุนเงินนี้นอกจากที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชยแล้ว ยังพบในบริเวณอื่น เช่น เวียงท่ากาน อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นเมืองโบราณที่มีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ควบคู่กับเมืองหริภุญไชย นักวิชาการหลายท่านได้ทำกรศึกษาต่างจัดให้พระพุทธรูปดุนเงินเหล่านี้อยู่ในศิลปะหริภุญไชยตอนปลาย ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘  ---ดุน จากพจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายว่า เป็นลักษณะงานศิลปกรรมประเภทหนึ่ง ทำโดยวิธีรุนให้ลวดลายหรือภาพนูนสูงขึ้นจากพื้นผิว โดยทั่วไปใช้กับโลหะ เช่น ทอง เงิน ทองแดง นอกจากการดุนแล้ว การที่จะให้เกิดลวดลายบนพื้นผิวมีความคมชัดมากขึ้นจำต้องอาศัยการสลักโดยการทำให้ส่วนพื้นลึกต่ำลงควบคู่กับการดุน จะทำให้ลายที่ดุนมาจากด้านหนึ่งเด่นชัดขึ้นมา เรียกว่าการสลักดุน  ---พระพุทธรูปดุนเงินในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย รับมอบจากวัดพระธาตุหริภุญไชย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ ส่วนมากมีสภาพชำรุด พระเศียรและพระวรกายแยกจากกัน มีทั้งที่ครองจีวรและทรงเครื่อง แสดงปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิเพชรแบบเห็นฝ่าพระบาทสองข้างชัดเจน ปัจจุบันพระพุทธรูปทั้งหมดจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ     หริภุญไชย นิทรรศการถาวร ห้องหริภุญไชย รากฐานล้านนา  ---อ้างอิง  ---ศักดิ์ชัย สายสิงห์, พระพุทธรูปในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการและความเชื่อของคนไทย. กรุงเทพฯ : ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556. ---สุรพล ดำริกุล, ประวัติศาสตร์และศิลปะหริภุญไชย. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, ๒๕๔๗. 



ตำราแก้ฝีหนอง ชบ.ส. ๑๑๙ พระครูวิจิตรธรรมรัตน์ เจ้าอาวาสวัดนามะตูม ต.นามะตูม อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี มอบให้หอสมุด ๓ มิ.ย. ๒๕๕0 เอกสารโบราณ (สมุดไทย)




สังคโลกกับสถาปัตยกรรม   ในการขุดค้นทางโบราณคดีที่แหล่งเตาเผาสังคโลก แหล่งโบราณคดี หรือโบราณสถานสมัยสุโขทัยหลาย ๆ แห่ง เราจะพบเครื่องสังคโลกประเภทต่าง ๆ อาทิ ภาชนะ ตุ๊กตา และรวมไปถึงเครื่องประกอบสถาปัตยกรรมอันเป็นโบราณวัตถุสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการก่อสร้างสถาปัตยกรรมในสมัยสุโขทัยให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น   สังคโลกที่เป็นเครื่องประกอบสถาปัตยกรรมมีหลายรูปแบบซึ่งให้ทั้งความสวยงามและประโยชน์ใช้สอย ได้แก่ โคมไฟ มีการเคลือบสีเขียวอมเทาและฉลุเป็นลายเครือเถาเพื่อให้แสงไฟสามารถลอดผ่านออกมาได้ ราวระเบียง ทำเป็นทรงกระบอกควั่นเป็นปล้อง เจาะช่องสำหรับเสียบกับเสาไม้ซึ่งวางเรียงต่อกันเป็นแนวตามระเบียงอาคาร กระเบื้องมุงหลังคา พบที่เคลือบด้วยน้ำยาเคลือบสีเขียวและไม่เคลือบผิว กระเบื้องเชิงชาย ทำเป็นลายเทพนมและลายพันธุ์ไม้ ใช้ปิดช่องของกระเบื้องกาบกล้วยบริเวณชายหลังคา บราลี เป็นเครื่องประดับหลังคา ลักษณะเป็นยอดขนาดเล็กใช้ปักตามแนวสันหลังคา   นอกจากส่วนประกอบต่าง ๆ ข้างต้นแล้ว ยังพบประติมากรรมสังคโลกที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องประกอบสถาปัตยกรรมด้วย เช่น ยักษ์ ถือกระบอง ทำหน้าที่เป็นทวารบาลดูแลรักษาศาสนสถานนั้น ๆ เทพนม เป็นประติมากรรมรูปเทวดาครึ่งตัวประนมมือ มกร สัตว์ผสมตามความเชื่อของคนในสมัยสุโขทัย มักประดับอยู่ที่มุมหลังคาหรือราวบันได   สังคโลกเหล่านี้ไม่ได้สร้างขึ้นเพียงเพื่อการใช้งานหรือเพื่อการประดับตกแต่งเท่านั้น ทว่ายังแฝงไปด้วยคติความเชื่อต่าง ๆ ทั้งความเชื่อเรื่องทวารบาลและเทวดาที่เป็นผู้พิทักษ์ไม่ให้สิ่งชั่วร้ายหรือภูตผีปีศาจเข้ามารบกวน มกรที่สื่อความหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งนอกจากจะทำให้เราจินตนาการภาพสิ่งก่อสร้างในสมัยสุโขทัยได้ชัดเจนขึ้นแล้ว โบราณวัตถุกลุ่มนี้ยังทำให้เราเข้าใจความเชื่อของผู้คนในสมัยนั้นมากขึ้นด้วยเช่นกัน


องค์ความรู้ เรื่อง กล้องยาสูบดินเผา (Clay Pipe) ตอนที่ ๑ ข้อมูลทั่วไปเรื่อง กล้องยาสูบดินเผาจากงานโบราณคดี เรียบเรียงข้อมูลโดย นางสาวกุลวดี สมัครไทย นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๘ ขอนแก่น 





ชื่อเรื่อง                         นิสัยวิสุทธิมรรค (นิไสวิสุทธิมัก)   สพ.บ.                           311/10หมวดหมู่                        พุทธศาสนาภาษา                            บาลี/ไทย-อีสานหัวเรื่อง                          พุทธศาสนา                                    ธรรมะกับชีวิตประจำวัน                                    ไตรสิกขาประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    52 หน้า : กว้าง 4 ซม. ยาว 56 ซม. บทคัดย่อเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


          เมื่อครั้งสิ้นแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวันที่ ๒๓ ตุลาคม รัตนโกสินทร์ ศก ๑๒๙ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดการบำเพ็ญพระราชกุศลพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ซึ่งในการพระราชกุศลสัปตมวารพระบรมศพ ครั้งที่ ๒ วันที่ ๕ พฤศจิกายน รัตนโกสินทร์ ศก ๑๒๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้มีการบำเพ็ญพระราชกุศลศราทธพรตร่วมถวายพระบรมศพด้วย โดยภายในการพระราชกุศลตามที่มีการบันทึกไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๒๗ ได้ปรากฏข้อความว่า ราชสำนักได้เชิญราชทูตและผู้แทนรัฐบาลต่างประเทศร่วมวางพวงมาลา ที่หน้าพระบรมศพ และมิสเตอร์ปิล อรรคราชทูตอังกฤษ ได้นำพวงมาลาของพระเจ้ากรุงอังกฤษ มาวางตามกระแสรับสั่ง ที่สำคัญพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดพิมพ์หนังสือ “พระธรรมเทศนาแลธรรมบรรยายศราทธพรต” เพื่อแจกผู้ร่วมในการพระราชกุศลครานั้นด้วย           หนังสือ “พระธรรมเทศนาแลธรรมบรรยายศราทธพรต” เล่มนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงแต่งถวายในการพระราชกุศลสักการะพระบรมศพพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื้อหาภายในเล่มแบ่งออกเป็น ๓ บท คือ บทศราทธพรตเทศนา บทศราทธพรตธรรมบรรยายของพระราชาคณะสงฆ์ และบทคำแปลศราทธพรตธรรมบรรยาย ซึ่งจัดพิมพ์ด้วยกระดาษหนาอย่างดีโดยโรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ เมื่อ ร.ศ. ๑๒๙ (พ.ศ. ๒๔๕๓) หากพิจารณาเนื้อความในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๒๗ หน้า ๑๙๕๙ - ๑๙๖๔ เรื่อง การพระราชกุศล ศราทธพรตแลสัปตมวารครั้งที่ ๒ ถวายที่พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.ศ. ๑๒๙ ทำให้ทราบว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส หรือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงถวายธรรมเทศนาธรรมบรรยายศราทธพรต และ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสถาพรพิริยพรต หรือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงเป็นประธานในการสวด ศราทธพรตธรรมบรรยายในการพระราชกุศลครานั้นด้วย           ปัจจุบัน “หนังสือพระธรรมเทศนาแลธรรมบรรยายศราทธพรต” และ “ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๒๗ รัตนโกสินทร์ ศก ๑๒๙” จัดเก็บและให้บริการ ณ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ห้องหนังสือหายาก หอสมุดดำรงราชานุภาพ และห้องหนังสือประเทศเทศไทย ราชกิจจานุเบกษา และหนังสือนานาชาติ หนังสือพระธรรมเทศนาแลธรรมบรรยายศราทธพรต ร.ศ. ๑๒๙ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๗ รัตนโกสินทร์ ศก ๑๒๙----------------------------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล : นางสาวรวิวรรณ พุฒซ้อน บรรณารักษ์ชำนาญการ กลุ่มบริการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุดแห่งชาติ----------------------------------------------------------------บรรณานุกรม “การพระราชกุศลศราทธพรตแลสัปตมวารครั้งที่ ๒ ถวายที่พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.ศ. ๑๒๙” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๗ (๒๐ พฤศจิกายน ร.ศ ๑๒๙) ๑๙๕๙ - ๑๙๖๔. ราม วชิราวุธ. ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๔๕. วชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา. พระธรรมเทศนาแลธรรมบรรยายศราทธพรต. พระนคร: โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ, ร.ศ. ๑๒๙.




Messenger