ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ
ชื่อเรื่อง นิสัยวิสุทธิมรรค (นิไสวิสุทธิมัก) สพ.บ. 311/8หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทย-อีสานหัวเรื่อง พุทธศาสนา ธรรมะกับชีวิตประจำวัน ไตรสิกขาประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 52 หน้า : กว้าง 4 ซม. ยาว 57 ซม. บทคัดย่อเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า อาคารประติมากรรมขุนหลวงพะงั่วและประวัติศาสตร์สุพรรณบุรี ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้แห่งใหม่ทางด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ของจังหวัดสุพรรณบุรีและของประเทศไทย พร้อมเปิดให้บริการแล้วในวันนี้ (วันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๔) แต่เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ และการประกาศปิดแหล่งเรียนรู้ของกรมศิลปากร เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ ๓ - ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๔ กรมศิลปากรจึงเปิดให้บริการแบบออนไลน์ โดยสามารถเข้าชมการจัดแสดงอาคารประติมากรรมขุนหลวงพะงั่วและประวัติศาสตร์สุพรรณบุรี ผ่านระบบ smartmuseum ของกรมศิลปากร https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/home อาคารประติมากรรมขุนหลวงพะงั่วและประวัติศาสตร์สุพรรณบุรี ตั้งอยู่ที่ตำบลสนามชัย อำเภอ เมือง จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดงประติมากรรมสำริดที่มีความยาวมากที่สุดในประเทศไทย เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ หรือขุนหลวงพะงั่ว ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ และประวัติศาสตร์เมืองสุพรรณบุรี จัดตั้งขึ้นตามดำริของ ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีคนที่ ๒๑ เริ่มก่อสร้างเมื่อพุทธศักราช ๒๕๕๓ โดยได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วนในการสนับสนุนงบประมาณ ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี มูลนิธิบรรหาร-แจ่มใส ศิลปอาชา กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กรมการท่องเที่ยว โดยกรมศิลปากรเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงาน มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดแสดงพระราชประวัติของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ หรือ ขุนหลวงพะงั่ว เจ้าเมืองสุพรรณบุรี ผู้ซึ่งต่อมาเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ พระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๓ ของกรุงศรีอยุธยา และทรงเป็นองค์ปฐมแห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ นอกจากนี้ยังบอกเล่าเรื่องราวของจังหวัดสุพรรณบุรีตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยสังคมเกษตรกรรม ยุคประวัติศาสตร์แรกเริ่มเรื่อยมาจนถึงยุคประวัติศาสตร์ สมัยรัตนโกสินทร์ อีกทั้งเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช พระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงมีพระมหากรุณา ธิคุณต่อพสกนิกรชาวจังหวัดสุพรรณบุรีและชาวไทย การจัดแสดงได้นำเสนอเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องกับเมืองสุพรรณบุรี จำนวน ๙ ตอน ผ่านงานประติมากรรมนูนสูง และนูนต่ำ หล่อด้วยโลหะสำริด ความยาว ๘๘ เมตร สูง ๔.๒๐ เมตร ซึ่งนับว่าเป็นประติมากรรมสำริดที่มีความยาวมากที่สุดในประเทศไทย แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๙ ตอน ประกอบด้วยตอนที่ ๑ สุพรรณบุรี : ชุมชนแรกเริ่ม ตอนที่ ๒ สุพรรณบุรี : อู่ทอง...เครือข่ายการค้าข้ามภูมิภาค ตอนที่ ๓ สุพรรณบุรีในวัฒนธรรมศาสนา : อู่ทองเมืองศูนย์กลางศาสนารุ่นแรก ตอนที่ ๔ สุพรรณบุรี : เนินทางพระ...ร่องรอยพุทธศาสนามหายาน ตอนที่ ๕ สุพรรณบุรี : ก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา ตอนที่ ๖ สุพรรณบุรี : เมืองลูกหลวงของราชธานีศรีอยุธยา ตอนที่ ๗ สุพรรณบุรี : สมรภูมิยุทธหัตถี ตอนที่ ๘ สุพรรณบุรี : หัวเมืองแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และตอนที่ ๙ ปัจจุบัน...สุพรรณบุรีโดยผู้เข้าชมจะได้รับความรู้และความเพลิดเพลินผ่านระบบการบรรยายนำชมที่ทันสมัยทั้งในรูปแบบออนไลน์ ออฟไลน์ และอุปกรณ์ Audio guide จำนวน ๓ ภาษา คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน พร้อมใช้เทคโนโลยีแสง เสียง ประกอบการจัดแสดง ทั้งนี้ ผู้สนใจยังสามารถใช้บริการผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งกรมศิลปากรได้พัฒนาระบบเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้ง่าย สะดวก โดยสามารถเข้าชมอาคารประติมากรรมขุนหลวงพะงั่วและประวัติศาสตร์สุพรรณบุรีในรูปแบบ SMART MUSEUM ผ่านทาง https://smartmuseum.finearts.go.th กดเลือกนิทรรศการพิเศษอาคารประติมากรรมขุนหลวงพะงั่วและประวัติศาสตร์สุพรรณบุรี และบนระบบ Application “SMART MUSEUM” รวมถึงสามารถรับชมวีดิทัศน์เนื้อหาภายในอาคารประติมากรรมฯ ผ่านช่องทาง YouTube กรมศิลปากร ตลอดจนองค์ความรู้ผ่านช่องทางเฟสบุ๊ก แฟนเพจ ของกรมศิลปากร อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวอีกว่า แหล่งเรียนรู้แห่งนี้จะอำนวยประโยชน์สูงสุดในการศึกษาด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ของจังหวัดสุพรรณบุรีและของชาติ ให้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชน อันจะก่อให้เกิดความรัก ความภาคภูมิใจ และนำไปสู่การร่วมกันอนุรักษ์ ปกป้อง คุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติให้ยั่งยืนสืบไป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี โทร.๐ ๓๕๕๓ ๕๓๓๐ หรือ facebook fanpage พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี
“ประทีปวิทรรศน์ : รวมเรื่องโบราณคดีอยุธยา” เป็นหนังสือที่คัดสรรผลงานทางวิชาการอันเป็นผลจากการศึกษา ค้นคว้า และประสบการณ์ความรู้ของนายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร ผู้ที่ได้ปฏิบัติงานในตำแหน่งนักโบราณคดีของกรมศิลปากรในพื้นที่พระนครศรีอยุธยามาอย่างยาวนานกว่า ๑๒ ปี...
องค์ความรู้ เรื่อง "เครื่องประดับกระดองเต่า แหล่งโบราณคดีโคกพนมดี สัญลักษณ์แสดงความเป็นชาย"ข้อมูลจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี
ชื่อเรื่อง มหานิปาตวณฺณนา (ทสชาติ) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (มหาชนก-วิธูรบัณฑิต)
สพ.บ. 270/ข/5ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 30 หน้า กว้าง 4 ซ.ม. ยาว 56 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก เทศน์มหาชาติ คาถาพัน
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาดก)ชาตกฎฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (ทสพร-มหาราช)
สพ.บ. 263/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 38 หน้า กว้าง 4 ซม. ยาว 58 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา--การศึกษาและการสอน ชาดก
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องรัก ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
เนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๕ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร ได้จัดกิจกรรมพิเศษ สักการะพระพุทธรูปวังหน้า พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน : นบพระนำพร บวรสถานพุทธปฏิมามงคล ๒๕๖๕ โดยมีพระพุทธ สิหิงค์ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) ประดิษฐานอยู่ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ เป็นประธาน พร้อมทั้งอัญเชิญพระพุทธรูปมงคลโบราณอีก ๙ องค์ ซึ่งมีตำนานการสร้างและนามอันเป็นสิริมงคล มาประดิษฐานให้พุทธศาสนิกชนได้สักการบูชา เพื่ออำนวยความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลในวาระแห่งการเริ่มต้นศักราชใหม่ รวมทั้งจัดนิทรรศการพิเศษขนาดเล็กให้ความรู้เกี่ยวกับความเป็นมาและรูปแบบทางศิลปกรรม ของพระพุทธรูปทั้ง ๑๐ องค์ ขอเชิญพุทธศาสนิกชนสักการะพระพุทธรูปวังหน้า พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน : นบพระนำพร บวรสถานพุทธปฏิมามงคล ๒๕๖๕ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ระหว่างวันเสาร์ที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๔ ถึงวันอาทิตย์ที่ ๙ มกราคม ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๐๐ น. – ๑๖.๐๐ น. ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ทั้งนี้ กรมศิลปากร ได้มีมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) โดยตรวจวัดอุณหภูมิผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคน เจ้าหน้าที่และผู้เข้าร่วมกิจกรรมต้องใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา บริการเจลแอลกอฮอล์ตามจุดต่างๆ ที่มีการสัมผัสบ่อย พร้อมทั้งขอความร่วมมือผู้เข้าร่วมกิจกรรมปฏิบัติตามมาตรการ DMHTTA และ Covid Free Setting
ชื่อเรื่อง นิราศพระแท่นดงรัง (ของสามเณรกลั่น)ผู้แต่ง สามเณรกลั่นประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ วรรณกรรมเลขหมู่ 895.9112 ส644นสถานที่พิมพ์ พระนคร สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์กรมแผนที่ทหารบกปีที่พิมพ์ 2500ลักษณะวัสดุ 44 หน้าหัวเรื่อง นิราศ ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกสามเณรกลั่นเป็นบุตรบุญธรรมของสุนทรภู่ ติดตามสุนทรภู่ซึ่งกำลังบวชอยู่ไปนมัสการพระแท่นดงรัง และยังมีหนูพัดซึ่งบวชเป็นสามเณรกับหนูตาบบุตรสุนทรภู่ติดตามไปด้วย เนื้อความที่พรรณนาถึงภูมิประเทศและการเปรียบเทียบสิ่งที่ได้พบเห็นในระหว่างทางด้วยสำนวนกลอนอย่างน่าฟัง สุนทรภู่ไปนมัสการพระแท่นดงรังคราวนี้ ว่าไปใน "เดือนสี่ ปีมะเส็ง เพ็งวันอังคาร" ซึ่งจะเป็นปีใดในนิราศไม่ได้กล่าวไว้ชัดแจ้ง
เลขทะเบียน : นพ.บ.182/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 50 หน้า ; 4.5 x 54 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 104 (101-109) ผูก 3 (2565)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันธ์ขันธ์ --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เปตทานานิสํสกถา (อานิสงส์เปตทาน)
ชบ.บ.66/1-1
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง พิมฺพาพิลาป (พิมพาร่ำไร)
สพ.บ. 325/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 56 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 60 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี