ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,574 รายการ



THAI CULTURE, NEW SERIES No. 6 THE KHŌN BY H.H. PRINCE DHANINIVAT KROMAMÜN BIDYALABH BRIDHYĀKORN AND DHANIT YUPHO


เขาภูปลาร้า (เขาปลาร้า) ที่ตั้ง : ตำบลลานสัก อำเภอลานสัก,หนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี สิ่งสำคัญ : แหล่งภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ ประวัติและความสำคัญ : เป็นแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ สันนิษฐานว่าเป็นสถานที่ที่มนุษย์เมื่อประมาณ ๕,๐๐๐ – ๓,๐๐๐ ปีมาแล้วเขียนภาพเขียนสีที่สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตมนุษย์ในชุมชนบริเวณภูปลาร้าได้เป็นอย่างดี ว่ามีลักษณะชุมชนในสังคมเกษตรกรรมที่มีแบบแผนและพิธีกรรม ภาพที่พบได้แก่ ภาพสัตว์เลี้ยง ภาพคนจูงวัว ภาพขบวนแห่เป็นต้น สภาพปัจจุบัน : ภาพเขียนสีบนเพิงผายังคงอยู่ในสภาพดี พื้นที่โบราณสถาน : ๑๓,๒๔๗ ไร่ ๓ งาน ๔๖ ตารางวา ลักษณะรูปแบบศิลปกรรม : ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ลักษณะการถือครองที่ดินหรือผู้ดูแล : กรมศิลปากร การขึ้นทะเบียน : ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๐ง วันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๓๗



  ***บรรณานุกรม*** ผดุงถิ่นยุคข่าวเศรษฐกิจ ปีที่ 5 ฉบับที่ 210-1 วันที่ 1 ธันวาคม 2523


นายพันตำรวจตรีเจ้าไชยวรเชษฐ์ (มงคลสวัสดิ์  ณะเชียงใหม่). เรื่องทิพจักราธิวงศ์. เชียงใหม่: โรงพิมพ์อะเมริกันเชียงใหม่, 2490.พิมพ์แจกในงานเมรุศพแม่เจ้าจามรี ณะเชียงใหม่ ในมหาอำมาตย์โท เจ้าแก้วนวรัฐฯ เจ้านครเชียงใหม่ เนื้อหา แบ่งเป็น 3 ตอน ตอนที่ 1 รวบรวมประวัติแม่เจ้าจามรี ตอนที่ 2 ลำดับพระเจ้าและเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ นครลำปาง นครลำพูน ผู้เป็นบรรพบุรุษของเจ้าแม่จามรี และตอนที่ 3 เป็นร้อยกรองค่าวซอ ลำดับเจ้า 7 คน  เหมาะแก่คนพื้นเมืองภาคเหนือ929.7999593 ท894ทจ


ผู้แต่ง : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 2 กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2503 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตรี หม่อมสนิทวงศ์เสนี ป.ม., ท.จ.ว.             หนังสือจินดามณีเล่มนี้  เป็นเล่ม 2  นิพนธ์เป็นคำโคลง  ตอนท้ายมีพระนิพนธ์กาพย์และโคลงกระทู้สุภาษิต  มีความไพเราะ  และยังเป็นสุภาษิตที่ยึดถือเป็นหลักปฏิบัติได้ดีจนถึงทุกวันนี้






ชื่อผู้แต่ง             ขจร  สุขพานิช อ.บ. , ป.ม. ชื่อเรื่อง              เมื่อเซอร์ยอนเบาริงเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี ครั้งที่พิมพ์          - สถานที่พิมพ์        พระนคร สำนักพิมพ์          โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย ปีที่พิมพ์             ๒๔๙๗ จำนวนหน้า         ๗๖  หน้า หมายเหตุ           มหามกุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พิมพ์ถวาย หม่อมเจ้า ชัชวลิต  เกษมสันต์ ในมงคลสมัยมีพระชนม์ ๕ รอบ ๑๒ มิถุนายน ๒๔๙๗                        หนังสือเรื่องนี้ แสดงพระราชกรณียกิจของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ พระราชกรณียกิจที่ทรงนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ประเทศชาติ ศาสนา เป็นที่สนใจของชาวตะวันตกมาก เขาได้พรรณนาพระคุณไว้หลายอย่าง ล้วนแต่พวกเราชาวไทยควรทราบโดยแท้



ยารักษาโรคและฤกษ์ยาม ชบ.ส. ๑๒๔ พระครูวิจิตรธรรมรัตน์ เจ้าอาวาสวัดนามะตูม ต.นามะตูม อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี มอบให้หอสมุด ๓ มิ.ย. ๒๕๕0 เอกสารโบราณ (สมุดไทย)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.34/1-6 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


พระพุทธรูปยืนปางแสดงธรรม มีประภามณฑลหลังพระเศียร สำริด สูง ๒๔.๕ เซนติเมตร ศิลปะทวารวดี อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ (ประมาณ ๑,๒๐๐ ปี มาแล้ว) ได้จากเจดีย์หมายเลข ๑๑ เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง            พระพุทธรูปปางแสดงธรรม พระพักตร์ค่อนข้างกลม พระเนตรเหลือบลงต่ำ พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์หนา มีขอบพระโอษฐ์เป็นเส้นตรง อมยิ้มเล็กน้อย ขมวดพระเกศาใหญ่ พระรัศมีเป็นรูปกรวย ประทับยืนตรง ครองจีวรห่มคลุม จีวรบางแนบพระวรกาย พระหัตถ์แสดงวิตรรกะมุทรา (ปางแสดงธรรม) ทั้งสองข้าง ขอบจีวรด้านหน้าตกลงจากข้อพระหัตถ์เป็นวงโค้งอยู่เหนือขอบสบง ด้านหลังตกลงเป็นสี่เหลี่ยมมุมมน เบื้องหลังพระเศียรมีประภามณฑลเป็นวงโค้งประดับลวดลายเปลวไฟอยู่โดยรอบ            พระพุทธรูปศิลปะทวารวดี ซึ่งมีประภามณฑลเป็นวงโค้งล้อมรอบด้วยเปลวไฟเช่นนี้ พบที่เจดีย์หมายเลข ๑๑ เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน ๓ องค์ พระพุทธรูปที่มีประภามณฑลแบบนี้ปรากฏอยู่ในศิลปะอินเดียแบบหลังคุปตะ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๓ (ประมาณ ๑,๓๐๐ – ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว) และศิลปะอินเดียแบบปาละ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๗ (ประมาณ ๙๐๐ – ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว) ดังนั้นจึงกำหนดอายุพระพุทธรูปองค์นี้ไว้ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ (ประมาณ ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว)            พระพุทธรูปยืนปางแสดงธรรมทั้งสองพระหัตถ์แสดงถึงพัฒนาการอันเป็นรูปแบบเฉพาะของศิลปะทวารวดี ผสมผสานกับการตกแต่งด้วยประภามณฑลรูปวงโค้งที่ล้อมรอบด้วยลวดลายเปลวไฟ ซึ่งยังคงอิทธิพลของศิลปะอินเดียอันเป็นต้นแบบ ทั้งนี้การทำประภามณฑลเป็นรูปวงโค้งล้อมรอบด้วยลวดลายเปลวไฟนี้ ยังพบในประติมากรรมรูปเคารพในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพุทธแบบมหายาน ศิลปะศรีวิชัย ซึ่งเจริญขึ้นบริเวณคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทย อีกด้วย------------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง------------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. ศิลปะทวารวดี ต้นกำเนิดพุทธศิลป์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด, ๒๕๕๒. พนมบุตร จันทรโชติ และคณะ. นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง และเรื่องราวสุวรรณภูมิ. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๕๐. สุภัทรดิศ ดิศกุล, ศิลปะในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๑๓, กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๐.