กรมศิลปากร Fine Arts Department
font-size-a3 font-size-a2 font-size-a1 themes-default themes-black_white themes-black_yellow
ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 41,093 รายการ

สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 153/7 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


มงฺคลตฺถทีปนี (มงฺคลตฺถทีปนีเผด็จ) ชบ.บ 181/6 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง : ลิลิตนารายน์สิบปาง พระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ชื่อผู้แต่ง : มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระปีที่พิมพ์ : 2514 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์มิตรสยาม จำนวนหน้า : 588 หน้า สาระสังเขป : หนังสือลิลิตนารายน์สิบปาง เนื้อเรื่องกล่าวถึงการอวตารปางต่างๆ ทั้ง 10 ปาง ของพระนารายณ์ พร้อมทั้งพระราชนิพนธ์อธิบายและอภิธาน ท่านผู้อ่านจะศึกษาความเป็นมาและหลักฐานต่างๆ ของหนังสือเรื่องได้จากพระราชนิพนธ์คำนำในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว


พุดตาน : ดอกไม้เทศแห่งกรุงรัตนโกสินทร์พุดตาน เป็นชื่อที่คนสยามเรียกลวดลายดอกไม้ชนิดหนึ่งที่ปรากฏในงานศิลปกรรมไทยกันติดปาก แต่แท้จริงแล้วพุดตานเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีนและไต้หวัน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Hibicus mutabilis L. และมีชื่อในภาษาจีนว่า 芙蓉花 (ฝูหรงฮวา) ลักษณะเป็นไม้พุ่มสูงประมาณ ๒ - ๕ เมตร ออกดอกตลอดทั้งปี กลีบดอกซ้อนกันใหญ่สวยงาม ลักษณะพิเศษอีกอย่าง คือ กลีบดอกจะเปลี่ยนสีไปตามอุณหภูมิในแต่ละวัน โดยตอนเช้าจะเป็นสีขาว กลางวันเป็นสีชมพู และกลางคืนจะกลายเป็นสีชมพูเข้มหรือแดงเข้ม ทั้งยังเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณหลากหลาย และยังนำมาใช้เป็นเครื่องหมายมงคลเนื่องจากชื่อของดอกไม้ชนิดนี้ออกเสียงพ้องเสียงกับคำที่มีความหมายมงคลในด้านความมั่งคั่ง ความร่ำรวย และยศถาบรรดาศักดิ์ คนจีนจึงนิยมวาดดอกพุดตานลงในภาพวาด ใช้ตกแต่งข้าวของเครื่องใช้ และเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มทั้งที่เป็นของใช้ตนเองและมอบให้เป็นของขวัญแทนคำอวยพรแด่ผู้รับ รวมทั้งในปรัชญาจีนยังได้นำลักษณะการบานของดอกพุดตานมาใช้เป็นสัญลักษณ์เชิงเปรียบเทียบกับวัฏจักรชีวิตของมนุษย์ ทำให้พุดตานเป็นไม้ที่ผูกพันในวิถีชีวิตของคนจีนมาช้านานและแพร่หลายไปยังดินแดนต่าง ๆ ที่คนจีนเดินทางไปถึงมีนักวิชาการสันนิษฐานว่า พุดตานน่าจะเข้ามาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นผ่านทางคนจีนที่เข้ามาอยู่อาศัยเพื่อทำการค้าขายกับสยาม แต่ในด้านงานศิลปกรรมไทยที่ปรากฏลวดลายดอกพุดตานหรือที่ช่างไทยนิยมเรียกว่า ลายดอกฝ้ายเทศ นั้น มีแนวคิดเกี่ยวกับที่มาอยู่ ๒ แนวคิด ได้แก่ แนวคิดที่ ๑ คือ ได้รับอิทธิพลมาจากดอกฝูหรงที่นำเข้ามาจากจีน ส่วนแนวคิดที่ ๒ คือ เป็นลายเดียวกันกับลายดอกโบตั๋นหรือพัฒนาขึ้นมาจากลายดอกโบตั๋นเดิม อย่างไรก็ตาม เป็นที่เชื่อถือกันว่าลายดอกพุดตานอาจเกิดขึ้นจากการเลียนแบบเครื่องลายครามของจีน ดังที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงสันนิษฐานไว้ โดยลายดอกพุดตานที่พบในประเทศไทยมักเป็นลวดลายตกแต่งภาชนะ เช่น เครื่องลายครามที่พ่อค้าจีนนำติดตัวมาหรือนำมาขาย และเครื่องเบญจรงค์ หรือพบในงานจิตรกรรม งานประดับสถาปัตยกรรมที่ เรียกว่า ลายพุดตานก้านแย่งฺ ซึ่งเป็นที่นิยมมากตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) เป็นต้นมา


ชื่อผู้แต่ง         สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ชื่อเรื่อง          โลกานุศาสนี ครั้งที่พิมพ์       - สถานที่พิมพ์    กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์       โรงพิมพ์ชวนพิมพ์ ปีที่พิมพ์           ๒๕๑๘ จำนวนหน้า      ๒๖๖ หน้า หมายเหตุ        พิมพ์โดยเสด็จพระราชกุศลในงานพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ธมฺมธรเถร) วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน กรุงเทพมหานคร ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๑๘                       หนังสือโลกานุศาสนี เล่มนี้ รวบรวมเกี่ยวกับสุภาษิต มาจากคัมภีร์ต่างๆ เมื่อปี ๒๔๘๖ เป็นพุทธภาษิตบ้าง สาวกภาษิตบ้าง อิสิภาษิตบ้าง เทวดาภาษิตบ้าง แบ่งเป็น ๑๐ บทตามประสงค์ คือบทที่หนึ่ง การเรียนรู้กับการเรียนทำ บทที่สอง กรรมดีและกรรมชั่ว บทที่สาม วาจาคำพูด บทที่สี่ วาจาทุพภาษิต บทที่ห้า วาจาสุภาษิต บทที่หก เรื่องคนพาล บทที่เจ็ด เรื่องบัณฑิต บทที่แปด เรื่องวิถีชีวิตของคน บทที่เก้า ว่าด้วยสุภาษิต และบทที่สิบ ว่าด้วยลักษณะของคน


ครุฑสมัยสุโขทัยครุฑสมัยสุโขทัย การรับรู้มี ๒ แนวคิดเช่นเดียวกัน คือ ครุฑตามคติในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และครุฑตามคติทางพระพุทธศาสนาเถรวาท งานศิลปกรรมที่สะท้อนแนวคิดเรื่องครุฑพบที่ศาสนสถานไม่มากนัก เช่น ครุฑปูนปั้นประดับชั้นเชิงบาตร ปรางค์ วัดศรีสวาย ชิ้นส่วนครุฑปูนปั้นตกแต่งศาสนสถาน จากวัดพระพายหลวงเมืองสุโขทัย นอกจากนี้ยังพบเครื่องสังคโลกประดับสถาปัตยกรรม เช่น ชิ้นส่วนปั้นลมรูปพระนารายณ์ทรงครุฑพบจากเตาทุเรียงเมืองสุโขทัย ชิ้นส่วนรูปครุฑ พบจากศาสนสถานเมืองสุโขทัย ส่วนยอดเจดีย์ทรงปรางค์จำลอง มีรูปครุฑประดับสี่ด้าน เป็นต้นIn Sukhothai period, Garuda was perceived in the beliefs of two religions: Bramanism and Theravada Buddhism. Garuda stucco decorating the Prang of Wat Si Sawai and fragments of Garuda decorating the sanctuary of Wat Phra Pai Luang in Sukhothai Province. There are also Sangkhalok ceramic architectural decorations, such as a part of a gable-end depicting Vishnu riding Garuda found in Turiang Kiln, a fragment of Garuda from the sanctuary in the Historic Town of Sukhothai, a finial of the model of the prang with Garudas at the four corners and so on.ภาพ: ส่วนประกอบสถาปัตยกรรมสังคโลกรูปครุฑศิลปะสุโขทัยได้จากการขุดแต่งบูรณะโบราณสถานเมืองโบราณสุโขทัย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง จังหวัดสุโขทัย


-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : ใครอยากอพยพเชิญอ่าน -- เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 พลเรือนส่วนใหญ่หลายประเทศต้องการย้ายไปอยู่ในที่ปลอดภัย รัฐบาลไทยขณะนั้นจึงร่าง " หลักการปฏิบัติในการควบคุมช่วยเหลือผู้อพยพ " ขึ้น ดังสรุปรายละเอียดได้ว่า 1. จัดตั้งนิคมให้มีเรือน โรงแถว ทำจากวัสดุในท้องถิ่น 2. หากผู้อพยพนำอาหารติดตัวมาก็ให้บริโภคอาหารนั้น และอนุญาตให้ออกหาเครื่องอุปโภคบริโภคได้ ส่วนอีกทางจะจัดการบอกบุญหรือของบประมาณจากองค์กรสงเคราะห์มาช่วยเหลือ 3. จัดการให้ผู้อพยพเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ทำอุตสาหกรรมครัวเรือนเบื้องต้น 4. ส่งแพทย์ประจำตำบลมาตรวจรักษาพยาบาลสม่ำเสมอ 5. เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองต้องคอยสอดส่องความปลอดภัย ป้องกันการจารกรรมของข้าศึก 6. รัฐจะเปิดการอบรมประวัติศาสตร์ไทย การปกครองระบอบรัฐธรรมนูญ วัฒนธรรมไทย รัฐนิยม และชักจูงให้จงรักภักดีต่อชาติไทย จากสาระสำคัญดังกล่าวนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่า เป็นขั้นตอนบังคับผู้อพยพบางประการ เพื่อแลกกับความปลอดภัยของตน ส่วนในทางกลับกันเพื่อเป็นความปลอดภัยของชาติไทยเช่นกัน เพราะขณะนั้น รัฐบาลเข้าร่วมสงครามกับฝ่ายอักษะ (ญี่ปุ่น เยอรมนี และอิตาลี) แล้ว หากผู้อพยพเป็นคนสัญชาติศัตรูจะแฝงเข้ามาทำสิ่งใดก็ย่อมได้ เอกสารร่าง " หลักการปฏิบัติในการควบคุมช่วยเหลือผู้อพยพ " นี้ กระทรวงมหาดไทยส่งมาถึงข้าหลวงประจำจังหวัดสุโขทัย ซึ่งทางจังหวัดเกษียณคำสั่งต่อสั้นๆ ว่า " ส่งสำเนาให้อำเภอทราบเพื่อปฏิบัติ " แต่ไม่มีรายงานหรือหลักฐานเพิ่มเติมถึงการอพยพ การยกระดับร่างหลักการฯ เป็นกฎหมาย และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมใดๆ อย่างไรก็ดี ร่างหลักการปฏิบัติในการควบคุมช่วยเหลือผู้อพยพ เป็นหลักฐานชั้นต้นในภาวะสงคราม สะท้อนภารกิจของรัฐบาลด้านมนุษยชน ปกป้องพลเรือนไม่ว่าฝ่ายไหนก็ตาม และที่สำคัญ เป็นการป้องปรามข้าศึกที่อาจเข้ามาแนวหลังไปพร้อมกันผู้เขียน: นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)เอกสารอ้างอิง : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. สท 1.2.2/21 เอกสารสำนักงานปกครองจังหวัดสุโขทัย เรื่อง การช่วยเหลือผู้อพยพจากเขตในปกครองอังกฤษเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย [ 17 พ.ค. 2485 ].#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ


เลขทะเบียน : นพ.บ.418/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 58 หน้า ; 4 x 57 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 148  (81-85) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : ปิฎก--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.551/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 26 หน้า ; 5 x 55 ซ.ม. : ชาดทึบ-รักทึบ-ลานดิบ-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 182  (311-323) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : สองกันถิน--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อเรื่อง : พระราชพงศาวดาร กรุงศรีอยุธยา ฉบับ สมเด็จพระพนรัตน์ ชื่อผู้แต่ง : ศิลปากรปีที่พิมพ์ : 2515 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : โพธิ์สามต้นการพิมพ์ จำนวนหน้า : 670 หน้าสาระสังเขป : "พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน" เล่มนี้ ได้รวบรวมประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา เริ่มตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทอง สร้างกรุงศรีอยุธยา เมื่อ จ.ศ.712 (พ.ศ.1893) จนกระทั่งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 แก่พม่าในสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ (กรมขุนอนุรักษ์มนตรี) เมื่อ จ.ศ.1129 (พ.ศ.2310) ถือเป็นเอกสารอ้างอิงสำคัญที่มีคุณค่ายิ่งต่อชนรุ่นหลัง และผู้ที่สนใจศึกษาประวัติศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นยุคสมัยหนึ่งของพัฒนาการสู่สังคมไทยในปัจจุบัน




องค์ความรู้ทางวิชาการ เรื่อง แหล่งภาพเขียนสีถ้ำวัดบางเตย เเหล่งภาพเขียนสีใหม่ในจังหวัดพังงา   ในวันนี้สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช ขอนำเสนอแหล่งภาพเขียนสีแหล่งใหม่ที่พบจากการสำรวจเมื่อวันที่ ๓ - ๗ เมษายนที่ผ่านมา โดยพบ “ภาพเขียนสีถ้ำวัดบางเตย” ตั้งอยู่ที่หมู่ ๑ บ้านบางเตยเหนือ ตำบลบางเตย อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา บริเวณที่พบภาพเขียนสีมีลักษณะเป็นเพิงผาตั้งอยู่บนภูเขาหินปูน ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของวัดบางเตย จากหลักฐานภาพเขียนสีที่พบ ปรากฏเป็นภาพเขียนด้วยสีแดง ลักษณะภาพมีรูปร่างคล้ายคน และร่องรอยสัญลักษณ์บางอย่าง กำหนดอายุสมัยของแหล่งเป็นยุคก่อนประวัติศาสตร์   เรียบเรียง/กราฟิก: นางสาวอมลธิรา เหล่าศักดิ์ศรี ผู้ช่วยนักโบราณคดี ตรวจทาน: นางสาวศิริวรรณ ทองขำ นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช   อ้างอิง - พัชรี สาริกบุตร. ภาพเขียนสีและภาพสลัก ศิลปะสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย. เข้าถึงเมื่อ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๖. เข้าถึงได้จาก http://www.era.su.ac.th/Rockpainting/main.html


ไซอิ๋ว เล่ม ๕.  พระนคร: องค์การค้าของคุรุสภา, ๒๕๑๒.           ไซอิ๋ว เป็นพงศาวดารจีนที่ได้รับการแปลเป็นหนังสือชุดภาษาไทยลำดับที่ ๑๖ นับเป็นเรื่องที่แยกออกจากพงศาวดารซุยถังในแผ่นดินของพระเจ้าถังไทจงฮ่องเต้กษัตริย์ที่ ๒ แห่งราชวงศ์ถัง 


ชื่อเรื่อง                         ธมฺมบทวณฺณนา ธมฺมบทฏฺฐกถา (ขุทฺทกนิกายฏฺฐกถา) อย.บ.                            327/20 หมวดหมู่                       พุทธศาสนา ลักษณะวัสดุ                  62 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 53 ซม. หัวเรื่อง                         พระธรรมเทศนา                                                                       บทคัดย่อ/บันทึก           เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับล่องชาด ไม้ประกับธรรมดา


Messenger