ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,727 รายการ

#เครื่องมือเครื่องใช้ในภาคเหนือแซะแซะ คือ เครื่องช้อนปลาบริเวณท้องนาหรือหนองน้ำตื้น ๆ ส่วนใหญ่ใช้ช้อนปลาเล็กและแมลงบางประเภท ลักษณะเป็นปากกรอบทรงสามเหลี่ยม กว้าง เอียงหงายทะแยงขึ้น ๔๕ องศา มีด้ามจับยาวประมาณ ๓๐ - ๖๕ เซนติเมตร ส่วนท้ายยกสูงยึดติดกับด้ามจับ มีหลายขนาด ขอบหลังของแซะรูปร่าง คล้ายตัวยูสานลายขัดแตะ ตัวแซะสานด้วยลายสองตา เพื่อให้น้ำไหลผ่านสะดวกแต่กันกุ้ง ปลา หรือแมลงตัวเล็กได้ภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่ ชุดภาพส่วนบุคคลของนายบุญเสริม สาตราภัยอ้างอิง : เทพพิทักษ์ บุญทา. ม.ป.ป. คู่มือเครื่องมือประมงพื้นบ้านภาคเหนือภายใต้โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม. คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่.


เลขทะเบียน : นพ.บ.182/1กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  42 หน้า ; 4 x 55 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 104 (101-109) ผูก 1ก (2565)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันธ์ขันธ์ --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


พาลุกานิสํสกถา (พาลุกานิสํสกถา)  ชบ.บ.65/1-1  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง                                ภตฺตทานานิสํสกถา (ฉลองตักบาตร) สพ.บ.                                  323/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           26 หน้า กว้าง 4.7 ซม. ยาว 58 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


เลขทะเบียน : นพ.บ.284/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 60 หน้า ; 4 x 55 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องชาด-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 120  (253-257) ผูก 5 (2565)หัวเรื่อง : เอกนิปาต--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ขอเผยแพร่องค์ความรู้ประจำเดือนพฤศจิกายน เรื่อง "นางอัปสรา ประติมากรรมปูนปั้นซุ้มปราสาทเฟื้อง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง"    รูปนางอัปสราที่ปรากฏภายในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียงอยู่ที่บริเวณฐานของซุ้มปราสาทเฟื้อง นางอัปสรา หรือนางอัปสร (Apsara) มาจากคำว่า อัป ในภาษาสันสกฤต หมายถึง “น้ำ” และคำว่า สรา หมายถึง “เคลื่อนไหว” เมื่อรวมกันจึงมีความหมายว่า “ผู้เคลื่อนไหวในน้ำ”  บางครั้งเรียกว่า “สุรสุนทรี” หรือ “วิทยาธนี”   ในคัมภีร์ปุราณะของฮินดูเล่าว่า นางอัปสราเกิดจากการกวนเกษียรสมุทรของเหล่าทวยเทพและอสูร เพื่อให้ได้มาซึ่งน้ำอมฤต โดยก่อนที่จะได้น้ำอมฤตนั้นบังเกิดสิ่งของมากมายหลายอย่าง  หนึ่งในสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นคือนางอัปสรานับหมื่นนับแสน ทั้งหมดล้วนเป็นหญิงงาม ประดับด้วยเครื่องถนิมพิมพาภรณ์อย่างอลังการ แต่ไม่มีเทวดาองค์ใดหรืออสูรตนใดยอมรับเป็นคู่ครอง ด้วยเหตุนี้ พวกนางจึงกลายเป็นของกลางมีหน้าที่ขับกล่อมดนตรีและบำเรอกามให้แก่เหล่าเทพและอสูร นอกจากนี้ นางอัปสรยังมีหน้าที่นำวิญญาณของวีรบุรุษที่ตายในสนามรบขึ้นสู่สรวงสวรรค์และถวายรายงานต่อเทพเจ้าด้วย  การประดับรูปนางอัปสรา คงต้องการแสดงนัยยะว่าเป็นดินแดนแห่งสรวงสวรรค์ อันเป็นที่สถิตของเหล่านางอัปสราและเทวดาทั้งหลาย  ประติมากรรมปูนปั้นรูปนางอัปสราที่ประดับอยู่ที่ส่วนฐานของซุ้มปราสาทเฟื้องนี้มีลักษณะใบหน้าเหลี่ยม หน้าผากกว้าง ท่าทางและเครื่องทรงแบบศิลปะเขมร  ประกอบด้วย กระบังหน้าและเครื่องประดับศีรษะ สวมสร้อยคอ พาหุรัด กำไลข้อมือ และกำไลข้อเท้า จากการศึกษาผ้าทรงของนางอัปสรา พบว่า ด้านหน้าผ้าทรงและด้านหลังประดับชายผ้านุ่งข้างหน้าพับซ้อนกันและส่วนล่างของชายก็ขยายออกเป็น ชายหางปลา  หรือที่เรียกว่า ผ้าหางไหลพับซิกแซก  มีความคล้ายคลึงกับผ้าทรงของนางอัปสราในศิลปะเขมร แต่เนื่องจากมีลักษณะบางประการของนางอัปสราบนฐานซุ้มปราสาทเฟื้องนี้ ที่ผ้าพบเป็นเส้นขีดเป็นริ้วบริเวณส่วนปลายผ้าชายหางปลา และปลายผ้าห้อยหน้าของผ้าทรงนางอัปสรา ซึ่งเป็นริ้ว เป็นลักษณะที่ไม่นิยมในศิลปะเขมร แต่พบในผ้าทรงแบบสุโขทัยประยุกต์ที่นิยมกันตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เป็นต้นไป ดังนั้นจึงสันนิษฐานว่าเป็นผลงานของสกุลช่างสุโขทัยที่จำลองมาจากศิลปะเขมร โดยมีอายุร่วมสมัยกันประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐  นอกจากนี้ยังพบศิลปกรรมการนุ่งผ้าทรงที่ได้รับอิทธิพลศิลปะเขมรเช่นเดียวกันในอาณาจักรสุโขทัย เช่น ผ้าทรงเทวดาในจารึกภาพชาดกวัดศรีชุม วัดศรีสวาย และวัดเจดีย์สี่ห้อง เป็นต้น  บรรณานุกรมบันลือ ขอรวมเดช, รูปแบบศิลปะบนแผ่นภาพจารึกลายเส้นเรื่องชาดกของวัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย.  (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร), ๒๕๓๓.วรารักษ์ ชะอุ่มงาม, การวิเคราะห์ผ้าทรงในศิลปะสุโขทัยและล้านนาในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๐. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ ภาควิชา ประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร), ๒๕๕๗. ศักดิ์ชัย สายสิงห์, ศิลปกรรมโบราณในอาณาจักรสุโขทัย. นนทบุรี : มิวเซียมเพรส, ๒๕๖๑.สุภัทรดิศ ดิศกุล, หม่อมเจ้า. ศิลปะขอม. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, ๒๕๔๗.อรุณศักดิ์ กิ่งมณี, ทิพยนิยายจากปราสาทหิน. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๕๕.Monier Monier-Williams, Sir. A Sanskit-English Dictionary (Oxford: Oxford University) ๑๘๘๙.



วัดสุปัฏนารามวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ถนนสุปัฏน์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ตามประวัติระบุว่าเริ่มสร้างในปี พ.ศ. ๒๓๙๓ โดย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โดยมอบหมายให้พระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฎ) เจ้าเมืองอุบลราชธานีลำดับที่ ๓ เป็นประธานเลือกพื้นที่ตั้งวัดให้เป็นที่จำพรรษาของพระพนฺธุโล (ดี) นับเป็นวัดธรรมยุติกนิกายแห่งแรกในอีสาน และโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อวัดว่า “สุปัฏนาราม” ในความหมายว่า วัดที่มีท่าน้ำหรือท่าเรือที่ดี สะดวกในการขึ้นลง ทั้งนี้ท่าเรือวัดสุปัฏนารามวรวิหารตั้งอยู่ทางทิศใต้ซึ่งเป็นด้านหน้าวัด . อุโบสถ (สิม) วัดสุปัฏนารามวรวิหาร สร้างในระหว่าง พ.ศ. ๒๔๖๐-๒๔๗๙ สมัยสมเด็จพระมหาวีร-วงศ์ (อ้วน ติสฺโส) เจ้าคณะมณฑลอุบลราชธานี เจ้าอาวาสลำดับที่ ๗ ออกแบบโดยหลวงสถิตถ์นิมานการ (ชวน สุปิยพันธ์) เพื่อทดแทนอุโบสถ (สิม) หลังเก่าที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔ ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบพระราชนิยมในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ก่ออิฐถือปูน หันหน้าไปทางทิศใต้ ตัวอาคารตั้งอยู่ภายในกำแพงแก้ว มีขนาด ๙ ห้อง โดย ๒ ห้องด้านหน้าและ ๒ ห้องด้านหลังเป็นโถง โครงสร้างอาคารใช้เสาก่ออิฐสี่เหลี่ยมและผนังรองรับน้ำหนักหลังคาจั่วที่ต่อหลังคาปีกนกด้านข้างรับด้วยเสาก่ออิฐ ประดับหัวเสาด้วยบัวแวง ระหว่างเสาก่ออิฐเป็นวงโค้งหยักปลายแบบกรอบหน้านาง ประดับดาวเพดานทั้งภายในและภายนอก มีประตูรอบตัวอาคาร เหนือประตูเป็นช่องลมที่แต่งปูนปั้นรูปธรรมจักรและอุณาโลม มีบันไดทางขึ้นบริเวณระเบียงด้านหน้าและด้านหลัง รวม ๔ ทาง เชิงบันไดประดับสิงโตหมอบปูนปั้น หน้าจั่วเรียบเต็มเสมอเสาด้านหน้า ตกแต่งหน้าบันทั้งด้านหน้าและด้านหลังด้วยลายปูนปั้นรูปเจดีย์ทรงระฆัง ล้อมรอบด้วยลายพันธุ์พฤกษาแบบลายไทย ประดับช่อฟ้า (โหง่) แบบหัวนาค ใบระกาแบบลำตัวนาค หางหงส์เป็นหัวนาคเช่นกัน ภายในอุโบสถประดิษฐานพระประธานสำริดนาม “พระสัพพัญญูเจ้า” จำลองจากพระพุทธชินราช ประทับนั่งบนฐานแอ่นโค้งขาสิงห์ . กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานวัดวัดสุปัฏนารามวรวิหาร ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๓ หน้า ๑๕๓๓ วันที่ ๒๗ กันยายน ๒๔๗๙ แต่ยังไม่ได้ประกาศแนวเขตพื้นที่ดินโบราณสถาน โดยมีสิ่งสำคัญ คือ อุโบสถ (สิม) วัดสุปัฏนาราม วรวิหาร ------------------------------------------ ++อ้างอิงจาก++ . กองพุทธศาสนสถาน, กรมการศาสนา. ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๑๔. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์การศาสนา, ๒๕๓๘. หน้า ๓๗๑ . คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุฯ. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญาจังหวัดอุบลราชธานี. หนังสือเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒, ๒๕๔๔.หน้า ๑๒๗ . สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี. โบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนแล้วในพื้นที่สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี (เล่ม ๑ : จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดยโสธร จังหวัดมุกดาหาร). อุบลราชธานี : ห้างหุ้นส่วนจำกัด อุบลกิจออฟเซทการพิมพ์, ๒๕๖๓. ข้อมูล : กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี


 




-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : ว่าด้วยเรื่องของฝาย (ตอนจบ) -- การมีฝายตามลำน้ำต่างๆ มิใช่การควบคุมน้ำแต่หน้าฝายเท่านั้น หากยังดูแลท้ายฝายด้วย แล้วท้ายฝายมีอะไร? ท้ายฝาย คือลำน้ำตามธรรมชาติ อาจเป็นห้วย บึงใหญ่มีทางระบายไปสู่คลอง ซึ่งมีการปรับปรุง ปรับแต่ง ให้เป็นระบบบังคับตามที่ฝายถูกออกแบบไว้ ปี 2519 งานบูรณะแหล่งน้ำและก่อสร้าง กรมประมง ได้ออกแบบรูปตัดคลองระบายน้ำท้ายฝายน้ำล้น ห้วยสกึ๋น หนองหลวง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย เพื่อปรับระดับคลองระบายน้ำให้ได้มาตรฐาน จากแบบแปลน สังเกตได้ว่า แนวดินของเดิมกับระดับพื้นคลองมีความลาดชันเป็นรูปตัว (V) ทั้ง 2 ข้าง แล้วความลาดชันนี้ต้องรองรับปริมาณน้ำได้ไม่ให้ไหลเอ่อขึ้นท่วมพื้นที่ข้างบน แต่อย่างไรก็ตาม แบบแปลนไม่ระบุวัสดุก่อสร้างว่า พื้นคลองกับแนวลาดชันเป็นคอนกรีตหรือดินธรรมชาติดังเดิม รวมทั้งความลาดของพื้นคลอง (ความเอียง) เพื่อบังคับน้ำให้ไหลเป็นอย่างไร เพราะหากพื้นคลองไม่มีความลาด เป็นแนวระนาบเดียวตลอด น้ำก็จะไหลช้าลงเท่านั้น แบบแปลนเกี่ยวกับฝายดังได้แสดงมาทั้ง 2 ตอนนี้ ส่วนใหญ่จะมีเพียงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้รับเหมาก่อสร้างที่จำเป็นต้องใช้ เมื่อแบบแปลนได้รับการประเมินคุณค่าเป็นเอกสารจดหมายเหตุแล้ว แบบแปลนจึงมีความสำคัญต่อการศึกษาค้นคว้า เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ สะท้อนกิจกรรมที่มันถูกผลิตขึ้น แงล้วนำมาสู่การเรียนรู้ ซึ่งอย่างน้อยเรื่องของ " ฝาย " ทำให้เราเห็นความสำคัญต่อการจัดการน้ำได้ดียิ่ง. ผู้เขียน : นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)เอกสารอ้างอิง : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยา ผจ (2) กษ 1/2 แบบรูปตัดคลองระบายน้ำท้ายฝายน้ำล้นห้วยสกึ๋น หนองหลวง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย [26 ก.พ. 2519]#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ





ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           61/3ประเภทวัสดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                               26 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา