กรมศิลปากร Fine Arts Department
font-size-a3 font-size-a2 font-size-a1 themes-default themes-black_white themes-black_yellow
ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 41,093 รายการ

ชื่อเรื่อง                                มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (หิมพานต์-นครกัณฑ์) สพ.บ.                                  415/8ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           34 หน้า กว้าง 4.4 ซม. ยาว 55.9 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           เทศน์มหาชาติ                                           ชาดก บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ-ลานดิบ-ล่องชาด  ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


เลขทะเบียน : นพ.บ.286/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 60 หน้า ; 4.5 x 53 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องชาด-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 121  (258-265) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : มาเลยฺยสตฺต(มไลยยโจทนา)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



องค์ความรู้สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่เรื่อง "พระพุทธรูปของสมเด็จพระยาสารผาสุม : หลักฐานร่องรอยราชวงศ์พูคาปกครองเมืองน่าน"เรียบเรียงโดย : นายพลพยุหะ ไชยรส นักโบราณคดีปฏิบัติการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่.     ราชวงศ์พูคาเป็นราชวงศ์ชาวกาวที่ปกครองเมืองน่านอย่างน้อยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 19 ตามตำนานมีปฐมกษัตรย์คือขุนฟอง ราชวงศ์พูคาเดิมมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองปัว (วรนคร) และมีการย้ายเมืองมายังเวียงพูเพียงแช่แห้งในรัชสมัยพญาครานเมือง (กานเมือง) ราวปี พ.ศ.1908 ต่อมาในสมัยพญาผากองย้ายเมืองน่านจากเวียงพูเพียงแช่แห้งมายังเวียงน่านริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน เมื่อปี พ.ศ.1911 ก่อนจะตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรล้านนาในปี พ.ศ.1992 ตรงกับรัชสมัยพญาผาแสง และสิ้นสุดอำนาจในการปกครองอย่างสิ้นเชิงในปี พ.ศ.2004 หลังจากพญาผาแสงสิ้นพระชนม์ และราชสำนักเชียงใหม่ได้ส่งขุนนางปกครองเมืองน่านแทน.     ในช่วงที่ราชวงศ์พูคาปกครองเมืองน่านมีความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ่นกับอาณาจักรสุโขทัย โดยรับเอารูปศิลปสถาปัตยกรรมจากศิลปะสุโขทัยมาค่อนข้างมาก เช่น เจดีย์ช้างล้อม วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร หรือ เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์องค์เก่าของวัดสวนตาล เป็นต้น และหนึ่งในงานศิลปกรรมที่สำคัญอีกกลุ่มที่ถือเป็นหลักฐานแสดงการมีอยู่จริงของราชวงศ์พูคาและเป็นงานศิลปะที่ได้รับอิทธิพลศิลปะสุโขทัยอย่างสวยงามประณีตคือ พระพุทธรูปของสมเด็จพระยาสารผาสุม ทั้ง 5 องค์.     พระพุทธรูปของสมเด็จพระยาสารผาสุม เป็นกลุ่มพระพุทธรูปที่สมเด็จพระญางั่วฬารผาสุมหรืองั่วฬารผาสุมกษัตริย์นครน่านแห่งราชวงศ์พูคา องค์ที่ 15 ขึ้นครองราชย์ในราวปี พ.ศ. 1969 พระองค์ทรงให้หล่อขึ้นประกอบด้วยพระพุทธรูปยืนปางประทานอภัยทั้งสองพระหัตถ์ (ห้ามสมุทร) จำนวน 1 องค์ และพระพุทธรูปปางลีลาจำนวน 4 พระองค์ โดยส่วนใหญ่แล้วมีลักษณะพุทธศิลป์เหมือนกับพระพุทธรูปสุโขทัยหมวดใหญ่ หากแต่มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะบางประการเช่น การแสดงออกของสีหน้าพระพักต์ พระวรกายที่อวบอ้วนมากยิ่งขึ้น หรือชายขอบจีวรซ้อนกันสองเส้น เป็นต้น นอกจากนี้ที่ฐานของพระพุทธรูปทั้ง 5 องค์ มีจารึกที่มีเนื้อความเดียวกันเกี่ยวการสร้างพระพุทธรูปของสมเด็จเจ้าพระญางั่วฬารผาสุม หากแต่ข้อความมีความสมบูรณ์เพียงหนึ่งองค์ ความว่า          "สมเด็จพระยาสารผาสุมเสวยราชย์ในนันทปุระ สถาบกสมเด็จพระเป็นเจ้า 5 พระองค์ โพระจะให้คงในศาสนา 5 พันปีนี้ ตั้งเป็นพระเจ้าในปีมะเมีย เพื่อบุญจุลศักราช 788 มหาศักราช 1970 เดือน 6 วันพุธ เดือน 7 ยาม ปราถนาทันพระศรีอาริยไมตรีเจ้า".     จากข้อความในจารึกข้างต้นสามารถกำหนดอายุสัมบูรณ์ของพระพุทธรูปทั้ง 5 องค์ ไว้ที่ พ.ศ. 1970 หรือปลายพุทธศตวรรษที่ 20 โดยจะขอยกตัวอย่างพุทธศิลป์ของพระพุทธรุปางห้ามสมุทร 1 องค์ และปางลีลา 1 องค์ ซึ่งเก็บรักษาไว้ภายในพระวิหาร วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดน่าน ดังนี้     - พระพุทธรูปสำริด ประทับยืน ปางประทานอภัยทั้งสองพระหัตถ์ (ปางห้ามสมุทร) เป็นพระพุทธรูปสำริดประทับยืน พระพักต์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกโค้ง งุ่มลงเล็กน้อย พระหนุเป็นปม ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลว พระอังสาใหญ่ บั้นพระองค์เล็ก ครองจีวรห่มคลุม มีผ้าจีบหน้านาง ประทับยืนตรง แสดงปางประทานอภัยสองพระหัตถ์ เป็นที่น่าสังเกตว่าการแสดงปางประทานอภัยทั้งสองพระหัตถ์และการมีผ้าจีบหน้านางประดับ มักพบในศิลปะอยุธยา  อาจกล่าวได้ว่าพระพุทธรูปองค์นี้ได้รับอิทธิพลจากศิลปะอยุธยาด้วยอีกทางหนึ่ง ลักษณะพระพุทธรูปางห้ามสมุทร เป็นการแสดงอิริยาบถตามเรื่องราวในพุทธประวัติ 2 เรื่อง คือเรื่องแรกเป็นการแสดงปาฏิหารย์ของพระพุทธองค์เพื่อทำลายมิจฉาทิฏฐิของเหล่าพี่น้องตระกูลชฎิล เมืองพาราณสี โดนพระองค์แสดงปาฏิหาริย์หยุดน้ำฝนมิให้ตกหนักในบริเวณริมแม่น้ำเนรัญชรา แขวงอรุเวฬา เมื่อเหล่าพี่น้องตระกูลชฎิลเห็นจึงเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ขอเข้าบรรพชาอุปสมบทพร้อมกับบริวารจำนวน 1,000 คน และพระพุทธองค์ทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตรแก่หมู่พี่น้องตระกูลชฎิลทั้งสามและบริวารจนบรรลุพระอรหันต์ ส่วนเรื่องที่สองคือพระพุทธองค์ทรงห้ามพระประยูรญาติแห่งราชวงศ์ศากยะที่กำลังวิวาทะแย่งน้ำแม่น้ำโรหิณีใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ ขณะที่พระพุทธองค์ทรงประทับอยู่ ณ นิโครธาราม     - พระพุทธรูปสำริด ปางลีลา เป็นพระพุทธรูปสำริด ประทับยืน พระพักต์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกโด่ง งุ้มลงเล็กน้อย แย้มพระโอษฐ์เล็กน้อย พระหนุเป็นปม ขวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลว พระอังสาใหญ่ บั้นพระองค์เล็ก ครองจีวรห่มเฉียง เปิดพระอังสาขวา ชายสังฆาฐิพาดผ่านพระอังสาซ้ายตกลงเสมอพระนาภี ปลายแตกเป็นเขี้ยวตะขาบ แสดงปางลีลา โดยพระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นเสมอพระอุระ ใต้พระกรจีวรมีลักษณะเป็นริ้วพลิ้วไหวตามธรรมชาติ พระหัตถ์ขวาทิ้งลงข้างพระวรกาย พระบาทซ้ายดำเนินเยื้องไปข้างหน้า ส่วนพระบาทขวาอยู่ข้างหลังยกขึ้นเล็กน้อย แสดงออกถึงลักษณะทรงดำเนิน.     สำหรับพระพุทธรูปลีลาของนครน่านนั้นได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัยหมวดใหญ่ หากแต่มีลายละเอียดแตกต่างออกไปบ้างเช่นการแสดงออกของสีพระพักตร์ พระวรกายที่อวบอ้วนมากยิ่งขึ้น ชายผ้าจีวรบางองค์ทำเป็นลายเส้นสองเส้นทับซ้อนกันและเว้า ที่สำคัญคือชายจีวรส่วนล่างที่ตกลงและตัดเป็นเส้นทแยงมุมซึ่งไม่ปรากฏในศิลปะสุโขทัย  ทั้งนี้การสร้างพระพุทธรูปลีลาช่างสุโขทัยได้รับอิทธิพลและแรงบันดาลใจจากศิลปะพม่าหรือลังกาในพุทธประวัติตอนเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดางดึงส์หลังทรงโปรดพุทธมารดาอีกทอดหนึ่ง และยังมีแรงบันดาลใจจากงานศิลปะภายในดินแดนประเทศไทยโดยเฉพาะศิลปะทวารวดีที่ปรากฏลักษณะของจีวรที่ตกจากพระหัตถ์ที่ยกขึ้น เห็นเป็นริ้วคลื่น เป็นต้น  ส่วนเมืองน่านนั้นได้รับการถ่ายทอดลักษะทางศิลปกรรมดังกล่าวจากราชสำนักสุโขทัยผ่านทางความสัมพันธ์ทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจอีกทอดหนึ่ง------------------------------------อ้างอิง-ประเสริฐ ณ นคร, จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1  (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, 2534), 87.สันติ เล็กสุขุม, ศิลปะอยุธยา (กรุงเทพฯ :เมืองโบราณ,2542), 143.วิสันธนี โพธิสุนทรและเมธินี จิระวัฒนา, พระพุทธรูปปางต่างๆ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, 2552), 44.ศักดิ์ชัย สายสิงห์, พระพุทธรูปในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการและความเชื่อของคนไทย (กรุงเทพฯ : ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556), 195.พรชัย พฤติกุล, ประติมานวิทยาของพระพุทธรูปลีลาในศิลปะสุโขทัย (วิทยานิพนธ์ ระดับปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ, 2549), 26-28.สรัสวดี อ๋องสกุล, พื้นเมืองน่าน : ฉบับวัดพระเกิด. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง, 2539.




เมื่อครั้งริเริ่มสร้างอนุสาวรีย์พระประทุมวรราชสุริยวงษ์ (เจ้าคำผง) เจ้าเมืองอุบลราชธานี ได้มีการขอรับบริจาคโละหะประเภทต่างๆ จากประชาชนผู้มีจิตศรัทธา เพื่อใช้ในการหล่อองค์พระ ในจำนวนเนื้อโลหะที่ได้รับการบริจาคนั้น มีโลหะเงินปนอยู่ ซึ่งถ้าหากนำโลหะเงินไปหล่อรวมกับโลหะประเภทอื่นๆ แล้วก็จะไม่สวยงาม จึงนำโลหะเงินไปหล่อเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พิธีหล่อและพุทธาภิเษกพระพุทธเจ้าจอมเมือง จัดขึ้นที่วัดศรีอุบลรัตนาราม โดยมีพระเทพมงคลเมธี (กิ่ง มหปฺผโล) รองเจ้าคณะภาค 10 เจ้าอาวาสวัดมณีวนาราม (วัดป่าน้อย) ให้ศีลและเป็นประธานจุดเทียนชัย คุณพ่อมหาเชย จันสุตะ เป็นผู้นำคณะพราหมณ์ประกอบพิธีบวงสรวง พระราชสุมธี (สุทฺธจิตฺโต สิงห์ ภาระมาตย์) เจ้าคณะภาค 10 (ธ) เจ้าอาวาสวัดศรีอุบลรัตนาราม เป็นประธานดับเทียนชัย พระโพธิญาณมุนี (ภทฺทิโย สุธีร์ ดวงมาลา) เจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี(ธ) เจ้าอาวาสวัดเลียบ เป็นประธานอำนวยการจัดสร้างฝ่ายสงฆ์ พิธีเททองหล่อพระพุทธเจ้าจอมเมืองจัดขึ้นเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2523 เวลา 09.09 น. มีนายทองหยด จิตตวีระ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเททองฝ่ายฆราวาส ช่างที่ทำการหล่อพระพุทธเจ้าจอมเมืองเป็นช่างที่มาจากบ้านปะอาว ต.ปะอาว อ.เมือง จ.อุบลราชธานี เมื่อหล่อพระพุทธรูปแล้วถวายพระนามว่า "พระพุทธเจ้าจอมเมือง" และได้มอบพระพุทธรูปองค์นี้ให้กับทางจังหวัดอุบลราชธานี (ในสมัยนั้น) นำมาประดิษฐานที่ห้องประชุมศาลากลางหลังเก่า ปัจจุบันคือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี ข้อมูลอ้างอิง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี ภาพประกอบ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ อุบลราชธานี (รับมอบจากนายปกรณ์ ปุกหุต)


          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ขอเชิญร่วมกิจกรรมบรรยายทางวิชาการ เรื่อง : การนำเสนอเส้นทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ผ่านการศึกษาแหล่งที่มาของโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา (เส้นทางที่ ๑ เส้นทางท่องเที่ยวภายในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา) ในวันศุกร์ที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๕ ตั้งแต่เวลา ๑๓.๐๐-๑๔.๓๐ น. ณ ห้องบรรยายฯ อาคารเครื่องทอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา***ท่านที่สนใจร่วมฟังการบรรยาย ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา สมัครได้ทาง QR code ตามที่แนบ ภายในวันพุธที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๖๕ (รับจำนวนจำกัด) ทั้งนี้ ยังสามารถรับชมการถ่ายทอดสดการบรรยายทางวิชาการ ผ่าน facebook live : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา กรมศิลปากร และชมย้อนหลังได้ที่ YouTube พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา กรมศิลปากร







-- องค์ความรู้ เรื่อง สะดือเมืองภูกามยาว ที่ไม่ได้อยู่อำเภอภูกามยาว --  เสาหลักเมือง หรือ สะดือเมือง ใจเวียง ลำใจเวียง แล้วแต่ละภูมิภาคหรือท้องที่เรียก หมายคือวัตถุที่เป็นที่จำหมายเป็นสัญลักษณ์ของของการก่อตั้งชุมชน หรือเมือง อันบ่งบอกถึงความภาคภูมิใจความร่มเย็นเป็นสุข เสาหลักเมืองถือเป็นใจของเมือง  ต่อเนื่องจากอาทิตย์ก่อนที่ลงเรื่อง เสาหลักเมืองจังหวัดพะเยาที่สร้างมาจากไม้มงคล เพื่อเป็นเสาหลักของเมือง โดยเป็นเสาหลักเมืองที่ดำริสร้างขึ้นเมื่อมีพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดพะเยา แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงเสาหลักเมืองอีกหนึ่งหลักของจังหวัดพะเยา ที่สร้างมาจากหินทราย กล่าวว่ามีประวัติความเป็นมายาวนาน จากการสันนิษฐานและการสืบค้นข้อมูลของนักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของจังหวัดพะเยา   ในวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๖๕ ที่จะถึงนี้ ถือเป็นการครบรอบ ๑ ปี ของการอัญเชิญเสาหลักเมืองโบราณนี้ หรือที่เรียกกันว่าสะดือเมืองภูกามยาวขึ้นสู่แท่นฐานและจัดพิธีบวงสรวงสมโภช ซึ่งถือเป็นหนึ่งเหตุการณ์สำคัญของจังหวัดพะเยา...........................................ผู้จัดทำ: นางสาวอรทัย ปานจันทร์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ




ชื่อเรื่อง                     วารสารสมาคมสุพรรณพระนครผู้แต่ง                        -ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ประวัติศาสตร์เลขหมู่                      900สถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์ประเสริฐศิริปีที่พิมพ์                    2506ลักษณะวัสดุ               380 หน้าหัวเรื่อง                     ประเทศไทย--ประวัติศาสตร์ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกมีบทความต่างๆ อาทิ เช่น  เจดีย์, สถานที่น่าเที่ยวจังหวัดเลย, กรรมลิขิต, ลำดับสมเด็จพระสังฆราชสมัยกรุงรัตนโกสินทร์, อ้ายเสือแหกคุก, รอยประทับที่หัวใจ ฯลฯ


ชื่อผู้แต่ง         ธนิต  อยู่โพธิ์    ชื่อเรื่อง           เครี่องดนตรีไทย ครั้งที่พิมพ์      พิมพ์ครั้งที่ 11 สถานที่พิมพ์    ม.ป.ท. สำนักพิมพ์      ม.ป.พ. ปีที่พิมพ์          2551 จำนวนหน้า      129 หน้า หมายเหตุ        พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพหม่อมราชวงศ์เทพยพงศ  เทวกุล รายละเอียด              เป็นหนังสือที่ระลึกงานศพรวม 2 เรื่อง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เรื่องแรก เครื่องดนตรีไทย นำเสนอเครื่องดนตรีไทย  56  ชนิด และอีกเรื่องตำนานการผสมวงมโหรี ปีพาทย์ และเครื่องสายของไทย


Messenger