ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,346 รายการ

ผนังลูกกรงช่องแสง วิหารวัดพระนอน เมืองกำแพงเพชร……………………………………………………………..ช่องแสง คือช่องที่เจาะส่วนของผนังอาคารที่ทำหน้าที่เป็นบานหน้าต่าง ให้แสงสว่างสาดส่องถึง และให้อากาศสามารถถ่ายเทเข้ามายังภายในอาคาร รวมทั้งใช้ในการเป็นช่องเพื่อมองดูภายนอกอาคารนั้นได้  โดยในแต่ละช่องแสงนั้น จะคั่นด้วยเสาลูกกรง ก่อด้วยวัสดุต่าง ๆ อาทิ อิฐ หิน ศิลาแลง ส่วนใหญ่มีการฉาบปูนที่ผิว รวมทั้งมีการประดับลวดลายปูนปั้น เช่น วิหารวัดนางพญาแห่งเมืองศรีสัชนาลัย ที่มีการเจาะช่องแสงให้เป็นแนวแทนช่องหน้าต่าง และประดับปูนปั้นลวดลายพรรณพฤกษาและลายประดิษฐ์บนผนัง แบบเดียวกับลายประดับที่พระปรางค์วัดจุฬามณี จังหวัดพิษณุโลก  ที่พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ ระบุว่า “...ศักราช ๘๒๖ วอกศก (พ.ศ.๒๐๐๗) สมเด็จพระบรมไตรโลกเจ้า  สร้างพระวิหารวัดจุฬามณี...”   ซึ่งวิหารดังกล่าวก็มีการเจาะผนังให้เป็นลูกกรงช่องแสงเช่นเดียวกันเมืองกำแพงเพชรได้ปรากฏอาคารที่มีผนังลูกกรงช่องแสงที่วัดพระนอน ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองทางด้านทิศเหนือที่เป็นเขตอรัญญิกของเมืองกำแพงเพชร  ผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า อาคารสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ของวัดใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง มีเจดีย์ทรงระฆังเป็นเจดีย์ประธานของวัด  มีโบสถ์ตั้งอยู่ตอนหน้าสุดทางด้านทิศตะวันออกของวัด  ถัดจากโบสถ์ไปทางด้านทิศตะวันตกเป็นวิหาร  แผนผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดความกว้างด้านละ ๒๔.๔๐ เมตร ความสูงปัจจุบัน ๔.๔๐ เมตร ก่อเป็นฐานหน้ากระดานและบัวคว่ำ ภายในอาคารมีแท่นอาสนสงฆ์และแท่นฐานชุกชีที่ใช้ประดิษฐานพระพุทธรูปในอิริยาบถไสยาสน์(นอน)  องค์พระพุทธรูปพังทลายคงเหลือแต่ส่วนโกลนของพระบาทที่บริเวณด้านทิศเหนือของแท่นฐานชุกชี  ผนังของวิหารก่อเรียงด้วยศิลาแลง และเจาะผนังเป็นลูกกรงช่องแสงทั้ง ๔ ด้าน สูง ๑.๘๐ เมตร โดยผนังด้านทิศเหนือและทิศใต้ มีลูกกรงช่องแสงด้านละ ๖ ช่อง ส่วนผนังด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก มีลูกกรงช่องแสงด้านละ  ๓ ช่อง แต่ละช่องมีเสาลูกกรงก่อด้วยศิลาแลงสอปูนและฉาบปูนที่ผิวด้านนอก โดยลูกกรงช่องแสงด้านทิศเหนือและทิศใต้ มีเสาลูกกรงช่องละ ๔ และ ๕ เสา ส่วนด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก มีเสาลูกกรงช่องละ  ๗ เสา สามารถศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบทางสถาปัตยกรรมเทียบเคียงได้กับผนังลูกกรงช่องแสงของวิหารวัดนางพญาแห่งเมืองศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย  และวิหารวัดจุฬามณี จังหวัดพิษณุโลก  จึงสันนิษฐานได้ว่าวิหารวัดพระนอน มีอายุสมัยในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑การเสด็จประพาสหัวเมืองเหนือที่ปรากฏในพระราชนิพนธ์เรื่อง “เที่ยวเมืองพระร่วง”ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๕๐ ได้เสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชรโบราณในเขตอรัญญิก ในระหว่างวันที่ ๑๕ – ๑๗ มกราคม พ.ศ.๒๔๕๐ และได้ทรงมีพระราชนิพนธ์บรรยายเกี่ยวกับวัดพระนอน ดังนี้ “…ที่วัดพระนอนนั้นยังมีชิ้นสำคัญอยู่ คือวิหารพระนอน ซึ่งทำด้วยฝีมือดี การก่อสร้างใช้แลงทั้งนั้น เสาเป็นเสากลมก่อด้วยแลงก้อนใหญ่ ๆ รูปอย่างศิลาโม่ ก้อนใหญ่ ๆ และหนา ๆ มาก ผนังวิหารมีเป็นช่องลูกกรง ลูกกรงทำด้วยแลงแท่งสี่เหลี่ยม สูงราว ๓ ศอก ดูทางข้างนอกงามดีมาก…” เอกสารอ้างอิงกรมศิลปากร. นำชมอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร.      กรุงเทพฯ: บริษัทบางกอกอินเฮ้าส์จำกัด, ๒๕๖๑.กรรมการหอพระสมุดวชิรญาณ. ประชุมพงษาวดาร ภาคที่ ๑. กรุงเทพฯ:       โรงพิมพ์ไทย, ๒๔๕๗.ดำรงค์ฤทธิ์ สมบูรณ์ศิริ. “องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมรูปอาคาร     ในวัดพระนอน ภายในเขตอรัญญิก อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร”      สาระนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์บัณฑิต ภาควิชาโบราณคดี       คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. ๒๕๒๕.พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. เที่ยวเมืองพระร่วง. กรุงเทพฯ :      โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๒๖.ศักดิ์ชัย  สายสิงห์. ศิลปกรรมโบราณในอาณาจักรสุโขทัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มิวเซียมเพรส, ๒๕๖๑.



อำเภอเรณูนคร เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนครพนม ซึ่งมีกลุ่มชาติพันธุ์ “ผู้ไท” อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก แต่เดิมชาว“ผู้ไท” ตั้งถิ่นฐานในแคว้นสิบสองจุไท แคว้นสิบสองปันนา ได้อพยพจากฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงข้ามมาในประเทศไทย ในช่วงสมัยรัชกาลที่ ๓ ตามตำนานของชาวผู้ไทเรณูนคร กล่าวว่า เมืองน้ำน้อยอ้อยหนูหรือแถน มีปู่ลางเซิง ขุนเค็ก ขุนคาน ปกครองชาวผู้ไท เมื่อหัวหน้าชาวผู้ไทคนหนึ่งเกิดขัดแย้งกับเจ้าเมือง จึงชักชวนชาวผู้ไทจำนวนหนึ่งมาอาศัยอยู่ที่เมืองวังอ่างคำ แขวงสุวรรณเขต ปัจจุบัน แต่เกิดพิพาทกับชาวข่าที่อยู่อาศัยก่อน จึงพากันอพยพมายังฝั่งขวาแม่น้ำโขง ในสมัยรัชกาลที่ ๓ จึงโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ท้าวสายเป็น พระแก้วโกมล เจ้าเมืองคนแรกและยกขึ้นเป็นเมืองเรณูนครขึ้นกับเมืองนครพนม ปัจจุบันคืออำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม อำเภอเรณูนครนี้ มีโบราณสถานสำคัญ คือ วัดธาตุเรณู บ้านเรณู ตำบลเรณู อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๑ โดยท่านอุปัชฌาย์อินทร์เจ้าอาวาส และญาครูสงฆ์รองเจ้าอาวาสพร้อมด้วยฆราวาส โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นธาตุคู่บ้านคู่เมืองของชาวเรณู เมื่อสร้างเสร็จได้ถูกฟ้าผ่าพังทลายลง ทั้งฝ่ายสงฆ์และฆราวาสจึงได้ร่วมใจกันสร้างขึ้นอีก โดยก่ออิฐให้หนาขึ้นเมื่อแล้วเสร็จก็ทำการฉลองสมโภช ในปี พ.ศ.๒๔๖๓ มีลักษณะเป็นเจดีย์รูปสี่เหลี่ยม ซึ่งจำลองมาจากพระธาตุองค์เดิม สูง ๓๕ เมตร ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ ๘.๓๗ เมตร ก่ออิฐถือปูนแบบโบราณ เรียกว่า ชะทาย ทำจากปูนขาวผสมทราย ยางบงและน้ำหนังเป็นตัวประสาน มีซุ้มประตูหลอกทั้ง ๔ ด้าน ส่วนเรือนธาตุมีลักษณะเช่นเดียวกับส่วนฐาน แต่ทำซ้อนลดชั้นขึ้นไปเป็นฐานบัวคว่ำ เหนือขึ้นไปเป็นเอวขัน และส่วนยอดเป็นทรงบัวเหลี่ยม ซึ่งชาวลาวเรียกว่า หัวน้ำเต้า หรือแบบหมากปลี ซึ่งหมายถึงปลีกล้วย ภายในบรรจุพระไตรปิฎกมี กำแพงแก้วชั้นในมีขนาด ๑๐.๕๐ เมตร และกำแพงแก้วชั้นนอกสุดมีขนาด ๒๓.๑๕ เมตร กรมศิลปากรสร้างองค์ใหม่ครอบทับเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๓ อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถกว้าง ๘.๘๐ เมตร ยาว ๑๙.๕๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๓ เป็นอาคารคอนกรีต ศาลาการเปรียญ กว้าง ๑๓ เมตรยาว ๒๗.๕๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๔ เป็นอาคารคอนกรีต กุฏิสงฆ์จำนวน ๘ หลังเป็นอาคารไม้ ๔ หลังและครึ่งตึกครึ่งไม้ ๔ หลัง วิหารกว้าง ๔ เมตร ยาว ๖ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ พระพุทธรูปสำคัญ คือพระองค์แสน หรือหลวงพ่อองค์แสน เป็นพระพุทธรูปทองเหลือง มีน้ำหนักถึง ๑๐ หมื่น จึงเป็นที่มาของคำว่าพระองค์แสน เป็นพระพุทธรูปที่มีขนาดหน้าตักกว้าง ๕๐ เซนติเมตร สูง ๕๐ เซนติเมตร ปางสมาธิ พระพักตร์แบบศิลปะลาว ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลว อายุประมาณ ๑๐๐ ปี ถ้าท่านใดได้มาท่องเที่ยวที่อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม ก็สามารถมาสักการะบูชาพระธาตุแห่งนี้ได้นะคะ ข้อมูล : นางสาวเมริกา สงวนวงษ์ อ้างอิง -คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ.๒๕๔๒.วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนครพนม.กรุงเทพฯ:คุรุสภาลาดพร้าว. -กระทรวงศึกษาธิการ. กรมการศาสนา. กองพุทธศาสนสถาน. ฝ่ายศาสนสถาน. ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๑๕. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.๒๕๓๙.


วิชัย  ชำนาญณรงค์.  กายวิภาควิทยาและสรีระวิทยา สำหรับนักเรียนพยาบาล.  พระนคร: สาธารณสุข,        2499.        เป็นหนังสือที่เขียนขึ้นจากประสบการณ์การสอนวิชาพยาบาลของผู้เขียนเอง โดยกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้จัดพิมพ์เผยแพร่  มีเนื้อแบ่งออกเป็น 3 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 ร่างกายของมนุษย์ โครงสร้างหน้าที่และการจัดระเบียบของเซลล์ และอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายของมนุษย์  ตอนที่ 2 ว่าด้วยโครงสร้างและหน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์ และประสานงาน ซึ่งกันและกัน ของอวัยวะนั้น ๆ ที่ช่วยในการเคลื่อนไหวของร่างกาย  และตอนที่ 3 ว่าด้วยโครงสร้างและหน้าที่ของอวัยวะภายในต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์และประสานงานในการทำงานที่จะช่วยดำรงชีวิต


กัลยา  จุลนวล.  เจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจ (คุสตาฟ โรลิน ยัคมินส์) ที่ปรึกษาราชการทั่วไปในสมัยรัชกาลที่ 5.  กรุงเทพฯ : ศิลปากร, 2515.         ประวัติและผลงานของเจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจ ซึ่งเป็นชาวเบลเยี่ยมได้เข้ามารับราชการในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในตำแหน่งที่ปรึกษาราชการทั่วไปของไทยเป็นเวลานานถึง 9 ปี มีความรู้และเชี่ยวชาญทางด้านกฎหมาย มีความจงรักภักดีจนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็นเจ้าพระยา




-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : บ่ออนุบาลประมง -- เมื่อ 39 ปีก่อน กองประมงน้ำจืด กรมประมง ออกแบบบ่ออนุบาลสัตว์น้ำที่เพาะพันธุ์ได้ ทั้งลูกปลา ลูกกุ้ง สำหรับเตรียมไว้แจกจ่ายและปล่อยสู่แหล่งน้ำสาธารณะ คำว่า " อนุบาล " มีสองความหมาย กล่าวคือ 1. ช่วยรักษาชีวิตให้อยู่รอดปลอดภัย กับ 2. เพาะเลี้ยงให้มีความสมบูรณ์พร้อมก่อนคัดเลือกสายพันธุ์ จากแบบแปลนบ่ออนุบาลที่นำมาเสนอนี้ เป็นแบบมาตรฐานทั่วไป ขนาด 680 ตารางเมตร แสดงให้เห็นทั้งแบบด้านบน (Top View) ด้านข้าง (Side View) ด้านหน้า (Front View) รวมไปถึงความลาดชัน (ความเอน) ของขอบบ่อ ซึ่งเดิมเข้าใจว่า ขอบบ่อต้องตัดตรงตั้งฉากกับพื้นเท่านั้น การก่อสร้างบ่ออนุบาลโดยใช้วัสดุคอนกรีตเสริมเหล็กหรืออัดดิน อาจขึ้นอยู่กับจุดประสงค์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชนิดต่างๆ ที่สำคัญดังได้กล่าวแต่ต้นแล้วว่า คำว่าอนุบาลมีความหมายทั้งการรักษาชีวิตและเพาะเลี้ยง ฉะนั้นวัสดุที่ใช้จึงต้องเลือกให้เหมาะสม อย่างไรก็ตาม ความน่าสนใจของบ่ออนุบาลมาตรฐานยังมีประเด็นคำถามว่า เป็นแบบบ่อสำหรับใช้ภายในหน่วยงานประมงเท่านั้น หรือเผยแพร่แก่เกษตรกรใช้ร่วมด้วย? เพราะขึ้นชื่อว่า "มาตรฐาน " ต้องได้รับการรับรองทางวิชาการและงานโยธา มีคุณสมบัติดีเยี่ยม ช่วยสนับสนุนผลผลิตมีคุณภาพ ส่งผลแก่รายได้มากขึ้นต่อไปผู้เขียน : นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)เอกสารอ้างอิง : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยา ผจ (2) กษ 1/16 แบบบ่ออนุบาลมาตรฐานทั่วไป ขนาด 680 ตารางเมตร [ 14 ก.ค. 2526 ] #จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ




ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           61/5ประเภทวัสดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                               28 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ชื่อผู้แต่ง        ธานินทร์ กรัยวิเชียร ชื่อเรื่อง          การปฏิรูประบบกฏหมายและศาลในรัชสมัยพระบามสมเด็จฯระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  พระปิยะมหาราช ครั้งที่พิมพ์       - สถานที่พิมพ์    พระนคร สำนักพิมพ์      โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี ปีที่พิมพ์          2511 จำนวนหน้า      71 หน้า หมายเหตุ        จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสครบ ๑๐๐ ปีนับแต่พระบามสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว                                เสวยราชย์ รายละเอียด    เนื้อหาสาระประกอบด้วยความเป็นมาของระบบกฎหมายไทยดั้งเดิม การปฏืรูประบบกฎ หมายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จฯพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   ความเป็นมาของศาลไทยดั้งเดิมและการปฏิรูปศาลยุติธรรมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จฯพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 153/3 เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


มงฺคลตฺถทีปนี (มงฺคลตฺถทีปนีเผด็จ) ชบ.บ 181/3 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง : ประชุมสุภาษิตสุนทรภู่ สวัสดิรักษาคำกลอน สุภาษิตสอนสตรี ของ สุนทรภู่ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นางวาศนา (สุธีสร) วัฒนสินธุ์ อ.บ. ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 26 เมษายน พุทธศักราช 2514 ชื่อผู้แต่ง : สุนทรภู่ปีที่พิมพ์ : 2514 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์สามมิตรจำนวนหน้า : 138 หน้า สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์ขึ้นในงานพระราชทานเพลิงศพ นางวาศนา (สุธีสร) วัฒนสินธุ์ ประชุมสุภาษิตสุนทรภู่ เป็นหนังสือที่เก็บรวบรวมสุภาษิตจากหนังสือเรื่องต่างๆ ที่สุนทรภู่แต่งรวมพิมพ์ไว้ เป็นต้นว่า พระอภัยมณี โคบุตร และนิราศต่างๆ สวัสดิรักษาคำกลอน สุนทรภู่แต่งถวายสมเด็จเจ้าฟ้าอาภรณ์ในรัชกาลที่ 2 ด้วยพระบาทสมเด็จฯ พระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงมอบสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์นั้นให้เป็นศิษย์ศึกษาอักขรสมัยในสำนักสุนทรภู่ สุภาษิตสอนสตรี สุนทรภู่เห็นจะแต่งราว พ.ศ.2380 - พ.ศ.2383 พิเคราะห์ตามสำนวน ดูเหมือนหนังสือเรื่องนี้สุนทรภู่จะแต่งขาย เป็นสุภาษิตสำหรับสตรีสามัญทั่วไป ความไม่บ่งว่าแต่งให้แก่ผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะดังเรื่องบางเรื่อง



Messenger