ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ
ชื่อวัตถุ :: กล่องข้าว
ชื่ออื่น :: ก่องข้าวเลขทะเบียน :: 43/0241/2552
ลักษณะ :: ไม้ไผ่สานทรงกระบอก มีฝาปิด ฐานทำด้วยไม้กากบาท ทำหูสำหรับร้อยเชือกสำหรับสะพาย ใส่ข้าวเหนียว ไปรับประทานเวลาไปทำไร่ ทำนา
แหล่งที่มาข้อมูล :: ต.หนองป่าครั่ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
ชื่อวัตถุ :: กระจาด เลขทะเบียน :: 43/0103/2547
ลักษณะ :: ปากทรงกลม ส่วนก้นสอบทรงสี่เหลี่ยม สานด้วยไม้ไผ่ปากและตำตัวใช้หวายยึดให้แข็งแรง แหล่งที่มาข้อมูล :: ต บ้านกลาง อ เมือง จ ปทุมธานีแหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
ชื่อวัตถุ :: กระบุงเลขทะเบียน :: 43/0105/2552
ลักษณะ :: กระบุงสะพายหลัง เครื่องจักสานด้วยตอกไม้ไผ่ ขึ้นรูปเป็นภาชนะทรงกลม ก้นสี่เหลี่ยม
แหล่งที่มาข้อมูล :: ต.หนองป่าครั่ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
ชื่อวัตถุ :: ขันตั้ง
ชื่ออื่น :: พานเลขทะเบียน :: 43/0214/2552
ลักษณะ :: ขันตั้ง ภาชนะจักสานจากตอกไม้ไผ่ ทรงสี่เหลี่ยมกลม โดยพับผนังส่วนบนทบลงเป็นผนัง2 ชั้นและให้ส่วนที่มีลายโปร่งพับลงต่ำกว่าส่วนตัวภาชนะเป็นขาตั้งขัน
แหล่งที่มาข้อมูล :: ต.หนองป่าครั่ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่
แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
ชื่อวัตถุ :: ข้อง ชื่อวัตถุ :: ตะข้อง เลขทะเบียน :: 43/0674/2552
ลักษณะ :: ข้องคอคอด ทรงแบน คล้ายขวดแบน มีงาสำหรับปิดเปิด ใช้สำหรับใส่กุ้ง ปู ปลา และสัตว์ขนาดเล็ก เช่น กบ เขียดแหล่งที่มาข้อมูล :: ต.หนองป่าครั่ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
ชาติพันธุ์…วันละนิดชื่อวัตถุ :: ตุ้มดักปลา เลขทะเบียน :: 43/0684/2552
ลักษณะ :: ตุ้มทรงคล้ายขวด คอยาวแคบ ถัดจากก้นขึ้นมาเล็กน้อยเจาะช่องไว้สำหรับใส่งาที่ทำด้วยไม้ไผ่เหลาให้กลม ปลายเรียวผูกด้วยห้อยไว้ในช่องงา ใช้สำหรับดักสัตว์น้ำแหล่งที่มาข้อมูล :: ต.หนองป่าครั่ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
ชื่อวัตถุ :: ข้องเป็ด ชื่ออื่น :: ข้องนอน, ข้องลอย เลขทะเบียน :: 43/0681/2552
ลักษณะ :: ข้องสานด้วยไม้ไผ่ รูปร่างคล้ายเป็ด มีคองอนขึ้นเล็กน้อย และงาเป็นฝา สานโปร่งเพื่อให้น้ำไหลได้สะดวก ใช้สำหรับใส่สัตว์น้ำแหล่งที่มาข้อมูล :: ต.หนองป่าครั่ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
ชื่อวัตถุ :: แปมชาวเขาชื่ออื่น :: โปละวี, เอิบ เลขทะเบียน :: 43/0711/2552
ลักษณะ :: ภาชนะทรงสูง ขอบปากกลม ลำตัวป่อง ขาเป็นเชิง มีฝาสำหรับปิด สานด้วยตอกและหวาย สำหรับใส่สิ่งของหรือเสื้อผ้าของชาวเขาบริเวณที่สูงทางเหนือ ขนาดใหญ่ใช้เก็บเสื้อผ้าหรือสิ่งของประจำบ้าน ขนาดเล็กใช้ใส่สิ่งของติดตัวเดินทางแหล่งที่มาข้อมูล :: ต.หนองป่าครั่ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
ชื่อวัตถุ :: ซ้างวงชื่ออื่น :: กะต่างวง, ตระกร้าหูหิ้วเลขทะเบียน :: 43/0607/2552
ลักษณะ :: ตะกร้าทรงกลม ก้นสอบเป็นมุม มีหูสำหรับหิ้ว สำหรับใส่สิ่งของ สานด้วยไม้ไผ่
แหล่งที่มาข้อมูล :: ต.หนองป่าครั่ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
ชื่อวัตถุ :: กล่อง
ชื่ออื่น :: แอบเรือเลขทะเบียน :: 43/0072/2552
ลักษณะ :: กล่องทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า สานด้วยตอกเส้นใหญ่ มีฝาครอบปิด ด้านบนฝามีไม้ไผ่เหลาไขว้กากบาท ถักติดด้วยหวายเสริมความแข็งแรง ใช้สำหรับเก็บสิ่งของ หรือเสื้อผ้าแหล่งที่มาข้อมูล :: ต.หนองป่าครั่ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
ชื่อวัตถุ :: กระบุงเลขทะเบียน :: 43/0585/2552
ลักษณะ :: ภาชนะทรงกลม ปากบานกลม ก้นสอบเป็นเหลี่ยม มีขอบเสริมมุมและก้นด้วยหวาย มีหูสำหรับสอดเชือกเพื่อคล้องกับคาน หาบเป็นคู่ สำหรับใส่เมล็ดพืช ข้าวเปลือกและข้าวสาร อาจจะใช้หาบเป็นคู่หรือแบกบนบ่า บางท้องถิ่นอาจจะใช้กระบุงในการตวงด้วย
แหล่งที่มาข้อมูล :: ต.หนองป่าครั่ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
ชื่อวัตถุ :: เปี๊ยดชื่ออื่น :: บุง, กระบุงเลขทะเบียน :: 43/0015/2552
ลักษณะ :: ทรงกลม ปากกลม ก้นสอบเป็นสี่เหลี่ยม สานด้วยตอก เคลือบด้วยรัก มีหูสองหู สำหรับใช้เชือกร้อยคล้องกับคานหาบ แหล่งที่มาข้อมูล :: ต.หนองป่าครั่ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
ชื่อวัตถุ :: อานจันสานชื่ออื่น :: โสลด เลขทะเบียน :: 43/0650/2552
ลักษณะ :: เครื่องจักสานขึ้นโครงด้วยไม้ไผ่ สานลายละเอียด ใช้สำหรับใส่สิ่งของหรือนั่ง
แหล่งที่มาข้อมูล :: ต.หนองป่าครั่ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่
แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
ชื่อวัตถุ :: ซองเงินชื่ออื่น :: สมุก
เลขทะเบียน :: 43/0044/2557
ลักษณะ :: ทำมาจากกระจูด กระจูด สานเป็นรูปถุงแบนๆ ขนาดเล็กสองถุงสวมกัน ใช้สำหรับใส่เงินพกติดตัว
แหล่งที่มาข้อมูล :: ต.เคร็ง อ.ชะอวด จ. นครศรีธรรมราชแหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
ชื่อวัตถุ :: หมาจากเลขทะเบียน :: 43/0042/2557
ลักษณะ :: ทำมาจากส่วนยอดอ่อนของใบจากที่ยังไม่แตกใบ สอดเรียงกัน โดยสลับโคนกับใบ แล้วม้วนให้กลม รวบปลายทั้งสองด้านเข้าหากัน ใช้ก้านจากมัดเข้าด้วยกันทำเป็นที่จับ ภาชนะสำหรับตักน้ำแหล่งที่มาข้อมูล :: ภาคใต้ของประเทศไทยแหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
ชื่อวัตถุ :: พัดเลขทะเบียน :: 43/0041/2557
ลักษณะ :: ทำมาจากใบกระพ้อม จักสานเป็นเส้นๆ แล้วสานเป็นทรงใบโพธิ์ ส่วนปลายมัดรวมทำเป็นด้าม มัดด้วยหวาย
แหล่งที่มาข้อมูล :: อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช
แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
ชื่อวัตถุ :: สอบหมากเลขทะเบียน :: 43/0038/2557
ลักษณะ :: ภาชนะรูปทรงกระบอก ขอบปากทรงกลมพับสองชั้น มุมก้นเป็นทรงสี่เหลี่ยม สานด้วยกระจูด สำหรับใส่หมากพลู
แหล่งที่มาข้อมูล :: อ.ควนขนุน จ.พัทลุงแหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2561 นางอัญชิสา เสือเพ็ชร หัวหน้าหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี มอบหมายให้ นางสาววิรากร รสเกษร เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมหลักสูตร "การจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Goverment Procurement)" สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐในส่วนภูมิภาค ณ วิทยาลัยอาชีวศึกษาออมสินอุปถัมภ์ จังหวัดจันทบุรี
ผลการตรวจสอบพระอุโบสถวัดโตนด ตำบลหนองระเวียง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา รายละเอียดดังนี้๑. วัดโตนด ตั้งอยู่ที่ บ้านโตนด หมู่ที่ 11 ตำบลหนองระเวียง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา (แผนที่ทหาร ประเทศไทย ๑ : ๕๐,๐๐๐ WGS๘๔ จังหวัดนครราชสีมา พิมพ์ครั้งที่ ๑–RTSD ลำดับชุด L๗๐๑๘ ระวาง ๕๔๓8 IV, พิกัดยูทีเอ็มที่ โซน 48 P 199660.66 ม. ตะวันออก,1655453.25 ม. เหนือ)๒. พระอุโบสถวัดโตนดหลังเดิมยังไม่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนจากกรมศิลปากร๓. สภาพปัจจุบันพระอุโบสถหลังเดิมวัดโตนดมีสภาพชำรุดทรุดโทรมเป็นอย่างมาก เนื่องจากไม่ถูกใช้งานเป็นระยะเวลากว่า ๑ ปีแล้ว โดยจุดที่เสียหายแบ่งเป็น ๑๐ จุด มีรายละเอียดดังนี้ ด้านนอกพระอุโบสถ๓.๑ โครงสร้างหลังคา โดยเครื่องไม้รองรับหลังคามีสภาพชำรุดทรุดโทรม กระเบื้องมุงหลังคาหลุดร่วงหลายจุด แต่โครงสร้างของอาคารยังมีความแข็งแรงดี๓.๒ ฝ้าเพดานบริเวณชายหลังคาหลุดร่วง ๓.๓ หน้าบันพระอุโบสถทั้ง ๒ ด้าน ซึ่งเป็นหน้าบันไม้แกะสลักรูปครุฑยุดนาคและกนกพรรณพฤกษา ปัจจุบันถูกรื้อและนำมาประดับผนังด้านสกัดทั้ง ๒ ด้าน และแทนที่ด้วยหน้าบันปูนปั้น๓.๔ ผนังด้านสกัดทั้งด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันออก จากเดิมเป็นมุขยื่นทั้ง ๒ ด้าน ปัจจุบันมีการรื้อออกทั้ง ๒ ด้าน แต่ยังคงเหลือร่องรอยให้พบเห็นด้านในพระอุโบสถ๓.๕ ฝ้าหลังคาภายในพระอุโบสถชำรุดเกือบทั้งหมดประกอบกับหลังคามุงกระเบื้องที่หลุดร่วงและโครงสร้างไม้รองรับหลังคาอยู่ในสภาพชำรุด ส่งผลให้สภาพภายในพระอุโบสถได้รับความเสียหายจากลม ฝนและพายุเป็นอย่างมาก๓.๖ บริเวณพื้นภายในพระอุโบสถมีมูลนกพิราบทั้งพื้นที่ เนื่องจากนกพิราบเข้ามาทำรังภายในพระอุโบสถเป็นจำนวนมาก
ห้องที่ 13 : สงขลาย้อนยุค จัดแสดงโบราณวัตถุและศิลปวัตถุตามสาระสำคัญ คือ ประมาณ 60-70 ปีที่ผ่านมา สงขลามีย่านธุรกิจการค้าที่เฟื่องฟู บริเวณถนนนครนอก นครใน และถนนนางงาม มีห้องถ่ายรูปที่ทันสมัย มีโรงภาพยนตร์ และสถานเริงรมย์ มีการคมนาคม ทั้งเรือโดยสาร รถไฟ และสนามบินพาณิชย์ สิ่งเหล่านี้ สะท้อนภาพความทันสมัยของสงขลาในเวลานั้นได้เป็นอย่างดี
รายงานการเดินทางไปราชการ ณ ราชอาณาจักรกัมพูชา
๑. ชื่อโครงการ : การสัมมนาในระดับภูมิภาคขององค์การการท่องเที่ยวโลกด้านการพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ
๒. วัตถุประสงค์ :
๒.๑ เพื่อเป็นเวทีสำหรับหน่วยงานด้านการท่องเที่ยว ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ปฏิบัติในการหารือและทบทวนโอกาส รวมถึงความท้าทายของการท่องเที่ยวอย่างยื่นในสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม และทางธรรมชาติ
๒.๒ เพื่อนำเสนอกรณีศึกษาและ ประสบการณ์ของประเทศไทยในภูมิภาคเอเชียที่ประสบผลสำเร็จในนโยบาย แนวทางสำหรับการบริหารจัดการอย่างยั่งยื่น การอนุรักษ์และยุทธศาสตร์สำหรับการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
๓. กำหนดเวลา : ระหว่างวันที่ ๑ – ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
๔. สถานที่ : เมืองเสียมราฐ ราชอาณาจักรกัมพูชา
๕. หน่วยงานผู้จัด : องค์การการท่องเที่ยวโลก (The United Nations World Tourism Organization:UNWTO) ร่วมกับกระทรวงการท่องเที่ยวแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา
๖. หน่วยงานสนับสนุน : กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา
๗. กิจกรรม : การแลกเปลี่ยนแนวทางการบริหารจัดการมรดกทางศิลปวัฒนธรรมด้านต่างๆ เช่น ประวัติศาสตร์ โบราณคดี สถาปัตยกรรม และการบริหารจัดการแหล่งมรดกทางธรรมชาติ
๘. คณะผู้แทนไทย :
๘.๑ นางชุติมา จันทร์เทศ หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
๙. สรุปสาระของกิจกรรม :
การสัมมนาในระดับภูมิภาคขององค์การการท่องเที่ยวโลกด้านการพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ
๑๐. ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม :
๑๐.๑ การสัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแนวทางในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมแต่ละแหล่งของกลุ่มประเทศสมาชิกต่างๆ ก่อให้เกิดแนวคิดในการบริหารจัดการและการดำเนินงานอนุรักษ์ในแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่ดูแลรับผิดชอบ เช่น การบริหารจัดการและการควบคุมดูแลเมืองโบราณหลวงพระบาง ซึ่งสามารถพิจารณานำมาปรับประยุกต์ใช้เป็นแนวทางการบริหารจัดการในแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของไทยได้
๑๐.๒ การเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการของรัฐบาลกลาง และรัฐบาลท้องถิ่น ทำให้การบริหารจัดการบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่กำหนดได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพโดยการมีมาตรการควบคุมพื้นที่เขตโบราณสถาน และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ตลอดจนการควบคุมรูปแบบสถาปัตยกรรมดั้งเดิมของอาคารสิ่งก่อสร้าง ทั้งนี้ เพื่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม รวมถึงการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีการตักบาตรข้าวเหนียวของชาวเมืองหลวงพระบาง และการแต่งกายที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ และสืบทอดมาจนทุกวันนี้
๑๐.๓ การนำเสนอข้อมูลการบริหารจัดการของกลุ่มประเทศสมาชิกต่างๆ ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูล และองค์ความรู้ในการบริหารจัดการแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมในรูปแบบต่างๆ และสามารถนำมาปรับประยุกต์ใช้ได้ในบางส่วน
๑๐.๔ จากการเข้าร่วมประชุมสัมมนา ในระดับภูมิภาคขององค์การการท่องเที่ยวโลกด้านการพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม และทางธรรมชาติในครั้งนี้ ก่อให้เกิดประโยชน์ทำให้ได้ทราบแนวทางต่างๆ ในการบริหารจัดการมรดกทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นผลก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการบริหารจัดการมรดกทางวัฒนธรรมของไทย เช่น การบริหารจัดการน้ำ เพื่อการควบคุมระดับน้ำบริเวณบาราย ที่อยู่โดยรอบปราสาทนครวัด เป็นต้น
นางชุติมา จันทร์เทศ หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ผู้สรุปผลการเดินทางไปราชการ
***บรรณานุกรม***
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันภาค 8 พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายชุมพล กุลมาตย์ ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 21 ธันวาคม พุทธศักราช 2514
พระนคร
โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี
2514
วัดดุสิดาราม จังหวัดธนบุรี เป็นพระอารามที่มีศิลปน่าสนใจแห่งหนึ่ง เพราะมีจิตรกรรมเรื่องพุทธประวัติและเรื่องไตรภูมิกับเทพชุมนุมและทวารบาล เขียนไว้ที่ผนัและบานประตูหน้าต่างภายในอุโบสถ และมีจิตรกรรมเรื่องพระสมุทโฆษเขียนใส่กรอบกระจกติดไว้เหนือช่องประตูและหน้าต่างภายใน กับมีตัวโบสถ์และวิหารเดิมของวัดภุมรินราชปักษี สร้างขึ้นด้วยแบบสถาปัยกรรมงดงามประณีตมาก
หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง การถวายผ้าอาบน้ำฝน พิธีกรรมประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 16 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 59 ซม. บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับชาดทึบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534
วัดศรีสวายตั้งอยู่ทางทิศใต้ของวัดมหาธาตุ และอยู่ใกล้กับกำแพงเมืองสุโขทัยด้านทิศใต้ โบราณสถานสำคัญประกอบไปด้วยปรางค์ ๓ องค์ ที่มีรูปแบบศิลปะลพบุรี ซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะขอม แต่ลักษณะของปรางค์ค่อนข้างเพรียวตั้งอยู่บนฐานเตี้ย ๆ มีลวดลายปูนปั้นบางส่วนเหมือนลายบนเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หยวน ได้พบทับหลังสลักเป็นรูปพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ ชิ้นส่วนของเทวรูป และศิวลึงค์ ส่วนด้านหน้าขององค์ปรางค์ มีวิหาร ๒ หลังที่สร้างเชื่อมต่อกัน โบราณสถานทั้งหมดล้อมรอบด้วยกำแพงซึ่งก่อด้วยศิลาแลง จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบทำให้สันนิษฐานว่าวัดศรีสวายสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ และมีการบูรณะเพิ่มเติมในสมัยอยุธยา สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานไว้ว่า วัดนี้เดิมคงเป็นเทวสถานและคงมีชื่อเรียกว่า “ศรีศิวายะ” ซึ่งหมายถึงพระศิวะ และเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐ พระบาทสมเด็จพระมงกฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศ พระบรมโอรสาธิราชได้เสด็จประพาสและทรงพบรูปพระสยม “พระศิวะ” ในวิหารและหลักไม้ปักอยู่ในโบสถ์ซึ่งทรงสันนิษฐานไว้ว่า “เดิมคงเป็นโบสถ์พราหมณ์ใช้ในพิธีโล้ชิงช้า(ตรียัมปวาย)” บริเวณรอบนอกกำแพงแก้วมีสระน้ำ ชาวบ้านเรียกว่า “สระลอยบาป” ตามศาสนาฮินดู อาจใช้ในพิธีลอยบาปหรือล้างบาป ในเวลาต่อมาวัดนี้จึงถูกแปลงให้เป็นวัดในพุทธศาสนา //ข้อมูล : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยหัวเรื่อง ภาษาบาลี--ไวยากรณ์ คัมภีร์มูลกัจจายน์ การศึกษาและการสอนประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 62 หน้า : กว้าง 6 ซม. ยาว 55 ซม. บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากพระครูวิมลสังวร วัดแค ต.รั้วใหญ่ อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.34/7ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 48 หน้า ; 4.5 x 54 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 20 (205-216) ผูก 6หัวเรื่อง : สตฺตปปกฺรณาธมฺม --เอกสารโบราณ ธัมมสังคิณี --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม