ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 44,149 รายการ

         เกวียน (ระแทะ)          ลักษณะ : เกวียน หรือ ระแทะ เป็นยานพาหนะเทียมวัว/ควาย สำหรับเดินทางไกลของของคนในอดีต ทั้งยังเป็นยานพาหนะสำหรับขนสิ่งของ ที่จะนำไปขายค้า หรือย้ายถิ่นฐาน เกวียนสองเล่มนี้เป็นของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เจ้าเมืองพระตะบอง ที่น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ส่วนประกอบต่าง ๆ ของเกวียนมีการแกะสลักลวดลายให้มีความวิจิตรมากกว่าเกวียนทั่วไป เกวียนเล่มที่ ๑ เป็นเกวียนสำหรับบรรทุกสิ่งของ ส่วนเกวียนเล่มที่ ๒ เป็นเกวียนสำหรับคนนั่ง มีหลังคาทรงประทุน คลุมเพื่อกันแดดกันฝน ท้ายของประทุนทำเป็นบานหน้าต่างเปิดปิด          ขนาด : ๑. สูง ๕๕ เซนติเมตร กว้าง ๒๐๐ เซนติเมตร          ชนิด : ไม้ แกะสลัก          อายุ/สมัย : รัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๕          ประวัติ : ระแทะเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ได้มาจากเมืองพระตะบอง ในสมัยรัชกาลที่ ๕     แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/3d_object/?obj=52862   ที่มา: https://smartmuseum.finearts.go.th




ชื่อเรื่อง                     สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฐาน)อย.บ.                       66/3หมวดหมู่                   พุทธศาสนาประเภทวัสดุ/มีเดีย       คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ               82 หน้า : กว้าง 4.8 ซม. ยาว 53.5 ซม.บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับล่องชาด  ไม้ประกับธรรมดา ได้รับจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ชื่อเรื่อง                     สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฐาน)อย.บ.                       87/7หมวดหมู่                   พุทธศาสนาประเภทวัสดุ/มีเดีย       คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ               34 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 54 ซม.บทคัดย่อ/บันทึก                    เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับล่องชาด ไม้ประกับธรรมดา ได้รับจาก จ.พระนครศรีอยุธยา 




ชื่อเรื่อง : เล็ก โกเมศ อนุสรณ์ หัวเรื่อง : หนังสืออนุสรณ์งานศพ             หอการค้าไทย             สมาคมพ่อค้าไทย             เล็ก โกเมศ, 2435 – 2505. คำค้น : ประวัติหอการค้าไทย  ประวัติสมาคมพ่อค้าไทย รายละเอียด : หอการค้าไทยจัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพ นายเล็ก โกเมศ ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันเสาร์ ที่ 5 พฤษภาคม 2505 ผู้แต่ง : วิรัช พึ่งสุนทร, 2450-2518. แหล่งที่มา : หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี หน่วยงานที่รับผิดชอบ : - ปีที่พิมพ์ : 2516 วันที่เผยแพร่ :  27 มีนาคม 2568 ผู้ร่วมสร้างสรรค์ผลงาน : - ลิขสิทธิ์ :  - รูปแบบ : PDF ภาษา : ภาษาไทย ประเภททรัพยากร : หนังสืออนุสรณ์งานศพ ตัวบ่งชี้ : - รายละเอียดเนื้อหา : เล็ก โกเมศเป็นบุคคลสำคัญในวงการธุกิจการค้า และเป็นท่านหนึ่งที่มีส่วนร่วมในการดำเนินการรวบรวมบรรดาผู้ประกอบการ ร้านค้าทั่วไปให้รวมกันเป็นกลุ่มโดยเป็นผู้ริเริ่มการก่อตั้งสถาบันการค้าที่มีชื่อว่า “หอการค้ากรุงเทพ” หอการค้าไทยจึงได้จัดทำหนังสือโดยนำเอาประวัติของสมาคมพ่อค้าไทยว่าเดิมเป็นมาอย่างไร เกิดขึ้นมาเป็นสมาคมพ่อค้าไทยได้อย่างไร และได้และมีพัฒนาการเป็นหอการค้าไทยอีกสถาบันหนึ่งได้อย่างไร รวมถึงรายละเอียดสถานที่ทำการ คณะกรรมการตลอดจนบทบาทหน้าที่ของสมาคมและหอการค้าไทยในช่วงแรกเริ่ม เลขทะเบียน : น. 68 บ. 79041 จบ. (ร) เลขหมู่ : 923.8            ล751


ชื่อเรื่อง                     สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฐาน)อย.บ.                       110/1ประเภทวัสดุ/มีเดีย       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                   พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ               20 หน้า กว้าง 4.8 ซม. ยาว 55.5 ซม.หัวเรื่อง                     พระไตรปิฎกบทคัดย่อ/บันทึก           เป็นคัมภีร์ใบลาน ธรรมอีสาน ฉบับล่องชาด มีไม้ประกับ




๑.การจัดแสดงภาพในอาคารจัดแสดง แบ่งออกเป็น    ชั้นล่าง จัดแสดงเรื่องราวด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดีของจังหวัดชัยนาท โบราณวัตถุที่จัดแสดง ได้แก่ เครื่องใช้ เครื่องประดับสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยทวารวดี พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ อีกส่วนหนึ่งจัดแสดงโบราณวัตถุที่สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา เช่น ตู้พระธรรม เครื่องบริขารถมปัด ประติมากรรมและเครื่องถ้วยในศิลปะลพบุรี สุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์ และศิลปะจีนภาพห้องจัดแสดงชั้นล่าง ชั้นบน จัดแสดงพระพิมพ์ที่ได้จากการดำเนินงานทางโบราณคดีในประเทศไทย ตั้งแต่พระพิมพ์ในศิลปะทวารวดี ศิลปะศรีวิชัย ศิลปะลพบุรี ศิลปะอยุธยา ศิลปะรัตนโกสินทร์ แม่พิมพ์พระพิมพ์ แผงพระพิมพ์ไม้ และพระพุทธรูปสำริดขนาดเล็ก ในห้องจัดแสดงชั้นบนนี้ มีโบราณวัตถุชิ้นสำคัญของชาติ คือ พระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะล้านนา อิทธิพลสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ๒๑ เป็นโบราณวัตถุที่เป็นสมบัติชิ้นสำคัญของชาติ พระพุทธรูปโบราณลักษณะนี้มีอยู่เพียงชิ้นเดียวในประเทศ ภาพห้องจัดแสดงชั้นบน  (ขวา)พระพุทธรูปปางมารวิชัย (หลวงพ่อเพชร) ศิลปะล้านนา-สุโขทัยโบราณวัตถุชิ้นสำคัญของชาติ ๒.การจัดแสดงนอกอาคารจัดแสดง อาคารพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน เป็นการจัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตร การทำมาหากิน วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี ของคนไทยในอดีต แสดงถึงภูมิปัญญาพื้นบ้านที่คิดประดิษฐ์สิ่งของจากวัสดุธรรมชาติ ในการดำรงชีวิตประจำวันภาพอาคารจัดแสดงพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน







แหล่งโบราณคดีโนนหนองหอ ต.นาอุดม อ.นิคมคำสร้อย จ.มุกดาหาร เป็นแหล่งโบราณคดีในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย หรือ ยุคเหล็ก อายุประมาณ 2500 -1500 ปีมาแล้ว จากการดำเนินงานระหว่าง ปี 2550-2552 ทั้งงานโบราณคดีและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการมรดกศิลปวัฒนธรรมในชุมชนท้องถิ่น ทำให้ได้มาซึ่งข้อมูลทางวิชาการที่สำคัญทั้งยังเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นในวงการโบราณคดีประเทศไทย นั่นก็คือ การค้นพบแหล่งผลิตกลองมโหระทึกในประเทศไทย  เมื่อพิจารณาถึงการแพร่กระจายกลองมโหระทึกตามชุมชนโบราณหลายแห่งในประเทศไทย ซึ่งเดิมเราต่างก็เชื่อกันว่ากลองมโหระทึกเหล่านั้นผลิตขึ้นในแถบจีนตอนใต้และเวียดนามเหนือทั้งสิ้น   จากหลักฐานสำคัญของแหล่งโบราณคดีโนนหนองหอ ไม่ว่าจะเป็น ชิ้นส่วนแม่พิมพ์กลอง เบ้าหลอม ก้อนโลหะ (สำริด /ทองแดง)  แม่พิมพ์เครื่องมือ  เครื่องมือเครื่องใช้สำริด  ได้แสดงถึงกิจกรรมด้านโลหะกรรมอย่างชัดเจน  โดยเฉพาะการหล่อกลองมโหระทึก ซึ่งยังไม่เคยปรากฎหลักฐานในดินแดนประเทศไทยมาก่อน    และอาจเป็นไปได้ว่ากลองมโหระทึกหลายใบที่พบในประเทศไทย โดยเฉพาะในเขตพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร อาจจะผลิตขึ้นที่แหล่งโบราณคดีแห่งนี้  นอกจากนั้นหลักฐานต่างๆที่ค้นพบยังบ่งบอกถึงลักษณะร่วมกันทางวัฒนธรรมหลายประการ สามารถนำไปสู่การอธิบายและแปลความการติดต่อสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างผู้คนในกลุ่มวัฒนธรรมเตียนในจีนตอนใต้ วัฒนธรรมดองซอนในเวียดนามตอนเหนือ และชุมชนโบราณของประเทศไทยต่อไป        ( โดย สุกัญญา เบาเนิด นักโบราณคดีชำนาญการ)            หมายเหตุ ดูหลักฐานสำคัญที่คลังภาพ  http://www.finearts.go.th/node/125/shows_teaser/photos