ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,351 รายการ


๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๖*..พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญทรงสร้างสรรค์กำลังใจให้ความหวังเกษตรกรทั่วธานีมีพลังปลูกพืชพันธุ์งามสะพรั่งทั้งแผ่นดิน..*ประพันธ์ : นัยนา แย้มสาขา อดีตผู้อำนวยการสำนักจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรมภาพ : จิตรกรรมฝาผนัง วิหารวัดป่าแดด อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ โดยกลุ่มอนุรักษ์จิตรกรรมและประติมากรรม กองโบราณคดี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม


ไซอิ๋ว เล่ม ๑.  พระนคร: องค์การค้าของคุรุสภา, ๒๕๑๒.           ไซอิ๋ว เป็นพงศาวดารจีนที่ได้รับการแปลเป็นหนังสือชุดภาษาไทยลำดับที่ ๑๖ นับเป็นเรื่องที่แยกออกจากพงศาวดารซุยถังในแผ่นดินของพระเจ้าถังไทจงฮ่องเต้กษัตริย์ที่ ๒ แห่งราชวงศ์ถัง  โดยไซอิ๋ว เล่ม ๑ เป็นเรื่องราวของพระถังซัมจั๋งเป็นภิกษุที่อาสาไปเรียนพระพุทธศาสนาในลังกาทวีปคือ ทิศตะวันตกที่เกาะลังกาสิง และได้พบกับศิษย์วิเศษผู้หนึ่งชื่อ เกาซือเทียน ซึ่งก็คือ หงอคง ภาษาไทยว่า หนุมานจีน ซึ่งในเล่มนี้จะกล่าวเรื่องประวัติของเกาซือเทียน คือ หงอคงหนุมานจีน


ชื่อเรื่อง                         ธมฺมบทวณฺณนา ธมฺมบทฏฺฐกถา (ขุทฺทกนิกายฏฺฐกถา) อย.บ.                            327/18 หมวดหมู่                       พุทธศาสนา ลักษณะวัสดุ                   52 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 53 ซม. หัวเรื่อง                         พระธรรมเทศนา                                                                       บทคัดย่อ/บันทึก           เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับล่องชาด ไม้ประกับธรรมดา


โบราณสถานปราสาททามจาน จังหวัดศรีสะเกษ เป็นโบราณสถานที่สร้างขึ้นตามรูปแบบสถาปัตยกรรมเขมร ในศิลปะแบบบายน ตรงกับรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรเขมร (พ.ศ.1724 - 1761) หันด้านหน้าไปทางทิศตะวันออก มีโคปุระหรือซุ้มประตูทางเข้าอยู่ด้านหน้า มีแนวกำแพงแก้วซึ่งก่อสร้างเชื่อมออกมาจากด้านข้างของโคปุระทั้งสองข้าง ด้านทิศเหนือและด้านทิศใต้ ล้อมเป็นกรอบรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าล้อมรอบโบราณสถานที่อยู่ภายใน พนักงานดูแลรักษาโบราณสถาน : หยาดพิรุณ วิส


          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี ขอเชิญชมนิทรรศการหมุนเวียน  "Object of the Month" วัตถุจากคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี  ประจำเดือน "สิงหาคม" เชิญพบกับ "มีดตัดหวายลูกนิมิต" จัดแสดงให้ชมระหว่างวันที่ ๑ - ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๖           “มีดตัดหวายลูกนิมิต” มีดสำคัญที่ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ ทรงใช้ประกอบพิธีตัดหวายลูกนิมิต ณ อุโบสถวัดดอนเจดีย์ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๑๖           ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการ "มีดตัดหวายลูกนิมิต" ได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๖ (ปิดวันจันทร์ วันอังคาร) ณ ห้องโถงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๓๕๕๓ ๕๓๓๐ หรือเฟสบุ๊ก: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี


           กรมศิลปากร ขอเชิญร่วมประกวดผลงานภาพถ่ายภายใต้หัวข้อ "แต่งไทย ชมวัดไชยฯ ยามราตรี" ชิงเงินรางวัลรวม 40,000 บาท ในงาน "ราตรีนี้...ที่วัดไชยวัฒนาราม Ayutthaya Sundown"            - รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล  20,000 บาท  จำนวน 1 รางวัล            - รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 เงินรางวัล 10,000 บาท  จำนวน 1 รางวัล            - รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 เงินรางวัล 5,000 บาท  จำนวน 1 รางวัล            - รางวัลพิเศษสำหรับภาพถ่ายวัยเกษียณสำราญ (นายแบบ/นางแบบ อายุมากกว่า 65 ปี )            - เงินรางวัล 5,000 บาท จำนวน 1 รางวัล             ผู้สนใจร่วมกิจกรรม สามารถติดตามรายละเอียดของกติกาการประกวด ได้ทาง Facebook : อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา Ayutthaya Historical Park  (www.facebook/AY.HI.PARK)


องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “วันปิยมหาราช 23 ตุลาคม” วันปิยมหาราช ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นที่รักใคร่อย่างล้นเหลือของพสกนิกรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ พระองค์จึงได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า “สมเด็จพระปิยมหาราช” ซึ่งมีความหมายว่า “พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน” ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคม เป็น “วันปิยมหาราช” พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ประสูติเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 พระนามเดิมว่า “สมเด็จ เจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์” เมื่อพระชนม์ 9 พรรษาได้รับสถาปนาเป็นกรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ ต่อมาอีก 4 ปี ได้เลื่อนเป็น “กรมขุนพินิตประชานาถ” เสด็จขึ้นครองราชย์ มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 16 ปี ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ จึงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน และสถาปนากรมหมื่นบวรวิชัยชาญ พระโอรสองค์ใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ พระมหาอุปราช เมื่อมีพระชนมายุใกล้บรรลุนิติภาวะได้ทรงผนวชเป็นภิกษุ เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2416 และลาผนวช เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2416 แล้วโปรดให้มีกสารราชาภิเษกอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2416 เพื่อแสดงให้ประชาชนและชาวต่างชาติทราบว่าพระองค์ทรงรับผิดชอบในการปกครองบ้านเมืองด้วยพระองค์เองแล้ว พระราชกรณียกิจที่สำคัญ ได้แก่ การเลิกทาส การปฏิรูประเบียบบริหารราชการ การศึกษา การศาล การคมนาคม การสุขาภิบาล ฯลฯ การเลิกทาส พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ให้มีการเลิกทาสให้เป็นไทตั้งแต่พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ ด้วยทรงไม่ต้องการให้มีการกดขี่เหยียดหยามคนไทยด้วยกันเอง และทรงเห็นว่าการมีทาสเป็นสิ่งที่ล้าสมัย ไม่เหมาะกับประเทศที่เจริญแล้ว พระองค์ได้ทำการปรึกษาราชการแผ่นดินในหลายฝ่ายเพื่อหาวิธีไม่ให้มีเหตุกระทบกระเทือนต่อตัวทาสและเจ้าของทาส ดังนั้นในปี พ.ศ. 2416 พระองค์ได้ทรงตราพระราชบัญญัติทาส ห้ามคนที่เกิดในรัชกาลปัจจุบันเป็นทาส และต่อมาพระองค์ทรงตราพระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุลูกทาสลูกไท ณ วันที่ 18 ตุลาคม 2417 ด้วยพระวิริยะอุตสาหะทำให้ทรงประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในการปลดปล่อยทาสให้เป็นไทโดยไม่ต้องสูญเสียเลือดเนื้อแม้แต่หยดเดียว นอกจากนี้ การเสด็จประพาสต้น ก็เป็นพระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะดูแลทุกข์สุขของราษฎรอย่างใกล้ชิด ดังนั้น จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดการเสด็จพระราชดำเนินเป็นการลับทางรถไฟหรือไม่ก็ทางเรือ ทรงแต่งพระองค์อย่างสามัญชน เพื่อทอดพระเนตรชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 สิริรวมพระชนมายุได้ 58 พรรษา ครองราชสมบัตินานถึง 42 ปี นับเป็นความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ ด้วยทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่พระปรีชาสามารถ และเป็นที่รักยิ่งของพสกนิกรไทย สมกับพระราชสมัญญา "พระปิยมหาราช” ซึ่งแปลความหมายว่า "พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน” อ้างอิง : บุญเติม แสงดิษฐ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : พัชรการพิมพ์. 2541. ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี


ชื่อเรื่อง                     หอสมุดแห่งชาติสาขาประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ผู้แต่ง                       กรมศิลปากรประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากISBN/ISSN                 974-7920-68-9หมวดหมู่                   บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์เลขหมู่                      027.5593 ศ528หสถานที่พิมพ์               กรุงเทพฯสำนักพิมพ์                 สหประชาพาณิชย์ปีที่พิมพ์                    2528ลักษณะวัสดุ               84 หน้าหัวเรื่อง                     บุรีรัมย์ – ความเป็นอยู่และประเพณี                              บุรีรัมย์ – หอสมุดแห่งชาติสาขาภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกหอสมุดแห่งชาติสาขาประโคนชัย เปิดให้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าและให้บริการด้านวิชาการแก่นักเรียน นักศึกษา ประชาชนในชนบทเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถ และเพื่อประชาชนจะได้นำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้า    


ชื่อเรื่อง                     สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถผู้แต่ง                       ประยูร พิศนาคะประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ชีวประวัติ ประวัติบุคคลเลขหมู่                      923.1593 ป365สสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 สำนักงานหอสมุดกลางปีที่พิมพ์                    ม.ป.ป.ลักษณะวัสดุ               508 หน้าหัวเรื่อง                     สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ                              พระราชกรณียกิจภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกรวบรวมพระราชกรณียกิจต่างๆ ที่ทรงบำเพ็ญ และทรงบำเพ็ญต่อไปด้วยพระราชศรัทธาอันหาที่สุดมิได้


-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : ป่าน้ำว้า ตำบลขึ่ง ตำบลไหล่น่าน -- เมื่อหลายสิบปีก่อน อุตสาหกรรมป่าไม้ของไทยได้รับความนิยม ป่าไม้ในภาคเหนือเช่นที่จังหวัดน่านมีพันธุ์ไม้ชั้นดีมากมาย รัฐได้กำหนดผืนป่าบางส่วนสำหรับสัมปทานทำไม้หรือเรียกกันทั่วไปว่า " เปิดป่า " . เอกสารจดหมายเหตุของสำนักงานป่าไม้จังหวัดน่านฉบับหนึ่ง คือแผนที่ป่าไม้นอกโครงการน้ำน่านฝั่งซ้าย แสดงบริเวณป่าน้ำว้า ตำบลขึ่งและตำบลไหล่น่าน ที่เจ้าหน้าที่หรือเอกชนร่างการสำรวจไว้เพื่อขอทำไม้. ลักษณะแผนที่ถูกจัดทำในขนาดมาตราส่วน 1: 50,000 ภายในพื้นที่มีแม่น้ำว้าไหล่ผ่านกลางจากทิศตะวันตกสู่ทิศตะวันออก ลำห้วยต่างๆ แตกสาขาจากแม่น้ำออกไปดั่งเส้นเลือดฝอย เช่น ห้วยเดีย ห้วยปง ห้วยหนวน ห้วยสะลื่น ห้วยสวน และห้วยผายาว ฯลฯ ริมแม่น้ำประกอบไปด้วยหมู่บ้านเป็นระยะ ได้แก่ บ้านขึ่ง บ้านท่าลี่ บ้านห้วยสวน บ้านห้วยเม้น และบ้านหาดไร่ ถึงแม้แผนที่จะไม่แสดงความเขียวครึ้มของผืนป่า หากผู้สำรวจได้ระบายสีม่วงบริเวณพื้นที่ขอทำไม้ไว้ แสดงว่าจุดนั้นต้องอุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้ต่างๆ แน่นขนัด ที่สำคัญมันอยู่เลียบแม่น้ำว้าทั้งสองฝั่งและกว้างเกือบ 3 ใน 4 ของแผนที่ ทั้งมิต้องกล่าวถึงพันธุ์สัตว์ชนิดต่างๆ ที่อาศัยอยู่ด้วย คงจะมีปริมาณมากเช่นกัน. อย่างไรก็ดี นอกจากองค์ประกอบทางกายภาพแล้ว แผนที่ยังสะท้อนนัยให้เราทราบอีกบางประการ เช่น. 1. คนอยู่กับป่า ทั้งดำรงชีพหรือพึ่งพาอาศัยกันและกันมาแต่แรก 2. ระบบนิเวศน์อุดมสมบูรณ์ ไม่เช่นนั้นไม่ถูกสำรวจเพื่อขอทำไม้ 3. ชื่อแผนที่คือ " ป่านอกโครงการ ... " สันนิษฐานว่าอาจเคยถูกกันเอาไว้ไม่ให้รับสัมปทาน เพื่อสงวนพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์. น่าเสียดายที่แผนที่ไม่ได้ระบุรายละเอียดใดๆ เพิ่มเติม แม้กระทั่งวันเวลาที่จัดทำ มิฉะนั้น เราจะเข้าใจผืนป่าแห่งนี้มากขึ้น และตอบคำถามหนึ่งได้ว่า สุดท้ายผืนป่าน้ำว้า ตำบลขึ่ง ตำบลไหล่น่าน ถูกสัมปทานหรือไม่ ??.ผู้เขียน: นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา).เอกสารอ้างอิง: หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสำนักงานป่าไม้จังหวัดน่าน ผจ นน 1.6/11 แผนที่ป่านอกโครงการน้ำน่านฝั่งซ้าย แสดงบริเวณป่าน้ำว้า ตำบลขึ่ง ตำบลไหล่น่าน อำเภอสา จังหวัดน่าน [ ม.ท. ].#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ


วันเด็กแห่งชาติ เรียบเรียงโดย : ภควรรณ คุณากรวงศ์ บรรณารักษ์ชำนาญการ


ชื่อเรื่อง                    สพ.ส.70 ตำรายาแผนโบราณประเภทวัสดุ/มีเดีย       สมุดไทยขาวISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                  เวชศาสตร์ลักษณะวัสดุ              160; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง                    ตำรายาแผนโบราณ                    ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   ประวัติวัดอู่ทอง ต.โคกคราม  อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ 


         พระพิมพ์ดินเผา          แบบศิลปะ : ทวารวดี          ชนิด :  ดินเผา          ขนาด : กว้าง 6 เซนติเมตร สูง 9.5 เซนติเมตร          อายุสมัย : ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 - 13 (หรือราว 1,300 - 1,400 ปีมาแล้ว)          ลักษณะ : พระพิมพ์ดินเผารูปพระสาวก เป็นรูปพระภิกษุนั่งขัดสมาธิราบในท่าสมาธิ ครองจีวรห่มเฉียงไม่มีรัศมี สิ่งสำคัญคือด้านหลังองค์พระพิมพ์ มีจารึก อักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต          ประวัติ : ได้จากเจดีย์หมายเลข 11 อำเภออู่ทอง          สถานที่จัดแสดง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี   แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/uthong/360/model/03/   ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/uthong



Messenger